กระแสรถยนต์ไฟฟ้า ที่มาแรงในยุคนี้ ทำให้หลายคนสนใจ นวัตกรรมการขับขี่ยุคใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันในการเดินทาง รถยนต์สไตล์นี้ในปัจจุบัน โดยมาก มาจากผู้ผลิตชาวจีน อันที่จริง ก็มีจากญี่ปุ่นอย่าง นิสสันด้วย แต่ที่หลายคนจับตา คงเป็นทาง โตโยต้า ที่ลั่นปากว่า จะเอาเข้ามาขายในไทย ตั้งแต่ต้นปีกับ Toyota BZ4X

รถยนต์ Toyota BZ4X เป็นที่สนใจทั่วโลก ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว หลังจาก โตโยต้า เปิดตัวรถรุ่นนี้ออกมาพร้อมจำหน่ายในทันที ภายใต้ความร่วมกับ Subaru Coperation ที่มาร่วมหัวจมท้ายกันในโครงการร่วมกันพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรก และเป็นการร่วมมือกันครั้งที่ 2 นับตั้งแต่โครงการ รถยนต์สปอร์ต Toyota GT86 ที่พัฒนา จนมีรุ่นที่ 2 ต่อมา และเพิ่งเช้ามาขายในไทย

นั่นทำให้ทั่วโลก ต่างสนใจ รถรุ่นนี้ อย่างมาก แทบจะในทันทีที่เปิดตัวออกมา ในบ้านเรา เปิดตัวไปหมาดๆ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา พร้อมเปิดจองทันที ภายหลัง ทางโตโยต้า ออกมาแถลงว่าทางบริษัทต้องปิดรับจอง ในวันที่ 10 พฤศจิกายน เนื่องจาก มีผู้ให้ความสนใจ เป็นจำนวนมากจนมียอด 3,000 กว่าคัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ ใหม่ สำหรับ รถยนต์ไฟฟ้า แม้ว่าจะไม่เหมือน การต้องไปนั่งรอตบยุงซื้อรถ เหมือนของอีกค่ายก็ตามที

ตอนแรก , ทางผมคิดว่า คงจะไม่ต้องมานั่งเขียนรีวิว ให้มันเสียเวลาหรอก รถก็ไม่ขาย รีวิวก็คง จะไม่มีคนอ่าน และคนที่ซื้อรถคันนี้ ก็คงไม่สนใจว่า สมรรถนะตัวรถเป็นอย่างไรบ้าง แต่… ในอีกมุม ผม ก็คิดว่า , มันน่าจะดีกว่าที่เราถ่ายทอด สมรรถนะ รถคันนี้ให้ ทุกคนฟัง เพื่อจะได้เข้าใจ เหตุ ใดคนถึงสนใจมัน

ภายนอก ฉีกทุกดีไซน์ …

ตอนเริ่มโครงการพัมนารถยนต์ รุ่นนี้กับซูบารุ สาเหตุที่ทั้ง 2 ค่ายนี้ มาร่วมมือกันได้ ก็เนื่องจากทางซูบารุ มีความตั้งใจอยู่แล้ว ที่จะพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าออกมาในปี 2023 ขณะที่โตโยต้า เอง ก็มีความตั้งใจจะวกกลับมาทำรถยนต์ไฟฟ้า ตามกระแสความต้องการ ของตลาดที่ต้องการมากขึ้น จะมองข้ามไปเลยเสียก็ไม่ได้

Toyota BZ4X  โฉมไทย

โตโยต้าเอง ตัดสินใจ เปิด ซับแบรนด์ใหม่ ที่เรียกว่า Beyond Zero อันเป็นที่มาของชื่อ BZ โดยมันหมายถึง ปรัชญาและความมุ่งมั่นในการทำให้การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในที่สุด และตั้งใจใช้ชื่อรหัสนี้ ในรถยนต์ไฟ้า รวมถึงรถยนต์พลังงานสะอาดในอนาคต ทั้งหมด คล้ายกับที่รถแรง มีรหัส GR ติดตัว อะไรแนวๆ นั้น

โดยตามข้อมูลที่มีการเปิดเผยในยุโรป คำว่า 4X มีความหมายแฝงในตัว โดย 4 หมายถึง ลำดับขนาดตัวรถ หาก ไล่เรียงตามมาตรฐานการจัดขนาดตัวรถทางวิศวกรรม ซึ่งจะแบ่งขนาดด้วยตัวอักษร ภาษาอังกฤษ A-B-C-D ทางโตโยต้า จึงนำมาเปลี่ยนเป็นรหัสตัวเลข

Toyota BZ4X  โฉมไทย

ส่วน “X” หมายถึง การเป็นรถครอสโอเวอร์ หรือรถอเนกประสงค์ นั่นเอง

เมื่อเราเอารหัส BZ 4X มาตีความหมาย ตามที่โตโยต้า ตั้งใจ จึงได้ว่า นี่คือ รถยนต์อเนกประสงค์ครอสโอเวอร์ขนาดกลาง ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีรักษโลก

เมื่อมาดูขนาดตัวรถจากรายละเอียดทางเทคนิค เราจะพบว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ด้วยขนาดมิติตัวถัง ที่มีความยาว 4,690 มม.​กว้าง 1,860 มม.​ไม่รวมกระจกมองข้าง และ สูง 1,600 มม. ให้ระยะฐานล้อ 2,850 มม.​ ยาวกว่า Toyota Rav4 160 มม.

ความโดดเด่นของ BZ4X ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ทางโตโยต้า และซูบารุ ยังตกลงร่วมกันในการทำให้รถมีความทันสมัยมากที่สุด ในเรื่องการออกแบบ

Toyota BZ4X  โฉมไทย
งานออกแบบใหม่ ของโตโยต้า ถูกเรียกว่า “Hammer Head” หัวฆ้อนอันนี้ออกแบบ มาเพื่อ พิชิต ค่าสัมประสิทธิเสียดทานอากาศ

สิ่งที่เราเห็น นั่นคือ ตัวรถที่ออกมามีหน้าตาทันสมัย งานออกแบบใหม่ นี้ เรียกว่า Hammer Head แปลกตรงตัวเป็นไทย ว่า หัวฆ้อน นั่นแหละ ..
เริ่มจากกระจังหน้าปิดทึบ ที่ดูมีสไตล์ เป็นตัวของตัวเอง ทั้งยังออกแบบให้มีความถูกต้องการหลักการอากาศพลศาสตร์ มากที่สุด เช่น มีช่องรีด อากาศ จากด้านหน้า ไปด้านข้าง , มีชายล่าง ทางด้านปลายข้างกันชน รีดลมไปยังข้างตัวถัง ทั้งหมด ทำให้ ค่าสัมประสิทธิเสียทานอากาศ มีค่าเพียง 0.279 cd เท่านั้น

งานออกแบบบตัวรถ สุดแหวกแนว ยังไม่จบเพียงเท่านี้ รถอเนกประสงค์คันนี้ ท้าทายความเชื่อ ด้วยการออกแบบช่วยท้าย เป็นสไตล์ Liftback หรือ เราหลายคน อาจจะเรียกว่า ทรงท้ายลาด ปกติ ทรงแบบนี้ไม่นิยมในรถยนต์อเนกประสงค์ เท่าไรนัก

Toyota BZ4X  โฉมไทย
จุดเด่นสำคัญ รถคันนี้ คือ การออกแบบ มันเป็นทรงท้ายลาด ให้ความแตกต่าง อย่างมีสไตล์

แต่ความท้าทายของโตโยต้า และ​ซูบารุ ทำให้เราเห็นรถอเนกประสงค์ ที่มีความคลีนในการออกแบบ ปราศจากปัดน้ำฝนหลัง ได้รูปทรงสปอร์ต ไม่เหมือน รถรุ่นอื่นๆ อย่างที่เคยเป็นมา แม้บางคนอาจจะมองว่า โตโยต้า พลาดท่าเสียแล้ว ที่ทำแบบนี้ ในความจริง รถยนต์ไฟฟ้า ก็คงน้อยคนมาก จะนำพวกมันไปลุยแบบสมบุกสมบันจริงๆ แต่ถ้าลุย ฝุ่นคลัก คุณอาจต้องลง เอาผ้ามาเช็ดกระจกท้ายบ้างล่ะ ฮ่าๆ

ความท้าทาย อีกอย่าง ของรถคันนี้ คือ แม้ว่ามันจะเป็นรถยนต์อเนกประสงค์ ก็ยังวางล้อให้ใกล้ ปลายกันชน ทั้งทางด้านหน้า และ ด้านหลัง มากที่สุด โดยด้านหน้า มีระยะยื่น หรือ Over hang เพียง 915 มม. และ ด้านหลัง 925 มม. เท่านั้น ผลจากการจัดวางแบบนี้ ทำให้ รถมีความคล่องตัวสูง เลี้ยวง่ายในที่แคบ แม้จะคันใหญ่ ก็ยังพอจะคล่องตัว ต่อการใช้ชีวิตในเมือง

Toyota BZ4X  โฉมไทย

นอกจากนี้ ทางทีมออกแบบ ยังให้ความสำคัญ​กับสิ่งเล็กน้อย กับตัวรถ เช่น ฝากระโปรงหน้า จะมีแถบสีดำ ตรงช่องใกล้กกระจกบังลมหน้า เพื่อลดการสะท้อนแดด เวลาขับขี่ , รวมถึง บางคน อาจจะพูดถึง ชิ้นส่วนพลาสติกสีดำ ช่วงซุ้มหลาย สำหรับใครที่ไม่ทราบ พวกเขาทำมาเพื่อป้องกันชิ้นส่วนตัวถัง ในระหว่างการขับขี่ไม่ให้ โดนเศษหินกระเทาะ ซึ่งนิยมในมากในหมู่รถสายแรลลี่ หรือ ทางฝุ่น

ภายในอย่างกว้าง

ด้วยการเกิดเป็นรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดกลาง จึงไม่แปลก ที่เมื่อก้าวเข้ามาในห้องโดยสารรถคันนี้ จะมีห้องโดยสารกว้างขวางมากเป็นพิเศษ

จุดเด่น อยู่ที่ความยาว ที่วางเท้าของผู้โดยสารตอนหลังที่เรียกว่า โอ่โถงมาก จนขนาด Toyota Camry ซีดานกลาง ที่ว่าแน่ๆ ยังต้องชิดซ้าย คุณสามารถนั่งยืดขา แหกขาได้ตามสบาย

Toyota BZ4X  โฉมไทย

น่าเสียดาย ที่เบาะนั่งดันทำออกมาทรงเตี้ยไปนิด ทำให้เวลาเราวางขา จะรู้สึกว่า ขาเชิดขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งพนักพิงหลังปกติ อาจจะรู้สึกว่านั่งไม่สบายเท่าไรนัก

แถม ด้วยการเป็นรถอเนกประสงค์ทรงเตี้ย และท้ายลาด พื้นที่โดยสารตอนหลัง ในท่านั่งปกติ อาจจะมีปัญหา ในระหว่างการเดินทาง เช่นรถตกหลุมกระแทก เป็นต้น

Toyota BZ4X  โฉมไทย
ภายในใช้วัสดุ หนังสังเคราะห์ แม้จับแล้วคุณภาพวัสดุ อาจรู้สึกว่าไม่ถูกใจหลายคน แต่บางอย่างทำมาจากวัสดุรีไซเคิล เพื่อลดขยะนั่นเองครับ

อย่างไรก็ดี ,​โตโยต้า แก้ปัญหา ด้วยการ ทำให้พนักพิงหลัง ปรับเอนได้ 1 ระดับ เมื่อปรับแล้ว จะบรรเทาเรื่อง ท่านั่งเชิดขา และ อาการหัวติดได้ในระดับ หนึ่ง ท่านั่งนี้ ค่อนข้างมีความสบาย และผ่อนคลาย มากพอสมควร จนคุณจะลืมไปเลย ว่านี่รถโตโยต้า

เรื่องลูกเล่นการโดยสารตอนหลัง ก็มีเท่าที่ใช้ เช่น ช่องชาร์จ ,​ช่องแอร์หลัง , ที่วางแขน และ ที่วางแก้วน้ำ บนหลังคายังมี หลังคา พาโนรามิก ที่สามารถเลือกเปิดหรือปิดได้ (แต่ต้องควบคุม จากทางด้านหน้าเท่านั้น)

และด้วยความเป็นรถยนต์อเนกประสงค์ ก็มีฟังชั่นเบาะหลังปรับพับได้ ในอัตรา 60/40 พื้นที่สัมภาระท้ายรถ จุสูงสุด 452 ลิตร ตัวพื้นสามารถเลือกได้ 2 ชั้น เพื่อความสะดวกในการขนของชิ้นใหญ่ในยามจำเป็ยน

Toyota BZ4X  โฉมไทย

จากด้านหลัง มาดูทางด้านหน้า , ทางโตโยต้า จัดการออกแบบ รถคันนี้ให้ทันสมัย เริ่มจากการฉีกกฏทุกงานออกแบบดั้งเดิม แต่ก็ยังมีความเป็นโตโยต้าอย่างเต็มเปี่ยม

เริ่มจากฝั่งคนขับ ทักทายด้วย จอแสดงผลในการขับขี่ ขนาด 7 นิ้ว ลงตัวกับงานออกแบบคอนโซล ที่ทำออกมาให้เปิดโล่งผิดกับรถในอดีต พวงมาลัย ถูกวางให้ต่ำสักนิด ซึ่งสามารถปรับเข้าออก และ ขึ้นลงได้ แต่แม้ว่า จะเลื่อนขึ้นแล้วก็ยังไม่สูงมาก จนกลายเป็นบังชุดจอ เวลาใช้งานจริง

ภายใน สีเทาอ่อน มุ่งเน้นให้ความพรีเมียมหรูหรา

ตรงกลาง ติดตั้งจอ ขนาด 12.3 นิ้ว สำหรับรุ่นขายไทย ชุดจอนี้ ใช้ในการให้ความบันเทิง และ การเชื่อมต่อ เมื่อพูดถึงความบันเทิง ก็ให้ลำโพง JBL ติดปลายนวมมาด้วย เรื่องคุณภาพเสียง จึงสบายใจหายห่วงไปเปราะหนึ่ง

ขณะที่คอนโซลกลางออกแบบ เป็น 2 ชั้น ตามสมัยนิยม เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการใช้งาน ด้านบน จะติดตั้งฟังชั่น ต่างที่ใช้ในการขับขี่ วางรวม กลางไว้ ตรงคันเกียร์ แบบหมุน ปุ่มต่างๆ ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย และเข้าถึงง่าย สำหรับฟังชั่น ต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้บ่อยครั้ง

อาทิเช่น ระบบปรับอากาศ จะวางเหรือคอนโซลกลาง และปรับใช้งานง่าย ตลอดการเดินทาง บางคนอาจจะมองว่า โบราณ เดี๋ยวนี้ทุกอย่าง Everything ต้องอยู่ในจอ แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณขับรถบ่อยๆ จะพบว่า อะไรที่อยู่ในจอ ถ้าต้องขับไปด้วย ปรับไปด้วย ไม่ค่อยจะสะดวกสักเท่าไรหรอก แถมจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ อะไรที่ใช้บ่อยควรเป็นปุ่มดีกว่า

ส่วนที่ผมแอบแปลกใจ นิด คือ กล่องเก็บของทางด้านหน้า หรือ Glove Box หายไปใน รถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ ด้วยเหตุผล ที่นักรีวิวรถทั่วโลก ต่าง งงไปตามๆ กัน ยังดี กล่องตรงคอนโซลกลางนั้น มีพื้นที่อย่างเหลือเฟือ สามารถจุของได้ราวๆ 20 ลิตร

ทางด้านตัวเบาะนั่ง ใช้วัสดุ หนังสังเคราะห์ มีให้เลือกสองสี คือ สีดำ และสีเทาอ่อน ลูกค้าสามารถเลือกได้เองไม่จำกัด สีรถ นับเป็นครั้งแรกที่ทำออกมาแบบนี้

ตัวเบาะฝั่งคนขับ ปรับไฟฟ้า มาพร้อมการบันทึกท่านั่ง 2 ตำแหน่ง ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย น่าแปลก ที่ฝั่งคนนั่ง ดันได้เบาะนั่ง ปรับมือธรรมดาๆ มาตกม้าตายกับ เรื่องที่เชื่อเลยว่า แม่บ้านบางคน อาจไม่ถูกใจนัก ..

ด้วยความรถคันนี้เป็นการนำเข้าตรงจากญี่ปุ่น จึงมีฟังชั่นที่พิเศษ เติมเข้ามาอีก ได้แก่ เบาะสามารถปรับเป่าอากาศ ระบายความร้อน และ อุ่นร้อนได้ ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้า ไม่เพียงแค่นี้ ถ้าคุณ สังเกตดีๆ จะพบว่า กระจกรถคันนี้ เป็นกระจกแบบ Privacy Glass แบบญี่ปุ่น คือ 3 บานหน้า ใส 3 บานหลัง มืด ช่วยให้รู้สึกส่วนตัว

การวิศวกรรม

ใต้เรือนร่าง Toyota BZ4X ทางโตโยต้า ได้จับมือ กับ ซูบารุ ในการพัฒนาโครงสรา้งตัวถังเดิมให้เหมาะสำหรับการเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทาง Toyota เรียกว่า e-TNGA โดยจุดสำคัญ อยู่ที่ การให้ความแข็งแกร่งโครงสรา้งตัวถังมากขึ้น และ ปรับปรุง ในเรื่องจุดยึด ต่างที่สำคัญ ด้วยเหล็ก High Tensile Steel โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ

  • ปรับปรุง Subframe หน้า เพื่อรองรับหม้อน้ำ ช่วยลดน้ำหนัก ช่วยลดแรงเฉื่อย ในขณะเลี้ยว ทำให้เลี้ยวง่าย
  • ปรับปรุง Cross member หน้าตรงห้องเครื่อง
  • ใช้เหล็ก High Tensile และ เทคนิค การ Hot Stamp หรือ การปั้มงานร้อน เพื่อลดน้ำหนักในการสร้างชิ้นส่วนที่ต้องการความแข็งแรงสูง
  • ติดตั้งวงแหวน 2 ชั้น หรือ Inner Frame ในโครงสร้าง ตัวรถ เพื่อการปกป้องที่ดี ทั้งกับผู้โดยสาร และตัวแบตเตอร์รี่ ในยามเกิดอุบัติเหตุ
  • สร้างโครงสร้าง เพื่อปกป้องแบตเตอร์รี่ และ ติดตั้งแผ่นบังใต้ท้อง เพื่อป้องกัน แบตเตอร์รี่เสียหาย ในระหว่างการขับขี่ทางสมบุกสมบัน
โครงสร้างแบบ Inner Frame เป็นสิ่งที่ชัดเจน ถึง ซีกเนเจอร์ ซูบารุ ในรถคันนี้

ทางด้านตัว มอเตอร์ ในรุ่นที่ขายในไทย เป็นรุ่นขับเคลื่อนไฟฟ้า มาพร้อมมอเตอร์ 2 ตัว ติดตั้งไว้ทางด้านหน้าและด้านหลัง ทางโตโยต้า เลือกใช้ มอเตอร์ของ Blue Nexus บริษัท ภายใต้ การร่วมมือระหว่าง Denso , Aisin และ Toyota มาใช้ในรถคันนี้

มอเตอร์ไฟฟ้า ขับเคลื่อน รหัส YM1 ถูกติดตั้ง 2 ตัว ทางด้านหน้าและด้านหลัง อย่างละตัว พร้อมประกอบ เป็นชิ้นส่วนสำเร็จที่เรียกว่า e-Axle มีกำลังขับ ตัวละ 109 แรงม้า ให้กำลังขับรวม สูงสุด 218 แรงม้า ทำแรงบิดสูงสุด 337 นิวตันเมตร ส่งกำลังบำรุง ด้วยแบตเตอร์รี่ ลิเธียมไอออน ขนาด 71.4 Kw

ส่วนระบบช่วงล่าง ทางด้านหน้า เลือกใช้ แม็คเฟอร์สันสตรัท ,​ทางด้านหลัง Double Wish Bone พร้อมคอยย์ สปริง (สเป็คบ้านเรา อาจจะเขียนว่า Trailing Arm แต่ไม่ใช่) ด้านระบบเบรก เป็นดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อมจานระบายความร้อน ทั้งหมด เพื่อช่วยสยบฝูงม้า ในการขับขี่ได้อย่างมั่นใจ

ด้านเรื่องที่หลายคนกังวล ว่ารถคันนี้ลุยน้ำได้สูงสุด เท่าไรนั้น จากสเป็คยุโรป มันลุยได้สูงสุด 500 มม. ส่วนที่โชว์ตอนเปิดตัว น้ำสุง 300 มม. บางคนอาจมองไม่ใจเลย แต่ ความจริง รถยนต์ไฟฟ้าเจอ น้ำ ก็อย่าไปใส่จัดเต็ม ไฟฟ้ากับน้ำ ก็รู้ว่า เลี่ยงได้ คือเลี่ยง

การทดลองขับ

การทดลองขับวันนี้ ต้องเรียกว่า เป็นการลองเพียง สั้น ๆ ทุกสื่อที่คุณดูรีวิว ไม่ว่าจะผม หรือ ท่านใด ก็ตามจะมีโอกาส ลองขับ เพียง ท่านละ 15 นาที

ในการทดลองขับ ทั้งหมด ทำในสนาม หลัง Toyota Alive บางนา ทางโตโยต้า ตั้งเป็นด่านๆ ให้เราได้มีโอกาส ลองสัมผัส หลายรูปแบบ

อัตราเร่ง

ด่านแรกของเรา เป็นการทดสอบ อัตราเร่ง , ตามการเคลม ของทางโตโยต้า รถรุ่นนี้ มีอัตราเร่ง 0-100 ก.ม./ช.ม​ ที่ 6.9 วินาที เท่านั้น ถ้าจะถามว่า ความรู้สึกเป็นอย่างไร

ผมต้องบอกตามตรงว่า อาการดึงของรถคันนี้ คล้ายกับ การที่คุณนั่งเครื่องบิน แอร์บัส เอ 320 กำลังขึ้นจากสนามบินนั่นแหละ มันรุนแรง แต่นุ่มนวล อาการไม่ร้อนแรง ฮึดฮัทแบบ วอลโว่ แล้วก็ไม่เฉื่อย จนรู้สึกว่ารถคันนี้เชื่องช้า

ที่จริง ระหว่างการลองขับในสถานีนี้ 3 ครั้ง ผมทดลอง กดคันเร่ง ต่างกัน ถ้ากดแบบใช้งานทั่วไป เวลาเราออกตัวจากไฟแดง ความเป็นขับสี่ทั้งดึงทั้งดัน ทำให้รถคันนี้ค่อนข้าง จะตอบสนองได้ดีเรื่องความนุ่มรวล

เมื่อไรก็ตามที่คุณ ต้องเร่งเอาเรื่อง อัตราเร่งจะผงาดออกแบบ เครื่องบินจะทะยานขึ้นจากฟ้า ผมลองจับอัตราเร่ง คร่าวๆ โดยการบันทึกวีดีโอ พบว่า อัตราเร่ง ที่ทดสอบในสนาม เราได้ตัวเลข 0-100 ก.ม./ช.ม. ในเวลา 6.28 วินาทีเท่านั้น เร็วกว่าที่ โตโยต้า เคลมไว้ เสียอีก

การทดสอบ การควบคุม

สถานีต่อมา เป็นการทดสอบ การควบคุมตัวรถ ซึ่งเราจะพิสูจน์ สำคัญ ใน 4 ส่วน คือ พวงมาลัย ,​ระบบกันสะเทือน,ระบบเบรก และ ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ

ในแง่การควบคุมบังคับเลี้ยว เป็นหน้าที่ของพวงมาลัย รถคันนี้ใช้พวงมาลัยไฟฟ้า น้ำหนักพอประมาณ ไม่มาก หรือน้อยเกินไป จากที่ขับบังคับเลี้ยวในสถานีสลาลอม ไม่หย่อนยานเกินไป แต่ไม่ถึงขนาดคมกริป เป็นรถสปอร์ต เป็นน้ำหนักที่ผู้หญิงก็ได้ ท่านชายขับก็ดี

เวลาเปลี่ยนเลน ไม่มีอาการหน่วง หรือ Centering มาก แถมการให้พวงมาลัยไฟฟ้า ทำให้ การสะเทือนจากถนน ถึงมือคนขับไม่มากนัก ช่วยเพิ่มความสบายในการขับขี่

ทางด้านการตอบสนองระบบกันสะเทือน ออกมาในทางเฟิร์มนุ่ม เสียมากกว่า ที่จริง ช่วงล่างแนวนี้ ผมเคยผ่านมือมาจาก Subaru Outback

ส่วนตัว ผมว่า มีความรู้สึกไม่ต่างกันมาก คุณรู้สักได้ ถึงช่วงล่าง ที่มีความสบายในการโดยสาร ตลอดทุกเส้นทาง ระบบช่วงล่าง ทั้งทางด้านหน้า และด้านหลัง มาพร้อมกับ เหล็กกันโคลง ช่วงลดการโยนตัว เห็นได้ชัด ตอน คุณบังคับเปลี่ยนทิศทาง รถจะไม่โยนตัวจนน่ากลัว

อีกประการระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ที่ใช้มอเตอร์ สามารถ ปรับ การขับกำลัง ในแต่ละล้อได้ด้วย ทำให้ แรงบิดของล้อ สามารถแปรผันการทำงานได้ เวลาบังคับเลี้ยว ลดการโยนตัว เพิ่มการตอบสนอง ต่อความแม่นยำในการขับขี่มากขึ้น

แต่สิ่งที่เราเห็นอย่างหนึ่ง คือ เมื่อเลี้ยวเร็วๆ เวลาเราบังคับเลี้ยวไว รถจะเกิดอาการหน้าดื้อ อย่างเห็นได้ชัด และ เช่นกัน เวลาเดินคันเร่งแรงในโค้งจะมี อาการท้ายออกง่าย อันมาจากแรงบิดมหาศาล ที่ส่งมาเฉียบพลัน

แม้ ฟังแล้วอาจจะดูขับยาก แต่จริงๆ ง่ายกว่า ที่คุณคิดเยอะมาก ทุกอย่างถูกปรับด้วยระบบขับเคลื่อน และฟังชั่นระบบควบคุมการทรงตัว เพียงแต่ระวังสักหน่อย เวลาขับขี่บุ่มบ่าม อาการไม่พึงประสงค์แบบนี้ อาจมาทักทาย ได้เหมือนกัน

ทางด้านการเบรก ต้องยอมรับว่า Toyota BZ4X เป็นรถที่ค่อนข้างเบรกมั่นใจสั่งได้ จากที่เราหยุดในความเร็ว 100 ก.ม./ช.ม. เท่าที่สังเกต ใช้ระยะทางน้อยมาก น่าจะอยู่ราวๆ 40 เมตร ต้นๆ เท่า ที่กะ ด้วยจำนวนกรวยในสนาม ส่วนสำคัญ มาจาก การให้เบรกรีเจน ช่วยดึงหน่วงในช่วงแรกประกอบ กับชุดเบรก แบบจานระบายความร้อน ทั้ง 4 ล้อ ก็ช่วยให้ อำนาจ การสั่งหยุดมั่นใจ เท่าที่ลองในสนาม แต่บนถนนจริง จะเป็นอย่างไร ไว้ต้องรอทดสอบกันอีกที

ด่านสุดท้าย เป็นการทดสอบ สภาพถนน และการกระโดดสะพาน เจ้า BZ ทำได้น่าประทับใจ ในการเก็บอาการช่วงล่าง ในระหว่างการขับขี่ ที่จริง มันกลายเป็นรถยนต์ อเนกประสงค์ที่ผมเขื่อว่า หลายคน จะหลงรัก ทันทีที่มีโอกาสลอง ขับนุ่มก็ได้ บู้ก็ดี แถมยังเป็นรถยนต์ไฟฟ้าอีกต่างหาก

สรุป Toyota BZ4X เร่งดีขับมั่นใจ …​ตอบ โจทย์ที่สุด

ก่อนที่ผมจะมาลอง Toyota BZ4X ,ผมมีโอกาส ลองขับ ขับรถยนต์ไฟฟ้าอีกรุ่นในเครือ โตโยต้า นั่นคือ Lexus UX300e ตั้งแต่สัมผัสครั้งนั้น ผมพอจะเดา ทางสิ่งที่โตโยต้า พยายามจะนำเสนอ กับรถยนต์ไฟฟ้าของพวกเขาได้ทันที ว่าน่าจะออกมาเป็นอย่างไน

หลังจากสัมผัส ผมบอกได้ทันทีว่า มันไม่ต่างจากที่คิด โตโยต้า พยายามทำให้รถของพวกเขา เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่มองหารถยนต์อเนกประสงค์ไฟฟ้า เหมือนที่เคยเป็นในรถยนต์ทุกรุ่นของโตโยต้า อัตราเร่ง ที่ว่องไว ช่วงล่างที่ตอบสนองดี ไม่นุ่มจนย้วยเกินไป ไม่กระด้างจนคนโดยสารบ่นอุบ

แถมการได้ ซูบารุ มาช่วยปั้นแต่งรถคันนี้ ทำให้ มันมีความสมบูรณ์ ใน DNA ของ ความเป็นรถอเนกประสงค์มากขึ้น กับราคาตัวรถขนาดนี้ จัดว่าไม่ได้แพงมาก ที่ญี่ปุ่นยังขายราคา 1.95 ล้านบาท ไทยยังขายถูกกว่าตั้ง 1 แสนบาท

แถมความพร้อมเรื่องหลังการขาย โตโยต้า ก็ปูทางมาอย่างดี จนไร้กังวล ไม่มีทางให้เสียชื่อแบรนด์ และ ด้วยคุณภาพตัวรถ ที่ประกอบด้วย คุณภาพ, ความทนทาน และ ความมั่นใจ ทำให้ รถคันนี้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่น่าสนใจ

หลายคน อาจจะนำไปเปรียบกับ BYD atto 3 ด้วยเหตุผล ทางด้าน รูปแบบตัวรถ ลักษณะ และ ความที่ประเทศจีน เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเบอร์ต้นๆ โดยเฉพาะ BYD เอง

แต่หลัง จากขับ ผมว่ามันต่างกัน BYD Atto 3 เป็นรถยนต์ที่ใช้งานได้ดี สำหรับการใช้งานทั่วๆไป ไม่ใช่คนที่เน้นบู้สุดพลัง ความนุ่มนวลในการโดยสาร กลางๆ ยังมีแอบกระด้างบ้างในบางจังหวะ และ จริงๆ อยากให้รถคันนี้ขับสนุก มั่นใจควรเปลี่ยนยาง เป็นยี่ห้อที่คุ้นเคย น่าจะดีกว่านี้

กลับกัน ทาง BZ4X ชัดเจน ว่าเกิดมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าพรีเมี่ยม เน้นขับนุ่มนวล สบายมั่นใจ มีพละกำลังให้ใช้ พอสมควร ไม่มากไปน้อยไป เน้นการตอบสนองดีในการขับขี่ เป็นรถที่วางใจ และเลือกใช้ของดี ในตัว เพื่อความมั่นใจในการใช้งาน

ทั้งหมดนั้น สำหรับ ผม Toyota BZ4X เทียบกับ ราคาถือว่ายังค่อนข้าง ถูกเสียด้วยซ้ำในความจริง คุณได้รถใหญ่ มีฟังชั่น ขับเคลื่อนสี่ล้อ ได้ความมั่นใจแบบโตโยต้า และสำคัญ นำเข้าจากญี่ปุ่นทั้งคัน ทั้งหมดนั้น ทำให้ รถคันนี้ น่าใช้ แต่ ที่เหลือ คงต้องรอ เรามีโอกาส จับมัน ขับบนถนน เมืองไทยเสียก่อน

แล้วค่อยว่ากัน

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่