ในบรรดาความปลอดภัยพื้นฐานในรถยนต์ระบบเบรก ถือเป็นคยวามปลอดภัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างมากในการสั่งรถให้หยุดตามต้องการ และป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ

แม้ว่า “เบรก” จะถูกใช้บ่อย และเราหลายคนใช้มันกันเป็นประจำอย่างชิน ทว่าการเบรกหยุดรถ ก็ไม่ใช่แค่ว่าสับจะเหยียบแป้นกระทืบลงไปโดยหวังว่ารถจะหยุดได้สนองทันท่วงที … ทั้งหมดมีขั้นมีตอน ที่สมควรจะเข้าใจ

รู้จักระยะคิด … ระยะเบรก

มีโรงเรียนสอนขับรถจำนวนไม่มากที่พูดถึงเรื่อง ระยะคิดและระยะเบรก ในการขับรถ

ระยะคิด คือ ระยะเวลาที่เรากำลังประมวลว่าควรจะตัดสินใจหรือไม่ โดยมากเมื่อเราคิดว่าจะตัดสินใจเบรกแล้ว จะใช้เวลาอีก 1 วินาทีในการตอบสนองต่อแป้นเบรก และเมื่อกดแป้นเบรกไปแล้วจะใช้เวลาอีก 1 วินาที หรือเร็วกว่านั้น ระบบเบรกจึ่งจะเริ่มทำการห้ามล้อลดความเร็วให้เรา 

ยิ่งรถมีเบรกที่มีประสิทธิภาพสูง ระบบเบรกจะทำงานเร็วขึ้น สนองทันความคิดของเรามากขึ้น ทำให้เวลาขับเร่งและใช้เบรกได้ทันท่วงที กว่ารถธรรมดาทั่วไป

ส่วนระยะเบรก คือ ระยะที่เราเริ่มทำการเบรกจนถึงความเร็วที่ต้องการ หรือจนหยด ซึ่งยิ่งมาด้วยความเร็วสูงระยะเบรกก็ยิ่งไกลขึ้น  นี่จึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมยิ่งขับรถด้วยความเร็วจึงต้องทิ้งระยะห่างมากขึ้น นั่นเพื่อป้องกันการเบรกไม่ทันและเกิดการชนท้ายอย่างรุ่นแรง

ใช้  ABS  หรือไม่

ระบบเบรก  ABS  หรือระบบเบรกป้องกันล้อล็อค เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเบรกอย่างรุนแรงไม่ให้เกิดอาการล้อล็อค ซึ่งจะทำให้รถเกิดการเสียหลัก หรือลื่นไถล จนอาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้

ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค คุณสามารถเลือกจะใช้หรือไม่ใช้มันก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราเอง แต่ระบบนี้ไม่มีสวิทช์ปิด-เปิดให้เรามาจากผู้ผลิต คุณต้องรู้จังหวะเองว่า จังหวะไหนที่ระบบเริ่มทำงาน

ระบบเบรก ABS

เมื่อระบบเริ่มทำงาน  เบรกของคุณจะตอบสนองเปลี่ยนไปจะมีอาการสะท้านเท้า ซึ่งข้อดีของระบบเบรก  ABS   คือคุณสามารถใช้พวงมาลัยหักหลบได้ เพื่อเลี่ยงการชนท้าย แต่ในทางกลับกันด้วยการเบรกจับๆ ปล่อยๆ ถี่ๆ ในเสี้ยววินาที ทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกนั้นน้อยกว่า (อาจมีระยะทางมากกว่า) เบรกที่คุณเหยียบไว้ตลอดเวลาในจุดสูงที่สุด ก่อนระบบเบรก  ABS  ทำงาน

ดังนั้นคุณจำเป็นต้องคิดด้วยว่า จะใช้ตัวช่วยดีหรือไม่ ในการเบรก

เบรกเป็นทางตรงเสมอ

อาจไม่มีใครบอกคุณ แต่เราจะใบ้ให้ว่าประสิทธิภาพในการเบรกดีที่สุด คือเบรกเป็นเส้นตรง หรือ   Straight Line Brake   เนื่องจากหน้าสัมผัสยางอยู่ในระนาบและสัมผัสมากที่สุด

ตลอดจนยังไม่มีทำให้รถเกิดการเสียอาการ เมื่อเทียบกับการเบรกในทางโค้ง หรือ เบรกในขณะหักเลี้ยว ผู้ฝึกสอนทางด้านการขับขี่ปลอดภัยส่วนใหญ่ จะแนะนำให้เบรกเส้นตรง เพื่อใช้ประสิทธิภาพจากยางและเบรกสูงสุด ดังนั้น เมื่อรู้แล้ว ก็ลองไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันดู

ผ่อนคันเร่ง ขับไม่ต้องเบรกก็ได้

ด้วยรถสมัยนี้เป็นระบบเกียร์ออโต้ ทำให้เราหลายคนนึกว่าเราจะฝากชีวิตไว้กับเบรกอย่างเดียว จนทำให้เราเบรก เบรก และเบรก  กันอุตหลุด โดยลืมไปว่าเบรกไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถลดความเร็วในรถได้

ถ้าไม่นับการดความเร็วด้วยเบรก “การผ่อนคันเร่ง” ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้คุณลดความเร็วได้เช่นกัน เมื่อคุณผ่อนคันเร่ง กำลังเครื่องยนต์จะถดถอยลง และด้วยน้ำหนักตัวรถ รวมถึงคุณจะช่วยถ่วงให้รถชะลอดความเร็วลงโดยไม่ต้องใช้เบรก เพียงคุณกะระยะจากคุณถึงคันหน้าให้ถูกต้อง คุณก็ไม่จำเป็นต้องเบรกไปหาคันหน้า แต่ใช้การชะลอความเร็วเข้าไปหาแทน จนกระทั่งรู้สึกว่าเริ่มชิดมากแต่เรายังเร็วอยู่ ถึงค่อยใช้เบรก แบบนี้จะทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกดีขึ้น และไม่ต้องเบรกหนักด้วย

เบรก 2 จังหวะ ..เคล็ดไม่ลับใช้ยามลงเขา

หนึ่งในวิธีที่ผมนิยมใช้ลงเขาเป็นประจำ อย่างหนึ่งคือ การเบรก 2 จังหวะ เพื่อให้รถเบรกรถของเราไม่ไหม้ หรือมีความร้อนเกินไป จนอาจจะเป็นภัยในการขับขี่ได้

คนจำนวนมากมันจะใช้วิธีการเบรกต่อเนื่องและเลียเบรก เมื่อขับลงเขา ทำให้เมื่อถึงขัดจำกัดที่ผ้าเบรก และน้ำมันเบรกจะทนได้ พวกมันจะพร้อมใจกันหายตายไปจากหน้าที่ หรือเกิดอาการเบรกเฟด ซึ่งทำให้คุณไม่สามารถชะลอความเร็วรถได้

อาการนี้จะหายไปถ้าคุณให้เบรกได้พักบ้างเพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นจากแรงเสียดทาน นี่จึงเป็นที่มาของการเบรก 2 จังหวะ

วิธีการก็ง่ายมาก คือให้คุณใช้เบรกปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนเมื่อถึงจังหวะที่คุณเห็สมควรเช่นอาจจะห่างจากคันหน้ามากพอ เป็นทางลงเนินไม่ชันมาก ให้ปล่อยเบรกสั้นๆ ช่วงเวลา 2-3 วินาที ซึ่งก็เพียงพอต่อการระบายความร้อนที่จานเบรกแล้ว

ลองหัดให้ชำนาญ การเบรก 2 จังหวะจะทำให้คุณลงเขาอย่างปลอดภัย เบรกไม่เฟด อีกต่อไป เมื่อจับจังหวะได้ จะสบายใจหายห่วงเลย (ค่อยๆลองหัดแล้วกัน)

เป็นไงบ้างครับเทคนิคการใช้เบรก เห็นว่าจะมีมากมายหลากหลายเลยใช่ไหม … ก็ไม่น่าแปลกใจนัก การใช้เบรกเป็นสิ่งที่พวกเราไม่เคยคิดถึงกันมาก่อนว่ามันมีความสำคัญอย่างมาก ดังนั้นต่อไป คุณควรจะลองหัดใช้เบรกให้ชำนาญการ เพื่อจะได้ทั้งขับปลอดภัยและมั่นใจขึ้น …

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง นักทดสอบรถยนต์ และ คอลัมนิสต์ เว็บไซต์   Ridebuster.com  ติดตามผลงานการเขียน และข้อมูลที่น่าสนใจได้ทาง  Facebook 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่