ในบรรดาการดูแลรถยนต์น้ำมันทั้งหลายที่สมควรเปลี่ยนจากรถยนต์ตามระยะเวลาในการใช้งาน “น้ำมันเบรก” น่าจะเรียกว่าเป็นอย่าสุดท้ายที่หลายคนจะนึกถึง ที่ผ่านมามีคนกล่าวถึงพวกมันน้อยมากเนื่องจากการทำงานระบบปิด และไม่แตะต้องกับชิ้นส่วนที่มีการเสียดทานสูง … จึงคิดว่าใช้ได้ยาวใช้ได้นานโดยไม่ต้องทำอะไร

การเปลี่ยนน้ำมันเบรกหรือไม่ เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงมายาวนาน เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์บางรายไม่ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน บางรายบอก 10  ปีค่อยเปลี่ยนเช่น   Chevrolet   บางรายบอกเปลี่ยน 2 ปี เช่น Volkswagen  บางยี่ห้อบอกเปลี่ยนทุก2 หมื่นกิโลเมตร สรุปใครถูกใครผิด แล้วมันต้องเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน จนอาจกลายเป็นเรื่องน่าเวียนหัวปวดกบาลไปเสียอย่างงั้น

ก่อนอื่น .. น้ำมันเบรกคืออะไร?? น้ำมันเบรกคือน้ำมันไฮโดรลิกชนิดหนึ่งที่บริษัทรถยนต์ใช้ในการสร้างแรงดันจากแป้นเบรกที่กดไปบนแม่ปั้มบน(ที่เราเเหยียบแป้นเบรกลงไป) ส่งไปยังชุดปั้มเบรก หรือที่เราเรียกว่าคาลิปเปอร์เบรกทั้ง 4 ล้อ ไม่ว่าจะระบบเบรกแบบดิสก์เบรก หรือ ดรัมเบรกแรงดันระบบเกิดจากน้ำมันเบรกทั้งสิ้น

หลายคนคิดว่าพวกมันไม่มีทางเสื่อมสภาพ แต่เราจะเห็นได้ว่ารถยิ่งเก่าน้ำมันเบรกยิ่งขุมข้นบ้างอาจจะเปลี่ยนสีไปตามกาลเวลาจากสีเหลืองอ่อนๆ ใส่ ก็เริ่มเข้มมากขึ้นมีน้ำตาลขึ้น จนรถบางคันอาจมีสีดำ …ด้วยซ้ำไป

หน้าที่ของน้ำมันเบรกใจความสำคัญคือ การดันลูกสูบที่ปั้มเบรกเพื่อให้ผ้าเบรกเสียดทานกับชุดจานเบรก เกิดแรงเสียดสีเพื่อหยุดแรงเคลื่อนตัวของรถ

ในทางหนึ่งปั้มเบรกมีความร้อนจากการเบรกด้วยส่วนหนึ่ง เนื่องจากผ้าเบรกจะถูกดันผ่านลูกสูบของปั้มเบรก และในลูกสูบมีน้ำมันเบรกเพื่อช่วยส้รางแรงดันในการกดผ้าเบรกให้เกิดแรงเสียดทานตามที่ผู้ขับขี่ต้องการ

แม้ในหลักการแล้วมีคนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าความร้อนจากผ้าเบรกไม่มีทางจะผ่านไปยังน้ำมันเบรกได้ แต่ความจริงแล้วมันเป็นไปได้เพราะชิ้นส่วนลูกสูบเบรกเป็นส่วนหนึ่งของแม่ปั้มเบรก และมีน้ำมันเบรกอยู่ข้างในนั้น

ความร้อนจากผ้าเบรกส่วนหนึ่งถูกระบายออกไปทางจานเบรกที่มีหน้าที่หลักในการระบายความร้อนไม่ให้ผ้าเบรกมีความร้อนสุง ซึ่งจะทำให้เบรกได้ไม่มีประสิทธิภาพ ตัวแม่ปั้มเองก็รับความร้อนของผ้าเบรกไว้ส่วนหนึ่งด้วยแต่ก็ยังน้อยกว่าจานเบรกมาก

Brake-pad (4)

แต่ก็มีในบางกรณีที่แม่ปั้มจะรับความร้อนจากผ้าเบรกไว้มากเช่นกัน โดยเฉพาะการขับขี่ที่จะต้องเบรกรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เช่นการขับลงเขา หากผ้าเบรกจนเบรกจนถึงขีดสุดที่จะทนความร้อนได้ (350-400องศาเซลเซียส) เมื่อมีอาการเบรกเฟดเกิดขึ้น (เบรกแล้วไม่มีความรู้สึกถึงแรงเบรก) นั่นหมายความถึง น้ำมันเบรกถึงจุดเดือดแล้ว ซึ่งในทางหนึ่งทำให้น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ

ถ้าคุณลองขับเบรกด้วยความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แล้วลงมาดูที่ถังพักน้ำมันเบรกจะพบว่า น้ำมันเบรกที่เคยใสเปลี่ยนสีเป็นคล้ำขึ้นหรืออย่างแย่ที่สุดกลายเป้นสีดำ ซึ่งมาจากการที่น้ำมันเบรกเดือดจนเกิดคราบเขม่าในน้ำมันเบรก และคราบเขม่าเหล่านี้ทำให้ลูกยางในสูบเบรกปัญหาได้ในระยะยาว  (น้ำมันเบรกเดือดที่ความร้อน 205 องศาเซลเซียส สำหรับน้ำมันเบรก   Dot3)   และน่าแปลกที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงน้ำมันเบรกในเรื่องนี้ เพื่อให้เหตุผลคุณเปลี่ยนน้ำมันเบรก มากเท่าบอกคุณว่า อาจเป็นไปได้ที่จะมีน้ำเข้าไปเจอปนเมื่อใช้งานไปนานๆ

ดังนั้น …. เราต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรกหรือไม่ คำตอบ คือ ต้องเปลี่ยน!! … ครับ

แล้วเปลี่ยนเมื่อไร… จากที่ทำการบ้านโดยดุข้อมูลจากหลายผู้ผลิต ผู้ผลิตหลายรายให้เปลี่ยนทุกๆ  1-2 ปี ภายใต้ภาวะว่า คุณไม่ได้ขับรถด้วยความเร็วสูงเป็นประจำ หรือใช้รถในสนามแข่งขัน  หรือถ้าเทียบเท่าระยะทางในการใช้รถก็ประมาณ 40,000 กิโลเมตร เท่ากับระยะทาง ผ้าเบรก 2 ชุด หรือยาง 1 ชุด คุณควรจะเปลี่ยนน้ำมันเบรก 1 ครั้ง  

brake fuid

และในกรณีที่คุณขับรถไปเที่ยว ขึ้นเขาลงเขาจนผ้าเบรกไหม้ หรือขับแล้วพบอาการเบรกเฟด (เบรกแล้วรถไม่อยู่และภายหลังพบว่าทำงานได้ปกติ) หากเป็นไปได้ ควรจะเปลี่ยนน้ำมันเบรก โดยเฉพาะถ้าตรวจสอบ พบว่าน้ำมันเบรกมี ลิ่นไหม้ และมีสีน้ำตาล มีคราบหรือผงสีดำเจอปน ควรจะรีบจัดการเสีย เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด

ส่วนจะเปลี่ยนน้ำมันเบรกอย่างไร สมควรให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า และก็เพียงใช้ให้ตรงตามที่ผู้ผลิตเขากำหนดเท่านั้น ซึ่งมีระบุไว้ในคู่มือและบนฝาน้ำมันเบรก

หลายคนมองข้าม “น้ำมันเบรก” ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บางคนคิดว่ามันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความร้อนและใช้เพื่อสร้างแรงดันเท่านั้น แถมเป็นระบบปิด จึงน่าจะใช้ได้นานเท่าที่น้ำมันยังไม่ทำให้เบรกมีปัญหา ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องทั้งหมด

 หากคิดตามทำไมน้ำมันจึงเปลี่ยนสีได้ทั้งที่เป็นระบบปิด ความจริงทั้งหมดกระจ่างแล้ว ว่าน้ำมันเบรกบางส่วนสัมผัสความร้อนจากการเบรกบ้าง และมันสามารถเสื่อมสภาพได้เช่นกัน  ดังนั้นอย่ามองข้ามเรื่องเล็กๆ อย่างน้ำมันเบรกครับ

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่