วิกฤตการณ์ ฝุ่นละอองจนาดเล็ก   PM 2.5   เมื่อต้นปี สร้างกระแสให้คนไทยเริ่มรู้จักภัยเงียบเครื่องยนต์ดีเซล ขุมพลังยอดนิยมคนไทยในบรรดารถกระบะทั้งหลายว่า มีอันตรายเงียบแฝงมา จนภาครัฐมีมาตรการต่างๆ นานา ออกมา รวมถึงการกวดขันการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล

แนวทางหนึ่งที่พูดถึงกันมากตั้งแต่ต้นปี และดูเหมือนจะสร้างศักยภาพตอบโจทย์ชัดเจนในระยะยาว หนีไม่พ้นการอัพเกรดระบบฟอกไอเสียในเครื่องยนต์เป็นมาตรฐานไอเสีย Euro 5   จาก  Euro 4   ในปัจจุบัน ภาครัฐดูกระเหี้ยนกระหือรือในช่วงแรก เรียก บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ปรึกาหารือในแนวทางดังกล่าว แล้วอยู่ดีๆ เกมการปรับเครื่องยนต์ให้สะอาด ถูกล้มคว่ำด้วย การแนะนำพลังงานทางเลือก  B20   ออกสู่ตลาด หวังว่าจะลดไอเสียและช่วยชาวสวนปาล์มน้ำมันภาคใต้ไปพร้อมกัน

การออกน้ำมัน   B20  มาตอบโจทย์ในเวลานี้ เป็นทางออกที่ดีจริงหรือไม่ ไม่มีใครตอบได้ ในแง่ผู้รถกระบะส่วนใหญ่เห็นข้อดีน้ำมันพลังงานทางเลือกชนิดนี้ว่า มีราคาค่าใช้จ่ายต่อลิตรถูก เนื่องจากมีส่วนผสมของไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น

ทางด้านบริษัทรถยนต์รายสำคัญ ออกตัวเด้งรับน้ำมัน  B20   ทันที อาทิ   Toyota , Isuzu  เป็นรายแรกที่ประกาศรับรองการใช้น้ำมันดังกล่าว ก่อนภายหลังจะตามมาด้วย  Nissan    และ   Mitsubishi  ตามลำดับ  จนไม่มีใครถามข้อเท็จจริง เรื่องการลดฝุ่น   PM 2.5   ว่า น้ำมันดังกล่าวสามารถลดมลภาวะได้จริงหรือไม่ เนื่องจากสภาพอากาศระยะหลังเป็นช่วงหน้าร้อน ปัญหาฝุ่น จึงไม่ถูกยกขึ้นมาพูดถึงนัก

การชูน้ำมัน   B20   ลดปัญหาฝุ่นได้ เป็นความจริงหรือไม่ เป็นคำถามที่เกิดขึ้นนวงสังคมผู้ใช้รถกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาภาครัฐไม่ได้แสดงผลการทดสอบน้ำมันชนิดนี้ว่า ลดมลภาวะได้จริงอย่างที่เชิญชวนให้ประชาชนใช้

ทางทีมงาน   Ridebuster.com   ได้สืบเสาะเรืองนี้หารายงานวิจัยอ้างอิง และเราได้มา 2 เรื่องสำคัญ โดยงานวิจัยแรกเป็นการสรุปผลการศึกษาน้ำมัน  B20   ของ   กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งได้ว่าจ้างที่ปรึกษา 2 หน่วยงาน คือ กรมอู่ทหารเรือ และกรมควบคุมมลพิษ เพื่อทดสอบสมรรถนะและการปล่อยมลพิษของรถยนต์ที่ใช้ไบโอดีเซล โดยทำการทดสอบการใช้ไบโอดีเซลในสัดส่วนที่แตกต่างกัน คือ B2, B5, B20, B40, B50 และ B100

ผลการทดสอบในรายดังกล่าว แบ่งเป็นการศึกษาจากทาง 2 ด้าน คือ กรมอู่ทหารเรือ และ กรมควบคุมมลพิษ โดยประเด็นหลักที่ได้สรุปในรายงานบ่งชัดว่า   B20   ทำให้การปล่อยควันดำของเครื่องยนต์ดีเซลลดลงอย่างเห็นได้ชัด

กลับกันในเรื่องการปล่อยก๊าซไอเสียของเครื่องยนต์ กลับพบว่า มีการปล่อยก๊าซ  Co2  สูงขึ้นกว่าการใช้น้ำมันดีเซลปกติ

แม้นว่ารายงานนี้จะออกมาสรุปอย่างชัดเจนในเรื่องมลพิษ หากก็ไม่มีชิ้นรายงานวิจัยอย่างชัดเจน เป็นข้อมูลแสดงผลการทดสอบอย่างเด่นชัด มีเพียงรายงานฉบับย่อสรุปประมาณ  1 หน้ากระดาษ A4   เท่านั้น

ในรายงานชิ้นที่ 2 เป็นรายงานศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลย์สงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2559 ในหัวข้อ  “การศึกษาสมรรถนะและมลพิษของเครื่องยนต์ดีเซลรอบกลาง เมื่อใช้น้ำมันไบโอดีเซล”  .. อ่านข้อมูลการวิจัยได้ที่นี่ 

การศึกษาดังกล่าวใช้เครื่องยนต์ 3 รุ่น ได้แก่   Hino รุ่น  H07C ,Cummin diesel  รุ่น 6B5.9 และท้ายสุด  Komatsu รุ่น S4D105-3 (เครื่องยนต์เรือประมง) มาศึกษากับไบโอดีเซล 3 เกรด คือ   B20,B50  และ  B100

มาตรฐานไอเสีย EURO5

ผลการศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้พบว่า อัตราสิ้นเปลืองของน้ำมันดีเซล   B20   ไม่ต่างจาก น้ำมันดีเซลปกติเท่าไรนัก แต่กำลังเครื่องยนต์จะลดลงตามค่าการผสมไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น

กลับการปล่อยไอเสีย Co2   มีแนวโน้มลดลง น้อยไปหามาก แปรผันตามการผมอัตราส่วนน้ำมันไบโอดีเซล หรืออาจกล่าวได้ว่า ลดการปล่อยควันดำให้น้อยลงกว่าเดิม

อย่างไรก็ดี ถึงจะปล่อยไอเสียต่ำควันดำน้อยลง ทว่า จากการศึกษาพบว่า   Nox หรือ  ไนโตรเจนออกไซด์ มีแนวโน้ม ปล่อยสูงขึ้นตามค่าผสมของสูตรน้ำมันไบโอดีเซล

Mazda2 (3)

Mazda2 (2)

ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ อาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก มันเป็นก๊าซพิษ ทำให้เกิดภาวะฝนกรด และเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งหลายโรค นอกจากนี้มันยังมีส่วนทำให้เกิด  PM 2.5   ในทางอ้อม เมื่อเกิดปฏิกิริยาทางเคมมีในอากาศ นั่นเท่ากับภาครัฐอาจขว้างงูไม่พ้นคอ

ด้านนักวิชาการ ภาควิชาวิศวกรรมเคม ลาดกระบัง เคยออกมาให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นดังกล่าว  โดยกล่าวถึงในเชิงเดียวกับการศึกษาในต่สงประเทศว่า ก๊าซอันตรายอื่นๆ จากการปล่อยไอเสีย เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ , ไฮโดรคาร์บอน และ คาร์บอนไดออกไซด์ อาจทำให้เกิด  PM2.5   ในภายหลัง

ผศ.ดร.ณัฐพล ฤกษ์เกษมสันติ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ให้ความเห็นทางวิชาการ กับ  Energynewscenter  ว่า ในอดีตได้มีการศึกษาถึงการปลดปล่อยสารอันตรายจากการใช้น้ำมันไบโอดีเซลสัดส่วนต่างๆ เทียบกับน้ำมันดีเซล EURO 4 จากการทดสอบในรถยนต์อายุ 1 ปีจนถึง 5 ปี

พบว่าปริมาณ PM จากการใช้น้ำมันไบโอดีเซลลดลงจริง แต่สารอันตรายชนิดอื่นเช่น ไนโตรเจนออกไซค์(NOX) ไฮโดรคาร์บอน (HC) และ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) กลับมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่ง NOX สามารถทำปฏิกิริยาต่อไปและเกิดเป็น PM2.5 กับ โอโซนในภายหลัง ซึ่งสารอันตรายเหล่านี้เกิดจากกระบวนการสันดาปภายในเครื่องยนต์ดีเซล ที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้สมบูรณ์ และปล่อยออกเป็นไอเสีย

ทาง ผศ. ดร. ณัฐพล ได้ให้ความคิดเห็นว่า ภาครัฐความจะต้องทำให้รถติดตั้งตัวกรองไอเสียหรือ  Catalytic Converter   เพื่อแก้ไขปัญหาก๊าซพิษอย่างถูกต้อง

หรืออาจกล่าวได้ว่า ทางออกที่ถูกต้อง คือ การมุ่งพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลให้ได้มาตรฐานไอเสียในระดับ   Euro 5   ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลที่ผ่านมาตรฐานไอเสียดังกล่าว จะต้องติดตั้งตัวกรองไอเสีย   Diesel Particular Filter   หรือ   DPF   เพื่อกรองไอเสีย และก๊าซพิษก่อนปล่อยออกสู่อากาศ

จากรายงานวิจัยข้างต้น ประกอบกับ ความคิดเห็นของนักวิชาการ จะเห็นว่า ทางออกของปัญหาฝุ่น  PM 2.5   ไม่ได้ แก้ไขได้หายขาดจากการใช้น้ำมันพลังงานทางเลือก  B20   การแก้ไขปัญหานี้โดยเด็ดขาดทันที คือการทำให้รถดีเซลรุ่นใหม่ ใช้ต้นกำลังที่มีความสะอาดขึ้นมาตรฐานไอเสียระดับ  Euro 5   ไปพร้อมกับลดรถดีเซลเก่าดั้งเดิม ที่สร้างไอเสียและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นในเรื่องนี้ทางออกของปัญหา จึงมาทางเดียว คือเดินหน้าผลักดันเครื่องยนต์ดีเซลยูโร 5 ให้เป็นมาตรฐานใหม่ เพื่อสิงแวดล้อมและสุขภาพที่ดีของประชาชน โดยใช้น้ำมันไบโอดีเซล  B20   เป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้น บรรเทาปัญหาในระหว่างนี้ไปพลางๆ

 



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่