กว่า 4 ปีที่ผ่านมา มาสด้า 2 (Mazda 2)  เป็นรถอีโค่คาร์ที่ยากจะหาใครเปรียบเทียบด้วยสมรรถนะการขับขี่เหนือชั้น ปีนี้ มาสด้าตั้งใจสร้างความว้าว  Mazda 2 MY 2020  ใช่ดีแค่หน้าตา สมรรถนะยังเลิศขึ้นแม้ไม่รับอะไรเลย

Mazda 2 MY 2020 Sedan - official

การเปิดตัวตั้งแต่งาน   Motor Expo 2019   , มาสด้า 2 ใหม่ จับใจด้วยการยกระดับงานออกแบบรถอีโค่คาร์ไปอีกขั้นให้ความรู้สึกดูพรีเมี่ยมกว่ารุ่นเดิม ส่วนสำคัญอยู่ที่ภายนอกใหม่ ที่มีการประบเปลี่ยนกระจังหน้าและกันชนหน้าใหม่ ตลอดจนรายละเอียดบางส่วนกันชนหลังด้วย

รุ่น 5 ประตู ให้ความสปอร์ตพรีเมีย่มมากขึ้นมีชายกันชนหน้าใหม่ ติดตั้งล้อ 16 นิ้ว ดีไซน์ เก็บงานกันชนหลังให้ดูสปอร์ตขึ้น พร้อมไฟท้ายใหม่ ในขณะที่รุ่นซีดานเน้นเปลี่ยนรายละเอียดทางด้านหน้า ด้านหลังให้กันชนใหม่ ไฟท้ายเดิม แต่มันดูน่าใช้กว่าเดิมมาก

Mazda 2 MY 2020 Sedan - official

Mazda 2 MY 2020 Sedan - official

ในรุ่นท๊อป มาสด้า 2  จัดเต็มด้วยความหรูหราภายใน ทีเรียกว่า Blue Gray Leather with  Grand Luxe Suede  ถ้าให้พูดตามตรงแบบเข้าใจง่ายๆ ห้องโดยสารภายในเปลี่ยนมาใช้หนังสีน้ำเงินคราม รับเข้ากับการตัดเย็บส่วนรองนั่งและพนักพิงหลังบางส่วนด้วยหนังกลับ เพื่อให้เสื้อผ้าเรา ดูดติดกับ  เบาะไม่เขยิบไปไหน แม้เบาะไม่มีปักบังคับแบบในรถสปอร์ตก็ตาม

Mazda 2 MY 2020 Sedan - official interior

Mazda 2 MY 2020 Sedan - official interior

มาสด้ายังเผยอีกว่า ตัวรถมีการปรับปรุงการบุเสียงในห้องโดยสารเพิ่มเติมหลายจุด เพื่อให้ความสบายในการโดยสารและเก็บเสียงระหว่างการขับขี่ดีขึ้น หากสิ่งที่มาสด้าดูจภาคภูมิใจมากในงวดนี้ คือ ระบบช่วยขับขี่  G Vectoring  Plus    จนต้องพาเราฝ่าเมฆหมอกมาเยือน สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต

ผมเชื่อว่า  G Vetoring Plus  น่าจะพอคุ้นหูกันมาบ้าง ถ้าใครนึกไม่ออกระบบเดียวกันนี้ถูกติดตั้งในรถยนต์ มาสด้า 3 ใหม่ เป็นมาตรฐาน รวมถึง มาสด้า ซีเอ็กซ์ 5 ด้วยการหยิบระบบนี้เข้ามาแนะนำในอีโค่คาร์ หลายคนอาจจะคิดว่ามันเกินความจำเป็นไม่ต้องใช้มันหรอกใความจริง

คนบ้าอะไรจะไปสาดเข้าโค้งในเมือง ทั้งยังขับท่ามกลางการจราจรติดขัดอีกต่างหาก ถ้าคิดแบบนั้นก็ไม่ผิด เพียงเราอยากจะบอกว่า คุณอาจพลาดของดีไปอย่างน่าเสียดาย

มาสด้า 2 อาจไม่ได้รับกับการปรับปรุงสมรรถนะอะไร มันยังคงมาพร้อมเครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร  Sk yActiv G   ให้กำลัง 93 แรงม้า  ที่ 5,800 รอบต่อนาที ทำแรงบิดสูงสุด 123 นิวตันเมตร สูงสุด ที่  4,000 รอบต่อนาที  เคียงข้างกันยังมีรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.5 ลิตร ให้กำลัง 105 แรงม้า สูงสุดที่ 4,000 รอบต่อนาที ทำแรงบิดได้ 250 นิวตันเมตร มาเรื่อยๆ 1,500-2,500 รอบต่อนาที ทั้งคู่พกเกียร์ออโต้ 6 สปีด ตอบโจทย์ในการขับขี่

การเติมระบบ   G Vectoring Control (GVC) Plus   เข้ามา ฟังแล้วอาจคิด เล็กน้อยเองนี่หว่า เหมือนอัพเดทแอปปิลเคชั่นบนมือถือ เพราะ มาสด้า 2 เดิม ก็มีระบบ G Vectoring Control (GVC)   มาให้อยู่แล้ว ในระบบ GVC Plus   ทางมาสด้าก้าวไปอีกขั้นด้วยกาใช้เบรกเข้ามาจำกัดและควบคุมรถด้วย ผิดกับระบบเดิมในเวอร์ชั่นแรก ใช้การตอบสนองเพียงเครื่องยนต์และเกียร์ เท่านั้น

ดังนั้น  GVC Plus   จึงดีกว่ามาก ถึงอาจจะคิดว่าก็แค่ใช้เบรกมาช่วยเพิ่ม หากความจริงในการเข้าโค้งหักหลบ หรือเปลี่ยนเลนกะทันหัน สิ่งที่นักขับทั่วไปไม่ได้คำนึงถึงสักเท่าไร คือ การถ่ายโอนแรงระหว่างการบังคับทิศทางรถ

เพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ มาสด้า ตั้งสถานีทดสอบ ให้เรา 2 สถานี ด้วยกัน ด่านแรก จำลองว่ามีวัวตัดหน้า เรามาด้วยความเร็ว 80 ก.ม./ช.ม. หักหลบวัว แล้ว เจอรถสวนหักหลบอีก ในทางเทคนิคเรียกว่า   Double Lange Change

มิตรคู่ใจในสนามวันนี้เป็นมาสด่ 2 ซีดาน ด่านแรกได้รุ่นเครื่องยนต์ดีเซลมาลองขับให้สะใจ เรื่องกำลังวังชาดีเซล หายห่วงเหยียบติดเท้าเร่งสะใจ ไม่เปลี่ยนแปลวง สถานีนี้เราถูกเซทให้ลองระบบ   GVC+   ที่ความเร็ว 80 ก.ม./ช.ม. เมื่อมาถึงจังหวะหักเลี้ยว ผมสัมผัสได้ถึงแรงเหวี่ยงที่ถูกควบคุมให้อยู่ในอาณัติ มากขึ้นเมือเทียบกับรถเล็กรุ่นอื่นในตลาด

ปกติแล้ว รถที่มีน้ำหนักเบา ถ้ายิ่งเปลี่ยนด้วยความเร็ว ใช้พวงมาลัยหักเลี้ยวมากกว่าปกติ รถอาจลื่นไถลเสียการควบคุม ในชีวิตจริง หมายถึงคุณอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้  มาสด้า 2 พิสูจน์ว่า   GVC   พลัส สามารถควบคุมรถให้อยู่หมัดได้สบาย เพียงเติมเบรกเข้ามาช่วย ควบคุมจังหวะที่เกิดการสะบัดของรถ

โดยเฉพาะรถซีดาน 4 ประตู ที่จะมีแรงเหวี่ยงมากเป็นพิเศษ ด้วยทรวดทรงท้ายยาว กว่าตูดสั้นแฮทช์แบ็ค จากที่ขับในสถานนี้หลายที รู้สึกว่าควบคุมง่ายกว่ารุ่นอื่ นๆ อย่างชัดเจน

GVC+   ไม่เพียงให้การควบคุมในเวลาเปลี่ยนเลนเท่านั้น  ระบบยังสามารถควบคุมให้รถเข้าโค้งได้ดั่งใจ งวดนี้แม่นยำมากขึด้วยการใช้เบรกช่วยถ่ายเทแรงเหวี่ยงในขณะเข้าโค้ง ไม่เพียงมันนั่งสบายยิ่งขึ้น ยังทำให้ออกจากโค้งด้วยความเร็วได้ด้วย

ในสถานีถัดมา เราเปลี่ยนมาใช้มาสด้า 2 เบนซิน ผมยังโชคดีถูกชะตากับรุ่น 4 ประตูเหมือนเดิม สิ่งที่เบนซินต่างจากรุ่นดีเซลอย่างชัดเจน นอกจากความแรงและการตอบสนองของเครื่องยนต์แล้ว ยังหนีไม่พ้นความรู้สึกทางด้านน้ำหนักตัวรถ ที่ดูเบากว่าพอสมควร และมีสมดุลกว่าในแบบฉบับมาสด้า

 

ด่านนี้ว่าด้วยเรื่องการเข้าโค้งล้วน ๆ ในช่วงโค้งต่อเนื่อง ในสนามช้างฯ โค้งที่ 7-11 ในสนามนี้ จะต้องมีการเบรกและเลี้ยวต่อเนื่อ งการไปให้เร็ว จะต้องแม่ไลน์ ความเร็วดี ที่เหลือคือใจและสภาพรถ

เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ทางครูฝึก ได้ให้เราวนรอบแรก โดยไม่เดินคันเร่งระหว่างเข้าโค้ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ตัวรถจะเยอะ แม้ว่าระหว่างไหลเข้าโค้ง จะความเร็วเพียง 70-75 ก.ม./ช.ม. รถก็ดูคุมยากแอบมีลื่นไถลเล็กๆ

รอบต่อมา เราขับโดยเดินคันเร่งเข้าโค้ง เพื่อให้ระบบ   GVC+   ทำงาน แม้ใช้ความเร็วมากกว่าในรอบแรก 80 ก.ม./ช.ม.  รถกลับดูขับง่าย การบังคับควบคุมแม่นยำขึ้น ดังที่ใจเราปรารถนา

มาสด้าอธิบายว่า เมื่อเข้าโค้ง เดิมที  GVC   จะดูการควบคุมพวงมาลัยและเกียร์ ที่ผู้ใช้ตอบสนอง ระบบรุ่นก่อนพัฒนาเพื่อช่วยให้เข้าโค้งง่ายขึ้นอยู่แล้ว การนำระบบเบรกมาช่วยใน   GVC+   ระบบจะเข้ามาช่วยเบรกเพิ่มในระหว่างที่เราเข้าโค้งเพื่อให้เกิดการถ่ายน้ำหนักจากด้านหลังมาด้านหน้า เพิ่มแรงกดในล้อบังคับทิศทางมากที่สุด

การทดสอบ มาสด้า 2 ใหม่ ในสนามช้าง

เมื่อเข้าโค้ง แรงเหวี่ยงขณะเข้าโค้งหรือแรงหนีศูนย์ จะพยายามดันให้รถเสียการบังคับทิศทาง ยิ่งความเร็ว บังคับพวงมาลัยหักเลี้ยวมาก แรงหนีศูนย์ยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว  ล้อนอกโค้งจะกลายเป็นผู้รับภาระน้ำหนักที่เกิดขึ้นในระหว่างการเข้าโค้ง ระบบ GVC+   จะสั่งเบรกล้อนอกโค้งเพื่อถ่ายน้ำหนักจากหน้าไปหลัง ลดแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นระหว่างเข้าโค้ง ทำให้การควบคุมพวงมาลัยตั้งตรงมีความแม่นยำมากขึ้น และเมื่อออกโค้ง ระบบจะเบรกเพียงล้อหลังนอกโค้ง เพื่อป้องกันการเสียอาการให้คุณควบคุมระหว่างออกจากโค้งง่ายขึ้น

พูดแบบนี้…เป็นใครที่ไม่จบสายวิทย์มาก็คงงง ทำไมไม่พูดอะไรให้เข้าใจง่ายๆ ?? ใช่ไหม

ในความเป็นจริง เวลาเราเข้าโค้งจะมีการลดความเร็วอยู่ก่อนแล้ว แต่จะมีเพียงนักขับกระหยิบมือ รู้ว่าพวกเขาต้องจัดการกับน้ำหนักตัวรถ ย้ายมันมากดทางด้านหน้าให้มากที่สุด ระหว่างเข้าโค้ง คนจำนวนมากคิดว่าเป็นเรื่องการใช้ความเร็วในดค้งมากที่สุด ทั้งที่ส่วนสำคัญ คือการพยายามควบคุมรถให้ไปตามใจมากที่สุด และไม่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะ  under steer   หรือ   Over Steer   จากนั้นออกโค้งให้เร็วที่สุด เพราะในทางโค้งคุณจะทำความเร็วไม่ได้มาก

ทั้งหมดที่พูดมา ถ้าคุณเป็นนักแข่งรถจะเข้าใจในเรื่องนี้ สำหรับคนทั่วไป การเข้าโค้งเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นทุกครั้งที่ใช้ความเร็ว   GVC+   ถูกแนะนำเข้ามาด้วยเหตุนี้ มันทำงานสอดผสานกับเครื่องยนต์ ชุดเกียร์ และเบรก ตลอดจนที่ลืมไม่ได้ คือ ประสิทธิภาพโครงสร้าง และระบบกันสะเทือนของรถ ให้เป็นหนึ่งเดียว

ผมตระหนักเรื่องนี้ก็ตอนสุดท้าย ในช่วงขับเต็มรอบสนามช้าง   Mazda 2   อาจจะไม่ใช่รถที่มีความสดใหม่ทางด้านสมรรถนะ ปรับปรุงช่วงล่าง เครื่องยนต์ หรืออะไรแบบที่คู่แข่งทำ หรือรถใหม่ที่กำลังจะมาแข่งกับพวกเขา สิ่งที่มาสด้าคิดต่างออกไป พวกเขาตั้งใจทให้คนธรรมดา ขับอย่างสนุกไร้กังวลมากขึ้น แนวคิดจินบะ อิตไต คือของจริง มิตรแท้ที่เข้าใจคนชอบขับรถอย่างแท้จริง จะมีสักกี่บริษัท เข้าถึงปรัชญาข้อนี้

การทดสอบ มาสด้า 2 ใหม่ ในสนามช้าง

ผมลงจาก Mazda 2 MY 2020 หลังจากเต็มอิ่มการขับในสนาม … ผมจะไม่พูดปดกับคุณว่า มาสด้า 2 เป็นเพียงการปรับหน้าทาปากเท่านั้น ก็เหมือนกับการไมเนอร์เชนจ์ของรถหลายรุ่น มันใช้เครื่องยนต์เดิม เซทติ้งช่วงล่างเดิม หากแต่การใส่พระเอก   GVC+  ในเจ้าตัวเล็ก กลับทำให้ผมรู้สึกว่ามันก้าวไปอีกขั้น จะมีรถอีโค่คาร์คันไหนเข้าโค้งได้มันส์สุดๆ ก็เห็นทีจะมีแต่คันนี้เท่านั้น ถ้าผมต้องเลือกรถเล็กสักคันขับทางไกลฝ่าพันโค้ง มาสด้า 2 คงจะเป็นมิตรแท้เพื่อนร่วมทางที่ดี

ระบบนี้ใช่มีดีแค่การพอกพูนอารมณ์ขับขี่ การควบคุมได้ดั่งใจยังช่วยลดความเสี่ยง เวลาเจอจังหวะนรก ต้องเปลี่ยนเร็วๆ หักหลบแรงๆ ถ้ามองในอีกด้าน   GVC + ยังให้ความปลอดภัยมากขึ้นด้วย  !! คุณว่า จริงไหม

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่