กระแสเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ ขนาดเล็ก ทำให้คนไทย เริ่มตื่นตัวอยากได้ขุมพลังสมรรถนะดีเหล่านี้มากพอสมควร ถ้าสังเกตให้ดี “โตโยต้า” เป็นแบรนด์รถยนต์ที่ดูจะนิ่งเฉยต่อเทรนด์นี้ พวกเขาไม่แนะนำเครื่องยนต์เทอร์โบออกมาวางขาย เหมือนค่ายอื่น

หลายคนอาจไม่สังเกต ทว่าแบรนด์รถยนต์รายนี้แสดงท่าทีชัด ไม่นิยมเครื่องยนต์เทอร์โบ ถึงโลกในยุโรป จะก้าวไปไกลไอเสียเข้มงวด พวกเขาก็ดูจะไม่ยี่หระ กระแสเครื่องยนต์บล็อกเล็กเทอร์โบ อย่างที่หลายคนเฝ้าฝัน เรื่องมีเหตุผลสำคัญมากมาย ที่คุณอาจไม่คิดถึงมาก่อน

เครื่องยนต์  Toyota  Dynamic Force

กระแส เครื่องยนต์เทอร์โบ บล็อกเล็ก มีมาตั้งแต่ราวๆ ปี 2010 เริ่มจากแบรนด์รถยุโรป ก่อนระบาดสู่รถญี่ปุ่น โตโยต้าเองไม่เชื่อความสำเร็จเทคโนโลยีนี้ พวกเขามีเทคโนโลยีชั้นสูง ระบบไฮบริด อยู่ในบริษัท มันสร้างความสำเร็จล้นหลามในรถยนต์  Toyota Prius ทำไมต้องไปสร้างสรรค์เครื่องยนต์ติดตั้งระบบอัดอากาศให้วุ่นวาย และเหมือนจะเป็นเพิ่มภาระให้ทั้งกับบริษัทและผู้บริโภคด้วย

ในปี 2015 บริษัท แนะนำเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ รหัส  8 NR-FTS  ต้นกำลัง 1.2 ลิตรเทอร์โบ  ออกวางขายใน  โตโยต้า ออริส ก่อนจะถูกโยนลงไปใส่ในรถยนต์อีก 2 รุ่น ได้แก่   Toyota  C-HR   และ  Toyota Corolla  รุ่นใหม่ ที่วางขายในยุโรป และญี่ปุ่น พร้อมกันนี้ ยังแนะนำเครื่องยนต์  8AR-FTS เครื่อง 2.0 ลิตรเทอร์โบ ออกวางขายด้วย ในกลุ่มแบรนด์ Lexus

เครื่องยนต์ 1.2 ลิตร เทอร์โบออกมา อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีชั้นนำหลายรายการ ทั้งการจ่ายน้ำมันตรง ,การปรับปรุงระบบวาล์วแปรผัน การทำให้เครื่องยนต์ทำงาน  Atkinson Cycle   ได้ ก็ทำได้เพียงพอการใช้งานเท่านั้น เครื่องยนต์รุ่นนี้ติดตั้งคู่ระบบเกียร์ธรรมดา 6 สปีด เท่านั้น ไม่มีวี่แววรุ่นเกียร์ออโต้ให้เลือกอีกต่างหาก ทำให้มันแทบไม่อยุ่ในสายตาของผู้ซื้อเลย

เครื่องเทอร์โบ

อย่างไรก็ดี , รากเหง้าความคิดโตโยต้า ไม่อยากขายเครื่องเทอร์โบมีความชัดเจนมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นเครื่องยนต์ประเภทนี้ (ในช่วงปี 2013) หนึ่งในคนที่ออกมาถ่ายทอดความคิดดังกล่าว คือ นาย โคเอะ สากา เวลานั้น ดำรงตำแหน่งผู้จัดการอาวุโส รับผิดชอบการพัฒนาระบบขับเคลื่อนได้ออกมาให้สัมภาษณ์ กับ   Automotive News  ตั้งแต่ปี 2015 ว่า

ทางโตโยต้า คิดกลับกัน บริษัทคิดว่าลูกค้าจะได้ประสิทธิภาพจากเครื่องยนต์มากกว่า ถ้าเราพัฒนาเครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้น – Upsizing (สวนทางกับเทรนด์บล็อกเล็กเทอร์โบ) เหตุผลสำคัญมาจากความเชี่ยวชาญในเครื่องยนต์ไฮบริด ซึ่งเครื่องยนต์เหล่านี้จะมาพร้อมการทำงาน  Atkinson Cycle

การทำงานระบบดังกล่าว , อาจไม่สู้ดีเมื่อทำงานในรอบเครื่องยนต์ต่ำ (เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ปกติทำงานในแบบ  Otto Cycle) แต่ทางโตโยต้าเชื่อว่า การขยายขนาดเครื่องยนต์จะช่วยลดปัญหานี้ได้ และในระยะยาว ในที่สุดเครื่องยนต์ลักษณะนี้จะทำงานดีขึ้น

ความคิดเดียวกันนี้ ตรงกับการให้สัมภาษณ์ของ แอนดริว คอเอทซี รองประธานทางด้านฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์โตโยต้า อเมริกา กับ  Auto pacific  ในปี2016 เขากล่าวว่า บริษัทเชื่อว่า เรายังไม่ได้คั้นสมรรถนะที่เจ๋งที่สุดของวิธีการสันดาปปกติออกมาให้ลูกค้า และยังพอเป็นไปได้ในการสร้างเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูงกว่านี้

เพียงสองปีให้หลังจากการสัมภาษณ์ของนาย ซากา และคอเอทซี  ,โตโยต้า สร้างประวัติศาสตร์สำคัญอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวกลุ่มเครื่องยนต์ที่มีกำลังอัดสูง (High Compression Ratio)  รุ่นใหม่ ในชื่อ  “Dynamic Force” สร้างความฮือฮา ด้วยการส่งเครื่องยนต์  2.5 ลิตรลงตลาด ทั้งที่ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่พยายามจะลดขนาดเครื่องยนต์ต่อเนื่อง โตโยต้าก เดินดุ่ยราวกับซามูไรเปลี่ยว ท่ามกลางยุคปัญหาไอเสียรุมเร้า

โตโยต้า อาศัยการจุดระเบิดแรงขึ้นจากการทำกำลังอัดสูงในแต่ละสูบ มากถึง 13.0 :1   และ  14.0:1  ในรุ่นไฮบริด ตลอดจนยังปรับปรุงการถ่ายเทความร้อนดีขึ้นด้วย แนวความคิดนี้เหมือนจะได้เทคโนโลยีจากการร่วมมือกับมาสด้า ค่ายรถยนต์เมืองฮิโรชิม่า ที่เข้ามาเป็นพันธมิตรสำคัญของแบรนด์

ปี 2018 โตโยต้า ประกาศเครื่องยนต์ Dynamic Force  2.0 ลิตรให้กำลังสูงถึง 171 แรงม้า ทำแรงบิด 205 นิวตันเมตร ทางบริษัทพัฒนาลูกสูบ และฝาสูบใหม่ หลายรายการ ทั้งบ่าวาล์วแต่งด้วยเลเซอร์คัท ท่อทางเดินไอเสีย ถูกรวมเข้าไปไว้ในฝาสูบเป็นต้นช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังทำให้การจุดระเบิดกว้างขึ้น ทำแรงบิดดีในรอบต่ำ จนโตโยต้า ไม่จำเป็นต้องแนะนำเครื่องยนต์เทอร์โบเข้าสู่ตลาด มีเพียงเครื่องยนต์ปกติ และไฮบริดเท่านั้นก็ถือว่า เพียงพอ

อย่างไรก็ดี ประเด็นที่จะลืมไม่ได้อีกด้าน คือ ปรัชญาในการพัฒนารถยนต์ของบริษัทนี้ การส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์สู่ลูกค้า ภายใต้หลัก  QDR  อันประกอบด้วย คุณภาพ (Quality) ทนทาน (Durability) และ ความวางใจ (Reliability)

เครื่องยนต์เทอร์โบฟังดูมีข้อดีเรื่องกำลัง สมรรถนะ การขับขี่ ตลอดจนประหยัด และรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยการติดตั้งระบบอัดอากาศ ส่วนควบเครื่องยนต์เข้ามาเพิ่มเติม อาจเป็นปัญหาได้ต่อการใช้งานในระยะยาวของลูกค้า

อุปกรณ์เทอร์โบ ตลอดจน ระบายความร้อนอากาศที่ผ่านจากเทอร์โบ อย่างอินเตอร์คูลเลอร์ มีโอกาสได้รับความเสียหาย ทั้งจากการใช้งาน หรือด้วยอุบัติเหตุ ในอดีตคนที่ใช้รถยนต์เครื่องเทอร์โบจะทราบดีกว่า รถมีประสิทธิภาพสูง แต่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างดีเป็นพิเศษ โดยเฉพาะน้ำมันเครื่อง ต้องให้คุณสมบัติการปกป้องดีเป็นพิเศษ เนื่องจากเครื่องยนต์จะมีความร้อนสูงกว่าปกติในระหว่างการใช้งาน

นอกจากนี้ เครื่องยนต์ไฮบริดถูกวางหมากในระยะหลังใช้ชูโรงสมรรถนะดีกว่าเครื่องยนต์เทอร์โบ อาทิการสร้างรถยนต์   Toyota C-HR   ไฮบริดสมรรถนะสูง ไปจนถึง Toyota  RAV 4 Prime  ที่มีกำลังขับสูงสุด 302 แรงม้า สมรรถนะดีเทียบเท่ารถสปอร์ตดีกว่ากครื่องเทอร์โบ ในแง่การตอบสนองของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่มีการรอรอบ สามารถใช้ได้ตลอดเวลา ตามต้องการ และมันยังประหยัดน้ำมันด้วย

การไม่สร้างเครื่องยนต์เทอร์โบของแบรนด์โตโยต้า อาจจะดูสวนทางกับเทรนด์ในวันนี้ กระแสเครื่องเล็กเทอร์โบก็มีดีในแง่หนึ่ง หากการมุ่งสู่ขุมพลังไฮบริดตอบสนองครบ ทั้งแรง ทั้งประหยัด ดูน่าจะเป็นที่พึงพอใจสำหรับลูกค้า และด้วยความตั้งใจจริงในการพัฒนาเครื่องยนต์สันดาป ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ค่ายรถยนต์รายนี้ จึงขอบอกผ่าน เครื่องยนต์เทอร์โบ ที่นิยมในวันนี้

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่