จากที่ค่ายรถ 9 ยี่ห้อ ขานรับนโยบายรัฐในการปรับไปสู่มาตรฐานไอเสียยูโร 5 วันนี้จึงจะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความเข้าใจ ว่ามันแตกต่างอย่างไรกับมาตรฐานในปัจจุบัน

ตั้งแต่มีกระแสฝุ่น   PM2.5   ออกมา หลายคนต่างเริ่มตระหนักถึงผลของการใช้เครื่องยนต์ดีเซลในรถยนต์ที่นิยมของคนไทยจำนวนมาก และไม่มีทางใดที่จะสามารถปรับไปใช้เครื่องยนต์อื่นๆได้

รถใหม่ EURO 5

ความนิยมของเครื่องยนต์ดีเซล มาถึงทางออกสำคัญ หลัง 9 ค่ายรถยนต์ยินดีจะทำตามคำแนะนำภาครัฐปรับเครื่องยนต์ที่ใช้ในปัจจุบัน หรือนำเข้ามาในอนาคตเป็นยูโร 5 และวันนี้เราจะมาพูดถึงการใช้รถยนต์เครื่องดีเซลสมัยใหม่ว่า มันแตกต่างจากเดิมเพียงใดกัน

เครื่องยนต์ดีเซลยูโร 5 ฟังดูหลายคนอาจจะตื่นเต้นต่อนวัตกรรมใหม่ แต่ที่จริงแล้วมันไม่แตกต่างจากที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมากนัก ตัวเครื่องยนต์ดีเซลเองไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากมาย มันยังคงใช้ระบบคอมมอนเรลดีเซล และ ระบบเทอร์โบชาร์จเหมือนที่ผ่านมา

ส่วนที่เพิ่มเข้ามาในเครื่องยนต์ดีเซลตั้งแต่ครั้นยูโร 4 คือการติดตั้งระบบหมุนวนไอเสีย หรือที่เรียกว่า  EGR (Exhaust Gas  Recirculation) เพื่อหมุนไอเสียกลับไปเผาไหม้ซ้ำอีกครั้ง ทำให้เขม่าน้อยลงกว่าเดิม และในดีเซลยูโร 5 ก็เพิ่มระบบบำบัดไอเสียเข้ามาอีก ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า   Diesel Particulate Filter   หรือ  DPF   ผมเชื่อว่า หลายคนน่าจะได้ยินชื่อเสียงเจ้านี่มาบ้าง

DPF   เป็นอุปกรณ์กรองไอเสีย ซึ่งจะติดตั้งไว้หลังเทอร์โบ เพื่อดักเขม่าฝุ่นละอองที่ออกจากเครื่องยนต์ดีเซล ไม่ให้ปล่อยออกไปสู่ภายนอก

เครื่องดีเซล Mazda SkyActiv-D ผ่านมาตรฐานไอเสีย Euro 5

ตัว   DPF   มีหน้าที่ในการดักจับฝุ่นละออง ซึ่งเมื่อนานวันไปจะมีจำนวนฝุ่นมากตามลดับ ทำให้ในระหว่างการขับขี่บางครั้งจะมีกระบวนการพิเศษที่เรียกว่า Burn off   หรือ บ้านเรา อาจจะเรียกว่า   Regenerative  ก็ไม่ผิดนัก

กระบวนการ Burn  Off   จะทำโดยอัตโนมัติ หรือ ตามความต้องการของผู้ใช้ ก็แล้วแต่ว่าผู้ลผิตมีการติดตั้งสวิทช์มาให้หรือไม่ ในรถยนต์รุ่นนั้น

โดยการ  Burn off   จะอาศัยความร้อนจากห้องเผาไหม้ ในการเผาเขม่าที่ติดอยู่ใน   DPF   ออกมาสู่โลกภายนอก โดยเจ้าเขม่าต่างเหล่านี้จะไม่ใช่ฝุ่นละอองที่สร้างผลเสียอีกต่อไป กระบวนการนี้มักจะเกิดขึ้น เมื่อคุณขับรถด้วยความเร็วคงที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ตามข้อมูลจากผู้ผลิตบางรายเช่น   Ford  ชี้ว่ารถยนต์   Ford Ranger  ในต่างประเทศ จะมีการเบิร์น   DPF   เมื่อขับด้วยความเร็วตั้งแต่ 30-40 ก.ม./ช.ม. ขึ้นไป

รถใหม่ EURO 5
รถกระบะบางคันที่เป็นยูโร 4 กลับเอาไปแต่งแรงจนปล่อยมลพิษออกมาจำนวนมาก

ระบบจะทำการเริ่มเผาเขม่า เมื่อพบว่า มีฝุ่นติดใน   DPF   จำนวนมากจากการตรวจจับ เมื่อกระบวนการเผา   DPF   เกิดขึ้น เครื่องยนต์จะทำงานหนักกว่าปกติเล็กน้อย โดยจะมีการกินน้ำมันมากกว่าปกตินิดหน่อย เพื่อให้ได้ความร้อนเพียงพอต่อการเผาเขม่า กระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 5-25 นาที่ แล้วแต่ว่ามีเขม่าในเจ้าตัวจับฝุ่นนี้มากขนาดไหน

ตามปกติในขั้นตอนนี้จะมีสัญลักษณ์ขึ้นโชว์ที่หน้าปัด เพื่อแสดงว่าระบบได้เริ่มทำงานในการเป่าฝุ่นละออง และจะดับไปเมื่อทำงานจบสิ้นลง และตามปกติแล้วศูนย์บริการจะมีการถอด  DPF   มาทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดด้วย

5 วิธีแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5
ตอนนี้น้ำมันดีเซลยูโร 5 มีให้เลือก 2 ราย ได้แก่ บางจาก กับ ปตท.

ตลอดจนวในแง่การบำรุงรักษาในระยะยาวระบบ   DPF   จะต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่ เมื่อถึงระยะเวลาตามที่กำหนด จากทางผู้ผลิต ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1-2 หมื่น บาทจากการสำรวจข้อมูลจากต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี นอกจากการมีกระบวนการของระบบ   DPF   เพิ่มเติมแล้ว ผู้ใช้ยังสมควรเข้าใจว่าเครื่องยนต์ดีเซล ยูโร 5 ต้องใช้น้ำมันที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ด้วย โดยน้ำมันของดีเซลยูโร 5 ที่มีมาตรฐานสุงกว่ากติ ซึ่งปัจจุบัน ปั้มมีขายแล้ว และเชื่อว่าถ้าเครื่องยนต์ดีเซลยูโร 5 เข้ามาขายในอนาคต จะขยายเป็นทุกปั้มในที่สุด

การมาของ   diesel Euro 5   นับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีต่อทางด้านสิ่งแวดล้อมไทย และวันนี้เราควรจะตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะถ้าเราช่วยกัน ก็จะมีสุขภาพที่ดีร่วมกัน

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่