เป็นที่ยอมรับกันในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ ว่าในนาทีนี้ ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น กำลังถูกท้าทาย ด้วยการมาของรถยนต์ไฟฟ้า ที่แม้ว่า โตโยต้า จะพยายามอนย่างหนักในการไล่กวด เจ้าตลาด Tesla หรือ แบรนด์จากจีน แต่ ดูเหมือน หลายคนก็จะมองว่า นั่นช้าเกินไป

การมองเกมรถยนต์ไฟฟ้าของ โตโยต้า ดูค่อนข้างจะไม่ใยดีเท่าไรนัก และพวกเขาพยายามพิสูจน์ ว่าเทคโนโลยีอื่นๆ ก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนารถยนต์ ให้ลดมลภาวะ ทั้ง ไฮบริด หรือ จะ ไฮโดรเตนเองก็ตาม

แต่นั่น ดูแล้ว จะไม่เหมือนความคิดกับ หลายภาครัฐ ทั่วโลก ที่มองว่ารถยนต์ไฟฟ้าสำคัญ และ ล่าสุด รัฐบาลญี่ปุ่น ตัดสินใจ เดิมพัน ครั้งสำคัญ ในการอัดฉีด โตโยต้า ให้เร่งในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ให้ทัน คู่แข่งรายสำคัญ ที่มีอยู่มากมายทั่วโลก

ประเด็นสำคัญ ข้อหนึ่ง คือ บริษัทรถยนต์จากญี่ปุ่นไม่ได้ เข้ามามีส่วนลงทุนกับผู้ผลิตแบตเตอร์รี่เท่าไรนัก รวมถึง ยังมีการสันบสนุนผลิตแบตเตอร์รี่ภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้ ตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ พุ่งไปสู่การพัฒนา รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

โดยการสนับสนุนจากภาครัฐญี่ปุ่น เชื่อว่ าจะมากถึง 330 พันล้นเยน , โดยทางโตโยต้า วางเป้าในการวางลงทุนในกิจการค้าร่วม กับพานาโซนิค ที่เรียกว่า Prime Planet Energy & Solutions

ในการลงทุนครั้ง นี้ บริษัท Prime Earth จะพัฒนา แบตเตอร์รี่แบบใหม่ bipolar lithium iron phosphate batteries โดยจะมีระยะทางต่อการชาร์จเพิ่มขึ้น 20% จากปัจจุบัน และมีราคาถูกลงกว่าเดิม ราวๆ 40% หากเปรียบเทียบกับ รถอย่าง Toyota BZ4X

เบื้องต้นคาดว่า แบตเตอร์รี่ดังกล่าว น่าจะพร้อมลงในรถยนต์รุ่นใหม่ ในราวๆ ปี 2026-2027

โตโยต้า วางเป้าในการขายรถยนต์ไฟฟ้า ราวๆ 1.5 ล้านคันในปี 2026 และ จะเพิ่มเป็น 3.5 ล้านคันในปี 2030

อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่น ประกาศ สนับสนุนเงินให้ผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ (ญี่ปุ่น) เมื่อเดือนเมษายน ทางฮอนด้า ได้รับเงินสนับสนุน ราวๆ 160 ล้านเยน ในการร่วมกันพัฒนาแบตเตอร์รี่ใหม่ กับ GS Yausa

ทั้งนี้ แบตเตอร์รี่ใหม่ที่ทาง โตโยต้า พัฒนา ถือว่าเป็นแบตเตอร์รี่แบบใหม่ที่มีการพัฒนา ออกมาตอบโจทย์ หลังจากผู้ผลิตจีน อย่าง CATL และ BYD มุ่งพัฒนาแบตเตอร์รี่แบบ LFP แนวทางของโตโยต้า ถือเป็นแบตเตอร์รี่ที่เป็นทางเลือก

ที่มา Nikkei

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่