ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราคงจะเห้นถึงกระแสยานยนต์ในตลาดโลกที่เริ่มเปลี่ยนแปลงสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และหลายบริษัทต่างเริ่มเผยรถยนต์พลังงานผสมผสานหรือรถยนต์ไฮบริดออกมา

นวัตกรรมการขับขี่ในโลกยุคใหม่ที่มีความประหยัดมากขึ้น  รถยนต์อย่างรถไฮบริด ถูกเผยว่ามีการปล่อยไอเสียลดลง ส่วนในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ถูกมองว่าเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นรถที่ไม่ปล่อยมลภาวะไอเสียออกมาเลย หรือ   Zero Emission   จนรัฐบาลประเทศไทยในฐานะประเทศเสืออุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องยอมออกแนวคิดทางด้านการลงทุนใหม่ส่งเสริมให้บริษัทรถยนต์เข้ามาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่ามีความพยายามจากบริษัทรถยนต์ต่างๆ มากมาย ในกาแนะนำรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่าย ส่วนหนึ่งด้วยโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรใหม่ที่เรียกว่า “ภาษี Co2” หากกำลังมีคำถามใหม่เกิดขึ้นท่ามกลางวงการยานยนต์ทั่วโลก ว่ารถยนต์ไฟฟ้า และรถไฮบริดที่กำลังร้อนแรง เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการก้าวต่อไป เพียงแค่ปลายท่อไอเสียไม่มีควันออกมา หรือมีน้อยลงจริงหรือ ??

ประเด็นนี้กำลังเป้นที่ถกเถียงกันถึงความพยายามในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ทีใช้ทั้งระบบว่า การเปลี่ยนสู่รถยนต์ไฟฟ้าจะนำไปสู่โลกที่ไร้มลภาวะทางอากาศได้จริงมากน้อยแค่ไหน

โดยเฉพาะเมื่อทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซท ออกมาเผยเรื่องน่าตกใจว่า ในความเป็นจริงตั้งแต่เริ่มผลิตรถยนต์จนถึงผู้ใช้ และนำรถยนต์ไปสู่กระบวนการทำลาย รถยนต์ขนาดเล็กอย่าง   Mitsubishi  Mirage  กลับทำได้ดีกว่า ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า อย่าง   Tesla  Model S   และ   รถยนต์ไฮบริด   BMW 750 I X Drive   ด้วยซ้ำไป

ทันทีที่ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวออกมา วงการอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างไม่เห็นด้วยกับผลการศึกษาดังกล่าว ตลอดจนยังคิดเห็นไปในทิศทางที่แตกต่าง เนื่องจากรถยนต์ขนาดเล็กไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะเอาชนรถยนตืที่ทั้งไม่ปล่อยไอเสีย หรือ ปล่อยไอเสียต่ำกว่า

หากในแง่หนึ่งของการศึกษาดังกล่าว เป็นการศึกษาทั้งกระบวนการ และมีข้อเท็จจริงหลายประการที่น่าตกใจ เช่น การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ,การกำจัดแบตเตอร์รี่ รวมถึงแหล่งพลังงานที่นำมาใช้ในการให้พลังงานรถยนต์ ทั้งในแง่ของการใช้น้ำมันหรือที่มาของไฟฟ้าที่ใช้ในการเติมรถยนต์ ซึ่งอาจจะมีแหล่งที่มาแตกต่างกันออกไป

ตามรายงานดังกล่าว ระบุว่า ประเด็นที่ทำให้รถยนต์ใหม่ๆ อย่างรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดมีค่าไอเสียสูงกว่า มาจากกระบวนการผลิตตัวรถที่มีความซับซ่อนมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น   Tesla P100D  มีมลภาวะ (Co2) ในการผลิตรถยนต์แต่ละคันที่ 12,204 กรัม ขณะที่รถยนต์ขนาดเล็กอย่าง   Mitsubishi  Mirage  ใช้พลังงานในการสร้างรถยนต์แต่ละคันเพียง 4,752 กรัมเท่านั้น

ส่วนในระหว่างการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามีการปล่อยไอเสียต่ำกว่าจริง แต่ก็เพียงแค่เล็กน้อย โดยการศึกษาดังกล่าวให้อายุรถยนต์ใช้งานที่ 270,000 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าปล่อยไอเสีย ก็ยังปล่อยมากกว่าถึง 48,600 กรัม ตลอดอายุการใช้งาน  ส่วน รถยนต์นั่งขนาดเล็ก   Mitsubishi  Mirage  กลับปล่อยไอเสียตลอดการใช้งานเพียง 46,980 กรัมเท่านั้น 

และท้ายสุดในแง่ของการทำลายตัวรถ ทในการศึกษาพบว่า   Mitsubishi  Mirage  จะสร้างมลภาวะเพียง 159 กรัม ต่อกิโลเมตร เท่านั้น  ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจะสร้างมลภาวะถึง 311 กรัม โดยยังไม่รวมการทำลายชิ้นส่วนอย่างแบตเตอร์รี่  จนทำให้ภาพรวมของการปล่อยไอเสียในรถยนต์แต่ละคันตลอดอายุการใช้งานสูงถึง 61,115 คัน ส่วนรถยนต์   Mitsubishi  Mirage  กลับปล่อยเพียง 51,891 กรัมเท่านั้น

เรื่องดังกล่าวทำเอาบริษัทรถยนต์หลายรายหน้าเสียไปตามๆ กัน โดยเฉพาะเมื่อรถยนต์ไฟฟ้ากำลังอยู่ในระหว่างขาลง เนื่องจากไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร และยังต้องการเงินสนับสนุนจากภาครัฐบาลมาอุดหนุนในการสนับสนุนให้คนซื้อรถ เนื่องจากรถมีราคาแพง

แต่เรื่องดังกล่าวก็เป็นที่พูดถึงมากว่ารถยนต์ขนาดเล็กอาจจะเป็นรถประหยัดรักษ์โลกตัวจริง มากกว่ารถไฮบริด หรือรถยนต์ไฟฟ้า แถมการศึกษาจากสวีเดน ยังกล่าวเสริมว่ารถยนต์ไฟฟ้าอาจไม่ใช่ทางออกที่แท้จริงในการรักษ์โลก

โดยวิจัยที่ตีแผ่ในนิตยสาร  Ingeniøren เผยว่า การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละครั้งอาจจะสร้างมลภาวะมากว่าที่จะช่วยลดจากท่อไอเสีย โดยการศึกษาพบว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะสร้างมลภาวะประมาณ 150-200 กรัม (Co2) ในการชาร์จไฟต่อ 1 หน่วยกิโลวัตต์

ดังนั้นหากรถยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่ ก็จะยิ่งก่อมลภาวะมากขึ้น และก็ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในสวีเดน พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นพลังงานสะอาด  ทำให้อาจจะก่อมลภาวะน้อย แต่ในประเทศที่พลังงานไฟฟ้ามาจากการเผาความร้อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล อาจจะยิ่งทำให้สร้างมลภาวะมากขึ้นด้วย

เมื่อปีที่แล้ว Mazda ผู้ผลิตรถยนต์ออกมาเปิดเผยถึงแนวคิดใหม่ในการสร้างแบรนด์ต่อไป และพวกเขายืนยันว่ามาสด้าจะสร้างรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

แนวความคิด “Well – To-Wheel” เป็นแนวทางที่มาสด้ามั่นใจว่าจะสร้างรถยนต์ทีมีการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด โดยดูความเหมาะสมที่อาจจะเกิดขึ้น

ในครั้งแรกที่ความคิดนี้เปิดเผยขึ้นมา หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเครื่องยนต์ของมาสด้า นาย อิชิโระ ฮิโสเอะ กล่าวว่า เรากำลังพูดถึงภาพรวมทั้งหมดของการปล่อยไอเสีย ใช่รถยนต์ไฟฟ้าอาจจะมีภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องดังกล่าว แต่เราต้องดูถึงที่มาของแหล่งพลังงานที่ได้ว่า มาจากที่ไหน  เราจึงจะเริ่มเห็นภาพว่ารถยนต์ฟ้า แท้ที่จริงก็ยังปล่อยไอเสียมากอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใช้การสร้างไฟฟ้าจากถ่านหินก็ยิ่งหมายถึงยิ่งปล่อยไอเสียมากกว่าการสร้างพลังงานไฟฟ้าด้วยวิธีการอื่นๆ

Mazda2 (1)

ด้าน นาย มาซามิชิ โคไก ประธานคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสด้า มอเตอร์ คอร์เปอร์เรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวเปิดเผย เมื่อมองถึงความพร้อมของประเทศไทย ต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าว่า มาสด้ามองประสิทธิภาพของการใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ในประเทศไทย แหล่งที่มาของไฟฟ้ายังไม่ได้มาจากพลังงานสะอาด และการส่งเสริมให้คนนิยมรถยนต์ไฟฟ้า อาจจะสร้างปัญหาในการผลิตฟ้าของประเทศ

“ผมมองว่าประเทศไทย มีความคล้ายกับประเทศญี่ปุ่นในแง่แหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้า เราจึงมองแนวคิด   Well To Wheel เป็นสิ่งสำคัญในการลดการปล่อยไอเสียอย่างเป็นรูปธรรม โดยเรามีแนวคิด   Multi solution   ในการผลิตรถยนต์ให้เหมาะสมกับแหล่งพลังงานในแต่ละประเทศ เพื่อลดการปล่อยไอเสียน้อยที่สุด”

ในวันนี้ภาพของรถยนต์ไฟฟ้าและรถไฮบริดอาจจะทำให้เราคิดว่าพวกมันประหยัดรักษ์โลก และปล่อยไอเสียน้อย แต่สิ่งที่หมกเม็ดอยู่ในการชาร์จไฟฟ้า อาจจะทำให้รถยนต์ขนาดเล็กเหมาะสมมากกว่าทั้งในแง่ของการใช้งาน และก่อก่อมลภาวะตลอดการใช้งาน

และไม่แน่ รถยนต์ขนาดเล็กอาจจะเป็นผู้พิชิตปัญหามลภาวะที่แท้จริง ด้วยความประหยัดและพอเพียงต่อการใช้งาน ความไม่ซับซ้อน ในเชิงการผลิต และยังสามารถทำลายได้ง่าย แถมปล่อยไอเสียต่อ มันคือแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ ตัวจริง

 

 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่