กลายเป็นกระแสที่ทำให้บริษัทรถยนต์ต้องคิดไม่น้อยหลัง 2-3 ปีที่ผ่านมา รถยนต์อเนกประสงค์กลุ่ม   MPV   เติบโตอย่างต่อเนื่องแบบที่ไม่เคยมีปรากฎการณ์นี้มาก่อนในไทย

การเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง ปีทีผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากการมีคู่แข่งผู้เล่นใหม่สู่ตลาด โดยเฉพาะ   Mitsubishi  X Pander   หลังจากตลาดเริ่มขยับตัวหลังการเข้ามาของ   Toyota  Sienta   ตั้งแต่ 2-3 ปี ก่อน และในปีนี้การของ  Suzuki Ertiga   ก็กลายเป็นทำยอดขายถล่มทลายจองส่งกันมือเป็นระวิง

รีวิว Suzuki Ertiga 2019

ความต้องการรถยนต์อเนกประสงค์  Compact  MPV   ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการปลดล็อคจากภาวะจำยอมต้องถือครอง 5 ปีของรถคันแรก และลูกค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความต้องการรถยนต์แบบใหม่ๆ ขยับจากขนาดเดิม มาสู่ขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากภาวะชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งในการใช้ชีวิต และหรืออาจจะมีคนที่รักครอบครัวเพิ่ม เมื่อประกอบกับความเป็นจริงว่า สังคมไทย เริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้รถคันต่อไปอาจจะเล็งไว้เพื่ออำนวยความสะดวกครอบครัวทุกมิติ ทั้งพาเด็กๆ ไปโรงเรียน และรับส่งพ่อแก่ แม่เถ้าไปด้วยในเวลาเดียวกัน แต่รถ   MPV   ที่ขายส่วนใหญ่ในวันนี้ล้วนเป็นกลุ่มขนาด  Mini  -MPV   หรือรถที่พัฒนาจากรถขนาดเล็ก และในอดีตเราเคยมีรถยนต์   MPV  ขนาดคอมแพ็ค ก่อนจางหายไปเมื่อ 6-7 ปีก่อนหน้านี้ 

ตลอดคอมแพ็ค  MPV เกิดขึ้นในไทย ในช่วงต้นยุค 2000 ช่วงต้นยุคนี้  ด้วยทางเลือกในตลาดที่มีไม่มากนัก โดยเฉพาะ ถ้าคุณ เป็นครอบครัวใหญ่ ต้องการหารถ 7 ที่นั่งไว้ใช้งาน ถ้าไม่มองไปยังตลาดรถหรู เรียกว่าไม่มีทางที่คุณจะขนครอบครัวไปพร้อมหน้าพร้อมตากันได้เลย

เวลานั้นรถยนต์อเนกประสงค์เองก็มีเพียง 5 ที่นั่ง แถวรถในช่วงต้นยุค 2000 อย่าง Isuzu  Vega , Toyota Sport Rider  และ  Mitsubishi  Strada G Wagon ก็ไม่ได้ถูกจริงคนมีรถเก๋งนัก แถมคุณภาพการขับขี่และการโดยสารยังไม่ดีเท่าวันนี้ แรงผลักดันดังกล่าวทำให้ รถ   MPV   สำหรับคนทั่วไปพอจะอาจเอื้อเกิดขึ้น

ผู้เปิดเกมตลาดคอมแพ็ค   MPV เป็นค่ายรถยนต์อเมริกา Chevrolet  ในฐานะเด็กใหม่ในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย  (บริษัท เชฟโรเล็ต เซลล์ ประเทศไทย จำกัด เปิดทำการ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543) ปีนั้น มีการจัดงาน   Boi  fair  2000  ในเดือนกุมภาพันธ์ ในฐานะบริษัทรถยนต์น้องใหม่ ก็เผยโฉม พร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.8 ลิตร และนำเข้ามาประกอบในประเทศไทยทันที ปีถัดมาเชฟวี่เปิดตัวรุ่นเครื่องยนต์ 2.2 ลิตร ใช้เครื่องยนต์ Z22SE Ecotec   ให้กำลัง 144 แรงม้า  แรงบิด 203 นิวตันเมตร

Opel Zafira หรือ Chevrolet Zafira
Opel Zafira หรือ Chevrolet Zafira ในไทย

จุดเด่นรถรุ่นนี้คือการออกแบบในสไตล์ยุโรปมาจาก  Opel   บริษัทในเครือ  General Motor   บางกระแสว่าในโครงการพัฒนารถรุ่นนี้ในยุคนั้น มีการร่วมงานกับปอร์เช่ในด้านการออกแบบทำให้รูปลักษณ์ออกมาสวยลงตัวน่าใช้งาน ไม่ดูเก่าเร็ว เป็นรถที่หลายคนว่ายังน่าใช้ถ้าซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ไหว รวมถึงช่วงล่างสไตล์ยุโรป และ ที่นั่ง   Flex Seat 7   ที่นั่ง บางคนว่ามันยังนั่งสบายมาจนถึงวันนี้  

แต่สาเหตุหลักที่รถรุ่นนี้มาถึงฝั่งไทยได้ เนื่องจากสัญญาณระหว่าง   GM   และ  พระนครยนตรการสิ้นสุดลง (ขาย Opel)  การนำรถ   Opel Astra   เข้ามาขาย ไม่น่าจะสู้คู่แข่งได้ จึงผลิตขายเอง  ที่สำคัญ รถที่ผลิตจากโรงงานในไทย ยังถูกแปะตราส่งไปขายญี่ปุ่นด้วยในนาม  Subaru  Traviq 

การมาของ   Chevrolet Zafira   สร้างความตื่นตัวต่อตลาดไม่น้อย ทำให้   Honda   ในฐานแบรนด์รถยนต์เจ้าตลาดรถนั่งเริ่มสนใจรถกลุ่มนี้ พวกเขานำเข้า Honda  Stream  จากประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากแดนอิเหนาเป็นตลาดรถยนต์  MPV   ใหญ่ที่สุดในโลก

รถรุ่นนี้เข้ามาขายในไทยช่วงปี พ.ศ. 2543 หลังจากซาฟิร่าเปิดตัวขายไม่นาน ด้วยจุดเด่นเครื่องยนต์อันทันสมัย เครื่อง K20A1   ทำกำลังถึง 156 แรงม้า ให้แรงบิด 190 นิวตันเมตร พ่วงด้วยเกียร์ ออโต้ 5 สปีด ถือว่ามีสมรรนถะและความก้าวหน้าทางด้านสมรรถนะมากกว่า มันน่าจะเป็นที่นิยมสำหรับลูกค้าสาวกฮอนด้า ทว่าด้วยคุณภาพงานประกอบอินโดนีเซียที่ไม่สู้ดีนัก ทำให้รถรุ่นนี้ไม่ได้รับความนิยมอย่างที่ควรจะเป็น  

Honda Stream รุ่นแรก
Honda Stream โฉมไทย เป็นรถนำเข้าจากอินโดนีเซีย

สาเหตุหนึ่งมาจากคู่แข่งรายสำคัญ Toyota เห็นกระแสความนิยมจึงบินไปขอรถยนต์   MPV   จากญี่ปุ่นมาขายในไทยบ้าง พวกเขาได้   Toyota  Wish   จากฝีมือการออกแบบของ  ทาเคชิ โยชิดะ คนเดียวกับที่ออกแบบ Toyota Corolla   รุ่นหน้าหมู มาขาย

เวอร์ชั่นในไทยเจ๋งกว่าญี่ปุ่นเล็กน้อย ด้วยปีกนกอิสระ 2 ชั้น ทุกรุ่น (ญี่ปุ่นมีเพียงรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ) และติดตั้งเครื่องยนต์ 1AZ-FE  เปิดตัวด้วยราคาขาย 1.117 ล้านบาท -1.267 ล้านบาท ปัจจุบันมือสองมีราคาสนนที่ 3-4 แสนบาท ก็ยังได้รับความสนใจจากคนที่มองหารถสำหรับครอบครัว

Toyota Wish
Toyota Wish ขวัญใจพ่อบ้านเน้นสปอร์ต

ช่วงคึกคัก Compact MPV  ในปี 2001-2005 เริ่มถดถอยลง หลังบริษัทรถยนต์แถวหน้าของเมืองไทย แนะนำรถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง ออกจำหน่าย โดยเฉพาะ   Isuzu Mu 7  และ   Toyota  Fortuner   มีการปรับหน้าตาให้โดนใจ เซทช่วงล่างโดยสารสบายขึ้นกลายเป็นที่ชื่นชอบทำให้ตลาดรถ Compact MPV  ถดถอยตามลำดับ

แต่รถกลุ่มนี้ก็ยังขายไปเรื่อยๆ ต่อเนื่อง โดยเฉพาะ  Toyota  Wish  ขายจนถึงปี 2010 ลาจากด้วยรุ่น Sport Touring II  และสาเหตุที่ไม่กลับเข้ามาขายอีก เนื่องจากยอดขายปลายโฉมไม่ดีนัก

ส่วนทางฮอนด้ากลับเข้ามาอีกครั้งด้วย   Honda  Freed  ใหม่ รถ MPV   ประตูสไลด์ไฟฟ้ารุ่นแรก ในช่วงปี พ.ศ.2551 อานิสงค์จากอินโดนีเซีย ก็ไม่ได้รับความนิยมเหมือนเดิม เนื่องจากกระแสความนิยมของรถ  SUV   7 ที่นั่ง บวกกับลูกค้าไม่เห็นความสำคัญประตูสไลด์ไฟฟ้า และหลายคนวิจารณ์ถึงราคาขายที่ค่อนข้างแพง ทำให้  Honda  Freed  ไม่เข้ามาขายในไทยอีก หลังจากเลิกขายในปี 2016 

Honda Freed
Honda Freed รุ่นใหม่ ไม่ถูกนำมาขายในประเทศไทย

นอกจากแบรนด์รถยนต์ชั้นนำ ยังมี  Proton  Exora   รถยนต์จากประเทศมาเลเซียเข้าร่วมศึกนี้ในเวลาช่วงสั้นๆ แตกต่างด้วยเครื่องยนต์ 1.6 เทอร์โบ มีราคาขายยที่ถูกกว่าเจ้าตลาดพอสมควร

ปัจจุบัน  Compact MPV   ในตลาดประเทศไทย มีเพียง 3 รุ่นเท่านั้น (แบ่งตามขนาดความยาวตัวรถ4.3-4.7 เมตร ) คือ   Toyota  Innova , Suzuki  Ertiga และ   Mitsubishi  Xpander  แตกต่างจากกลุ่ม  Mini MPV   ตรงผู้ใหญ่สามารถโดยสารได้ในทุกที่นั่ง และมีพื้นที่สัมภาระท้ายเหลือเพียงพอสำหรับสัมภาระทุกคน

 แต่น่าแปลกใจว่า ในกลุ่มขนาด 4.5-4.7 เมตร ปัจจุบันมีเพียง  Toyota Innova   เท่านั้น และมันพัฒนาภายใต้โครงสร้างแบบ   Body On frame  ราคา รถปัจจุบันเริ่มต้นที่ 1.129  บาท และ 1.2 ล้าน สำหรับรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.8 ลิตร (นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย)

ดังนั้นที่ตรงนี้ยังว่างสำหรับ   Compact MPV  ขนาด 4.5-4.7 เมตร ไม่มีผู้เล่นในตลาดรายใดลงมาทำตลาดกลุ่มนี้ มันกลายเป็นหลุมดำที่รอวันว่าจะมีใครไหมกลับมาทำตลาดอีกครั้ง หลังกระแสรถ MPV   เริ่มกลับมาเป็นที่ต้องการจากคนไทยอีกครั้ง

 

 

 



 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่