กลายเป็น ประเด็น ดราม่าในโลก โซเชี่ยล ทันทีที่มีรถยนต์ไฟฟ้า คันหนึ่งเกิดเหตุ ขับรถปีน สิ่งดีขวาง อย่างไม่ตั้งใจ จนในเวลาต่อมา ไปเคลมที่ศูนย์บริการ พบว่า ค่าซ่อม ประเมินที่ 600,000 บาท เนื่องจาก ต้องเคลมแบตเตอร์รี่ทั้งลูก และเรืองนี้คงต้องติดตามต่อไป

จนหลายคน เริ่มตั้งคำถามว่า แบตเตอร์รี่รถยนต์ไฟฟ้า ทำไมทุกค่ายทำเหมือนกันหมด โดยการวางแบตเตอร์รี่ไว้ที่พื้นรถ ทั้งที่ โดยกระแทกก็ง่าย น้ำท่วม ก็เสี่ยงแบตฯ พัง ไหนจะความชื้น และอีกมากมาย จนเริ่มมีคำถามว่า ทำไม วิศวกร อันปราดเปรื่องของบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหลาย ไม่นำ แบตเตอร์รี่ไปไว้ที่อื่น

ก่อนอื่น ให้เข้าใจตรงกัน แบตเตอร์รี่ที่ว่างนี้ คือ แบตเตอร์รี่ สำหรับการให้พลังงานขับเคลื่อน หรือภาษา ทางวิศวกรรม เรียกว่า Traction Batter

ในรถยนต์ไฟฟ้า แทบจะ ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ จะต้องมีแบตเตอร์รี่ตัวนี้ เพื่อใช้ให้กำลังไฟฟ้า กับมอเตอร์ไฟฟ้า ในระหว่างการขับขี่ และ แบตเตอร์รี่ตัวเดียวกัน ยังใช้ สำหรับให้ไฟฟ้ากับระบบต่างๆที่จำเป็นในการใช้งานด้วย

ปกติแล้ว แบตเตอร์รี่ มักจะมีน้ำหนักมาก แม้กับแค่ แบตเตอร์รี่ทั่วๆ ไป 12 โวลต์ ก็ยังมีน้ำหนักมากพอสมควร , ทีนี้ เรามาลองจินตนาการ ถึง แบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้จำนวนมากๆ ขนาดของมันนั้น จะต้องมหึมา แถมยังมีน้ำหนักมาก

การวางแบตเตอร์รี่ไว้ต่ำ ไม่ใช่เพียงในรถยนต์ไฟฟ้า เท่านั้น รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าก็จัดวางไว้ต่ำเช่นกัน

ถ้าเทียบกับ รถยนต์ทั่วไป ชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักมากที่สุด คือ เครื่องยนต์ กว่าร้อยละ 80 จะ ถูกติดตั้งทางด้านหน้า เนื่องจาก เครื่องยนต์ มีรูปแบบเฉพาะ ทั้งยังต้องติดตั้งรวมกับ ชุดเกียร์ ใช้ในการขับเคลื่อนด้วย

แต่กับรถยนต์ไฟฟ้า ตัวขับเคลื่อน เป็นเพียงโมดูล ที่ติดตั้งไว้กับชุดล้อเท่านั้น ชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักมากจริงๆ ก็คือ แบตเตอร์รี่ นั่นเอง

ทีนี้ ในทางวิศวกรรม การจะเอาชิ้นส่วนหนักๆ ไปไว้ จุดใด ของตัวรถ จะมีผล ที่ตามมา นั่นคือ สมดุลของน้ำหนัก หรือ Balance นั่นเอง

รถยนต์สันดาปทั่วไป พยายาม จะมีสมดุล ตกหน้า เนื่องจาก วางเครืองยนต์ ไว้ข้างหน้าเสียส่วนใหญ่ มีเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่วางเครื่องยนต์ไว้ทางด้านหลัง และ ส่วนน้อย ที่วางตรงกลาง

เป็นที่ทราบกันดีในทางวิศวกรรมว่า สมดุลน้ำหนักดีที่สุด คือจัดวางของที่มีน้ำหนักมากไว้ตรงกลาง ทำให้ เมื่อขับขี่ สมดุล น้ำหนัก จะช่วยให้รถมั่นคง ขับมั่นใจ และมีบาลานซ์ น้ำหนักดี

และจะดีที่สุด ถ้าของชิ้นนั้น สามารถวางไว้ต่ำสุดด้วย เนื่องจากในการเข้าโค้ง โครงสร้างตัวถัง จะมีการให้ตัว บิดตัว ทำให้น้ำหนัก ถูกถ่ายเทไปด้านใดด้านหนึ่ง ในระหว่างเกิดการเหวี่ยงของตัวรถ

ด้วยเหตุนี้ การวางน้ำหนักไว้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ จะทำให้ จุดศูนย์ถ่วง หรือ Center of Gravity ต่ำตามไปด้วย มันมีผล เวลา เราขับเปลี่ยนเลน เวลาขับเร็วๆ ในยามขับทางตรงรถดูมั่นใจ เกาะถนน และในยามเข้าโค้ง ช่วยลดอาการโคลงตัว และเอียวตัว ทำให้ผู้โดยสารรู้สึกสบาย ในแง่ผู้ขับขี่ ก็รู้สึกมั่นใจตามไปด้วย

และด้วยเตุว่า แบตเตอร์รี่รถยนต์ไฟฟ้า เป็นชิ้นส่วนหนักที่สุด พวกเขา จึงเลือกที่จะวางไว้ที่พื้นห้องโดยสาร ทั้งหมด คล้ายกันในรถทุกคัน

แล้วใช้กระบวนการอื่น เพื่อป้องกัน การกระแทก และเหตุไม่คาดฝัน จากการขับขี่ อาทิ

  • ซัลแพ็คแบตเตอรืรี่ ให้ได้มาตรฐานการกันน้ำ ที่กำหนด ตามมาตรฐานสากล และ แสดงข้อมูล ชี้แนะการลุยน้ำ อย่างชัดเจน อาทิ Toyota BZ4X ลุยน้ำได้สูงสุด 500 มม.
  • ทดสอบ การกระแทก อย่างเข้มข้น ด้วยแลบ ภายใน ของบริษัทแบตเตอร์รี่ และผู้ผลิตรถยนต์
  • ติดตั้งชุดแบตเตอร์รี่ ให้อยู่ในระนายเดียวกับตัวถังมากที่สุด และ ติดตั้ง ชุดกันกระแทกแบตเตอร์รี่ เพื่อป้องกันความเสียหาย
  • เซทระบบกันสะเทือนให้ค่อนข้างแข็งไม่นิ่มย้วย จนเกินไป เพื่อรับแรงกระเทือนจากพื้นถนน ไม่ให้ โครงสร้างตัวรถ และ แบตเตอร์รี่ เกิดการกระแทกกับพื้นในระหว่างการขับขี่

ทำไม ไม่ติดตั้งจุดอื่น ที่อันตรายน้อยกว่า

จากเคส น้องแมว ปีนขอบ ผมเห็นโซเชี่ยล ตั้งตัวเป็นวิศวกรกันยกใหญ่ ว่า แบตเตอร์รี่ สามารถติดตั้งตรงอื่นก็ได้ ไม่มีความจำเป็น ต้องติดใต้ท้องรถ

อันที่จริง ,​เราต้องเข้าใจก่อนว่า วิศวกร ไม่มีค่ายไหน พัฒนารถยนต์แบบ สุ่มสี่สุ่มห้า การออกแบบรถยนต์แต่ละคันแต่ละรุ่น ถูดคิดมาอย่างดีแล้ว จาก มันสมองหัวกะทิ ของพวกเขาเหล่านั้น

สาเหตุที่ไม่ติดตั้งในจุดอื่นๆ คือความอันตรายของแบตเตอร์รี่ ในการใช้งาน อาทิ การติดตั้งไว้ทางด้านหน้าในตำแหน่งเดียวกับห้องเครื่องยนต์ จะต้องสร้าง แบตเตอร์รี่แพ็คลักษณะมด และมีความจุพอกับการใช้งานไหม

รวมถึง น้ำหนักที่มากของแบตเตอร์รี่ จะกลายเป็นรถถูกถ่วงด้านหน้า ซึ่งน่าจะไม่ดีเท่าไรนักเวลาขับด้วยความเร็ว แอีกทั้งในกรณีเกิดอุบัติเหตุ อาจจะทำให้แบตเตอร์รี่แพ็คชนเข้ากระแทกห้องโดยสาร จนผุ้โดยสารอาจได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ส่วนในการติดตั้งทางด้านหลัง , เป็นที่ทราบกันดีว่า รถยนต์ทั้งหมด ไม่เพียงต้องมีพื้นที่ในการโดยสาร มันยังต้องมีพื้นที่เก็บสัมภาระด้วย

การเอาแบตเตอร์รี่มาถ่วงหลัง ฟังดู เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่น้ำหนักแบตเตอร์รี่ที่มาก อาจทำให้ สมดุลของรถเสียได้ โดยเฉพาะในยามเข้าโค้ง น้ำหนักถ่วงหลังมาก อาจทำให้ เกิดการเสียสมดุลในระหว่างเข้าโค้ง หรือแม้แต่ ในการเปลี่ยนเลน อย่างง่ายๆ

และในความจริง การชนท้าย เป็นอุบัติเหตุในลำดับต้นๆ ของการจราจร ทั่วไป มีโอกาส ที่แบตเตอร์รี่แพ็ค ที่มีราคาแพง จะได้รับความเสียหาย และ ในทางกลับกัน อาจก่อให้เกิดความเสียหาย กับ รถที่เขช้ามาชน คิดถึง รถ วิ่งชนแท่งเหล็กแท่งปูน .. แบตเตอร์รี่แพ็ค ขนาดกำลังไฟหลาย Kw ก็ มากและหนาไม่แพ้กัน

ดังนั้น สาเหตุ ที่รถยนต์ไฟฟ้า เอาแบตเตอร์รี่แพ็ค ไว้ทางด้านล่าง ก็เนื่องจาก วิศวกร ต้องการสร้างสมดุลรถให้ดีที่สุด เป็นสมดุล ที่ยากจะทำในรถยนต์สันดาปทั่วไป ซึ่ง อาจจะต้องเอาครื่องยนต์ วางไว้หลังผู้ขับขี่ แต่เมื่อรถยนต์ไฟฟ้า สามารถปรับ รูปแบบ ของแบตเตอรืรี่ได้ การวางพวกมันไว้ ที่พื้นห้องโดยสาร หรือใต้ท้องรถ ก็สามารถสร้างสมดุลตัวรถดีที่สุดได้

ด้วยเหตุนรี้ พวกมัน จึงถูกวางใต้รถเสมอ แม้ว่าจะมีอันตรายจากการ กระแทก และ การน้ำระหว่างการขับขี่บ้างก็ตา มแต่ก็ใช้ การควบคุมมาตรฐานแบตเตอร์รี่ เข้ามาช่วยเติมเต็มในเรื่องดังกล่าว

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่