ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงในโลกยานยนต์ยุคใหม่ รถยนต์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในกลุ่ม ดูจะเป็นรถยนต์นั่งซีดานกลาง หรือ Mid-Size Sedan รถคู่บุญของ ลูกค้าในอดีต กลุ่ม Baby Boomer ที่ออกขายมาหลายสิบปี

กระแสความเสื่อมนิยมของ ซีดานกลางไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลกยานยนต์ โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่โตมากับโซเชี่ยล ซึ่งมี อัลอน มัสก์ และ Tesla เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญโดยส่วนใหญ่ อยากได้ อยากมีสักครั้งในการขับขี่ จนหลายคนไม่อินกับ ซีดานกลาง รถยนต์นั่ง 4 ประตู ขนาดกลางค่อนไปขนาดใหญ่ มีราคาค่อนข้างแพง

ขณะเดียวกัน รถแบรนด์รถยุโรป ก็มีราคาถูกลง ไม่ต้องนับรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน อย่าง BYD Seal ที่เข้ามาทำตลาด ในราคาที่เอื้อมถึงง่าย แถมเป็นรถยนต์ไฟฟ้าพร้อมใช้งาน ในยุคราคาน้ำมันมหาโหด

ยุครุ่งเรือง

แอดมินบอล มาทันในยุครถยนต์ซีดานกลางรุ่นเรือง ช่วงต้นยุค 2000s ในประเทศไทย จะมี 3-4 แบรนด์ใหญ่ ทำตลาด รถกลุ่มนี้ ทั้งหมดเป็นค่ายญี่ปุ่น จับทางลูกค้าที่ต้องการรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ ภูมิฐาน งบไม่บานปลาย เน้นความทนทานใช้งานได้ทุกวัน โดยไม่ต้องดิ้นขึ้นไปซื้อรถยุโรป ให้หนักกระเป๋า

สามทหาร เสือ ของ รถยนต์ ซีดานกลางในอดีต มี Toyota Camry, Honda Accord และ Nissan Cefiro ก่อนที่คันหลังสุดจะมาเปลี่ยนชื่อเป็น Nissan Teana ในอีกไม่นานไม่นาน

ที่จริงในยุค 90 ยังมี มาสด้า ที่ออกตัว Mazda 626 มาขาย ก่อนอำลาลี้ภัยไปเป็นรายแรกๆ เช่นเดียว Mitsubishi ที่มี Galant ซึ่งก็จบรุ่นไปในช่วงเวลาใกล้กัน

จุดเด่นของรถกลุ่มนี้ คือ การให้รถที่มีตัวถังขนาดใหญ่ ถ้าไม่นับ SUV ในวันนี้ ซีดานกลาง เคยเป็นรถที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในมวลหมู่รถเก๋ง ที่วางขายในไทย

ไม่เพียงเท่านี้ รถทุกรุ่น มาพร้อมสมรรถนะในการขับขี่ที่เร้าใจกว่ารถทั่งไป ในยุคแรกเริ่มซีดานกลาง มาพร้อมเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ในช่วง Toyota Camry, Honda Accord รุ่นแรก โดยให้พื้นฐาน เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร และ 2.2 ลิตร สำหรับรุ่นสมรรถนะสูง ก่อนจะขยับเป็น 2.4 หรือ 2.5ลิตร ในภายหลังหลายรุ่น

ดังเดิม รถกลุ่มนี้อย่าง นิสสัน เซฟฟิโร่ จะใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ V6 ตอบตลาด จนเจ้าตลาด Toyota Camry , Honda Accord ทำตลาด ด้วยเครื่องยนต์ 4 สูบ จึงเริ่มลดขนาดเครื่องยนต์ตามกันลงมา

ช่วงเฟื่องฟูที่สุด จะเป็นช่วงที่ Toyota Camry มีเครื่องยนต์ V6 3.5 ลิตร เดิมๆ จากโรงงาน ทะลุ 200 กว่า ม้า สู้กับ Honda Accord ที่มีเครื่องยนต์ V6 3.0 ลิตร ออกมาเช่นกัน

จนกลายเป็นรถในฝันของหลายคน ว่าสักวัน ต้องซื้อมาขับให้จนได้

Nissan-Teana-250-XV-Petrol

เสื่อมศรัทธา ครั้งแรก

กระแสการเสื่อมความนิยมของ ตลาดซีดานกลาง ติดลมบนในทุกตลาดทั่วโลกมายาวนาน ทั้งใน ญี่ปุ่น ,​อเมริกา รวมถึง ยุโรป แต่การเริ่มบังคับใช้มาตรการไอเสีย ของทางยุโรป เริ่มบีบ ให้ซีดานกลาง ต้องมีการปรับตัวบ้างไม่มากก็น้อย

แต่จุดเปลี่ยนจริงๆ คือ ในช่วงหลังปี 2000 รถอเนกประสงค์ เริ่มได้รับความนิยม แม้ว่า ก่อนหน้านี้ รถกลุ่มนี่จะขายมายาวนาน แต่มีข้อกังขา เรื่องความปลอดภัยในการชน และมีโอกาส พลิกคว่ำง่าย ลูกค้าจึงยังกล้าๆกลัว แต่เมื่อระบบควบคุมการทรงตัว เข้ามาเป็นมาตรฐานในรถอเมริกา , ยุโรป รถกลุ่มนี่จึงเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับขั้นเรื่อยๆ

กลุ่มรถ อเนกประสงค์ ก้าวเข้ามาในใจผู้บริโภค จากงานออกแบบสมัยใหม่ที่มีความสวยสง่างาม รวมถึงในระยะหลัง เรื่องความปลอดภัยตัวรถก็มีดีพอๆกับ รถเก่งในรุ่นราวคราวเดียวกัน ขนาดแม้จะวัดตามจริงเล็กกว่าแต่ด้วยความสามารถในการใช้งานหลากหลาย ขับบนถนนก็ดี ลุยก็ได้ ขนของได้เยอะ

ประกอบกับผู้บริโภคเอง มีภาวะสังคมหลายอย่างเปลี่ยนไป อาทิ มีกิจกรรมในวันว่างมากขึ้น ต้องการรถที่มีความสามารถในการใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้นั่งโดยสารก็ได้ ใช้ขนของในวันทำกิจกรรม

ฟังแล้ว โคตรคุ้ม จะซื้อรถหลายคันทำไม ก็ยุบรวมให้มันเหลือคันเดียว ที่พร้อมตอบโจทย์ได้ทุกอย่างเข้าท่ามาก

และด้วยความคุ้นชินนี้จากรถในกลุ่ม Minivan ในอเมริกา คนจำนวนไม่น้อย จึงเริ่มผละจากซีดานกลาง และเริ่มมีกระแสนี้มาเรื่อย ในทุกภูมิภาคของโลก

จนผู้ผลิตส่วนใหญ่ หันมาเอาจริงเอาจังในการพัฒนารถยนต์อเนกประสงค์ ยกตัวอย่าง เช่น Mazda หันมาทำ รถกลุ่ม SUV อย่างจริงจัง ในช่วงปี 2009 เป็นการเริ่มต้น ของตระกูล รหัส CX เข้ามาครั้งแรก หลังจากที่มาสด้า เดินตลาดรถเก๋งมาโดยตลอด

ส่วนในประเทศไทย ภาพเดียวกันนี้ก็เห็นได้ชัด จากยอดขายรายปีที่ต่ำลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จน Nissan X-trail เข้ามาทำตลาด และ Nissan Teana ก็อำลาตลาดไป

พยายามฟื้นตัวครั้งแรก

หลังจาก ตลาด อเนกประสงค์เข้ามา ยอดขายรถยนต์ซีดานกลางก็เริ่มขยับปรับตัว ขึ้นมาบ้าง ในอเมริกา มีกลุ่มลูกค้าจำนวนหนึ่งที่มองภาพต่างว่า ไม่จำเป็นต้องซื้อมินิแวน ตามวิถี อเมริกันชน

ปกติแล้ว มินิแวน หรือรถ MPV คันโตๆ อย่าง Kia Grand Canival เป็นที่ต้องการของลูกค้าคนมีครอบครัว อยากได้รถนั่งสบาย ใช้รับส่งลูก และเข้าเมืองไปทำงาน แต่ก็มีประเด็นว่ารถกลุ่มนี้ที่มีตำหรับ จาก Dodge Caravan นั้นมีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ตามขนาดรถ ราคาน้ำมันวันนี้ก็ค่อนข้างเอาการ สาหัส

ในขณะที่ซีดานกลาง เริ่มมีการขยับ มามีระบบไฮบริด ตอบโจทย์ลูกค้า แม้จะไม่ประหยัด ระดับ 20 ก.ม./ลิตร แต่ก็ดีกว่าขับเครื่องยนต์สันดาป ที่ดักตีหัว เรื่องซดน้ำมันแลกกับความสะดวกสบาย

คนอเมริกาจำนวนไม่น้อย จึงเริ่มกลับมาเลือกซีดานกลาง เป็นคู่ใจ คนรักครอบครัวรวมถึง สภาพสังคมที่เบี่ยงมาทางครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น

แถมรถกลุ่มนี้ บางรุ่นมีสมรรถนะขับที่ถูกใจพ่อบ้าน เช่น Honda Accord มีเครื่องยนต์ 2.0 ลิตรเทอร์โบ ในตัวที่ขายในประเทศอเมริกา เรียกว่า เป็นรถครอบครัวก็ได้ ซิ่งก็ดี

กลุ่มคนที่เลือกรถกลุ่มนี้ก็มักจะเป็นคนเมือง เน้นภาพลักษณ์สักหน่อยในการใช้ชีวิต แอบมีความติดหรูเบาๆ ซื้อรถยุโรปก็ได้ แต่ไม่ไป เพราะ ขนาดเล็กไปไม่เหมาะกับการใช้งาน

รถสีเทา

เมื่อรถยุโรปเล็กลง

การมาของรถยนต์อเนกประสงค์กระทบไปแล้วในระลอกแรก ต่อมา ใครจะคิดว่า ค่ายยุโรป ก็เดินหน้า มาเสริมทัพทุบ รถกลุ่มนี้กับเขาด้วย

โดยในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รถยุโรปย่อตัวเอง ให้มีรถกลุ่มที่เล็กลง ราคาจับต้องง่ายขึ้น เป็นกลุ่มรถยนต์คอมแพ็ค ขนาดเล็กลง หลังจาก รุ่นรหัสเดิม เช่น BMW Series 3 , Mercedes Benz C-Class ที่มีราคาสูงขึ้น ตามการพัฒนารถที่ดีขึ้น ของเล่นเยอะขึ้น

หรือกระทั่ง รถกลุ่มใหม่ที่ทาง Mercedes เรียกว่า New Generation Compact Car ออกมาขาย โดยมีราคาเริ่มจากสองล้านต้นๆ และ ในที่สุด ขยับต่ำกว่า 2 ล้านบาท ทำให้หลายคนสนใจ และ ด้วยแบรนด์ดิ้งที่หรูหรากว่ามาก หลายคนจึงเริ่มหลบไปจากซีดานกลาง ที่มีราคาจำหน่ายไม่ต่างกันอีกครั้ง เว้นคนที่ยังคงต้องการขนาดรถขนาดใหญ่ในราคาไม่แพง ก็ยังซื้อรถซีดานกลาง รวมถึงองค์กรที่ต้องมีรถสำหรับผู้บริหารไว้เดินทาง

ทำให้ยอดขายซีดานกลางค่อนใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น ดำดิ่งอีกครั้ง แต่ก็กลับมาอยู่ในระดับทรงตัวในภายหลัง

และเริ่มมีการพัฒนาให้ลูกค้าสนใจ ด้วยระบบไฮบริด ทั้งใน Toyota Camry และ Honda Accord ขายคู่กับรุ่นสันดาป ทั้งหลายอย่างต่อเนื่อง โดยมีเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร เป็นพื้นฐาน

ก่อนฮอนด้าจะเปิดตัว Honda Accord G10 ที่มีพื้นฐานเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรเทอร์โบ สำหรับใครที่อยากได้ ฝั่งคัมรี่วางเกมคนละแบบ ให้เครื่องใหญ่ 2.5 ลิตร เป็นมาตรฐานทุกรุ่นในการขับขี่

คนรุ่นใหม่ไม่อิน และ พวกเขามองหารถยนต์ไฟฟ้า ที่ดูนำเทรนด์มากกว่า

ผมมีโอกาส ถามน้องที่ทำงาน อย่างเจ้าจอห์น ว่าคนรุ่นใหม่อินกับ ซีดานกลางไหม ? ประกอบกับลองดูเด็กๆ สมัยใหม่ ว่าเขา อินกันหรือไม่ ?

ผมได้คำตอบ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ว่าคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มากๆ แทบไม่อินกับซีดานกลางเลยสักคัน เพราะ ซีดานกลาง มีภาพลักษณ์ และภาพจำ ว่าถูกออกแบบมาจับตลาดผู้ใหญ่ ผู้บริหารระดับกลาง ตั้งแต่คนวัย 40 ยันวัยเกษียณ ซึ่งจะว่าไปก็เป็นกลุ่มเดิมๆ ที่ทำตลาดมาตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลง

อย่าง ฮอนด้า แอคคอร์ด ใหม่ที่เพิ่งจะเปิดตัว ก็เหมือนจะมาแนวเดียวกัน แม้จะอัพความทันสมัย มาชุดใหญ่ ใส่หน้าตาที่ดูโฉบเฉี่ยวขึ้น แต่สุดท้าย ก็ยังเน้นความหรูหราอยู่ดี

ประกอบกับ กระแสรถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรง หลายคนอยากได้ และมีแบรนด์ในใจว่าสักครั้ง ต้องขับอย่าง เทสล่า เป็นเป้าหมายอันดับต้นๆอยู่

นั่นทำให้ ซีดานกลาง ก็ดูยากที่จะแจ้งเกิด กลับมายืนในใจคนรุ่นใหม่

GT Crossover จากซีดานกลาง สูภาพลักษณ์ใหม่

อันที่จริง มีความพยายามในตลาด ซีดานกลางมากมาย ที่จะทำให้คนกลับมา แต่ต้องยอมรับว่าคนรุ่นใหม่ ไม่อินกับ 3 Box Design นั่นทำให้อนาคต รถรุ่นกลุ่มนี้ในท้ายที่สุดจะเปลี่ยนไป

เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานจากต่างประเทศ ที่น่าสนใจว่า ในที่สุดหนทางของ ซีดานกลาง จะกลับมาในแบบ GT Crossover ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นแล้วในรถบางรุ่น เช่น Peugeot 408

จุดต่าง ของซีดานกลาง กับรถสไตล์ใหม่ ที่เรากล่าวถึง คือ มันเป็นทรงครอสโอเวอร์ขนาดใหญ่ ที่ไม่ได้ถูกยกสูงจากเดิมมากนัก ทำออกมาในสไตล์ สปอร์ตท้ายลาด มีความผสมผสานกับรถอเนกประสงค์เล็กน้อย

หนึ่งในรถที่มีการปรับตัวตามนี้ คือ Ford Fusion ที่มีรายงานว่ายกเลิกการพัฒนาในแบบ ซีดานกลางเดิม และ เตรียมออกรุ่นใหม่ที่มาในทรงครอสโอเวอร์ ซึ่งการปรับตัวในลักษณะนี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้วใน Subaru Outback เช่นกัน

หนทางของ ซีดานกลางวันนี้ ไม่ง่าย เหมือนวันวาน อดีตราชารถที่หลายคนต้องไปให้ถึง วันนี้ เป็นเพียงไม้ประดับ กับ รถสำหรับองค์กรใหญ่ๆ ซื้อไว้ให้ผู้บริหารใช้ เท่านั้น

ชะตากลุ่มซีดานกลาง ใกล้มาถึง จุดเปลี่ยนที่ รอวันกลับมา อยู่ในใจคนทั่วโลก อีกครั้ง แต่เมื่อไหร่กัน ยังต้องรอดูกันต่อไป

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่