ถ้ากล่าวถึงการซื้อรถยนต์ในปัจจุบัน เชื่อเลยว่าหลายคนจะต้องพึ่งตัวช่วยสำคัญ กับการผ่อนชำระค่าสินค้า หรืที่เราเรียกว่า “สินเชื่อ” การใช้สินเชื่อซื้อรถยนต์ไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีมานานแล้ว จนปัจจุบันแทบจะไม่เหลือใครซื้อรถยนต์ด้วเงินสดอีกต่อไป มันสะดวกและทำให้คุณมีเงินเหลือเก็บ นกรณีที่คุณมีเงินสดมากพอจะซื้อรถ หากน้อยคนยังเข้าใจระบบสินเชื่อรถยนต์ไม่กระต่างเท่าที่ควร วันนี้เราจึงจะมาพูดคุยเรื่องนี้กัน 

“สินเชื่อรถยนต์” ปัจจุบัน มีการเช่าซื้อด้วยกันอยู่ 3 แบบ ด้วยกันครับ โดยคนที่กำหนดหลักการและอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระ คือ ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน  ที่ให้บริการสินเชื่อ โดยในการขอ “สินเชืื่อ” ก็อารมณ์คล้ายกับเราไปขอยืมเงินเขามาซื้อรถก่อน แต่เขาก็ไม่ได้ให้ฟรีๆ ต้องมีค่าตอบแทน ซึ่งก็คือดอกเบี้ยนั่นเอง 

แต่ส่วนใหญ่แล้วไฟแนนซ์จะไม่ให้สินเชื่อเราเต็มวงเงิน เพื่อลดความเสี่ยงของธนาคารที่มีต่อยอดเงินกู้ เนื่องจากรถยนต์เป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงจะเกิดความเสียหายได้ง่าย จึงมักกำหนดให้คุณต้องชำระค่ารถเองบางส่วน ก่อนจะทำสัญญาเช่าซื้อระหว่างกัน และวงเงินนี้ เราเรียกว่า “เงินดาวน์” ( Down Payment)   เพื่อให้ครอบคลุมมูลค่ารถที่เหลือจากเงินสินเชื่อ ที่เราขอยืมมา 

หลักเบื้องต้นการวางดาวน์ 

ในการวางดาวน์รถยนต์สักคัน เงินดาวน์จะใช้เมื่อคุณจะถอยรถคู่ใจออกจากโชว์รูมแล้วเท่านั้น ทางโชว์รูมจะไม่เรียกเก็บเงินเหล่านี้ก่อนอย่างแน่นอน 

การวางดาวน์ คุณสามารถเลือกเองได้ว่าจะดาวน์ต่ำ โดยมากจะได้ถึงร้อยละ 5 ของมูลค่ารถยนต์คันนั้น หรือจะเลือกวางดาวน์เยอะๆ เพื่อเราจะผ่อนยอดสินเชืื่อในแต่ละเดือนน้อยลงก็สามารถทำได้ และไม่มีกำหนดว่า คุณจะต้องวางดาวน์สุงสุดเท่าไร แต่ส่วนใหญ่จะดาวน์สูงสุดเพียง 25-30%   ของราคารถ เนืื่องจากช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการด้านเอกสารกับทางสินเชืื่อ 

เมื่อเงินดาวน์เยอะขึ้นยอดผ่อนน้อยลง ความเสี่ยงสถานการณ์ก็น้อยลงตามไปด้วย แต่ถ้าคุณดาวน์น้อยยอดผ่อนเยอะ ความเสี่ยงมีมาก สถาบันการเงินหรือธนาคาร ก็มักจะเรียกร้องขอความมั่นใจเพิ่มเติม ด้วยการหา “คนค้ำประกัน”

คนค้ำประกันคือคนที่ยอมชำระหนี้แทนลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระสินเชื่อดังกล่าวได้ โดยคนค้ำประกันจะเอาความสามารถและหลักฐานทางการเงินมาแสดงต่อ สถาบันการเงินหรือธนาคาร เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อตนเอง และเพิ่มน้ำหนักให้กับลูกหนี้ว่าจะสามารถผ่อนชำระได้ไม่มีปัญหา 

นี่จึงเป้นสาเหตุว่า ทำไมบางครั้ง หากคุณเคยไปค้ำประกันให้ใครแล้ว เมื่อเพื่อนหรือใครคนนั้น ไม่สามารถชำระค่างวดได้ หรือติดต่อลูกหนี้ไม่ได้  ทางไฟแนนซ์จะโทรมาหาสอบถามกับคุณ ในฐานะเจ้าหนี้

หลักการเช่าซื้อ 

ทีนี้คงพอเข้าใจแนวคิดในการวางดาวน์ไปแล้วพอสมควร ขั้นตอนไฟแนนซ์จริงๆ นั้นไม่ได้อยู่ที่การวางดาวน์ หากอยู่ที่การเลือกโปรแกรมการผ่อนชำระให้เหมาะสมกับเรามากกว่ าแม้ว่าเราไม่มีทางรู้ว่าสถานการณในอนาคตชีวิตเราจะเป็นอย่างไรก็ตาม 

แนวทางการตัดสินใจเลือกผ่อนชำระ เราสมควรจะต้องเริ่มที่ การประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของตัวเองก่อน ว่าเราสามารถจะจัดการผ่อนชำระ “ค่างวด” รถยนต์คันนั้นๆ ได้หรือไม่ 

ตามปกติแล้ว ธนาคารและสถาบันการเงิน จะนำค่างวดมาคำนวนกับรายได้ในแต่ละเดือนของคุณ โดยยึดหลักเงินเดือนเป็นสองเท่าของค่างวดในแต่ละเดือน หรือ 1 ใน 3 ของรายรับที่คุณมีเข้ามา

“ค่างวด” ในแต่ละเดือนจะแปรผันเปลี่ยนไปตาม ปัจจัยสำคัญ 3 ข้อ คือ

1.จำนวนเดือนที่ผ่อนชำระ ปัจจบันสินเชื่อจะปล่อยให้ผู้ซื้อ สามารถเลือกการผ่อนชำระด้วยตัวเอง ตั้งแต่  48 งวด จนถึง 84 งวด หรือ 4 ปี และสูงสุดไม่เกิน  7 ปี  

2.ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสำคัญต่อค่างวดผ่อนชำระในแต่ละเดือน ยิ่งคุณผ่อนนาน ก็ยิ่งโดนค่าดอกเบี้ยมาก และดอกเบี้ยจะมีราคาแพงมาก 

3.ลักษณะการเช่าซื้อ การเช่าซื้อบางสัญญาให้อำนาจเป็นของผู้ซื้อภายใต้เงื่อไขธนาคาร ทำให้เราสามารถผ่อนชำระได้ต่ำ เมื่อเทียบกับโปรแกรมเช่าซื้ออื่น แต่เราอยากเตือนว่าซึกษาวิธีการเช่าซื้อให้ดี 

 

ไหนๆ ก็พูดถึงโปรแกรมการเช่าซื้อ เรามาดูกันดีกว่า โปรแกรมการเช่าซื้อในปัจจุบันที่นิยมให้เราใช้ มีแบบไหนกันบ้าง 

1.การเชื่อซื้อแบบปกติ 

การเช่าซื้อรถยนต์ปกติ ส่วนใหญ่จะเป็นการคิดอัตราผ่อนและอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่  หรือ  Flat Rate   โดยกำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเช่าซื้อ หรือผ่อนในแต่ละงวดเท่าๆ กัน จนกว่าจะครบสัญญาตามตกลง 

2.การเชื่อซื้อแบบบอลลูน 

การผ่อนแบบบอลลูน เป็นการผ่อนที่จำแนกเงินออกเป็น 2 กองด้วยกัน กองแรกเป็นกองที่นำมาคำนวนการเช่าซื้อหลัก มีอัตราดอกเบี้ยตามที่สถาบันการเงินกำหนด ในอัตราคงตัวตลอดสัญญา คล้ายแบบแรก แต่เมื่อผ่อนชำระหมด คุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของรถ จนกว่าจะชำระเงินก้อน ที่แบ่งไว้เป็นกองที่ 2 
คุณสามารถเลือกจะขายคืนรถให้บริษัท แล้วออกรถใหม่ ก็ได้ หรือหากประสงค์ว่าจะใช้รถต่อ ก็สามารถนำเงินกองที่ 2 มาจัดไฟแนนซ์ต่อแล้วผ่อนชำระแบบรถมือสองก็ได้ 

โดยปกติการเช่าซื้อแบบบอลลูนเหมาะกับบริษัทห้างร้านที่ต้องการใช้รถชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อถึงกำหนดจะเปลี่ยนรถยนต์ใหม่อย่างสม่ำเสมอไปเรื่อยๆ  นี่จึงเป็นสาเหตุที่โปรแกรมเช่าซื้อแบบนี้มักมีในรถหรู มีเพียง โปรแกรม โตโยต้าสบายดีเท่านั้นที่แนะนำการเช่าซื้อแบบนี้เข้ามา 

3.การเชื่อซื้อแบบขั้นบันได 

เงื่อนไขสัญญากการเช่าซื้อแบบขั้นบันได เป็นเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องผ่อนชำระ โดยเพิ่มค่างวดในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่าต่อเนื่อง จนสิ้นสุดสัญญา ยกตัวอย่างเช่น ปีแรกผ่อนเดือนละ 2,000 บาท ปีที่สองผ่อนเดือนละ 3,000 บาท และเพิ่มไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบสัญญา

ข้อดีของโปรแกรมผ่อนขั้นบันได อยู่ที่ความสะดวกในการผ่อนระยะแรก และโตเป็นขั้นบันได ตามลักษณะรายได้ของผู้เช่าซื้อ หรือโตตามการเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานของเรา ทำให้เราสะดวกในการเช่าซื้อค่อนข้างมาก พอสมควร 

 

มาถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนคงพอจะเข้าใจในการเช่าซื้อรถยนต์ในเบื้องต้นกันแล้วใช่ไหมครับ ในครั้งหน้าเราจะมาพูดถึง การหาทางซื้อรถยนต์ใหม่ให้ถูก ทำได้ง่ายๆ ไม่ยากเลยครับ  

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง นักทดสอบรถยนต์ และ คอลัมนิสต์ เว็บไซต์   Ridebuster.com  ติดตามผลงานการเขียน และข้อมูลที่น่าสนใจได้ทาง  Facebook 

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่