ท่ามกลาง การเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า และนวัตกรรมการขับขี่ใหม่ๆ เครื่องยนต์ในรถสันดาป มีการปรับปรุงให้มีการตอบสนอง เป็นเงาตามตัวไปด้วย

หนึ่งในกระแสที่ค่อยๆ ทยอย คืบคลานเข้ามานั้น คือการปรับเครื่องยนต์ให้มีรูปแบบเดียว ไม่มากมายนัก จนเกินไป แนวทางการใช้เครื่องยนต์เดียว 2 ความแรง หรือ One Engine Size เริ่มแพร่หลายมากขึ้น จนใกล้ตัวกว่าที่เราคิด จนต้องหยิบมาเล่าให้ฟังกัน

โตโยต้า ดูยังไม่มีแผน สำหรับการปรับเครื่องยนต์ 2 ขนาด แม้ว่า คู่แข่ง จะทำแนวทางนี้ก็ตาม

One Engine Size คือ การพัฒนาเครื่องยนต์ ให้มีขนาดความจุเดียว ทั้งไลน์อัพ ไม่ว่าคุณจะซื้อรุ่นท๊อปราคาแพงมหาศาล หรือ รถรุ่นล่างที่มีออพชั่นน้อย ก็ได้เครื่องยนต์ขนาดเดียวกัน

เพียงแต่มีการปรับในส่วนควบให้แตกต่าง กัน อาทิระบบเทอร์โบชาร์จที่มีความแตกต่างกัน จะเป็นเทอร์โบลูกเดียว หรือ 2 ลูก บางค่ายใช้กระบวนการ ตอนแรงดันเทอร์โบ หรือ บูสต์ ตลอดจน ตอนแรงม้า เพื่อให้ลูกค้าจ่ายแพงไม่ตะขิดตะขวงใจ พร้อมออพชั่นต่างๆ ที่มีออกมามากมาย

เครื่องยนต์ขนาดเดียว ในแง่การพัฒนามีข้อดีสำคัญ คือ ลดงบประมาณในการวิจัยพัมนาเครื่องยนต์ได้มากโข รวมถึงในแง่การออกแบบ และสต๊อกอะไหล่ สำหรับตัวแทนจำหน่าย ก็ลดลงตามไปด้วย ไม่เพียงแค่นี้ ยังง่ายต่อการฝึกอบรม ช่างผู้เชี่ยวชาญ ไม่ต้อง มาฝึกสอน ในเครื่องยนต์แต่ละแบบ ที่มีความแตกต่างไม่เหมือนกัน ในการดูแล หรือ ซ่อมบำรุง

รวมถึง มันยังส่งผลดี ในเรื่องของ การปล่อยไอเสียเฉลี่ยรวม ที่กลายเป็นดัชนี้วัดในบางภูมิภาคด้วย ส่วนผู้บริโภค ก็ยิ้มออก เพราะ ภาษี รายปีไม่สูงจนเกินไป นัก

นั่นทำให้ แนวทางเช่นนี้ เริ่มมีมาสักระยะใหญ่แล้ว ในหมู่ผู้ผลิต โดยเราเริ่มเห็นมาตั้งแต่เมื่อสิบปีที่แล้ว ใน
Nissan Navara ตั้งแต่สมัย D40 มีการพัฒนาเครื่องยนต์ ออกมาเพียงบล็อกเดียว 2.5 ลิตร หาก ทำให้มี 2 กำลังขับ คือ Mid Power และ High Power

Generated by pixel @ 2023-05-22T05:35:26.296271

โดยสร้างความแตกต่างกันในแง่ของชุดเทอร์โบ การระบายความร้อน แรงดันที่ใช้งาน ก่อนก้าวมาสู่ยุค เครื่องยนต์ YS ในปัจจุบัน ที่ทำความแตกต่างในแบบเดียวกัน

ค่ายต่อมา ที่ตามมาติดๆ คือ Ford เมื่อตัดสินใจ มาเป็นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ดีเซล Eco Blue ก็เหลือเพียงเครื่องยนต์ขนาดเดียว ในยุคนี้ โดยให้ความแตกต่างด้วย รูปแบบเทอร์ดบชาร์จ ในรุ่นบนเป็น เทอร์โบคู่ ในรุ่นล่างเป็นเทอร์ดบเดี่ยว

ก่อนมาถึง ค่ายล่าสุด มิตซูบิชิ ที่ออกมาเป็นเครื่องยนต์ 2.4 ลิตร 4 สูบ แบ่งแยก เป็นเทอร์โบคู่ และ เทอร์โบเดี่ยว ตามลำดับ ความแรง

เมื่อกระแสข่าว ออกมาว่า Isuzu กำลังเดินตามรอยในเรื่องนี้ โดยซุ่มพัมนาเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร หลังจากยกเลิอกโครกงารดีเซล 2.4 ลิตร ที่ลือมานานแรมปี

ทำให้ อีซูซุ กำลังละทิ้ง เครื่องยนต์ 2 ขนาด และ อาจทำให้ โตโยต้า จะเป็นเจ้าเดียว ที่ทำเครื่องยนต์ 2 ขนาดตอบตลาด ไปจนกว่า จะมีแนวคิด หรือพัฒนาเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งก็น่าจะอีกพักใหญ่เช่นกัน

ถ้าคิดว่า เรื่องนี้เกิดกับทางฝั่งดีเซล อย่างเดียว ขอให้คิดใหม่ เพราะ ตลาดเครื่องยนต์เบนซิน ก็ตามมาติดๆ ยกตัวอย่างเช่น

ฮอนด้า มีการวางเครื่องยนต์เบนซินขนาด1.5 ลิตร ใช้งานหลายแบบ ทั้ง 1.5 ปกติ แบบที่อยู่ใน WRV , 1.5 ไฮบริดใน Honda HR-V และ 1.5 เทอร์โบ ใน Honda CR-V ใหม่

หรือ ในกรณี เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ใช้ในรูปแบบไฮบริด สำหรับ Honda Civic และ 2.0 ลิตร เทอร์โบ ใน Civic Type R รวมถึง จริงๆ ยังมี 2.0 ธรรมดา ใน Honda ZR-V นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น

ในทางมาสด้า เองก็มีการใช้ เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ขนาดเดียว สเป้คเดียวในรถหลายรุ่น ทั้ง Mazda 3 , Mazda CX-30 รวมถึง Mazda CX-5

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่เราพอจะเห็นภาพได้ จากตลาดประเทศไทย

อย่างไรก็ดี ,​การพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีขนาดเดียวนั้น มีประเด็นสำคัญ ที่อาจไม่ตอบโจทย์การใช้งานบางแบบ อาทิ การใช้ความเร็วอย่างต่อเนื่องในการเดินทาง และการบรรทุกหนัก

ในการใช้งาน ทั้ง 2 แบบ นั้น เครื่องยนต์ขนาดเดียว ที่มีการออกแบบบนพื้นฐานเครื่องยนต์ขนาดกลาง ( 2.0-2.4 ลิตร) แล้วเบ่งพลังด้วยเทอร์โบ แม้ว่า จะให้กำลังขับแรงม้า และแรงบิดมหาศาล แต่นิสัยพื้นฐานเครื่องยนต์ รอบกลาง ต้องอัดกำลังแรงดันมากขึ้น เพื่อให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ และเหมาะสมการใช้งาน

โดยเฉพาะ กลุ่ม High Power เพื่อตอบสนองลูกค้า ที่ต้องการใช้งาน บางรูปแบบ เช่น การเดินทางด้วยความเร็ว การขับบนเสน้ทางเขาชัน , การบรรทุกหนัก ,​การลากจูง

เพื่อให้ ช่วงกำลังขับ หรือ Power Band อยู่ในจุดที่ดีที่สุดเสมอ ส่วนที่ต่ามมา คือการต้องใช้เกียร์หลายจังหวะ อัตราทดมากขึ้น ตามมาด้วย ยกตัวอย่างเช่น Ford ใช้ เกียร์ 10 สปีดในรุ่นท๊อปๆ เพื่อ ให้ช่วงกำลังเครื่องอยู่ในจุดที่ดีที่สุดเสมอ

อย่าง Nissan ก็ต้องใช้ชุดเกียร์ 7 สปีด ตอบสนองการขับขี่ แม้ว่า จะเป็นชุดเกียร์ ที่ปรับมาจากรุ่นเดิม ก็ตาม

นั่นอาจหมายถึง การลด ขนาดเครื่องยนต์ จำเป็นต้องพัฒนาชุดเกียร์ให้ตอบสนองเหมาะสมตามไปด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ เครื่องยนต์ขนาดเล็กที่ต้องอัดแรงดันเทอร์โบมหาศาล เพื่อปั้นแรงม้าให้ตอบโจทย์ สิ่งที่ตามมาก็ไม่พ้นการสึกหรอ ของเครื่องยนต์ในระยะยาว

เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ซดน้ำมัน ปล่อยไอเสียเยอะ เป็นข้อเท็จจริง ที่ทราบกันดี แต่เมื่อเครื่องยนต์ขนาดเล็กทำงานหนัก ใช้รอบเครื่องสูง มันก็แทบไม่ต่างกัน ในแง่ความประหยัด หรือการปล่อยไอเสีย

สิ่งที่ลิมไม่ได้ เรื่องของการบำรุงรักษา การสึกหรอ ของเครื่องยนต์ในระยะยาว หากเครื่องยนต์ขนาดเล็กไม่ได้มีส่วนชุดเกียร์ ที่มีอัตราทดเพิ่มขึ้น หรือ มีการปรับอัตราทด รวมถึงโปรแกรมเกียร์ การลดขนาดลงมา ก็ย่อมส่งผลต่อการใช้รอบเครื่องของผู้ขับขี่ ในการใช้งาน และอาจส่งผลต่อการสึกหรอในระยะยาว

ยกตัวอย่างผู้เขียน เคยขับรถ รุ่นเดียวกันต่างเครื่องยนต์ Nissan X-Trail ไปยังจุดหมายเดียวกัน ใช้ความเร็วพอๆกัน เครื่อง 2.0 อัตราประหยัด ตกเฉลี่ยราวๆ 13 ก.ม./ลิตร กลับกันเครื่อง 2.5 ลิตร ให้อัตราประหยัด แตกต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ราาวๆ 12.5 ก.ม./ลิตร และมอบความมั่นใจในการขับขี่มากกว่า เวลาเร่งแซง คุณรู้สึกว่า เครื่องยนต์ทำงานไม่เหนื่อย รถมีพลังตลอดเวลา

รอบเครื่องอยู่ในระดับต่ำกว่า มั่นใจกว่าการกินน้ำมันมากกว่า เพียงเล็กน้อย มอบความมั่นใจมากขึ้น

นั่นทำให้ในช่วงหลัง เริ่มมีการสร้างเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ออกมา เพื่อตอบโจทย์ที่ต่างออกไป สำหรับลูกค้าบางกลุ่ม เริ่มวางจำหน่าย ในต่างประเทศ ที่ต้องการกำลังขับมากกว่า

เช่น Ford เริ่มนำเสนอ เครื่องยนต์ 3.0 ลิตร เทอร์โบเดี่ยวใน Ford Ranger และ Ford Everest เวอร์ชั่นขายในออสเตรเลีย , มาสด้า พัฒนาเครื่องยนต์ 6 สูบเรียงรุ่นใหม่ สำหรับ ลูกค้าที่ต้องการ สมรรถนะในการขับขี่มากขึ้น

เป็นภาพที่ค่อนข้างชัดว่า เครื่องยนต์ขนาดเดียว สำหรับทุกความต้องการ ไม่สามารถตอบสนองได้ อย่างที่คิด บางค่าย ขยับตัวไปแล้ว โดยหาทางอื่นเข้าช่วย เช่นระบบ Mild Hybrid แทนที่การใช้ กายภาพเครื่องยนต์เพียงอย่างเดียว อย่าง Toyota จะแนะนำระบบดังกล่าว สำหรับเครื่องยนต์ 2.8 ในเร็วๆ นี้

หรือ อย่างเคสที่น่าสนใจ คือ ฮอนด้า ตัดสินใจ เพิ่มขนาดเครื่องยนต์ไฮบริด จากเดิมทีมีเพียง 1.5 ไฮบริด เป็นหลักก็มีการขยายเป็นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร เพื่อให้ตรงใจกับการใช้งานมากขึ้น หรืออย่าง Nissan มีการปรับขนาดระบบ e- Power จาก 1.2 ลิตร ที่ใช้ใน nissan kick ในปัจจุบัน มีการเพิ่มขนาดใน Nissan serena ใหม่ ที่เพิ่งเปิดตัวขายญี่ปุ่น
ส่วน Nissan Note E-Power ยังใช้เครื่องเดียวกับ Nissan kick e-Power ต่อไป ทั้งที่เดิมทีก้ใช้เครื่องเดียวกัน

แม้ว่า ในที่สุด ต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถเลี่ยงแนวทาง เครื่องยนต์ขนาดเดียว จากผู้ผลิต ที่อยากจะลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ยิ่ง พันธกิจบางค่าย ต้องทุ่มเท กับ การพัฒนาระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าล้วนในอนาคต ทว่า มันไม่มีทางที่เครื่องยนต์ ความจุเดียว จะตอบสนองทุกคน ที่มีความต้องการ และใช้งานแตกต่างกัน

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่