ถ้าจะพูดว่าเมืองไทยเป็นเมืองที่แปลก ผมว่ามันก็คงจะจริง บ้านเรามีเรื่องอะไรแปลกๆมากมาย และหนึ่งในเรื่องที่แปลกสำหรับประเทศไทยก็อย่าในเรื่องราวของวงการยานยนต์นี่เอง

ตั้งแต่รถยนต์ขนาดคอมแพ็คคาร์เริ่มทำตลาดในยุคปี 90 มาจน ปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงนอกจากมิติตัวตัวถังและการออกแบบ เครื่องยนต์ดูจะเป็นอีกสิ่งที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนในท้ายที่สุดแนที่จะดีตอบโจทย์ในการใช้งาน ในวันนี้กำลังเกิดข้อถกเถียงว่า ท้ายที่สุดวิวัฒนาการที่มากไป อาจจะทำให้รถยนต์คอมแพ็คคาร์กลายเป็นไกลเดินเอื้อมหรือเปล่า

ตั้งแต่ยุค  90  รถยนต์คอมแพ็คคาร์หลายรุ่นเริ่มนำเสนอเครื่องยนต์ขนาด  1.6  ลิตร เรื่อยมาก ไม่ว่าจะ   Toyota Corolla  ที่เริ่มแปรเครื่องยนต์แนะนำเครื่อง  1.6   ลิตร  เข้ามารับบทบาทในการเป็นต้นกำลังตั้งแต่ยุคโตโยต้า โดเรม่อนรุ่น  AE 92   เช่นเดียวกับ Honda  Civic  ที่ใช้เครื่องยนต์ ขนาดเดียวกันมาตั้งแต่ต้นปี  90   จนกระทั่งถึงปี  2000  

หลายค่ายในยุคนั้นมีรถยนต์คอมแพ็คคาร์เครื่อง  1.6   ลิตร เป็นรุ่นพื้นฐาน ราคาจับต้องได้โดยง่าย ไม่เป็นภาระมากมายนัก กำลังจากเครื่องยนต์ก็เหลือเฟือ ที่จะใช้เดินทางได้ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด .. หาในยุคนี้ เครื่องยนต์ขนาด  1.6  ลิต รเริ่มจางเรือนหายไปจากความทรงจำหลายคน

ในตลอดหลายปีที่ผ่านมา นวัตกรรมและการวิศวกรรมใหม่ๆ ส่งให้เครื่องยนต์ 1.6  ลิตร ไม่เป็นที่นิยม .. ส่วนหนึ่งจากความพยายามในการลดขนาดเครื่องยนต์ให้ตอบสนองความประหยัด และรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้เครื่องยนต์ 1.6   ลิตร กำลังจะสูญพันในอีกไม่ช้านานนี้จากตลาดเมืองไทย

จุดเริ่มต้นของการฆาตกรรมเครื่องพันหก ต้องย้อนหลับไปในช่วงปี   2000   เมื่อทาง Honda   เริ่มเข็มเครื่องยนต์   Vtec Lev  รุ่นใหม่ ขนาด  1.7   ลิตร ออกมา จำหน่าย พร้อมกับเครื่องยนต์ขนาด  2.0   ลิตร ใน   Honda Civic   ไดเมนชั่น ทำให้ตลาดเริ่มสนใจเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ตอบสนองในการขับขี่มากกว่า จนกระทั่งครั้นเปิดตัว   Honda  Jazz   ใหม่ ออกมาด้วยเครื่องยนต์ขนาด  1.5   ลิตร ทำให้เครื่องยนต์  1.6   ลิตร เริ่มติดอยู่ตรงกลางระหว่างการจะเป็นเครื่องยนต์สำหรับคอมแพ็คคาร์หรือรถยนต์นั่งขนาดเล็ก

ช่วงๆ แรก บรรดาบริษัทรถยนต์หลายรายยังให้ความสำคัญกับเครื่องยนต์  1.6   อยู่ เนื่องจากสามารถเรียกลูกค้าให้สนใจรถได้ด้วยราคาจำหน่ายที่สามารถพอฟัดพอเหวี่ยงกับคู่แข่งขนาดเล็กได้ แต่เมื่อนานาวันไปคนเริ่มขึ้นไปหารถที่มีเครื่องยนต์ใหญ่มากกว่า ทำให้บริษัทรถยนต์หลายรายเริ่มทยอยถอดเครื่องยนต์ 1.6   ทิ้ง เริ่มจาก   Mitsubishi  เป็นเจ้าแรกที่ตาม   Honda   ไปอีกราย ส่วน   Toyota  ยังมีเครื่องยนต์  1.6  ลิตร ไว้ตอบบรรดาผู้ประกอบการแทกซี่ ส่วน  มาสด้ากับ ฟอร์ด ยึดเอาตลาดดลกเป็นหัวใจสำคัญ จึงยังมีเครื่องยนต์  1.6   ลิตร อยู่ ในคอมแพ็คคาร์ จนกระทั่ง   Mazda เข้าสู่ยุค   Mazda Sky Activ  จึงเหลือแต่เครื่องยนต์ขนาด  2.0  ลิตร ส่วน   Ford   ก็หันมาเอาดีทางด้านเครื่องยนต์   Ecoboost เต็มตัว

ประเด็นหนึ่งที่ดูจะมีบทบาทสำคัญทำให้เครื่องยนต์  1.6   ลิตร หายไป คือความนิยมรถยนต์นั่งขนาดเล็กมากขึ้น ส่วนหนึ่งจากในโครงการรถคันแรก สมัยรัฐบาชุดก่อนหน้านี้ ซึ่งออกข้อกำหนดเข้าร่วมโครงการต้องเป็นรถยนต์ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน  1500   ซีซี ทำให้ในตอนนั้นทาง   Ford   ซึ่งคลอดรถยนต์   Ford Fiesta  1.6   ลิตร ทำตลาดในเวลานั้นต้องขมีขมันลดขนาดเครื่องยนต์มาให้ตามที่รัฐบาลกำหนด เพื่อขายลูกค้า

นั่นทำให้เมื่อ  Chevrolet  เปิดตัวรถยนต์   Chevrolet  Sonic   รุ่น  1.6   ออกมาในเวลาใกล้เคียงกันก็เงียบเป็นเป่าสาก …  ทว่าน่าแปลกที่   Nissan   กลับขายเครื่องยนต์  1.6   ลิตร ใน   Nissan  Slyphy   ดีเป็นเทน้ำเทท่า เนื่องจากราคารถไม่แพงเกินไป และเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปแล้ว จนในท้ายที่สุด  Nissan  ตัดสินใจ ยกเอาเครื่องยนต์ขนาด 1.8   ลิตร บล็อกใหม่ออกจากการขายแล้วเหลือเพียงเครื่องยนต์  1.6   ลิตรหัวฉีดคู่เท่านั้น

ปัจจุบัน รถยนต์ที่ยังวางจำหน่ายพร้อมเครื่องยนต์ขนาด  1.6   ลิตร ในปัจจุบัน เหลือไม่มากมาย มีเพียง Toyota Corolla Altis ,Nissan Sylphy, Nissan Juke  คือสามทหารเสือรุ่นสุดท้ายของเครื่องยนต์ขนาด  1.6   ลิตร

แง่หนึ่งที่ทำให้เครื่องยนต์ขนาด 1.6  ลิตรหายไปจากตลาด ก็มาจากความนิยมในเครื่องยนต์  1.5   ลิตร จากบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นทำให้คนไทยไม่คุ้นเคยกับเครื่องยนต์ขนาด  1.6   ลิตร  และด้วยการตัดตอนจากเครื่องยนต์  1.5   ลิตร ที่ทำราคาได้ต่ำกว่า  ทำให้รถยนต์คอมแพ็คคาร์ต้องเขยิบหนีด้วยการวางเครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย

ถึงอาจจะพูดถึงว่าต่างกันเพียง  100  ซีซีเท่านั้น หากความเป็นจริงเจ้าเครื่องยนต์ขนาด 1.6   ลิตร กลับมีภาษีมากกว่า ในเรื่อกำลังแรงบิดที่มากกว่า เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว เครื่องยนต์ 1.5   และ  1.6   ลิตร จะต่างเพียงช่วงชักลูกสูบ

ยกตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ตระกูล   HR15DE ขนาด 1500   ซีซี กับ   HR16DE ขนาด  1600   ซีซี  ใช้ลูกสูบขนาดเดียวกัน คือ  78   มม. แต่เปลี่ยนช่วงชักให้ตอบสนองต่างกัน โดยในเครื่องยนต์  1500   ซีซี มีช่วงชัก 78.4  มม. ส่วนในเครื่อง  1600   ซีซี มีช่วงชัก 83.6   มม.

นั่นทำให้เครื่อง  1500   และ   1600   ซีซี มีกำลังในการขับขี่ไม่ต่างกันนัก ในกรณีของ Nissan  เครื่อง  1.5  ลิตร ทำกำลังสูงสุดได้   99   แรงม้า และทำแรงบิดได้  148   นิวตันเมตร แต่เมื่อเพิ่มขนาดเป็น  1.6   ลิตรมันทำกำลังได้สูงสุด  119   แรงม้า และทำแรงบิดเพิ่มเป็น  158   นิวตันเมตร

นั่นทำให้เครื่องยนต์ขนาด  1.6   ลิตรเป็นเครื่องยนต์ที่เหมาะขับระหว่างเมืองมากขึ้นกว่าเครื่องยนต์  1.5  ลิตร และกินรอบเครื่องยนต์น้อยกว่าเล็กน้อย ทำให้สามารถขับได้ทั้งในเมือง ละมีความสามารถมากพอต่อการตอบสนองในยามขับขี่นอกเมืองบ้าง เหมาะสำหรับการออกต่างจังหวัดบ้างเป็นครั้งคราว แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้นตามลำดับ เครื่องยนต์ขนาด 1.5  ลิตร จึงมีศักยภาพเทียบเท่าในการทำงาน ตลอดจนกระแสลดขนาดเครื่องยนต์ที่มาแรง ทำให้บริษัทรถยนต์หลายรายเริ่มละทิ้งเครื่องยนต์ขนาดนี้ ทั้งที่มีดีในตัวมันเช่นกัน

 ปัจจุบันเครื่องยนต์ขนาด 1600   ซีซี กำลังมาถึงวาระสุดท้ายของมันแล้ว และเชื่อว่าในยุคต่อไป เราคงจะไม่มีโอกาสเครื่องยนต์ขนาดนี้ในประเทศไทยอีกแล้ว เรื่องราวทำนองเดียวกันเกิดขึ้นในต่างประเทศ และนั่นทำให้เครื่องยนต์ขนาดกลางน้องเล็กขนาดนี้ อาจจะไม่มีโอกาสได้เห็นอีกต่อไปในตลาดรถยนต์อนาคต

เรื่องโดย ช่างหลังบ้าน

ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์ …. เนื้อหาดีๆ ต้องแบ่งปันต่อ แล้วอย่าลืมถูกใจ เพื่อรับข่าวสารยานยนต์ดีๆ จากทีมงานคุณภาพ Ridebuster – ส่องรถ ….

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่