ท่ามกลางโลกยุคใหม่ วันนี้หันไปทางไหนราคาน้ำมันอันแสนแพง ก็ทำเอาทุกคนตื่นตัว อยากจะใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือที่เราเรียกกันว่า EVs จนประเทศไทย กลายเป็นประเทศติดอันดับโลก ที่มีการเร่ง ความพร้อมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และมีกระแสการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ทั้งจากจำนวนรถบนถนน จุดชาร์จ และ รวมถึงตัวเลือกจากค่ายรถยนต์ต่างๆมากมาย

ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า มีส่วนสำคัญจากปัจจัย ราคาพลังงาน ที่มีผลจากภายนอก ทั้ง ด้วยการจากไปของโควิด สถานการณ์สู้รบ ของสงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน และไหน จะประเด็นในฉนวนกาซาและอีกมากมาย พาเอาราคาน้ำมันสูงขึ้น จนเบนซินบ้านเราใกล้ราคา 40 บาท เข้าไปทุกวัน

ทุกครั้งที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระเงาตามตัวของคนมีรถ ทำให้คนไทยหาทางออก เพื่อเอาชนะค่าใช้จ่ายอันแสนแพง ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เทรนด์ประหยัด ได้เติมเต็มความต้องการชาวไทย หลายต่อหลายครั้ง และทุกครั้ง ท้ายที่สุดมักจบไม่สวย สักเท่าไร

ติดแก๊ส LPG

ทุกครั้งที่น้ำมันสูง ร้านติดตั้งแก๊สรถยนต์ จะเกิดขึ้นพรึบพรั่บ แล้วก็หายไปอย่างรวดเร็ว เมื่อราคาน้ำมันลงไปในระดับที่น่าพอใจ

การติดแก๊ส เป็นหนทางที่มีมานาน ตั้งแต่อดีต มาจวบจนปัจจุบัน พุ่งเป้าทำตลาดกับเครื่องยนต์เบนซินโดยใช้ แก๊ส LPG ในการสันดาป ให้พลังกับเครื่องยนต์แทนน้ำมัน ด้วยค่าพลังงานที่ถูกกว่ามาก เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่สามารถหาเติมได้ง่าย ใช้เวลาไม่นานเท่าไรนัก

เมื่อราคาน้ำมันแพง ในอดีต คนไทยจำนวนมากจะเอารถไปติดแก๊ส สนนลงทุนทำระบบราวๆ 20,000-30,000 บาท ในระบบหัวฉีด สามารถลดค่าเดินทางได้มากโข ด้วยราคาค่าก๊าซต่อถัง ถูกกว่าน้ำมันเบนซิน 95 ราวๆ 1 ใน 3 หากเปรียบเทียบกัน จนค่าเดินทางต่อกิโลเมตร เฉลี่ยลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซินปกติ

แต่การติดแก๊ส ก็มีระเบียบ ข้อบังคับมากมาาย ที่ต้องปฏิบัติตาม ทั้งการตรวจสภาพติดตั้ง ต้องมีการแจ้งกรมการขนส่ง ลงเล่มทะเบียนประจำรถ และ ถังแก๊ส หากใช้เกินจำนวนปีที่กำหนด ต้องมีการตรวจสภาพถังทุกปี ตลอดจน ผู้ใช้รถติดแก๊ส สมควรจะต้องดูแลรถมากกว่าปกติ เนื่องจากการสันดาปด้วยแก๊ส มีความร้อนมากกว่า

โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องยนต์ ที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเชื้อเพลิงตัวนี้ตั้งแต่ออกโรงงาน ทำให้ด้วยความร้อนในการเผาไหม้ของแก๊ส ที่มีความร้อนมากว่าน้ำมัน และยังเป็นการเผาไหม้แบบแห้ง จึงมักจะทำให้เกิดการสึกหรอมากกว่าปกติในอัตราที่ค่อนข้างสูง

หากความนิยม ติดแก๊ส ก็ไม่เคยจางหายไป จากวงการสายประหยัด เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย คุ้นเคย มีองค์ความรู้ ที่สามารถหาได้ตามกลุ่ม และอินเตอร์เน็ตเยอะมาก จนคนวางใจเพราะ พอจะทราบแล้วว่า ต้องระวังป้องกันอะไร ทำอย่างไร รถติดแก๊ส จะทนทาน

มีอย่างเดียว ที่เป็นข้อเสียรถติดแก๊ส คือ จะโดนกดราคา เมื่อขายเป็นรถมือสอง จนบางทีก็มีคำถามว่า มันได้คุ้มเสียหรือ เปล่า …

CNG ส่งเสริมจากรัฐ​ไม่นาน ก็จากไป

จาก LPG ในช่วงเวลาเดียวกัน ภาครัฐฯ ก็ยังเล็งเห็นว่า มีพลังงานแก๊สธรรมชาติ อีกตัวที่ดูจะเป็นประโยชน์ แต่คนส่วนใหญ่ไม่นิยม

แก๊ส CNG หรือ Compressed Natural Gas บางคน อาจเรียก NGV (Natural Gas for Vehicle) กลายมาเป็นพระเอกขี่ม้าขาว ในยุคน้ำมันแพงในช่วงปี 2009-2011ด้วยการส่งเสริมจากภาครัฐ ทำให้ราคาพลังงานต่อหน่วยค่อนข้างถูก โดยส่วนหนึ่งที่มีการส่งเสริมพลังงานตัวนี้เพื่อต้องการ คนใช้รถหันมาใช้แก๊สตัวนี้มากขึ้น

เนื่องจากก๊าซ​ LPG ที่นิยมนั้น ก็คือก๊าซหุงต้ม และ เมื่อคนนิยมมาเติมให้พลังงานรถ ราคาก๊าซ ก็ทะยานสูงขึ้นตามไปด้วยมีผลกระทบ ต่อการบริโภคทางด้านอื่น

ในเวลานั้นภาครัฐจึงอยากจับแยกให้ชัดเจน ก๊าซที่ออกมาเพื่อเติมรถเท่านั้น จึงส่งเสริมพลังงานตัวนี้จริงจัง สนับสนุน ทั้งในแง่การติดตั้งกับรถเดิม รวมถึง ดันให้ผู้ผลิตรถนำเสนอพลังงานตัวนี้ออกมา สำหรับผู้บริโภคในรถยอดนิยม อาทิ Honda City CNG, Toyota Corolla Altis CNG, Mitsubishi Lancer Cedia CNG และยังมีอีกในกลุ่มรถกระบะเพื่อการพาณิชย์อย่าง Mitsubishi Triton CNG, Tata Xenon CNG อีก

เส้นทางที่สวยหรู เหมือนจะตอบสนองได้ดี แต่จนแล้วจนรอด ผู้ใช้ก็พบปัญหาว่า มันต้องใช้เวลาในการอัดนาน ทำให้เกิดการรอคิวตามปั้มก๊าซ ยิ่งกว่านั้น รถพาณิชย์ อย่าง รถแท็กซี่ รถตู้ ที่ใช้เชื้อเพลิงนี้ก็มีจำนวนมากไม่แพ้กัน

มันไม่สะดวก ต่อการใช้งานในเชิงส่วนบุคคล ตลอดจน ด้วยแก๊สมีแรงดันสูง ถังจึงมีน้ำหนักมาก รถที่ติดตั้ง นอกจากจะมีน้ำหนักเพิ่มยังต้องเซทช่วงล่าง

จนในที่สุด ก็กลายเป็นประวัติศาสตร์สายประหยัด ในเวลารวดเร็ว ทุกวันนี้คนยังใช้อยู่ ก็มีเพียงรถพาณิชย์เท่านั้น ที่ยังเติมใช้ ซึ่งมีจำนวนน้อยลงมากเทียบกับในอดีต

E85

แม้ว่าความนิยมการติดแก๊ส จะเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็มีความพยายามหลายอย่างในการสร้างทางเลือกให้คนใช้รถ หนึ่งในนั้น คือการนำเสนอ พลังานทางเลือกใหม่ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอลล์สูตรผสม เอทานอล 85% หรือที่ หลายคนเรียกว่า E85

E85 กลายเป็นความหวังใหม่ ในการฝ่าวิกฤติ เนื่องจากราคาเอทนอลในประเทศ ที่สามารถผลิตได้จากพืช จะช่วยลดราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น จากการนำเข้าสารปรุงแต่งน้ำมัน รวมถึง ยังส่งเสริม ให้เกษตรกรบางประเภท มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ เช่น ชาวสวนอ้อย ,​มันสำปะหลัง เป็นต้น

e8503

ตลอดจน การจัดเก็บ รวมถึงเติมพลังงานก็ใช้ระบบปั้มน้ำมันเหมือนเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ไม่จำเป็นต้องสร้างสถานีใหม่แยกต่างหาก เหมือนปั้มก๊าซ ที่มีต้นทุนในการให้บริการเพิ่มขึ้น และยังต้องมีการลงทุน

แต่ประเด็น E85 นั้น อยู่ที่เครื่องยนต์ในรถต้องมีการปรับจูน ให้รองรับการใช้ E85 เนื่องจากมีคุณสมบัติกัดกร่อน จากเอทานอล มากกว่าเบนซินธรรมดาๆพอสมควร พวกลูกยางที่ต้องสัมผัสน้ำมัน จึงมีปัญหาได้ง่าย ถ้าไม่ใช้ยางที่มีคุณสมบัติเฉพาะ รวมถึงยังต้องปรับหัวฉีด ให้สอดรับกับการจ่ายน้ำมันเข้าสู่ห้องเผาไหม้

ทั้งยังต้องจูนให้รถ รู้ว่าเมื่อไร ที่น้ำมัน E85 ถูกใช้ และเมื่อไรใช้น้ำมันปกติ ในทางวิศวกรรม เรียกว่า Flex Fuel Vehicle หรือ FFV ซึ่งสามารถทำได้กับรถเบนซินทุกประเภทในทันที

การมาของ E85 ตอบโจทย์ แทบจะในทันที เนื่องจากภาครัฐฯ ตั้งเป้าในการสร้างเสริมรถที่ใช้พลังงานประเภทนี้ ด้วย ภาษีสรรพสามิต รถใหม่ เกือบทุกรุ่น จึงพยายามจูนให้รองรับ E85 ทั้งหมด

e8501

แม้ว่า E85 จะเริ่มต้นได้สวย และได้รับการตอบรับจากผู้ผลิต รวมถึงยังจัดการเรื่องสถานที่จำหน่ายได้ค่อนข้างรวดเร็ว แต่ก็ยังไม่ทำให้ พลังงานตัวนี้จีรังยั่งยืน

ส่วนสำคัญมาจาก ผู้จำหน่ายน้ำมันตัวนี้ มีเพียง ปตท.​ และ บางจาก เป็นหัวเรือใหญ่ และก็ไม่ได้มีทุกปั๊มในช่วงแรกๆ

ข้อต่อมา เมื่อใช้ E85 อัตราบริโภคน้ำมันไม่ค่อยสู้ดีเท่านัก เมื่อถัวกับราคา E85 ที่จำหน่าย บางคนจึงมองว่าไม่คุ้มกับการใช้งาน ทั้งที่ราคาถูกกว่าพอสมควร จากการสนับสนุนอุดหนุน โดยภาครัฐ

และรวมถึง ผู้บริโภคจำนวนมาก ยังไม่มูฟออนจาก แก๊สโซฮอลล์ 95 รวมถึง ภายหลังมี E20 ออกมา ซึ่งแม้ว่าจะมีราคาแพงกว่า แต่ตอบสนองเรื่องพลังขับ ระยะทางดีกว่า ทำให้ E85 ไม่ค่อยนิยมเท่าที่ควร

อีกประการรถเก่านั้น สามารถไปจูน E85 ได้ก็จริง แต่ต้องมีการเปลี่ยนลูกยาง รวมถึงปั๊มเชื้อเพลิงยกใหญ่ ทำไปทำมา ก็น้องๆ กับการติดแก๊ส แต่ครั้นจะซื้อรถใหม่ที่รองรับ ต้องเป็นหนี้กันระยะ 4-5 ปี ก็ไม่ง่ายต่อการตัดสินใจ

Mazda3-Groupt-Test (3)

E85 จึงมาเพียงช่วงสั้นๆไม่ถึง 10 ปี วันนี้จะยังมีขายบ้างแต่ ก็ไม่ได้หาเติมง่ายๆ เหมือนเมื่อก่อน และถ้าเปรียบกับการติดแก๊ส มันก็ยังไม่เป็นที่นิยมของสายประหยัดเท่าไรนัก

มาวันนี้ EV กำลังนิยม ในยุคราคาน้ำมัน ใกล้ 40 บาท และคนจำนวนมากมองหาทางออกให้ชีวิตการเดินทาง ด้วยเสียงลือเสียงเล่าอ้าง ว่ารถยนต์ไฟฟ้า ใช้งานดี ประหยัดค่าเดินทางได้มากโข แต่ต้องแรกกับการต้องซื้อรถอีกคันเพิ่มเข้ามาในบ้าน ต้องเตรียมค่าใช้จ่าย และทำใจเรื่องการใช้งานไว้ในระดับหนึ่ง ที่อาจจะยังไม่ตอบโจทย์

สิ่งที่ต่างจากหลากพลังงานที่เราเคยผ่านมาในอดีต คือ รถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีใหม่ สำหรับคนไทย เลยมีคนอยากรู้อยากลอง

หากมันก็มีจุดที่ เหมือนในอดีต บางประการ เช่นการชาร์จไฟฟ้า ที่ต้องใช้ระยะเวลา , การต้องลงทุนตั้งจุดชาร์จ และ อีกมากมาย

ความเหมือนที่แตกต่าง จะเป็นเหมือนอดีต หรือไม่ ? มีเพียงเวลาเท่านั้น ที่เป็นคำตอบ

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่