ตั้งแต่มีการพูดถึงรณรงค์เรื่องความปลอดภัยบนถนน เราปราชนคนไทยทั้งหลายคงจะผ่านหูมาบ้างกับ วลี “ขับ 90 ช่วยชาติ ประหยัดปลอดภัย” ประโยคแบบนี้วนเวียนในหัวมายาวนานหลายปี แต่คำถามที่ชวนคิดกับประโยคที่โปรโมทโดยหน่วยงานภาครัฐทำตามคำสั่งนายจากโจทย์ตัวบทกฎหมายที่เก่าคร่ำครึ คือว่า  มันมีข้อเท็จจริงในเรื่องนี้มากแค่ไหนกัน

การขับรถ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับสมรรถนะรถยนต์ในปัจจุบัน ถือว่าค่อนข้างจะเริ่มช้าเกิดไป เพราวันนี้ไม่ว่ารถอะไร แม้แต่อีโค่คาร์คันกระจ้อยก็สามารถเหยียบให้ถึง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้โดยง่าย และทำได้อย่างรวดเร็ว นั่นทำให้วันนี้เราจะมาล่วงแคะแกะเกาว่า ขับ 90 ประหยัดปลอดภัยจริงหรือไม่มากน้อยเพียงใด

1600enginr (1)

ให้ขับ 90 เพราะกฎหมายบอก

พูดถึงเรื่องราววการใช้รถใช้ถนน เราก้คงต้องเริ่มกันที่ตัวบทกฎหมายจราจรทางบกที่ใช้มาตั้งแต่รุ่นพ่อยันรุ่นหลานในวันนี้ ฉบับปี พ.ศ. 2522 เรายังไม่เคยเปลี่ยนกฎหมายการจราจรทางบกอันสุดคร่ำครึที่อนุรักษ์เอาไว้ยิ่งเสียกว่าอะไร

กฎหมายจราจรทางบกฉบับที่บังคับใช้ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแลงแก้ไขบางข้อไปบ้า งเพื่อความเหมาะสมกับสภาพการณ์ในแต่ละยุคสมัย แต่ไม่เคยถูกสังคายนา และเรื่องการใช้ความเร็วในการใช้ทางถูกระบุในการแก้ไขจราจรทางบก ฉบับที่ 8 ที่ตราออกมาใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้ในเขตเมืองใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 80 ก.ม./ช.ม. และนอกเมือง (ทางหลวงระหว่างเมือง) ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 ก.ม./ช.ม. 

แต่ในบางเส้นทางพิเศษโดยเฉพาะทางหลวงมอเตอร์เวย์ เส้นทาง กรุงเทพ-ชลบรี และเส้นถนนกาญจนาวงแหวนตะวันออกและตะวันตก (บางนา-บางปะอิน ,บางปะอิน-พระราม 2 ) สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 ก.ม./ช.ม.  ตาม พรบ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 แต่ถ้านอกจาก 2 ถนนทางหลวงที่กล่าวมา การขับนอกเมืองว่ากันตามกฎหมายล่วนๆ ก็สามารถขับได้เพียง 90 ก.ม./ช.ม หากแต่หลายครั้งเจ้าหน้าที่ก้จะอนุโลมให้คุณขับได้ถึง 120 ก.ม./ช.ม. (ขึ้นอยู่กับพื้นที่)

 

ที่มารณรงค์ขับ 90 ประหยัดน้ำมัน

เมื่อตัวเลข 90 ก.ม./ช.ม. เป็นความเร็วสุงสุดในชาติไทย ทางภาครัฐจึงพยายามหาแนวทางในการทำให้ประชาชนเชื่อมันและปฏิบัติตาม

โดยในปี พ.ศ. 2539 ทางภาครัฐบาลได้ออกโครงการมีมาตรการสำคัญในการให้ประชาชนมีบทยาทส่วนร่วมช่วยในการประหยัด พลังงาน โดยในตอนนั้นคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ สพช. เป็นต้นเรื่องการนำเสนอความคิดดังกล่าว (ปัจจุบัน คือ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนผ.-กระทรวงพลังงาน)

หนึ่งในเรื่องที่รณรงค์ในการประหยัดพลังงานคือ การพยายามให้ประชาชนลดการใช้น้ำมันลง แต่ช่วงแรกไม่ได้ผลมากนัก จนทำให้ ในช่วงปี พ.ศ. 2542-2547 มีปริมาตรการนำเข้าน้ำมันสูงถึงร้อยละ 60.866 ต่อปี (อ้างอิงจาก การประหยัดพลังงานเดินทางในรถ ,สนผ.) นี่เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของที่มา “ขับ90 ประหยัดช่วยชาติ”

 

แล้วประหยัดจริงไหม …

ตามการเปิดเผยข้อมูลของสนผ. ระบุในเอกสารเผยแพร่ที่ทำออกมา ในข้อหนึ่งของคำแนะนำในการขับขี่ว่า ให้ใช้ความเร็วที่ประหยัดน้ำมัน โดยอ้างอิงว่า การเดินทางด้วยความเร็วจะมีการบริโภคน้ำมันสูงเกินไป โดยทางสนผ. แนะนำให้ใช้ความเร็วในการเดินทางตั้งแต่ 60-90 ก.ม./ช.ม. และทิ้งท้ายว่า ตามกฎหมายการจราจรไทยให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 ก.ม./ช.ม. แต่ไม่ได้บอกเหตุผลว่าทำไม

ด้วยเหตุนี้เรื่องขับ 90 ก.ม./ช.ม .แล้วประหยัด จึงกลายเป็นเรื่องถูกทำให้เชื่อโดยมาจากความต้องการของรัฐบาลเป็นกุศโลบายในการให้คนขับขี่ตามกฎหมาย แต่ก็ใช้ว่าการไร้ที่มาที่ไปของภาครัฐจะขาดซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องเสียทีเดียว

ในปี พ.ส. 2551 มีรายงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา จากศูนย์วิจัยแห่งชาติ โอ๊คริช ,เทนเนสซี่ ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องการใช้งานรถยนต์ให้เหมาะสม โดยนักวิจับชื่อ ไบรอัน เอส เวสต์ ออกมากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเวลาในการขับขี่ สัมพันธ์กับการใช้น้ำมันของเครื่องยนต์ รวมถึงความสึกหรอของเครื่องยนต์ด้วย

how-to-fuel (3)

เวสเปิดเผยเรื่องที่น่าสนใจที่เขาได้ทำการวิจัยว่า  เขาได้หาความสัมพันธ์ระหว่างรถยนต์และความเร็วที่เหมาะสมในการเดินทาง หรือ  Fuel Optimum  โดยในงานวิจัยดังกล่าวไม่ได้มีการเปิดเผยรถและรุ่นที่นำมาทำทดสอบ  แต่จากการวิจัยพบว่า  หากเพิ่มความเร็ว จาก  88 ก.ม./ช.ม. (55 ไมล์/ชม.) เป็น 104  ก.ม./ช.ม. (65 ไมล์/ชม.) จะทำให้รถมีอัตราสิ้นเปลืองมากขึ้นกว่าเดิมถึงร้อยละ 15 เลยทีเดียว

5 ปี ผ่านมาในปี พ.ศ. 2556 ไบรอัน เจ้าของรายงานวิจัยชิ้นเดิม ออกรายงานเรื่องความสัมพันธ์ในการใช้ความเร็วและการบริโภคอีกครั้ง โดยไบรอันนำรถกว่า   74  รุ่นตลาด มีทั้งเครื่องยนต์ขนาดเล็กไปจนถึงเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ในกลุ่ม  V8  ทั้งรถเก๋ง กระบะ และรถอเนกประสงค์ มาศึกษาอีกครั้ง

การวิจัยครั้งนี้ได้เปรียบเทียบ ช่วงความเร็วต่างๆ ที่เดินทาง ตั้งแต่ 80-96 ก.ม./ช.ม., 96-112  ก.ม./ช.ม. และ 112  ก.ม./ช.ม.- 128 ก.ม./ช.ม. และผลลัพธ์ยังคงเหมือนเดิม คือ ยิ่งขับเร็วรถก็ยิ่งซดน้ำมันมากขึ้น  ทว่าในการพัมนาทางด้านวิศวกรรมมาตลอดหลายปี

2018 Nissan 370Z Heritage Edition 8

ผลการวิจัยชิ้นใหม่กลับระบุว่า  การทำความเร็ว ช่วง 96-112  ก.ม./ช.ม. มีการประหยัดมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เมื่อเทียบจากช่วง 80-96 ก.ม./ช.ม. หรือกล่าวสรุปได้ว่า เขาแนะนำให้คุณขับความเร็ว  96- 112 ก.ม./ช.ม. จะเป็นช่วงเวลาที่เดินทางไปได้เร็วและใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ  

 

แล้วเรื่องความปลอดภัย

ทีนี้เราได้ทราบแล้วว่าภาครัฐบาลมองเรื่องการทำให้รถประหยัดต่างจากความเป็นจริงในการใช้งาน แต่ในแง่ของเชิงกฎหมายแล้ว การกำหนดขึ้นมาส่วนหนึ่งก็ด้วยเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง โดยเฉพาะการรรรงค์เมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา เป็นตัวชี้วัดว่า รัฐบาลใช้ความเร็ว 90 ก.ม./ช.ม. มาใช้ในการขับขี่ปลอดภัยมากขึ้น

การวางแนวทางใหม่เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ โดยยังออกแบบป้ายเพื่อเตือนประชาชนระหว่างทาง ถือว่าเป็นแนวทางใหม่ที่จะประมวลกฎหมายเรื่องความเร็วสูงสุดมาใช้ โดยจากข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2004 ระบุว่ายิ่งผู้ขับขี่ใช้ความเร็วมากขึ้น ก็มีโอกาสจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากขึ้น เนื่องจากเมื่อใช้ความเร็วมากขึ้น ระยะทางในการหยุดรถก็จะมาตาม ทำให้บางครั้งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้

และยิ่งใช้ความเร็วมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตในอุบัติเหตุมากขึ้น ทางสำนักงาน  WHO   ระบุว่า ในการขับรถที่ความเร็ว 90 ก.ม/ช.ม. ผู้ขับขี่มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า 20 เท่า เทียบกับการขับรถด้วยความเร็ว 30 ก.ม./ช.ม.  จนสามารถใช้อ้างแทนการขับประหยัดว่า ขับด้วยความเร็ว 90 ก.ม./ช.ม. ปลอดภัยกว่าแน่นอน

crashtest-CRV

หากแต่ในการวิจัยเมื่อปี 2015 ระบุว่า คนขับรถช้าแม้จะดูว่ามีความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน แต่ก็อาจจะอันตรายได้พอๆ กับพวกที่ขับรถเร็วเลยทีเดียว

รายงานชิ้นนี้ถูกปิดบังมิให้นำเสนอหรือเข้าบนอินเตอร์เน็ต มันเป็นรายงานจาก Dailymail   หนังสือพิมพ์ของอังกฤษ ที่ออกมาระบุว่า  การใช้ถนนด้วยความเร็วที่ช้าเกินไปอาจจะเป็นอันตราย โดยทางหน่วยงานที่รนับผิดชอบในอังกฤษ เรียกคนที่ขับรถแบบนี้ว่า  “Middle Lane Hogger”  โดยทางผู้ขับขี่จะถูกจับปรับทันที เนื่องจากพวกเขาคิดว่า ขับรถช้าจะปลอดภัย บนทางที่สามารถขับได้เร็วกว่า ทำให้เกิดการกีดขวางการจราจร และประสบการจราจรไม่ลื่นไหล

รายงานดังกล่าวอาศัยข้อมูลจากประสบการณ์ขับขี่จริงขงบรรดาคนขับรถบรรทุก, รถแวน , คนขับที่มีความชำนาญสูง รวมถึงคนขับแท็กซี่ โดยในรายงานชีว่า ในถนนประเภท 4 เลน บาทครั้งผู้ขับขี่รถบรรทุก ต้องใช้ความเร็ว 96 ก.ม./ช.ม. ในการแซงรถที่ใช้ความเร็ว 50 ก.ม./ช.ม. 

นอกจากนี้รถยนต์การขับรถอยู่ที่เลนกลางด้วยความเร็วช้าตลอดเวลา ยังทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของผู้ที่ขับขี่เร็วกว่าในการจราจรจนอาจจะเป็นอันตรายต่อเพื่อนร่วมทางคนอื่น เนื่องจากพวกเขาคิดว่าการขับรถช้าไม่เป็นอันตรายและ คนที่ขับรถเร็วกว่าคือพวกตัวอันตราย ทั้งที่พวกเขาเองก็อันตรายเหมือนกัน เนื่องจากใช้ความเร็วในการขับขี่ช้าเกินไป

ในประเทศไทย พฤติกรรมเหล่านี้สามารถเห็นได้ยามขับต่างจังหวัด ซึ่งจะมีคนขับรถจำนวนมากช้าชิดขวา โดยอ้างว่าตัวเองทำตามกฎหมายกำหนด โดยไม่สนใจว่า เพื่อนร่วมทางจะได้รับอันตรายในการขับขี่ของตนเองหรือไม่

 

สรุปเลย ใช้ความเร็วเท่าไร จึงจะเหมาะสม

มาถึงตรงนี้ คุณอาจจะรู้แล้วว่า การพูดรณรงค์ขับ 90 ก.ม./ชม. อาจจะไม่ใช่เรื่องเหมาะสม แต่เราต้องบอกก่อนว่ เราไม่ได้มีจุดประสงค์ในการนำเสนอบทความนี้สนับสนุนความคิดที่ว่าขับรถเร็วดีกว่า 

การใช้รถใช้ถนนเป็นเรื่องของส่วนรวม ซึ่งคนขัรถทั้งมือใหม่ มือเก่า และมือเก๋า ต้องเข้าใจร่วมกันว่าถนนไม่ใช่ของใคร การขับรถควรใช้ความเร็วที่เหมาะสม โดยสมควรอยู่ในระหว่าง 100-115 ก.ม./ช.ม. โดยอ้างอิงจากการวิจัยของไบรอันเวสท์ ที่เขาบอกว่า ช่วงความเร็วในการเดินทางที่เหมาะสมในรถปัจจุบันคือ 96-112 ก.ม./ช.ม.  

ช่วงความเร็วดังกล่าวเป็นช่วงความเร็วเหมาะสม และใช้น้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องยนต์ รวมถึงเวลาในการเดินทาง นอกจากนี้ความเร็วดังกล่าวเป็นความเร็วที่ไม่ช้าไปจนชวนง่วง จนอาจนำไปสู่อุบัติเหตุ หรือเร็วไปจนดูอันตราย  นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรมในรถยนต์ ยังช่วยให้คุณสามารถขับรถได้อย่างมั่นใจ มันต่างจากปีพ.ศ. 2522 ที่รถไม่มีตัวช่วยในการขับขี่มากดั่งทุกวันนี้

อาจจะจริงอยู่ที่ผมพูดคือการให้ใช้ความเร็วเหนือกฎหมายกำหนด แต่เมื่อกฎหมายที่บังคับใช้วันนี้เก่าเกินไป ก็ต้องยอมรับว่าการใช้กฎหมายที่เหมาะสมกับสภาพสังคมคือเรื่องจริง  

 90 ก.ม./ช.ม ช่วยประหยัดปลอดภัย มันมีความจริงอยู่บ้าง แต่หัวใจหลักสำคัญของนโยบายรัฐบาลนี้ คือ ต้องการให้คุณใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนดก็เท่านั้นเอง

 

ที่มาข้อมูล
Slow Driver Danger as Fast Driver – RAC Car

WHO 2004 report – Road Accident

 

 

 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่