ผ่านมากว่า 7 ปี ได้ตั้งแต่ทางบริษัทรถยนต์รายสำคัญ เริ่มต้นส่งรถยนต์นั่งขนาดเล็กแบบใหม่มาสู่ตลาด โดยขนานนามว่า “อีโค่คาร์” ประเทศไทย คนไทยจำนวนมากก็มีโอกาสใช้รถยนต์นั่งขนาดเล็กมีคุณภาพจากบริษัทรถยนต์ชั้นนำ มันเป็นจุดเริ่มต้นของมิติใหม่ทางด้านรถยนต์นั่งเพื่อการโดยสาร หรือ  Passenger  Car   อย่างแท้จริ งแต่ผ่านมากว่า 7 ปีแล้ว ก็ยังมีคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับรถยนต์อีโค่คาร์ อยู่อย่างต่อเนื่อง และวันนี้ได้เวลาเข้าใจใหม่อย่างถูกต้อง เสียที

 

รัฐบาลต้นตำหรับอีโค่คาร์

รถยนต์อีโค่คาร์ที่เราใช้ในวันนี้จนคุ้นเคย แต่ดั้งเดิมเป็นรถยนต์ที่เกิดความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องการตั้งให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมทางด้านนี้หรือที่เรียกว่า   Detroit of Asia   ซึ่งเราคงจะได้ยินผ่านหูกันมาบ้าง

จุดเริ่มต้นโครงการนี้มาจากความต้องการที่จะทำให้ประเทศไทย มีรถยนต์ที่สามารถผลิตทั้งขายในประเทศและส่งออกไปขายทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ซึ่งเดิมทีภาครัฐมีการส่งเสริมสนับสนุนรถยนต์บางแบบอยู่แล้ว โดยเฉพาะรถกระบะที่ได้รับความนิยมต่อเนื่องมายาวนาน และกลายเป็นสิ้นค้าชั้นนำ หรือที่เรียกว่า   Product Champion  อยู่แล้ว

ประเทศไทย จึงต้องมีอะไรใหม่ๆ มาตอบโจทย์ลูกค้า โดยในปี พ.ศ. 2548 ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ในเวลามีแนวคิดและเล็งเห็นว่ารถยนต์รักษาสิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสนใจทั่วโลก โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก จึงเริ่มก่อร่างสร้างความคิด  โครงการ   ACEs Car  ซึ่งย่อมาจาก Agile, Clean, Economical และ Safety รวมกันเป็น ACEs CAR หรือรถยนต์เล็กประหยัดพลังงาน-รักษาสิ่งแวดล้อม

ช่วงแรกที่กระแสข่าวโครงการ   ACEs Car   ออกมาจากบอร์ดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีการพูดถึงหลายประเด็นที่สำคัญอย่างมาก และน่าสนใจมากมาย โดยการกำหนดรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความหวังอุตสาหกรรมยายนต์ ถูระบุข้อจำกัดในการสร้างรถยนต์คันนี้ ตั้งแต่ การประหยัดระดับ 5 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร ขนาดรถยนต์ที่มีขนาดยาวไม่เกิน 3,600 มม. กว้างไม่เกิน 1,630 มม. ต้องผ่านมาตรฐานไอเสียระดับยูโร 4 แต่ที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากจริง คือราคาขายที่จะเริ่มต้นที่ 350,000 บาท และมีราคาขายสูงสุด 400,000 บาท

แต่ในระยะนั้นยังไม่มีใครวางขายหรือผลิตรถยนต์อีโค่คาร์วางจำหน่าย จนในปีพ.ศ. 2550 ทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีการปรับความคิดใหม่ โดยเฉพาะการจัดเรื่องข้อกำหนดมิติตัวถัง จากเดิมที่ยาวเพียง 3.6 เมตร กว้าง 1.63 เมตร เป็นไม่กำหนดให้อิสระแก่บริษัทผู้ผลิต หายังมีเงื่อนไขต่างที่ยังต้องดำเนินตามอีก 6 ข้อ คือ

 

1. อัตราสิ้นเปลืองไม่เกิน 5 ลิตร/100 กิโลเมตร

  1. มาตรฐานมลพิษ EURO 4 หรือสูงกว่า ปริมาณ CO2 ไม่เกิน 120 กรัม/กิโลเมตร
  2. มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล คือ UNECE Reg. 94 และ 95 Rev.0 หรือสูงกว่า
  3. จะต้องผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ภายในประเทศอย่างน้อย 4 ใน 5 ชิ้น ได้แก่ ฝาสูบ (cylinder head) เสื้อสูบ (cylinder block) เพลาข้อหวี่ยง (crankshaft) เพลาลูกเบี้ยว (camshaft) และก้านสูบ (connecting rod)
  4. กำหนดผลิตรถยนต์ไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปีตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป
  5. วงเงินลงทุนต้องไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท

 

ในที่สุดหลังจากผ่านล่วงเลยมา 5 ปี นับตั้งแต่เริ่มความคิดในการผลิตรถยนต์อีโค่คาร์ ในปี พ.ศ. 2553  สมัย ท่าน พล.อ. สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นายกรัฐมนตรี ทาง  Nissan Motor  จึงประเดิมเปิดตัวรถยนต์นั่งอีโค่คาร์ภายใต้แนวคิดของรัฐบาลด้วยการส่ง รถยนต์   Nissan March   ใหม่ ออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ  ด้วยราคาจำหน่ายที่เริ่มต้นได้ตามเป้าหมาย ถูกกว่ารถยนต์ซิตี้คาร์  หรือ รถยนต์นั่งขนาดเล็กเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร ที่เดิมที่เป็นรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์เล็กสุดในประเทศไทย ทำให้ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากบรรดาลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือผู้ปกครอง ที่ต้องการให้บุตรหลานเดินทางไปเรียน สะดวกสบาย ไม่เว้นกระทั่งคนวัยทำงาน ที่สมควรจะมีรถไว้ใช้งานในการเดินทาง ไปบ้านกลับที่พักอย่างสะดวกโยธิน

 

กฎระเบียบเข้ม .. แต่บางอย่างไม่เกิดขึ้น

ในยุคแรกของอีโค่คาร์   Nissan  ได้สร้างประวัติการณ์รถยนต์  Nissan March  ด้วยการเป็นรถยนต์เครื่องยนต์ขนาด 1.2 ลิตรที่เปิดโรงงานลิต และวางขายในประเทศไทย ภายใต้แผนการส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ   Boi   ที่มีข้อกำหนดมากมาย นับเป็นความท้าทายที่สำคัญในรถยนต์อีโค่คาร์เวลานั้น

ประการแรก มาตรฐานความปลอดภัย รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ที่จะออกมาตามโครงการอีโค่คาร์ของภาครัฐ จะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดระดับเดียวกันกับที่ใช้ในยุโรป ด้วยมาตรฐานการชน  UNECE94   และ  95   ซึ่งเป็นมาตรฐานการชนทางด้านข้างและด้านหน้า ที่บ่งบอกว่ารถยนต์นั่งขนาดเล็กเหล่านี้ปลอดภัย

ประการ การประหยัดพลังงาน มีการกำหนดให้รถยนต์อีโค่คาริ ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการประหยัดพลังงานอย่างเคร่งครัด โดนระบุให้รถยนต์ที่วางจำหน่ายในโครงการอีโค่คาร์ ต้องผ่านการทดสอบอัตราประหยัดในระดับ 5.0 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร หรือ ตีเป็นตัวเลขประหยัด 20 กิโลเมตร/ลิตร 

และด้วยเนื้อแท้ของความเป็นรถยนต์รักาสิ่งแวดล้อมจงมีความเข้มงวดเรื่องการปล่อยไอเสีย กำหนดให้ต้องต่ำกว่า 120 กรัมต่อกิโลเมตร  หรือเทียบเท่ากับการผ่านมาตรฐานไอเสียในระดับ   Euro  4  

ท้ายสุด มีการจำกัดในเรื่องขอบเขตเทคโนโลยีของรถยนต์อีโค่คาร์ ผ่านกฎข้อบังคับในเรื่องเครื่องยนต์ โดยมีการกำหนดให้รถยนต์อีโค่คาร์ จะต้องใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาดไม่ได้เกิน 1.3 ลิตร และยังสามารถติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 1.4 ลิตร ได้ด้วย

แต่เมื่อผู้นำตลาด Nissan  เริ่มต้นด้วยการเดินเกมเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.2 ลิตร แบบ 3 สุบแถวเรียง ให้กำลัง 78 แรงม้า จากการเอาเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร มาหั่นออกไป 1 สูบ ทำให้ฌครงการอีโค่คาร์เฟสแรกไม่เห็นรถยนต์อีโค่คาร์เครื่องยนต์เกิดขึ้นตามอย่างที่ควรจะเป็นตามที่รัฐบาลวาดฝันไว้

 

Suzuki  พลิกโฉม อีโค่คาร์ก็เป็นซิตี้คาร์ตั๋วเด็ก

หลังจากปี 2010  ที่  Nissan  เปิดตัวรถยนต์  Nissan March  ทางบริษัท   Suzuki  มอเตอร์ประเทศไทย ที่เข้ามารับลูกโครงการอีโค่คาร์นี้สักระยะตามภาษาผู้เชี่ยวชาญรถยนต์นั่งขนาดเล็กจากญี่ปุ่น ก็เปิดตัวรถยนต์   Suzuki  Swift   ใหม่ ออกมาทำตลาดในปี 2011  ในระยะเวลาไล่เลี่ยกับรถยนต์อีโค่คาร์   Honda   Brio 

แม้ว่าจะออกมาช่วงเวลาเดียวกัน แต่  Suzuki Swift   ได้รับความสนใจมากกว่า เนื่องจากการออกแบบของตัวรถที่ดูสวยงามและใส่ใจในรายละเอียด  หากที่สำคัญยิ่งกว่าและผู้บริโภคดูเหมือนจะชอบอย่างยิ่ง คือ การที่รถยนต์   Suzuki  Swift   ใหม่ มีพื้นที่ใช้สอย และขนาดไม่ต่างจากรถยนต์ซิตี้คาร์ จากบริษัทชั้นนำในตลาด แต่มีราคาขายถูกกว่า เนื่องจากตัวรถใช้เครื่องยนต์ขนดา 1.25 ลิตร พร้อมเทคโนโลยีวาล์วแปรผันคู่ มีกำลังสูงสุด 90 แรงม้า

suzuki Swift RX II

อาจจะมีกำลังในการขับขี่ใช้งานน้อยกว่าก็จริง แต่ราคาที่ถูกกว่า ก็เป็นหัวใจสำคัญทำให้   Suzuki  Swift  ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและกลายเป็นรถแจ้งเกิด  Suzuki   ในบ้านเรากลับมาผงาดในกลุ่มรถนั่ง เปิดตัวบริษัทในฐานะผู้เชี่ยวชาญรถยนต์นั่งขนาดเล็กได้อย่างสมเกียรติ ดั่งที่ควรจะเป็น

และเป็นการประกาศชัดว่า ข้อบังคับของรัฐบาลได้กำหนดเรื่องขนาดของตัวถังรถยนต์ หากอยู่ที่ความเหมาะสมของบริษัทรถยนต์ในการสร้างรถยนต์อีโค่คาร์ขึ้นมา  ซึ่งในต่างประเทศรถยนต์ซิตี้คาร์ หรือที่เรียกว่า   Subcompact car   เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กน้ำหนักเบา เน้นการขับขี่ในเมือง จึงติดตั้งเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1.0 ลิตร และสูงสุด 1.6 ลิตร ตามแต่ละบริษัทจะเห็นเหมาะสมในรถยนต์ของตน

การมาของ   Suzuki  Swift   จึงเป็นการเปิดเกมใหม่ทางด้านศึกขนาดตัวถังรถยนต์อย่างชัดเจนว่า ตัวถังขนาดเดียวกับรถยนต์ซิตี้คาร์ดั้งเดิม ยัดเครื่องยนต์เล็กลงก็สามารถใช้งานได้ดีตามปกติวิสัยของลูกค้า และทำให้ภายหลังไม่นาน   Nissan   กลับมาเปิดตัวรถยนต์อีโค่คาร์ซีดานรุ่นแรก โดยยกโครงสร้างตัวถังจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ 1.6 ลิตร ในต่างประเทศไทย มาตีตั๋วเด็ก เป็น “อีโค่คาร์” แล้วขายในนาม   Nissan Almera

 

น้ำท่วม-รถคันแรก ของจริงดันอีโค่คาร์

ช่วงอีโค่คาร์เริ่มทำตลาด เป็นช่วงที่การเมืองเริ่มรุนแรง แต่อะไรเลยจะดันรถยนต์อีโค่คาร์ให้เป็นที่รู้จัก และคนไทยหันมาซื้อใช้งาน เมื่อรัฐบาลอนุมัติให้คนที่ไม่เคยมีรถ และประสงค์จะซื้อรถมีสิทธิขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลได้เป็นจำนวนเงินสูงสุด 1 แสนบาท หากซื้อรถยนต์นั่ง ที่มีเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,500 ซีซี รวมถึงรถกระบะ

โดยทันที่นโยบายนี้ประกาศออกมาในช่วงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2554 ประชาชนจำนวนมากต่างใความสนใจในการร่วมใช้สิทธิ และรถยนต์อีโค่คาร์เป็นรถแบบหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนตามนโยบายดังกล่าว จนเมื่อยิ่งเกิดเหตุน้ำท่วมส่งท้ายปี พ.ศ.2554 ทำให้รถได้รับความเสียหายจำนวนมาก ทำให้ประชาชนมีความต้องการรถยนต์คันใหม่ที่ได้รับความเสียหาย หรืออาจะใช้การไม่ได้ดีตามที่ควรจะเป็นดังเดิม รถยนต์อีโค่คาร์ที่มีราคาถูกจึงเข้ามาเติมเต็มสนองความต้องการ

โดยในระยะหลังมีรถยนต์อีโค่คาร์มากขึ้นหลากแบบมากขึ้น จากหลายผู้ผลิต ทั้ง   Toyota , Honda  , Nissan ,Mitsubishi  และ   Suzuki  ขาดเพียง   Tata   บริษัทรถยนต์จากินเดีย ที่ถอดใจไม่ทำขายอย่างที่หลายคนเฝ้าอยากจะเห็น

 

จากเฟส  1 สู่   เฟส  2

เมื่อได้รับความนิยม ก็เหมือนภาพยนตร์ราคาพันล้านที่สมควรจะต้องมีภาคต่อโดยไว ในปลายปี พ.ศ. 2557 ทางภาครัฐบาล เร่งพิจารณาในการต่อยอดโครงการรถยนต์อีโค่คาร์ระยะที่ 2 หลังจากที่มีการศึกษาและพิจารณาความเป็นไปได้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และประกาศเริ่มสนับสนุนการส่งเสริมการลงทุนได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ในทันที

ข้อกำหนดใหม่ของโครงการอีโค่คาร์เฟส 2 ที่จริงแล้ว เป็นเหมือนการปรับปรุงข้อกำหนดเดิมของโครงการอีโค่คาร์แรกที่หลายผู้ผลิตไม่สามารถทำตามได้ อาทิเรื่องของขนาดเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ไม่เกิดขึ้นในตลอดหลายปีที่ผ่านมา และยังต้องการเสริมสร้างสมรรถนะความปลอดภัย การประหยัดน้ำมัน และการรักษาสิ่งแวดล้อม

โครงการอีโค่คาร์ระยะที่ 2 จึงถูกวางหมากในการสร้างสรรค์รถรุ่นใหม่ ด้วยข้อกำหนดต่างๆ ที่เข้มงวดมากขึ้น และขยายให้มีความเป็นไปได้ในการสร้างรถยนต์ตอบโจทย์ยิ่งขึ้น

ประการแรก มีการปรับขนาดเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กใหม่ตามกฎเกณพ์ โดยขยายขนาดเครื่องยนต์จาก 1400 ซีซี มาเป็น 1,500 ซีซี ช่วยให้มีความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์เครื่องยนต์ดีเซลมากขึ้น

หากความเข้มข้นในเรื่องการปล่อยไอเสียก็ถูกบีบให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ด้วยการเพิ่มข้อกำหนดมาตรฐานไอเสียระดับยูโร 5 ปล่อยไม่เกินไอเสีย 100 กรัม/กิโลเมตร  จากเดิมที่เป็นยูโร 4 ปล่อยไอเสียไม่เกิน 120 กรัม ต่อกิโลเมตร

ยิ่งกว่านั้นยังต้องประหยัดขึ้นจากเดิม กำหนด 5 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร แต่อีโค่คาร์ 2 กำหนดให้ประหยัด 4.3 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร หรือ 23.25 กิโลเมตรต่อลิตร

และท้ายสุดมีกำหนดมาตรฐานทางด้านความปลอดภัยใหม่ ตามกฎ   ECE 13 H ที่เพิ่มเข้ามาเป็นมาตรฐานความปลอดภัยใหม่ล่าสุด และยังมีการกำหนดให้ติดตั้งระบบช่วยเหลือในการขับขี่ อาทิ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค ABS  ,ระบบควบคุมการทรงตัว และ ระบบป้องกันการพลิดคว่ำ ทำให้รถรุ่นใหม่มีความปลอดภัยมากกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย

 

เกิดใหม่อีโค่คาร์ .. จะแทนที่ซิตี้คาร์ในอนาคต

โดยแทบจะทันทีที่เปิดโครงการอีโค่คาร์ 2 อย่างเป็นทางการ บริษัทรถยนต์หลายรายให้ความสนใจและตอบตกลงในการเข้าร่วมโครงการอีโค่คาร์ ระยะที่ 2 ทั้งผู้จัดจำหน่ายรายเก่า และยังมีผู้จัดจำหน่ายรายใหม่อีกหลายราย แต่ที่เห็นชัดเจนคงไม่พ้น   Mazda ที่ออกมาเปิดตัวทันควัน

รถยนต์   Mazda 2   ใหม่ ถือเป็นรถยนต์อีโค่คาร์รุ่นแรกที่ออกมาตามแนวนโยบายรถยนต์อีโค่คาร์ระยะที่ 2 และปัจจุบันยังเป็นอีโค่คาร์รุ่นเดียวที่ออกมาจากโครงการอีโค่คาร์เฟส 2

รถยนต์   Mazda 2 ใหม่ ชี้ให้เราเห็นว่า อนาคตของรถนต์อีโค่คาร์ สามารถเกิดเป็นรถยนต์ซิตี้คาร์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ด้วยสมรรถนะเครื่องยนต์ที่มีความสามารถรองรับการใช้งานเทียบเท่ารถยนต์ซิตี้คาร์ที่วางจำหน่ายเดิม กอปรกับทีผ่านมา ทางภาครัฐบาลตัดเรื่องข้อกำหนดขนาดตัวรถออกไป ตั้งแต่สมัยอีโค่คาร์เฟสแรก ทำให้รถยนต์อีโค่คาร์ในยุคต่อไป ก็น่าจะเป็นรถยนต์ซิตี้คาร์ที่เราคุ้นเคยกันดี อย่างเช่นมาสด้า 2 ที่ออกมาล่าสุด

หรือกระทั่งรถยนต์จากบริษัทอื่นๆ มีแนวโน้มในการใช้สิทธิโครงการรถยนต์อีโค่คาร์ระยะที่ 2 ในการสร้างรถยนต์ซิตี้คาร์ที่ตอบสนองในการขับขี่ด้วยชื่อเสียงจากรุ่นเดิม อาทิ โตโยต้า นำเอาชื่อ  Toyota Yaris  ที่เคยพัฒนาในรุ่นเดิมขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร มาออกเป็นอีโค่คาร์ในรุ่นเครื่องยนต์ 1.2 ลิตร เป็นต้น

นอกจากนี้ความนิยมที่ผ่านมาของ   Suzuki  Swift – Suzuki Ciaz   ต่างผลักดันให้บริษัทรถยนต์ทั้งหลายน่าจะมีแนวโน้มในการเดินตลาดรถยนต์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะการนำรถยนต์ซิตี้คาร์ดั้งเดิม ซึ่งอยูในกลุ่ม   Subcompact Car  มาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร มาลดขนาดเครื่องยนต์ให้ได้ตามที่รัฐบาลนำเสนอในโครงการอีโค่คาร์ ซึ่งทำให้บริษัทได้สิทธิประโยชนืทางภาษี อันหมายถึงกำไรที่มากกว่าในการขายรถยนต์หนึ่งคัน

ขณะที่เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมใหม่ๆ ต่างทำให้เครื่องยนต์ขนาดเล็กมีสมรรถนะในการขับขี่ที่ดีมากพอต่อการใช้งานเทียบเท่าเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร

หรือพูดสั้นๆ คือ อีโค่คาร์ในวันหน้า จะมาแทนที่ซิตี้คาร์ เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร โดยสมบูรณ์แบบ อย่างไม่ต้องสงสัย และสิ่งที่พูดนี้จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้

โครงการอีโค่คาร์เป็นโครงการที่เกิดจากความตั้งใจจริงของภาครัฐบาล ในการรังสรรค์สมรรนะในการขับขี่ และความปลอดภัย ให้คนไทยได้ใช้รถยนต์ราคาถูก มีความปลอดภัย มันอาจจะใช้เวลานานในการตอบสนองตลาด แต่วันหน้ามันคือมาตรฐานใหม่ของการเริ่มต้นการมีรถยนต์สักคันในชีวิตของคุณ อย่างไม่ต้องสงสัย

 

ชอบกดไลค์ใช่กดแชร์ ขอบคุณทุกกำลังใจสำหรับพวกเรา   ridebuster.com 

 

 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่