การสร้างรถยนต์สักคัน มันไม่เหมือนกับร้านแต่งรถที่เรารู้จัก กว่าจะมาเป็นสักรุ่นให้เราใช้ พวกมันถูกเข้มงวดในหลายเรื่องทั้งทางด้านความปลอดภัย และความเหมาะสมในการใช้งาน ผมเชื่อว่า คุณเคยผ่านตาบางสิ่ง หรือรู้เรื่องบางอย่างเกี่ยวกับรถที่คุณใช้ แล้วไม่เข้าใจว่า ทำไม พวกมันถึงเป็นเช่นนั้น

 

1.เกียร์ขั้นบันได

Toyota   เป็นผู้นำระบบเกียร์ออโต้ขั้นบันได มันมีเราเห็นในรถหลายรุ่นในอดีต ปัจจุบันด้วยเหตุผลบางอย่างพวกเขาจึงล้มเลิกความคิดการแนะนำเกียร์ขั้นบันได ทั้งที่พวกมันมีประโยชน์ไม่น้อย

การแนะนำระบบเกียร์ขั้นบันได ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการให้ลูกค้าจำตำแหน่งเกียร์ได้ โดยไม่ต้องเหลือบตามองคันเกียร์ ก่อนการขับขี่ การวางขั้นบันไดในแต่ละสเต๊ปของการวางระบบเดินหน้า-ถอยหลัง หรือเกียร์ว่าง ช่วยให้เมื่อใช้งานผู้ใช้จำได้ว่า ต้องลากเกียร์ไปตำแหน่งไหน จะได้ผลลัพธตามต้องการ

คนส่วนใหญ่อาจจะชินกับคันเกียร์ไม่มีการเล่นระดับ เพราะอย่างไร ก้มีการเรียงเหมือนเป็นสากล   P R ND  ทว่าเจ้าเกียร์ขั้นบันไดนี้ดีกว่า คือ มันยังใส่ตำแหน่งเกียร์ อย่าง 3 – 2  และ   L  มาด้วย ถ้าใช้บ่อยจนชิน มันจะเป็นรถขับง่ายรุ่นหนึ่งเลยทีเดียว

 

2.เรือนไมล์ตรงกลาง

นานมาแล้ว เชื่อว่าคุณคงต้องเคยเห็นรถที่มีเรือนไมล์ตรงกลาง คอนโซลหน้า ปัจจุบัน เหลือเพียงรถ MINI   เท่านั้น (มั้ง) ที่ยังใช้เรือนไมล์ตรงกลางอยู่

เรือนไมล์ตรงกลาง เป็นแนวคิดออกมาในช่วงเดียวกับ ระบบเกียร์ขั้นบันได การศึกษาในช่วงต้นปี 2000 โฟกัส เรื่องการป้องกันมิให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิในระหว่างการขับรถ หรือ  Distracted Drive  จึงมีความพยายามพัฒนา-ปรับปรุงส่วนต่างที่ช่วยลดเรื่องดังกล่าว

เรื่องหนึง่ที่นักวิจัยในต่างประเทศพบ จนวิศวกรเห็นด้วยแล้วเอามาใช้รถยนต์ปัจจุบัน คือ การย้ายเรือนไมล์ จากตรงหน้าคนขับมาสู่กลางคอนโซลหน้า เราจะเห็นได้ใน   Toyota Vios  Gen 1 – 2 และ   Toyota Yaris   ก่อนรุ่นปัจจุบัน เมื่อพูดถึงบรรดารถยอดนิยม

เหตุผลคือ การมองเรือนไมล์โดยก้มลงมองทางด้านล่าง เสียเวลามากวก่าการชำเรืองมองด้วยสายตา ถ้ากวาดตาไปด้านข้าง เรือนไมล์ จึงเปลี่ยนไปย้ายที่จนบางคนงงว่าอะไรมาดลใจให้ทำแบบนั้น

แนวคิดเรือนไมล์ตรงกลางนี้ดูเก๋ไก๋ แปลก และช่วยเพิ่มทัศนวิสัยตรงหน้าคนขับมากขึ้นเล็กน้อย ด้วยคอนโซลหน้าไม่ต้องยกสูง ปกป้องบังเรือนไมล์เวลาใช้งาน นอกจากนี้มันยังเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ เพราะ ผู้โดยสารทุกคนเห็นว่า คุณใช้ความเร้วเท่าไร จนคุณอาจเกรงใจ เมื่อต้องใช้ความเร็ว

 

3.ก้านครูซคอนโทรล

รถยนต์หลายรุ่นชอบเอาชุดปุ่มควบคุมระบบครูซคอนโทรล ไปไว้บนพวงมาลัย แต่รถหลายยี่ห้อก็ไม่ทำแบบนั้น และพวกเขาทำเป็นการเสริมออกมาเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น

หลัการชุดก้านนั้น เพื่อให้ลูกค้าใช้การสัมผัสเปิดการทำงานแทนการต้องเหลียวตามอง ยิ่งถ้าใครมีโอกาสใช้งานบ่อยๆ จะรู้ว่ามันสะดวกกว่า พอๆ กับการวางสวิทช์บนพวงมาลัย แถมการใช้การดัน ขึ้น- ลง แทนการกด เป็นการสัมผัสง่ายกว่า หากก็ต้องอาศัยความเคยชินในการใช้งานในระดับหนึ่ง

 

4.ถังน้ำมันใต้เบาะนั่งหน้า

หลายคนอาจไม่รู้แต่ เจ้ารถนั่งจากฮอนด้าหลายรุ่นมาพร้อมการติดตั้งถังน้ำมันไว้ใต้เบาะนั่งหน้า แทนที่จะติดไว้ใต้เบาะนั่งหลัง

รถยนต์ที่ได้รับการวิศวกรรมนี้หลักๆ คือ   Honda Fit   หรือ บ้านเรารู้จักในนาม   Honda Jazz    ทำให้รถคันนี้มีฟังชั่นพื้นที่ใช้งานตอนหลังสามารถวางของที่มีความสูงหรือ ที่เรียกว่า   Tall Mode   ได้ ถ้าคุณพับเบาะนั่งขึ้น

ทำไม วิศวกรเลือก ติดตั้งถังน้ำมันไว้ตอนหน้า คำตอบง่ายมาก เพื่อลดจุดศูนย์ถ่วงของรถให้ต่ำที่สุด เพื่อประสิทธิภาพการเกาะถนนดีขึ้นมากที่สุด ที่สำคัญ จุดติดตั้งเบาะนั่งตอนหน้า อยู่ตรงกลางของรถ เมื่อเติมน้ำมันเต็มถัง จึงสร้างแรงกดได้ดี และ กระจายน้ำหนัดได้ทั่วคันมากกว่า

นี่จึงทำให้   Honda Jazz   เป็นรถ 5 ประตูที่ขับดีเกินคาด เมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมก๊นของมัน ด้วยสูตรลับ ถังน้ำมันตรงกลางใต้เบาะนั่งตอนหน้า

 

5.ไฟป๊อปอัพ

คุณอาจว่ามันเทห์ ไฟป๊อปอัพ เป็นของที่วัยรุ่นยุค 90 ชอบกันมาก แต่มันหายไปในโลกยุคใหม่ ด้วยกฎในเรื่องความปลอดภัยเมื่อชนคนเดินเท้า ไฟป๊อปอัพ อาจสร้างอาการบาดเจ็บมากกว่า การชนปกติทั่วไป

ที่หลายคนไม่รู้ คือ ไฟป๊อปอัพนั้นเป็นหนทางแรกๆ ของการศึกษาหลักอากาศพลศาสตร์ ทีมวิศวกรมีแนวคิดสำคัญเวลาพัฒรถให้มีค่าสัมประสิทธิ์เสียดทานอากาศต่ำ หนึ่งในหลักการ คือสร้างหน้าต่ำมีความเพรียวลมสูง และเก็บทุกอย่างให้อากาศไหลผ่านได้สะดวกที่สุด

นั่นรวมถึงมันจะดีมากถ้าคุณเก็บไฟหน้าไว้ยามที่ไม่ได้ใช้มัน นี่จึงเป็นที่มาของไฟหน้า ป๊อปอัพ จะพลิกขึ้นมาเมื่อต้องการใช้งานจริงๆ รถสปอร์ตยุค 80-90 มีพวกมันหลายรุ่น อาทิ  Mazda MX-5 , Mazda RX-7  , Toyota MR 2

น่าเสียดายว่า พวกมันถูกตอนออกไป เนื่องจากกฎทางด้านความปลอดภัยในรถยุคใหม่

 

6.เกียรมือ  ..

 

มีหลายคนบอกว่า พูดคำว่า เกียร์มือ รู้อายุว่าแก่ จริงๆ ผมว่าไม่น่าใช่ แต่จริงที่เด็กยุคใหม่ คงไม่ทันพวกมัน ยกเว้นพวกเขาจะเคยผ่านมือ   Mercedes Benz    ใหม่ๆ สักคัน แล้วพบว่า  เกียร์ไม่ได้อยู่ตรงกลางอย่างที่มันควรเป็น

การติดตั้งเกียร์ไว้ที่คอพวงมาลัยหรือ  Steering Column Gear Shift  เดิมทีในรถยุคเก่ามีเหตุผล เรื่องการใช้งานง่ายสะดวก ผู้ใช้ จะทำการเปลี่ยนเกียร์ ในตำแหน่งใกล้ที่สุดที่พวกเขาจับพวงมาลัย และสามารถประคองรถได้แทบจะทันทีหลังเปลี่ยนเกียร์

ในยุค 70 เป็นต้นมา ระบบเกียร์ เปลี่ยนมาจัดวางไว้ตรงกลางรถ ด้วยเหตุผลบางประการ เชื่อว่า หลักๆ น่าจะมาจากการพัฒนาชุดเกียร์ที่มีอัตราทดเพิ่มขึ้น และการทำรถสมัยใหม่ ออกมาเป็นขับเคลื่อนล้อหน้า อาจทำให้ ความซับซ้อนการต่อพ่วงกลไกมากเกินไปด้วย

เรื่องนี้กำลังเปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อบริษัทรถยนต์หลายราย เริ่มมองว่า การติดตั้งเกียร์ที่คอพวงมาลัย อาจสมเหตุสมผลกว่า อาทิ  Mercedes Benz และ   Ford   เนื่องจาก การย้ายตำแหน่งคั่นเกียร์มาไว้ตรงจุดดังกล่าว ช่วยลดการเสียพื้นที่ใช้สอยในห้องโดยสารลง และปัจจุบัน รถก็ใช้ตำแหน่งเกียร์   PNRD  ไม่ต้องโยกไปมา อย่างในยุคก่อนแล้ว

 

หลากสิ่งที่เราพูดในวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิศวกรรมสุดประหลาดเท่านั้น ซึ่งคุณอาจค้นพบว่า มันบางมีมันมีประโยชน์ มากกว่าคิดว่า พวกมันแปลก

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่