ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป รถกระบะที่ถือเป็นรถกลุ่มยอดนิยมคนไทย กลับหาใช่จะเปลี่ยนแปลงไปทุกอย่าง เพราะทุกครั้งที่มีการพูดถึง เครื่องยนต์ดีเซลแรงๆ หลายคนจะฮือฮา ทว่าพละกำลัง แรงบิด มหาศาล เหล่านั้นกลับยังคงถูกห้ามด้วย ระบบเบรกหน้าดิสก์-หลังดรัม ที่ใช้มาทุกยุคสมัย ในกระบะ

จากรุ่นสู่รุ่น รถกระบะ มีพัฒนาการหลายอย่าง ทั้งเครื่องยนต์ , ขนาดตัว น้ำหนัก ตลอดจนความสามารถในการบรรทุก แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เกือบทั้งหมดจะยังให้ระบบเบรกติดตัว แบบดิสก์เบรกทางด้านหน้า และ ดรัมเบรกทางด้านหลัง จนเชื่อว่าหลายคน อาจจะสงสัยว่า ทำไมกระบะ ไม่ให้ดิสก์เบรก 4 ล้อ กันครบๆเสียที

จะว่าไป ระบบดิสก์เบรก 4 ล้อ ในกระบะ ก็ไม่ใช่จะไม่มีเลย มีความพยายามในทุกยุคสมัย ย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว การมาของ กระบะค่ายรถยนต์ Foton ได้แนะนำ กระบะที่มาพร้อมระบบดิสก์เบรก 4 ล้อ เป็นรายแรกของเมืองไทย

และมาในวันนี้ ก็เป็น Ford แนะนำ ระบบดิสก์เบรก 4 ล้อใน Ford Ranger Wildtrak ที่หลายคนสนใจอยากจับจองเป็นเจ้าของ จากการวางเป็นออพชั่นจัดเต็ม สำหรับลูกค้า ที่มองหาความแตกต่างในการใช้งาน กลายเป็นของท๊อปออพชั่น สำหรับลูกค้าไฮเอนด์

ที่จริง การที่รถกระบะส่วนใหญ่ ยังเลือกใช้การเซทอัพ ระบบเบรก เป็นแบบ หน้าดิสก์ หลังดรัมเบรก ก็มีเหตุผลที่สมควรอยู่บ้าง

ตามปกติแล้ว เวลาเราเบรกรถ ระบบเบรกทางด้านหลังจะสามารถทำงานช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะเมื่อน้ำหนักรถ เริ่มถ่วงไปตกทางด้านหน้า ก็จะเป็นภาระของเบรกหน้ามากกว่า เหตุนี้เอง ทำให้ระบบดิสก์เบรกมีความจำเป็นกับรถกระบะทางด้านหน้า

เนื่องจากระบบดิสก์เบรก สามารถระบายความร้อนได้เร็ว ตอบสนองเร็วกว่าการใช้ดรัมเบรก รถทุกรุ่นทุกแบบ จึงนิยม ติดตั้ง ดิสก์เบรก ทางด้านหน้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

แต่ความจริง ที่กระบะหลายรุ่น จากหลายแบรนด์ไม่ยอมติดดิสก์เบรกทางด้านหลัง ก็มีอยู่หลายเหตุด้วยกัน

ข้อแรก ดิสก์เบรก เป็นระบบเบรกที่มีประสิทธิภาพมาก จนทำให้บางครั้งในเวลาเราเกิดตกใจ แล้วเหยียบเบรกแรงและเร็ว การตอบสนองของระบบที่ค่อนข้างรวดเร็ว ทำให้รถเกิดการเสียอาการได้ค่อนข้างง่าย

อาการนี้ จะออกชัด เวลาไม่มีน้ำหนักบรรทุก หรือ วิ่งรถเปล่า อาจมีน้ำหนักบรรทุกไม่มาก เมื่อเบรกอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ รถจะแอบมีอาการท้ายไหลเล็กน้อย ส่วนสำคัญ​ก็มาจากช่วงล่างแหนบหลายแผ่นซ้อนด้วย จะมีความกระด้าง มีผลทำให้เกิดอาการท้ายไหลเวลาเบรกได้ง่าย

และด้วยกฏของแรงโน้มถ่วง กับโมเมนตัม ที่ทำให้น้ำหนักถูกกดไปด้านหน้ามากกว่าด้านหลัง ส่งผลให้แรงกดที่ล้อหลังน้อยลง ส่งผลให้ความสามารถในการยึดเกาะของล้อหลังน้อยตาม เมื่อเบรกทำงานดีเกินไป ก็จะยิ่งทำให้ท้ายหมุนได้ง่ายขึ้นด้วย

ประการต่อมา , ผู้ใช้ต้องการให้ระบบเบรก ดูแลรักษาง่าย ราคถูก ใช้งานได้ทนทานยาวนาน ระบบดรัมเบรก ค่อนข้างขึ้นชื่อในเรื่องนี้ และด้วยการใช้งาน ในช่วงระยะสั้นๆไม่ยาวนานมาก มันจึงแทบไม่มีความร้อนสะสม และไม่จำเป็นเลยต่อการใช้ระบบดิสก์เบรกทางด้านหลัง

ตลอดจน ระบบดรัมเบรก ยังทนต่อภาวะการใช้งานบางรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้งานอย่างสมบุกสมบันในทางลุย

และที่จริงแล้ว ระบบดรัมเบรก มีพลังเบรกมากกว่าดิสก์เบรก ถ้าเปรียบเทียบในขนาดพื้นที่การติดตั้งเท่ากัน ตัวผ้าเบรกจะมีพื้นที่ผิวสัมผัสมากกว่า มันจึงเหมาะกว่า กับรถที่มีน้ำหนักมาก รวมถึงต้องบรรทุกน้ำหนักเยอะมาก อย่างรถกระบะ

อย่างไรก็ดี ประเด็นหลัก อีกด้าน คือ รถกระบะ ไม่ได้ออกแบบมาให้ขับขี่ด้วยความเร็วสูงมากนัก เราจึงเห็นว่า รถกระบะ มักจะทำความเร็วสูงสุด ไม่มากเท่าไรนักในความเป็นจริง รถส่วนใหญ่จะทำความเร็วราวๆ 180-190 ก.ม./ช.ม

รวมถึงในการใช้งานจริง ไม่มีใครซิ่งกระบะไปตลอดทาง ในทางวิศวกรรม จึงมองว่าระบบเบรกแบบนี้เหมาะกับการใช้งานมากกว่า ทั้งในเรื่องความปลอดภัย ลักษณะการใช้งาน (ที่แท้จริงของตัวรถ) และเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว

อย่างไรก็ดี , กระบะสมัยใหม่บางรุ่น เริ่มให้ระบบ ดิสก์เบรกทางด้านหลังบ้าง โดยเน้นที่กลุ่มกระบะไลฟ์สไตล์ ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับใช้งานบรรทุก บางค่ายก็จะให้ดิสก์เบรกติดตัวมาเลย

ยกตัวอย่างเช่น Ford นำเสนอ Ford Ranger Wildtrak / Stromtrak และ Ford Ranger Raptor

อย่างไรก็ดี ภาพรวมของกระบะส่วนใหญ่ ก็ยังมองว่า กระบะ สมควรจะเป็นรถที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานสมบุกสมบัน ต้องบรรทุกอยู่ย่อยครั้ง วิศวกรจึงมองต่างไปจากสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ พวกเขาต้องมองถึงความปลอดภัย และคุ้มค่าในการใช้งาน สำหรับลูกค้า

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่