การเปิดตัววางขาย Tesla Cybertruck หลายคนให้ความสนใจ ในกระจากเทสล่า ที่มีทรงสุล้ำและความอึดถึกทนของตัวรถ โดยเฉพาะ โครงสร้างตัวถัง ทำมาจากสเตนเลสอย่างหนา เพื่อทนต่อการใช้งาน สุดโหดของลูกค้า

Tesla Cybertruck

ความแข็งแกร่งของ สเตนเลส ที่ว่ากันว่า หนาถึง 3 มิลลิเมตร มันฟังดูดี ตอนพูดถึงความแข็งแกร่ง ในระดับกันกระสุนได้อย่างสบายๆ แต่วัสดุต่างๆบนโลกใบนี้ ก็ยังมีโอกาส เสียหายได้ง่าย และ เมื่อต้องซ่อม อาจทำให้เจ้าของลมใส่ เพระา การซ่อมสเตนเลสไม่ง่าย อย่างที่คาด

ประเด็นนี้ ทาง Inside EV นำออกมาตีแผ่น อย่างน่าสนใจ Tesla cybertruck อาจจะเป็นรถยนต์กระบะ รุ่นแรก ที่ใช้ตัวถังสเตนเลส แต่ไม่ใช่ครั้งแรกของอุตสาหกรรมรถยนต์

บอดี้ภายนอกของ Cybertruck คล้ายกับรถในอดีต อย่าง Delorean DMC-12 เก๋งสุดชิค ที่ทุกคนรู้จัก จาก ภาพยนต์ Back to the future รถรุ่นนี้ก็ใช้ตัวถังสเตนเลส เหมือนกัน

Tesla Cybertruck

หลายครั้งที่ รถรุ่นนี้มาพร้อมการพ่นสี ทั้งที่ตัวรถเดิมๆ นั้น เป็น สเตรเลสเปลือย แบบที่ เทสล่าทำ นั่นมาจากการเกิดอุบัติเหตุ ของรถคันนั้น และมันต้องทำสีเพื่อปกปิดบาดแผลการชน จากเก็บงานนั่นเอง

ทางสื่อ Inside EV ได้ไป สัมภาษณ์ อู่ ที่ทำงานกับ Deloren หลายแห่ง ต่างยืนยันว่า “การซ่อมสเตรเลส เป็นความแปลกใหม่ ”

จอช เบงสตัน หนึ่งในเจ้าของอู่ ทำงานกับ Delorean มานาน ทั้งซ่อม และขายอะไหล่ ชี้ว่า การซ่อม สเตนเลส สตีล นั้น เหมาะกับการทำงานปรับสภาพรถเท่านั้น อย่างเดอรอลีน ที่ไม่มีอะไหล่แล้ว การซ่อมจึงจำเป็นมากที่สุด

ด้าน เจมส์ เอสเปรย์ อีก ช๊อป ที่ซ่อม Delorean ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ถ้าคุณต้องซ่อม ชิ้นส่วนที่มีจากากรชนนานถึง 8-9 ชั่วโมง ทางที่ดีที่สุดคือหาชิ้นส่วนใหม่ การซ่อม สเตนเลส มันไม่ใช่งานซ่อม แต่เป็นงานศิลป์ ซึ่งไม่ง่าย

อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ เทสล่าหลายคน น่าจะเคยมีประสบการณ์ในการซ่อมรถ เทสล่า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลาค่อนข้างนาน เทล่า มักจะใช้การเปลี่ยนชิ้นส่วนมากกว่า เป็นทางออกที่ดีที่สุด ในการซ่อม รถ แต่ กับ Tesla Cybertruck ยังคงต้องรอ คำตอบ เมื่อ มีใครสักคนพลากท่า กับ รถคันนี้

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่