ใน5-6 ปีที่แล้ว กระแสการสร้างเทคโนโลยีที่จะไปต่อยอดรถยนต์ไฟฟ้า อย่าง Plug in Hybrid กลายเป็นที่สนใจอย่างมาก เนื่องจากลูกค้า อาจยังไม่เข้าใจรถยนต์ไฟฟ้าจึงมีความพยายามสร้างกระแสความต้องการ

แน่นอน การสร้างอะไรสักอย่างทำให้คนบ่ายหน้า ไปสู่ สิ่งที่ดีกว่า หรือ Stepping Stone Tech เป็นสิ่งที่ต้องการสำหรับบรรดาผู้ผลิต จึงเกิด เทคโนดลยีลูกครึ่งระหว่าง รถยนต์สันดาป , รถไฮบริด และ รถยนต์ไฟฟ้า

แม้บ้านเรา รถยนต์แบบนี้จะเข้ามาไม่เยอะ และ ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ในกลุ่มแบรนด์ยุโรปก็ตาม แต่หลายปีผ่านมาจนวันนี้ เราอาจจะกำลังเห็น คลื่นลูกที่ 2 ของ ไฮบริดเสียบปลั้ก เข้ากระแทก ตลาดเมืองไทย

นับว่าเป็นกระแสที่มีกำลังน่าสนใจไม่น้อย ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรงแซงทางดค้ง จนคนในโซเชี่ยล ต่างพูดเป็นเสียงในทำนองแซ่ซ้อง ว่า เดี๋ยวสันดาป ก็ตายจากไป หาก ทางค่ายรถยนต์ไฟฟ้า เบอร์ 1 จากจีน สวนกระแส นำเทคโนโลยีไฮบริดเสียบปลั้ก DM -i หรือ Dual Motor Intelligent เข้ามาขาย เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ก่อนวางจำหน่ายจริง ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้

เทคโนโลยีตัวนี้เป็นเทคโนโลยี ไฮบริดเสียบปลั้ก มีการพัฒนามาแล้ว 3 เจนเนอร์เรชั่น ตอบสนองความต้องการลูกค้า ที่จีน และเพิ่งจะเริ่มขายมาที่ไทย

นอกจากรถยนต์ BYD Seal U แล้ว ยังมี Denza D9 ที่คาดว่า น่าจะมาในเทคโนโลยีเดียว อาจมาแบบนี้เพียงรุ่นเดียว หรือมีทางเลือก รุ่นขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ก็ยังไม่มีใครคาดเดาได้ ถึงอนาคต ที่อาจจะเกิดขึ้น

การสวนกระแสครั้งนี้ นับเป็น เรื่องน่าแปลก ด้วย BYD ปัจจุบัน มีรถยนต์ไฟฟ้า วางจำหน่าย 3 รุ่น และ เรียกว่า ขายดีทุกรุ่น ทั้ง Atto 3 , Seal, Dolphin จนน่าจะขายรถยนต์ไฟฟ้าต่อก็ได้ ทำไม ต้องเทคโนโลยีนี้เข้ามา

จากการไต่ถาม ทาง BYD คุณ ประธานวงศ์ พรประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้า บีวายดี (BYD)  หรือ คุณพก ได้ไข ให้ฟังว่า แม้ว่าปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับความนิยม และมียอดขาย เติบโตต่อเนื่อง

หากก็ยังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่พร้อม และ อาจจะต้องความแตกต่างในการเดินทาง เทคโนโลยี DM-i น่าจะเข้ามาช่วยให้คนเหล่านี้เข้าถึง และเตรียมความพร้อมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี

แบตเตอร์รี่คือจุดเปลี่ยน

แม้ว่า การที่บริษัทรถยนต์ไฟฟ้า จู่ๆ กลับลำ เอารถยนต์เทคโลยีแบบนี้เข้ามา วางจำหน่าย จะเหมือนเป็นการสร้างความไม่มั่นใจในการใช้งานหรือไม่

แต่ที่จริงตลอดหลายปีที่ผ่านมา สิ่งที่ทำให้ รถยนต์แบบ PHEV ยังคงอยู่ต่อไปได้ คือ พัฒนาการของระบบแบตเตอร์รี่นั่นเอง

แบตเตอร์รี่ของ BYD seal U DM-i นั้น มีขนาด 18.3 Kwh แต่ตามการเคลมของทาง BYD ระบุว่า สามารถเดินทางได้ด้วย ระยะทาง 100 ก.ม. ต่อการชาร์จ

ในขณะที่รถยนต์ PHEV ที่เปิดตัวใหม่ อย่างจากค่ายแบรนด์ยุโรป ก็มีระยะทางต่อการชาร์จ จากแบตเตอร์ขนาด 20-25 kwh ในระยะทาง 100 กิโลเมตรเช่นกัน

หากเปรียบเทียบกับรถรุ่นก่อนๆ หน้า อย่าง Outlander PHEV ที่มาพร้อมแบตเตอร์รี่ขนาด 12 Kwh สามารถทำระยะทางต่อการชาร์จได้ราวๆ 53 ก.ม. จากการทดสอบ และ ในความจริงอาจวิ่งได้เพียง 30-40 ก.มเท่านั้น

แบตเตอร์รี่เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ ของระบบ PHEV ด้วยการออกแบบระบบให้สามารถ ใช้งาานไฟฟ้าผสมกับเครื่องยนต์ หรือ ใช้ไฟฟ้าล้วนแบบรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอร์รี่ยิ่งใหญ่ จึงยิ่งมีประโยชน์ในการทำความประหยัดน้ำมัน หรือ อาจจะพูดว่า ตอบสนองต่อการใช้งานดีขึ้น ตามลำดับ

แต่ปัญหาของแบตเตอร์รี่ ไม่ว่ากี่ยุคสมัย มีความเหมือนกัน ยิ่งใหญ่ แบตยิ่งหนัก ด้วยเหตุนี้ เดิมทีจึงไม่นิยมใส่แบตใหญ่มาให้ เนื่องจากจะทำให้รถมีน้ำหนักเยอะ และ ตอบสนองในการใช้งานไม่ดีเท่าไรนัก

ปัจจุบัน เทคโนโลยีแบตเตอร์รี่ที่ดีขึ้น ทำให้แบตเตอร์รี่มีน้ำหนักเบาลง แม้ว่าจะใช้แบตเตอร์รี่ใหญ่ขึ้น ก็ยังตอบสนองต่อการใช้งาน มีระยะทางขับด้วยไฟฟ้ามากขึ้น ก็ไม่ได้มีผลต่อน้ำหนักเหมือนวันวาน

ประกอบกับ รถยนต์บางแบบ อาทิ รถยนต์เพื่อการเดินทาง เช่น SUV และรถกระบะ ยังเป็นที่ยอมรัยว่า เครื่องยนต์สัดาป มีประสิทธิภาพมากกว่า ในการเดินทางและไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการชาร์จไฟฟ้า ระบบ PHEV จึงสามารถตอบสนองต่อการใช้งานได้

โดยเฉพาะ มันสามารถขัใช้งานแบบรถยนต์ไฟฟ้าได้ยามต้องการ และ ใช้เดินทางก็ได้ เป็นรถที่ซื้อคันเดียวเหมือนได้ 2 คัน ซึ่งก็ไม่แปลก อะไรนัก

Next Gen Range Extender

อย่างไรก็ดี จุดสำคัญ อีกประการที่ำทให้ PHEV คงอยู่ คือความหลากหลายของระบบ และ เป็นที่ยอมรับว่า ในอนาคต ระบบ ไฮบริดประเภท Range Extender จะเข้ามามีบทยาท

ระบบ Range Extender คือการใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็ก แบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่ในการขับเคลื่อน ปัจจุบัน มีเพียง มาสด้า ที่เริ่มทำออกมาวางขาย ในต่างประเทศ

แต่ที่จริงแล้ว หลักการในพัฒนา มีความเกี่ยวเนื่องกับ ระบบ PHEV โดยเฉพาะรูปแบบ จะต่างกัน ก็เพียงการทำงานของตัวรถที่มีการปรับปรุงให้ มีรูปแบบ การใช้งานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ามากที่สุด แล้วให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพในการกำเนิดไฟฟ้า

หลักการนี้ ทำให้ ระบบ REV ค่อนข้างจะมีจุดเด่นสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม และ ให้ประสิทธิภาพในการขับขี่ ในอีกนัยหนึ่ง มันเหมือน Nextgen PHEV

ด้วยเหตุนี้ ระบบ PHEV จึงยังอยู่ และ มุ่งเน้นการพัฒนาให้แบตเตอร์รี่ใหญ่ขึ้นตอบสนองดีมากขึ้น ตามลำดับ

ในวันนี้เราจะเห็นว่า รถยนต์ PHEV เริ่มมีวางจำหน่ายมากขึ้น มันทำหน้าที่ทั้งเป็น ทางเดิน สู่รถยนต์ไฟฟ้า และ ทางเลือก สำหรับคนที่ยังไม่พร้อม หรือต้องใช้รถ เพื่อการเดินทางไกล ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าอาจจะยังไม่ตอบโจทย์

แม้ว่า PHEV จะถูกมองว่าไม่ดี ในยุคก่อน ตอบโจทย์แบบครึ่งๆ กลาง หากวันหน้า มันจะกลายเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากต้องการ ด้วยความเหมาะสม ต่อทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะการเดินทางไกล

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่