ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา ประเด็นที่ทำให้รัฐบาลต้องม้วนเสื่อกลับบ้านไปแทบไม่ทัน ดูจะเป็นกการออกมาเตรียมปรายปรามการใช้รถยนต์ผิดประเภทของคนไทย หนึ่งนั้นเป็นระเบียบข้อห้ามในการนั่งโดยสารที่กระบะหลัง ในบรรดารถกระบะทั้งหลาย

ด้วยมาตรการที่ออกมาอย่างฉบับไว เพียงไม่กี่วันก่อนการเดินทาง ถูกกระแสสังคมกดดันและประชาชนกร่นด่า หาว่ารังแกผู้มีรายได้น้อย ที่ต้องอาศัยรถเพื่อนกลับบ้าน บางคนเองใช้โอกาสนี้ หารายได้กลับบ้านด้วยเช่นกัน จนนโยบายหห้ามนั่งกระบะหลังต้องม้วนเก็บไป หากก็ยังมีทีท่างัดกลับมาใช้ใหม่เช่นกัน

การห้ามนั่งกระบะหลัง นับเป็นความคิดที่มีการพูดถึงมานานถึงอันตรายของการนั่งโดยสารท้ายกระบ ซึ่งคนไทยจำนวนไม่น้อยเข้าใจสาระสำคัญทางด้านการใช้งาน และเจ้าเล่ห์ทางกฎหมาย ว่า “บรรทุก” สามารถหมายรวมถึง ใช้ให้คนนั่งได้ด้วย ทั้งที่ในความเป็นจริงกระบะท้ายไม่ได้ออกแบบมารองรับการโดยสารเลยแม้แต่น้อย

ถึงแม้จะทำกันเป็นประจำ จนเรียกว่าคุ้นเคยชินตา กับภาพคนนั่งหลังกระบะอย่างสบายใจโต้ลมกลับบ้าน แต่พฤติกรรมดังกล่าวก็นับว่า สุ่มเสี่ยงอันตรายอย่างมากในการเดินทาง 

ประเด็นสำคัญที่ทำให้การนั่งท้ายกระบะอันตรายอย่างไม่น่าเชื่อเกิดจากการขับขี่ของตัวผู้ขับขี่เองด้วย ที่อาจจะขับรถด้วยความเร็วในระดับหนึ่ง ถึงบางคนอาจจะกล่าวว่าก็ใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ขับเร็วกว่าจะอันตรายได้อย่างไร

หากในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นรถตัดหน้ากะทันหัน หรือ ต้องหักหลบสิ่งกีดขวาง เช่น สุนัขวิ่งข้ามถนน ด้วยความเร็วเดินทางตามกฎหมายกำหนดที่ 90 ก.ม./ช.ม. การเหวี่ยงตัวของรถจากการบังคับเลี้ยว จะส่งให้รถมีการบิดตัวเชิงโครงสร้างเล็กน้อย เพื่อทำให้รถเอี้ยวตัวในขณะการเลี้ยว มันก่อนให้เกิดแรงเหวี่ยงอย่างรุนแรง จนสามารถทำให้วัตถุที่มีน้ำหนัก อย่างชน สามารถกระเด็นหลุดออกจากกระบะได้ หากไม่ได้ยึดเหนี่ยวไว้ด้วยเชือกหรืออุปกรณ์รัดของ 

ภาพแสดงการเอนและโคลงตัวของรถกระบะ ในการทดสอบพื้นที่ปิด เมื่อหักหลับด้วยความเร็ว 60 ก.ม./ช.ม.

สำหรับคนที่นั่งโดยไม่ได้ระมัดระวังตัว มันหมายถึงการกระเด็นตกรถได้ทันที หากเกิดการเหวี่ยงอย่างรุนแรง ทั้งจากการบังคับรถของผู้ขับขี่ หรือ ในยามที่เกิดอุบัติเหตุ เช่นรถ เกิดการเฉี่ยวชน หรือ เกิดเหตุสุดวิสัย อาทิ ยางระเบิด เป็นต้น

นอกจากแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ คนนั่งกระบะท้ายไม่ปลอดภัย ระบบกันสะเทือนช่วงล่างด้านหลังแบบแหนบหลายแผ่นซ้อนพร้อมโช๊คอัพ ยังเป็นอีกตัวแปรสำคัญในการโดยสารท้ายกระบะด้วย ระบบกันสะเทือนแบบนี้แม้จะพัฒนาให้ดีขนาดไหน ก็ยังมีอาการกระเด้งกระดอนอยู่ เป็นธรรมชาติ  โดยเฉพาะเมื่อตกกระแทกอย่างแรง ความแข็งของแหนบรถ ซึ่งทำหน้าที่แทนสปริง จะทำให้เกิดการกระเด้งจนอาจทำให้กระเด็นตกรถได้ ถ้าไม่ยึดเกาะให้ดี

ตลอดจน  มาตรการในการป้องกันคนตกจากท้ายกระบะ ก็ไม่ได้มีการคำนึงถึงจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ เนื่องจากรถกระบะไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้โดยสารอย่างที่เราหลายคนเข้าใจ พื้นที่แห่งนี้มีเพียง “ขอบกระบะ” ที่ป้องกันการตกรถ

แม้ว่าปัจจุบันรถกระบะรุ่นใหม่จะมีการพัฒนาส่วนขอบกระบะให้สูงขึ้น เพื่อใช้ในการบรรทุกได้มากขึ้น แต่การป้องกันการตกรถ ก็ยังไม่ได้ดีขึ้น เนื่องจากไม่มีโครงหลังคาป้องกัน ตลอดจน อุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัยอื่นๆ คอยเหนี่ยวรั้งไม่ให้ผู้โดยสารกระบะท้ายตกจากรถ เพิ่มขึ้น เนื่องจากทางบริษัทผู้ผลิตไม่ได้ต้องการให้พื้นที่จุดนี้ใช้ในการโดยสาร แต่ต้องการให้ใช้บรรทุกสิ่งของต่างๆ ที่ผู้ใชต้องการ ส่วนคนให้เข้าไปโดยสารในส่วนของห้องโดยสาร ซึ่งออกแบบรองรับความสะดวกสบายเอาไว้อย่างครบครัน

อย่างไรก็ดี นอกจากในด้านตัวรถแล้ว ผู้นั่งกระบะท้าย ก็มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงในการนั่งกระบะท้ายเป็นทุนเดิมอยู่ด้วย เช่นอาจจะนั่งหลับ เนื่องจากเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ทำให้ลมตีเย็นสบายทำให้ขาดการระมัดระวังตัว ตลอดจนบ้างยังมีการเล่นหยอกล้อพูดคุยในระหว่างการเดินทาง หรือมีการนั่งอย่างแออัดจน ต้องมานั่งที่ขอบกระบะ ซึ่งอาจจกพลัดตกจากรถได้ง่ายกว่า และที่ซ้ำร้ายที่สุดคือการดื่มแอลกอฮอลในระหว่างนั่งกระบะท้าย ยิ่งทำให้การนั่งกระบะท้ายยิ่งสุ่มเสี่ยงมากขึ้น

ถึงแม้ว่าการออกมาตรการนั่งกระบะท้ายของภาครัฐ ดูจะสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับพี่น้องประชาชนอย่างมาก แต่ในอีกมุมหนึ่ง มันคือความหวังดี ที่ต้องการลดการสูญเสียบนถนนเดินทางกลับบ้านปลอดภัยกันถ้วนหน้า

สิ่งที่ภาครัฐบาลควรทำ คือการทำให้คนตระหนักต่อการนั่งท้ายกระบะเดินทางไกลมากขึ้น ว่ามันไม่เหมาะสม หรือ ถ้าจำเป็นต้องนั่งจริงๆ ก็ต้องมีโครงหลังและที่นั่งรองรับในการโดยสาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทาง   

การนั่งท้ายกระบะกลับบ้าน สำหรับคนจำนวนมากที่มีรายได้น้อย อาจจะเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้  ในการเดินทางวันเทศกาล แต่เมื่อถามถึงความปลอดภัยแล้ว ก็เรียกว่า แทบจะเป็นศูนย์ แล้วคุณจะยังเสี่ยงให้เพื่อนหรือคนที่รักนั่งท้ายกระบะอีกหรือ

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com

Ridebuster



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่