เมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา วงการรถยนต์และสังคม ดูจะตกใจ กับเหตุ รถยนต์ไฟฟ้ามีควันเกิดขึ้น ในระหว่างการชาร์จไฟฟ้า ที่สถานีชาร์จ และน่าจะเป็นครั้งแรกของบ้านเรา ที่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น นับตั้งแต่ ประเทศไทย รู้จัก นวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า จนได้รับความนิยม มาจนถึงวันนี้

รถยนต์ไฟฟ้า ถูกพูดถึงในแง่มุมความประหยัด และสมรรถนะในการขับขี่มากมาย แต่เมื่อมาพูดถึงในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งาน ประเด็นเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า อาจเป้นต้นเหตุการเกิดไฟไหม้ ดูจะถูกหยิบนกขึ้นมาพูดถึง จนมีกูรูยุคเก่าบางท่าน พูดในเชิงว่า จอดรถ อย่างใกล้ รถยนต์ไฟฟ้า มันอันตรายไฟไหม้ง่าย จนบางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เขารู้จริง หรือ แค่พูดเอาสนุก กันแน่ !!

แม้ว่าความจริง รถยนต์ไฟฟ้าในไทย ที่ขายมาหลายปี ตั้งแต่ Hyundai , Niussan , MG ก็มีคราวนี้แหละ ที่ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีอาการค้ลายจะเกิดไฟไหม้ ในระหว่างการใช้งาน อาจเรียกว่าเป็นเคสแรกของประเทศไทย ก็ไม่ผิดเท่าไรนัก

ถึงวันนี้ จะยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ถึงตเนตอในเรื่องนี้ และ ทั้ง BYD Thailand และ เร่เว่ ในฐานะผู้จัดจำหน่าย กำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบอยู่

แต่สังคม ก็เริ่มตั้งคำถามแล้วว่ ารถยนต์ไฟฟ้า ไฟไหม้ง่าย หรือเปล่า และมันปลอดภัยกับ การใช้งาน จริงหรือ

ต้องยอมรับว่า สังคมไทย เราโตมากับเหตุไฟไหม้ ที่มีอะไร ก็จะพูดก่อนเสมอว่า ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้นตอของเหตุหายนะ ตามแนวทางการสันนิษฐานในเบื้องต้น ของเจ้าหน้าที่ และเราได้ยินแบบนี้มาเสมอ จนเป็น ชุดความคิดหนึ่งที่โยงมาถึงรถยนต์ไฟฟ้า อาจจะไฟไหม้ง่าย

หลักการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า มีความคล้ายกับ ไฟบ้านในแง่ของการใช้ แบตเตอร์รี่แรงดันสูง หรือ High Voltage Battery เป็นแหล่งพลังงานใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าที่เราใช้ขับเคลื่อนรถ

ที่จริง มันก็ไม่ได้เป็นแนวคิดต่างจากรถของเล่นทามิย่า ที่หลายคนรู้จักกันในอดีต แค่ขนาดมอเตอร์ใหญ่ขึ้น แบตเตอร์รี่ไม่ใช่แบต AA 2 ก้อน แต่หลักการภาพรวมเหมือนกัน

ส่วนที่แตกต่างออกไป อยู่ที่ ตัวแบตเตอร์รี่แรงดันสูง ที่มีขนาดใหญ่ กักเก็บไฟฟ้าเยอะกว่า มีแรงดันไฟสูงกว่า และทำจากแร่ที่มีความอันตรายมากขึ้น อาทิ Lithium ion เป็นต้น หากในความจริง แบตเตอร์รี่รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ทุกรุ่น ใช้แบตเตอร์รี่แบบนี้

ยังมีการแนะนำ แบตเตอร์รี่ NMC Z(Nicle Manganese Cobalt), Nickle Metal Hydride ในรถยนต์ไฟฟ้า ด้วย ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ผลิต ใช้แบตเตอร์รี่แบบไหน กับรถรุ่นนั้น

ยกตัวอย่างเช่น BYD Atto 3 ใช้ระบบ Blade Battery เป็นแบตเตอร์รี่ที่ทำมาจาก (lithium iron phosphate) เป็นต้น

รถยนต์ไฟฟ้า ..ไฟไหม้ได้จากอะไรบ้าง

ทางเทคนิคแล้ว รถยนต์ไฟฟ้า ไม่ได้เกิดไฟไหม้กันง่ายๆ อย่างที่หลายคนคิด

ตามสถิติ ที่มีการเก็บข้อมูล ในประเทศที่มีรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยม อย่างสวีเดน พบว่า ในระหว่างปี 2018-2022 รถยนต์ไฟฟ้า มีเหตุไฟไหม้ ทั้งหมดเพียง 29 คันเท่านั้น ตามข้อมูล ของหน่วยงานที่เรียกว่า Myndigheten för Samhällsskydd och Beredskap (MSB, or Authority for Social Protection and Preparedness) 

ในปี 2022 ในสวีเดน มีรายงานว่ารถยนต์ไฟฟ้ากว่า 611,000 คัน นั่นทำให้ ตัวเลขที่เกิดเหตุจากไฟไหม้ ยิ่งต่ำลงกว่าที่หลายคนคิด และ มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆจากการพัฒนาแบตเตอร์รี่ ที่ดีขึ้นตามลำดับ

แต่คนขี้กังวล ส่วนใหญ่คงคิดว่ารถยนต์ไฟฟ้า เหตุเพลิงไหมได้ น่าจะมาจาก ไฟฟ้าลัดวงจรแน่ๆ

ที่จริง มีการเก็บข้อมูลในเรื่องนี้กันในต่างประเทศ โดย NFPA หรือ National Fire Protection Agency องค์กรชั้นนำของโลกที่สนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันอัคคีภัย ออกมาเปิดเผยว่า สาเหตุของรถยนต์ไฟฟ้า ต้นเหตุ อันดับหนึ่งมาจาก การเสื่อสภาพของอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 45 ของเหตุการณ์ทั้งหมด

ส่วน ประเด็นไฟฟ้าลัดวงจรนั้น คิดเป็นเพียงร้อยละ 23 เท่านั้น หรือ ครึ่งจากต้นเหตุสำคัญ

และด้วยการไม่มีวัตถุไวไฟ อย่างน้ำมัน ไม่มีชิ้นส่วน ที่สะสมความร้อยอย่างเทอร์โบ หรือ ท่อไอเสีย ตลอดจน ยังมีการออกแบบระบบ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร หรือ เกิดประกายไฟ ทำให้ ยิ่งเกิดโอกาสไฟไหม้ยาก หากเทียบกับรถสันดาป ตามรายงานของน่วยงานดังกล่าว

รถยนต์ไฟฟ้า มีชิ้นส่วนที่สะสมความร้อนน้อยกว่า รถยนต์สันดาป ทั่วไป

แต่ที่จริงแล้ว เป้นที่ทรายกันว่า รถยนต์ไฟฟ้าอาจไฟไหม้ได้ ถ้าเกิดการชนอย่างรุนแรง จนแบตเตอร์รี่แรงดันสูง ได้รับความเสียหายจากการชน โดยเฉพาะ กรณีที่เซลล์แบตเตอร์รี่เกิดการกระแทก จนผิดรูป และได้รับความเสียหาย

ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิต ส่วนใหญ่ จึงพยายามเสริมโครงสร้างกันกระแทก และปกป้องแบตเตอร์รี่ เพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว

นอกจากนี้ เหตุการณ์ล่าสุดในอเมริกา เมื่อ รถยนต์ Tesla 2 คัน เกิดเหตุไฟไหม้ หลังจากพายุเข้า แล้วเกิดน้ำทะลุท่วมหนุน ในบางเขตของ ฟลอริด้า แต่ภายหลังน้ำลด ก็เกิดเหตุ ดังกล่าวขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญจาก Car FaX ชี้ว่า มีความเป็นไปได้ ที่รถที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม จะยังมีไฟฟ้าในแบตเตอร์รี่แรงดันสูง

และเมื่อน้ำลดและแห้ง แต่เกลือ ที่มากับน้ำ อาจทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Cell Rigid หรือ การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ ทำให้เกิดการลัดวงจร และไฟไหม้ได้ ในที่สุด

นอกจากนี้ ในระหว่างการอัดประจุไฟฟ้า หรือชาร์จไฟฟ้า ก็เป็นจุดที่ พบว่ามีเหตุไฟไหม่บ่อยครั้ง ในต่างประเทศ เนื่องจาก ระหว่างอัดประจุ แบตเตอร์รี่ จะมีความร้อน ค่อนข้างสูง และหากเซลล์ในแบตเตอร์รี่เกิดการลัดวงจร ก็อาจเป็นต้นเหตุไฟไหม้ได้

ในต่างประเทศ จึงมีคำแนะนำ ไม่ให้ นั่งอยู่ในรถ ในขณะชาร์จไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัย และมักจัดเตรียม สถานที่ให้นั่งรอระหว่างการชาร์จ ที่ดีกว่า นั่งในรถ

ดังนั้น โดยสรุป สาเหตรถยนต์ไฟฟ้าไฟไหม้ มาจาก การเสื่อมของชุดแบตเตอร์รี่แรงดันสูง ไม่ว่าจะมาจาก

  • ความเก่าจากการใช้งาน
  • การได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม
  • การได้รับความเสียหาย จาก อุบัติเหตุ จนแบตเตอร์รี่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง

เป็น 3 สาเหตุสำคัญ ที่อาจทำให้ แบตเตอร์รี่แรงดันสูง เสื่อมสภาพ และเกิดการลัดวงจร จนนำไปสู่ไฟไหม้ได้

แต่ถ้าถามว่ารถยนต์ไฟฟ้า จะไฟไหม้ง่าย หรือไม่ คงไม่ง่ายขนาดนั้น และไม่ควรกังวล ต่อเรื่องนี้

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่