เริ่มต้นเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการกันแล้วในปีนี้ เห็นอากาศเย็นสบายแบบนี้เชื่อว่าหลายคน คงจะวางแผนเดินทางกับครอบครัวไปเที่ยวในวันหยุดพักผ่อนทางภาคเหนือ และอุปสรรคสำคัญในการขับรถขึ้นพักที่อากาศมันกนาวๆ ก็แลดุจะไม่พ้นเส้นทางบนเขาสูงต่างมากมาย ที่หลายคนว่าขับยามากมาย โดยเฉพาะบรรดามือใหม่ทั้งหลาย แต่ไม่เป็นไรครับวันนี้พวกเราทีมงาน   Ridebuster   เตรียมเทคนิคการขับรถขึ้นลงเขาด้วยเกียร์ออโต้มาฝากกัน

 

เตรียมการขึ้นเขา

1.สำรวจเส้นทาง ก่อนเดินทางจำไว้ว่าพยายามสำรวจเส้นทางในการขับขี่ให้ครบครันเสียก่อนไปยังถึงที่หมาย เส้นทางเขาในปัจจุบัน มีการทำแผนที่อย่างละเอียด ซึ่งคุณสามารถดูได้จากอินเตอร์เน็ต ว่าเส้นทางส่วนไหนบ้างที่คุรต้องเดินทางขึ้นไป บางสถานที่มีเส้นทางที่ดีกว่า แต่อาจจะเพิ่มระยะทางกับขับขี่มากกว่า ซึ่งบางครั้งหากยังไม่มั่นใจตัวเอง ใช้ทางเลี่ยงทางเขาต่างๆ ก็พอมีอยู่บ้างพอสมควร ลองศึกษาให้ดีก่อน

2.สำรวจรถให้พร้อม ปัญหาสำคัญที่ผมมักพบ เวลาเดินทางไปยังเส้นทางเขาสูงต่างๆ หนีไม่พ้นบรรดารถที่จอดตายอยู่ข้างทาง และนั่นทำให้คุณลำบากด้วยถ้าเกิดรถไปเสียในเส้นทางบนเขาต่างๆเหล่านี้

สิ่งสำคัญอันดับต่อมาหลังจากสำรวจเส้นทาง หนีไม่พ้นความพร้อมของรถยนต์ที่คุณจะขับขี่ใช้งาน สมควรตรวจความพร้อมของยาง ระบบกันสะเทือนและเบรกให้ดี  ก่อนออกเดินทาง พยายามทำให้รถให้อยู่สภาพพร้อมที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามกำลังงบประมาณของคุณที่มี เพียงเท่านี้การเดินทางอันแสวิเศษก็พร้อมแล้ว

 

เมื่อขึ้นเขา

1.เปลี่ยนโหมดเกียร์ เมื่อถึงเสน้ทางเขา จำไว้ว่า ให้เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนโหมดเกียร์ที่คุณใช้เดินทาง จากโหมด  D  ที่เรารู้จักมักจี่กันเป็นอย่างดี มาสู่โหมด   S   หรือหากรถใครมีโหมดที่สามารถเปลี่ยนเกียร์ เลือกตำแหน่งเองได้  เช่นโหมด   M   ก็ให้เลือกโหมดนั้น

การเลือกโหมดเกียร์นอกเหนือจาก  D  ให้ประโยชน์สำคัญในแง่การตอบสนองของรถที่ดีกว่า โดยเฉพาะในโหมด  M   ที่สามารถเลือกตำแหน่งเกียร์เองได้  ทำให้คุณสามารถเปลี่ยนเกียร์เองได้ตามต้องการ คล้ายรถเกียร์ธรรมดา โดยเลื่อนไปบวก เพื่อเพิ่มตำแหน่งเกียร์ เช่นจาก   4 ไป 5 และเลื่อนไปลบ เพื่อลดตำแหน่งเกียร์ลง หากฝึกให้ชิน การใช้โหมมดเลือกเกียร์จะช่วยได้มากในการขับขี่ที่ต้องใช้ทักษะสูงกว่าปกติ

Ford-Focus-trend-motorshow2017 (6)

2.ใช้รอบแรงบิดสูงสุดของเครื่องยนต์ ในช่วงขึ้นเขาเป็นจังหวะที่รถจะต้องเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก น้ำหนักตัวเอง ไปพร้อมกัน หลายคนมักกลัวเครื่องยนต์พังเมื่อขึ้นเขา เนื่องจากจะต้องใช้แรงบิดสูงในช่วงขึ้นเขา ซึ่งนั้นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์

การขับขี่ในเส้นทางเขา จำไว้ว่า สมควรใช้รอบเครื่องอยู่ในช่วงรอบแรงบิดสูงสุด อย่าไปกังวลเรื่องเสียงเครื่องยนต์ที่ดังกระหึ่มเข้ามาในห้องโดยสาร  โดยเฉพาะบรรดาเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งใช้รอบเครื่องยนต์สูงกว่าเครื่องยนต์ดีเซลพอสมควร

การเร่งที่รอบแรงบิดสูงสุด ทำให้รถคุณสามารถขึ้นทางชันได้อย่างต่อเนื่อง และพร้อมเดินทางเสมอตลอดช่วงทางขึ้น เขาในกรณีที่มีรถคันหน้าช้า ให้พยายามใช้รอบเครื่องในช่วงใกล้แรงบิดเสมอ และพร้อมที่จะเร่งส่งตลอดเวลา

Engine-12-15-Compare (5)

3.เว้นระยะห่างคันหน้า การเว้นระยะห่างคันหน้าในช่วงเขา เป็นเรื่องที่สมควรทำทั้งในขณะขึ้นและลงเขาครับ การเว้นระยะห่า งช่วยให้เรามีจังหวะส่งเขาเ มีพื้นที่ปลอดภัยในการเพิ่มคันเร่ง หรือลดความเร็ว ตลอดจน ในกรณีคันหน้าเกิดเสียกะทันหัน คุณจะยังมีช่อวงว่างเอาไว้หลบหลีกได้อีกด้วย

ส่วนสาเหตุที่ไม่ควรจี้ท้ายรถคันหน้าเมื่อลงเขา ก็เนื่องจาก หากรถเกิดเบรกกะทันหัน หรือเป็นทางโค้งหักศอก คุณอาจจะไม่โอกาสแก้ไขสถานการณ์ได้ เนื่องจากไม่มีจังหวะ

 

เมื่อลงเขา

หลักลงเขาขั้นพื้นฐาน

 หลายคนไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับการลงเขามากมายนัก แต่พื้นฐานของการลงทางชันไม่ว่าจะดินหรือขับรถนั้นเหมือนกัน คือแรงโน้มถ่วงโลก จะเข้ามามีบทบบาทในการพาคุณกลับลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งทางลาดชัน รถยิ่งทำความเร็วมาก ดังนั้นจงจำข้อนี้ไว้ให้ดี

1.ใช้ความเร็วที่เหมาะสม เมื่อขับรถขึ้นเขา เราจะมีโอกาสทำความเร็วได้มาก และใช้ความเร็วได้อย่างอิสระกว่าตอนขึ้นเขา จำไว้ว่า คุณควรจะใช้ความเร็วที่เหมาะสมพอที่จะควบคุมรถได้ ตามความเหมาะสมที่คุณเห้นว่าสมควร

การใช้ความเร็วมากไป นอกจากจะอันตรายแล้ว ยังทำให้คุณต้องเหยียบเบรกมากขึ้น และตอบสนองในการควบคุมรถเร็วขึ้นเมื่อลงเขา เนื่องจากทางลาดชัน ทำให้รถไปได้เร็วมากกว่าปกติ ดังนั้น สมควรที่จะใช้ความเร็วเท่าที่เห็นสมควร

2.เปลี่ยนโหมดเกียร์ เฉกเช่นในช่วงขึ้นเขา ระหว่างเส้นทางลงเขาสมควรที่จะเปลี่ยนโหมดเกียร์มาใช้โหมด   S   หรือ  โหมดที่สามารถเลือกเกียร์เองได้

การเปลี่ยนโหมดเกียร์ในทางลงเขา ก็เพื่อใช้รอบเครื่องยนต์ช่วยในการชะลอความเร็วรถ ไม่ให้สูงเกินไป เทคนิคนี้ทางผู้เชี่ยวชาญหลายคน เรียกว่า เบรกเชิงกลจากเครื่องยนต์ หรือ   Engine Brake  เป็นหลักการที่ใช้แรงฉุดของเครื่องยนต์มาใช้ในการลดความเร็วรถ ซึ่งไม่ได้ทำให้เครื่องเสียงหายหรือสึกหรอเพิ่มเติมแต่อย่างใด

สำหรับผี่ขับขี่โดยใช้โหมดสับเกียร์เอง หรือ   Manual  Mode  ..ให้สับเกียร์จนรอบเครื่องอยู่ที่ช่วง 4,000 รอบต่อนาที สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และ 3,000 รอบต่อนาที สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ในระหว่างนี้ไม่จำเป็นต้องใช้คันเรง หรือหากความเร็วลดลงมากไปอาจจะเดินคันเร่งเล็กน้อยก็ได้ครับ

3.ไม่เบรกยาว ปัญหาหนึ่งที่มักพบผู้ขับขี่รถเกียร์ออโต้กระทำเสมอเมื่ออยู่บนทางเขา คือ เบรกยาว หรือเบรกแช่ เนื่องจากผู้ขับขี่รถเกียร์ออโต้เชื่อมั่นในเบรกรถมากกว่าสิ่งอื่นใด ในการชะลอความเร็ว มันไม่ผิด แต่จะนำมาใช้ไม่ได้กับทางเขาทั้งหมดไม่ได้

เนื่องจากเมื่อคุณใช้เบรกไประยะหนึ่ง ผ้าเบรกจะเกิดความร้อนสะสม จากการเสียดทานตัวผ้ากับจานเบรก ความร้อนดังกล่าวทำให้ผ้าเบรกอาจะจะไม่สามารถลดแรงเสียดทานได้ต่อไป เกิดอาการที่เรียกว่า  “เบรกเฟด” หรือบางคนอาจจะเรียกเบรกหาย 

อาการนี้ถือว่ามีความอันตรายมาก หากยังต้องเดินทางในทางเขาเนื่องจาก เมื่อคุณเหยียบเบรกแล้วจะรู้สึกว่า เหมือนไม่ได้เหยียบเบรก นั่นเพราะผ้าเบรกทำงานมากจนร้อนเกินไป  จนไม่สามารถเสียดทานได้อีกต่อไป และหากเบรกเฟดไปแล้ว อาการเบรกในระหว่างการเดินทางต่อไป อาจจะมีปัญหาได้

ดังนั้นวิธีการเบรกบนเขา คือ เบรก จนได้อาการชะลอความเร็วระดับหนึ่งแล้วปล่อยเบรก เพื่อให้เบรกมีจังหวะระบายความร้อนระยะหนึ่ง ก่อนจึงใช้งานต่อ ทำอย่างนี้ให้ชินบนทางเขา บนกับใช้เกียร์เข้าช่วยลดความเร็ว การันตีว่าอาการเบรกเฟดไม่มีมาถามหาคุณแน่นอน

4.อย่าใช้เทคนิคพิเศษ (ถ้าไม่เคยทำ) หลายคน โดยเฉพาะวัยรุ่นมักเคยได้ยินเทคนิคในการขับรถพิสดาร จากนักแข่งรถทั้งหลาย และหวังนำมันมาใช้กับทางเขา

ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ดังกล่าว อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากเทคนิคการขับขี่ชั้นสูง ต้องได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี และที่สำคัญต้องรู้จังหวะในการใช้งานที่ถูกต้อง ดังนั้นลืมไปเลยครับ เรื่องการดึงเบรกมือ เบรกเท้าซ้าย อะไรที่คิดว่าโชว์กับ ถ้าอยากปลอดภัยขับแบบปกติมนุษย์แล้วเอาสิ่งที่เรารู้นี่แหละครับ ไปขับในสนามให้ถูกต้อง

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ อ่านมาถึงตรงนี้ ผมเชื่อว่าหลายคนคงเห็นแล้วว่า การขับรถขึ้นลงเขาไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมครับ ยังไงหนาวนี้จะขับรถเที่ยวบนเขารับลมหนาว ลองเอาเทคนิคที่ผมบอกไปใช้นะครับ รับรองว่าเดินทางปลอดภัยในทุกเส้นทางแน่นอนครับ

ช่วยเป็นกำลังใจให้ทีมงาน



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่