ช่วงเวลาที่ Lite Ace   นิยม เป็นจุดเริ่มต้นของรถตู้ที่เรารู้จักในปัจจุบันว่า   Toyota  Hiace   โฉมแรก มีความคล้ายกับ   Toyota  Lite Ace   หากมีขนาดตัวรถใหญ่กว่า ผมเห็นรูปรถรุ่นนี้จำได้รางๆ ว่าเป็นรถโรงเรียนยอดฮิต ในสมัยวัยเด็กยุค 80

Toyota Hiace   ตัวแรกเข้ามาในช่วงปี พ.ศ. 2510 ใช้รหัสตัวถัง H10 ปัจจุบัน น่าจะหายาก เนื่องจาก โดยมากถูกใช้ตามต่างจังหวัด และมีเข้ามาในจำนวนไม่มากมายนัก



แต่ที่คนไทยเริ่มรู้จักเป็นรุ่นต่อมาก มีชื่อเล่น “หัวแตงโม” ทรงรวมจะคล้ายๆ Lite Ace  เก่า โฉมแรก  CM27   แต่มีขนาดกว้างกว่าเล็กน้อย โฉมนี้ถ้าใครเคยนั่งก็ต้องมีอายุ 30-40 ปี ขึ้นไป จึงจะสัมผัสในฐานรถโรงเรียน (สมัยก่อนยังไม่มีรถตู้โดยสารประจำทาง )

เอาเข้าจริง   Toyota  Hiace  เริ่มมามีชื่อในรุ่นถัดมา เข้ามาเปิดตัวในไทย เดือนมีนาคม พ.ศ. 2526 เราเรียกตัวนี้ว่า รุ่น “ตาหวาน” (ไม่รู้ใครตั้ง) เจ้ารุ่นตาหวาน มีส่วนผสมพิเศษ คือความเป็นเหลี่ยมมากขึ้น ขนาดรถใหญ่กว่าน้องเล็ก เรียกว่าฉีกจาก  CM36   ที่อยู่ในยุคเดียวกัน 

นอกจากนี้แหล่งข้อมูลยืนยันว่ามีการนำรุ่นหลังคาสูง หรือที่เรียกว่า   Commuter เข้ามาในโฉมนี้เป็นครั้งแรก แต่อาจจะหาได้น้อยมาก เนื่องจากรถรุ่นนี้เข้ามาทั้งรุ่นตู้ทึบสำหรับการบรรทุกมากกว่า และมีส่วนน้อยเท่านั้นที่เข้ามาขายเป็นรถตู้นั่งอย่างที่เรารู้จักในวันนี้

ยุคแรกรถตู้ไม่ได้ออกมาใช้กว้างขวางนัก เนื่องจากเป็นรถที่มีราคาสูง ต้องโดยสารเยอะจึงจะคุ้มรถตู้ในช่วงแรก จึงเป็นรถเฉพาะกิจการบางอย่าง เช่น รถตู้ในครอบครัว (คนจีน) นิยมใช้ ,รถรับส่งพนักงานบริษัท ไปจนถึงใช้ในการนำเที่ยวบ้างประปราย

ยุครถตู้มาเฟื่องฟูกันจริง เมือช่วงยุค 90 เป็นยุคของรถตูโตโยต้า ไฮเอซ โฉม หัวจรวด รหัสตัวถัง  H100 เข้ามาทำตลาดแล้วในบ้านเรา ระยะแรกรถตู้ยังคงเรื่องราวคล้ายอดีต เป็นรถใช้เฉพาะที่ในงานการเฉพาะทาง ทว่าเริ่มนิยมใช้ในการท่องเที่ยวมากขึ้น เนื่องจากคุ้มทุน สามารถจัดการเดินทาง-กรุ๊ปทัวร์ให้นักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กได้

การเจริญเติบโตรถตู้จึงเกิดใต้ร่มของธุรกิจท่องเที่ยวในส่วนหนึ่งด้วย และยังใช้รับคนจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพ หรือใช้ในอีกหลายอย่างเพื่อการขนส่งคน ซึ่งรวมๆ แล้ว รถกลุ่มนี้ ถูกเรียกว่า รถตู้ป้ายดำ (คล้ายแท็กซี่ป้ายดำ) หมายถึงรถที่วิ่งอย่างผิดกฎหมาย มีมาตั้งแต่ช่วงราวๆ ปี พ.ศ. 2531 โดยประมาณ

จนระยะหลัง การรับส่งโดยสารประจำทางเริ่มระบาดเข้ามาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เนื่องจากการขยายตัวของเมือง ทำให้รถประจำทางไม่เพียงพอ บ้างต้องรอนาน จึงทำให้เกิดรถตู้รับส่งคนประจำทางขึ้นในหลายเส้นทาง มีความสะดวกรวดเร็วกว่ารถประจำทางแถมบางสายวิ่งขึ้นทางด่วนร่นเวลาการเดินทาง แต่ยังไม่ถูกกฎหมาย

จนกระทั่งมีการแก้ไขกฎหมายใหม่ ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2537 ให้รถตู้โดยสารประจำทางวิ่งได้ถูกกฎหมาย โดยผู้ประกอบการเดินรถขนส่ง (รถเมล์เดิม) สามารถแตกใบเดินรถประจำทาง บัส 1 คัน เป็นรถตู้ 3 คัน ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น

ประกอบกับ รถตู้ไม่เพียงสะดวกในการทำเวลา ยังสามารถจอดรับส่งง่ายกว่ารถบัส จนไม่ว่าใครที่อาศัยในเมือง ก็ต้องมีประสบการณ์ขึ้นรถตู้ เบียดเสียด 16 ที่นั่งมาแล้วทั้งนั้น ถ้าโชคร้ายมานั่งเป็นขวัญใจคนขับ ก็ต้องช่วยเขานับตังค์ ทบทวนวิชาคณิตศาสตร์ไปพลางๆ ระหว่างเดินทางกลับบ้าน หรือไปทำงาน

การเข้ามาในช่วงจังหวะพอเหมาะพอดี ทำให้   Toyota Hiace   หัวจรวด เป็นรถสร้างชื่อจนคนไทยรู้จักกว้างขวาง ที่มาของชื่อ “หัวจรวด” ก็มาจากทรวดทรงของรถที่มีลักษณะหน้าแหลมสามเหลี่ยมทางด้านหน้า ใครก็จดจำได้ง่าย  ปกติแล้วจะมีจำนวนที่นั่งทั้งสิ้น 13 ที่นั่ง รวมคนขับและผู้โดยสารตอนหน้า 2 คน ตัวห้องโดยสารหลักจะติดตั้งเบาะนั่งเพียง 3 แถว เท่านั้น เพื่อให้ขึ้นลงสะดวกและมีพื้นที่วางขามากขึ้น รวมถึงห้องสัมภาระตอนหลัง  

แต่รถตู้วิ่งวินที่ใช้รับส่งผู้โดยสารในเมืองจะติดตั้งเบาะ 4 แถว ทำให้รับคนเพิ่มได้อีก 3 คน เป็นเซทอัพที่นั่งที่นิยมมาก เนื่องจากสร้างรายได้แก่ผู้ขับ (แต่ทำร้ายผู้โดยสาร ซึ่งต้องทนความคับแคบเพื่อยามไปถึงที่หมาย) จนก่อให้เกิดอาชีพรถตู้วิ่งวินรับส่งคน จนเราชินตาในวันนี้

โตโยต้า ไฮเอซ หัวจรวด เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2532 เริ่มทำตลาดด้วยเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.0 ลิตร รหัส 2L  เครื่องยนต์เดียวกับกระบะในยุคนั้น หากเพื่อนต้องการสังเกตว่า เป็นหัวจรวดรุ่นแรกหรือไม่ ให้ดูที่ไฟเลี้ยวมุมส้ม กระจังหน้าทึบ และ กันชนจะไม่มีไฟเลี้ยวมาให้

ในปีพ.ศ. 2533 (โดยประมาณ) ตระกูลไฮเอซ ถูกเพิ่มเติมด้วยรุ่นหลังคาสูง หรือ  Commuter   เริ่มแรกรถรุ่นนี้นำเข้าตรงจากประเทศญี่ปุ่น  โดยมีหลังคาสูงกว่ารุ่นปกติ เพื่อให้สามารถเดิน เข้า-ออก ห้องโดยสารได้ง่าย แต่ช่วงตัวและการเซทอัพรถ ยังไม่ต่างจากเดิม ตระกูลหลังคาสูงไม่ได้รับความนิยมนักในช่วงแรก จนกระทั่งในช่วงปีพ.ศ. 2543 เป็นต้นมา เข้าใจว่ามีการนำผลิตวางขายในประเทศ พร้อมปรับเครื่องยนต์มาเป็น 3.0 ลิตร รหัส  5 L   

ส่วนตัวหลังคาเตี้ย มีการไมเนอร์เชนจ์  3 ครั้ง โดยครั้งแรกเป็นในปี พ.ศ. 2537 เปลี่ยนทั้งกระจังหน้ากันชนและพวกบรรดาไฟเลี้ยว รวมถึงอัพเครื่องยนต์มาเป็นรหัส 3 L   ขนาด 2,800 ซีซี  การเปลี่ยนแปลงในระยะหลังก็คล้ายๆ กัน คือ อัพหน้าตา แล้วเปลี่ยนเครื่องมาเป็น 3,000 ซีซี รหัส 5 L ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2540 (โดยประมาณ)

การเปลี่ยนหน้าตาอัพเครื่องไม่ใช่อย่างเดียวที่ ทางโตโยต้าให้กับรถรุ่นนี้ พวกเขายังมองถึงการตอบโจทย์ความหรูหราในการใช้โดยสารด้วย จึงผลิตรถรุ่น   Super Custom  ออกมา แตกต่างด้วยสีภายนอกทูโทน ขาวน้ำตาล และยืดระยะความยาวตัวรถไปอีกกว่ารุ่นปกติทั่วไป  

ความยาวเพิ่มขึ้นทำให้รถตู้รุ่นนี้นั่งสบายขึ้น และมีที่เก็บสัมภาระมากขึ้น ได้ทับทิมที่ฝาท้าย กระจกข้างจะยาวกว่ารุ่นปกติ และช่วงล่างหลังไม่ใช่แหนบ เป็นช่วงล่างคอยย์สปริง ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 2RZ-E และความสำเร็จของ   Toyota  Hiace super Custom  จนเป็นรถหรูคู่บ้าน ก็เป็นต้นกำเนิดของรถ   Toyota  Ventury   และเป็นที่มาจุติรถตู้หรูราคาล้านกว่าบาทกลางๆ ต่อมา จนสร้างให้เกิดการนำเข้า  Toyota  Alphard   มาขายโดยผู้นำเข้าอิสระชั้นนำมากมาย  

จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2548 (ประมาณว่าผมเรียนมหาวิทยาลัยปี 3) รถตู้  Toyota  Commuter  โฉมปัจจุบันจึงมาขายในไทย และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคันใหญ่กว่า นั่งสบายกว่า และความสบายสุงโปร่งนี่แหละที่ทำให้ลูกค้าเริ่มรู้จักจะเลือกขึ้น บางคนยอมไม่ขึ้นรถเก่าเพื่อขึ้นรถใหม่ เนื่องจากอย่างไรเสียก็จ่ายในราคาเท่ากัน จะนั่งราวกับเล่นกายกรรมพับขาทำไม

รถตู้รุ่นใหม่จึงเริ่มเห็นชินตามากขึ้น โดยเฉพาะรุ่น   Commuter   ได้รับความสูงโปร่งและมีขนาดใหญ่ รถที่เราเห็นกันอยู่ใช้เครื่องยนต์ 1KD-FTV ขนาด  3.0 ลิตร รุ่นเดียว ขับขี่ด้วยเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และภายหลังมีเกียร์ออโต้ 4 สปีด ตอบลูกค้า เนื่องจากถูกตลาดผู้นำเข้าตีกระจุย เนื่องจากสภาพการในเมืองรถติดมากขึ้น

Toyota Commutet 2016 โฉมปัจจุบัน

ถึงแม้รถตู้ตัวใหญ่จะนิยม แต่  Toyota Hiace   ตัวเตี้ยก็มีขายเช่นกัน ในรุ่น   Hiace Eco   ตู้ทึบสำหรับคนที่ต้องการใช้เพื่อการขนส่งสินค้า ราคาขายอยู่ที่ 949,000 บาท มีให้เลือกเพียงรุ่นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เท่านั้น 

นอกจากนี้ความสำเร็จจาก  Toyota Hiace Super custom   โตโยต้าประเทศไทย จึงพัฒนารุ่นหรูดีกว่า   Toyota  Ventury  โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มครอบครัว ต้องการรถตู้โดยสารเดินทาง

รายละเอียดทั้งหมดเป็นการตบแต่งภายนอกใหม่ พร้อมปรับเบาะที่นั่ง เหลือเพียง 11 ที่นั่ง จาก 13 ที่นั่ง เบาะแถว 2 เป็นเบาะแยก หรือที่เรียกว่า   Captain Seat   ให้ระบบความบันเทิงในห้องโดยสารครบครัน  

ด้านการขับขี่มีทั้งระบบเครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ลิตร และ เครื่องยนต์เบนซิน 2.7 ลิตร  ทั้งหมดติดตั้งระบบเกียร์ 4 สปีด แต่รุ่นนี้ไม่มีการปรับระบบกันสะเทือนหลัง ทำให้มีความแข็งกระด้าง ผู้ใช้หลายคนกล่าวว่านั่งไม่สบายเหมือน  Super Custom   ตัวก่อนหน้านี้

นิสสันคู่กัดสำคัญ รถตู้โตโยต้า

แม้ว่าแบรนด์   Toyota   จะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นรถไทยนิยมไปแล้ว แต่คู่แข่งเบอร์ 1 ของค่ายสามห่วง ก็ไม่พ้นนิสสัน ซึ่งทำตลาดรถตู้มาในช่วงใกล้ๆกัน ด้วยรถ นิสสัน เออร์แวน ในช่วงยุค90 (เท่าที่มีข้อมูล) เริ่มมาตั้งแต่  Nissan  Urvan   รหัส E23 ไฟเหลี่ยม 2 ตา มาพร้อมเครื่องยนต์  SD23   แต่ส่วนใหญ่เครื่องยนต์จะไม่มีอายุยาว จึงมักถูกเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น  TD 27  หรือ   SD 25 บ้างก็แล้วแต่เจ้าของจะเลือกทำ

เท่าที่ทราบข้อมูล รถตู้นิสสันถูกซื้อใช้เป็นรถราชการในกรมกองบางแห่งในช่วงแรกๆ ด้วย จนน่าจะถือว่าเป็นรถญี่ปุ่นที่เรามีข้อมูลว่า ถูกใช้ในราชการจริงๆ

รถตู้นิสสันน่าจะเรียกว่า เป็นแบรนด์แรกที่ทำหลังคาสูง

ความนิยมรถตู้นิสสันมาคึกช่วง  Nissan  Urvan  E24  ในรุ่นตาเหลี่ยมตาเดียว ปัจจุบันยังมีคนหามาใช้งานเนื่องจากมีความทนทาน และสามารถวางเครื่องยนต์ร่วมสมัย  TD27   ได้ด้วย

อ่านต่อ >> คลิกที่นี่

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่