ถ้าพูดถึงบรรดาปัญหาชวนขบคิดในการขับรถ ประเด็นที่มีการถกเถียงมากที่สุดในรถยนตเกียร์อัตโนมัติ มาตั้งแต่รุ่นพ่อจนถึงปัจจุบัน หนีไม่พ้นการเข้าตำแหน่ง เกียร์ออโต้ เวลารถติดว่า ควรจะเข้ามันในตำแหน่งไหน บ้างว่าก็แค่เหยียบเบรกแล้วค้างไว้ที่ D บ้างก็ว่าให้เข้า N เพราะเหมือนเกียร์ธรรมดา หนักหน่อยหลายคนบอก เข้า P ไปเลย จบๆ … แล้วคุณเชื่อหรือกำลังทำแบบไหนเวลา
ประเด็นเรื่องการค้าง D เข้า N ปลด P (พูดแบบนี้ค่อยง่ายหน่อย) เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงมานาน การพูดคุยแต่ละครั้งมักจบลงที่ความเชื่อของแต่ละคนที่มีพฤติกรรมและถูกสอดในการขับรถไม่เหมือนกัน ทว่าเทคโนดลยียานยนต์ยุคใหม่ จากบรรดาวิศวกร ได้เริ่มเผยข้อเท็จจริงในการขับขี่ ว่าที่จริงควรทำอย่างไร
คุณสมบัติเกียร์อัตโนมัติตั้งแต่อดีตมาจนวันนี้ มันให้คุณค่าในเรื่องการขับขี่ง่ายและสะดวกสบายที่สุด เท่าที่เทคโนโลยีจะมอบให้ ไม่ว่าเกียร์ออโต้ในรถที่เราใช้จะเป็นแบบไหน มันมีตำแหน่งเกียร์เหมือนกัน เข้าใจง่าย และออกแบบให้ทนทานมากถึง 100,000 กิโลเมตรเป็นอย่างต่ำ หรือเท่ากับประมาณ 5 ของการใช้งาน เมื่อคิอเฉลี่ยว่าในแต่ละปี คุณขับรถเหมือนคนปกติทั่วไป ตกเฉลี่ยปีละประมาณ 20,000 กิโลเมตร
เมื่อรถติดหยุดนิ่ง ระบบเกียร์อัตโนมัติ มีข้อดีประการสำคัญ คือ คุณเพียงเหยียบเบรกให้แน่น รถก็จะไม่พุ่งไปข้างหน้าไม่เหมือน รถเกียร์ธรรมดา ที่ต้องมาถอนคลัทช์ให้วุ่นวายใจ ระบบเกียร์ออโต้ ทำแบบนั้นได้ เพราะมีชุดอุปกรณ์ภายในพิเศษ ที่เรียกว่า Torque Converter มันสามารถแยกการหมุนระหว่างฝั่งเครื่องยนต์และฝั่งชุดเกียร์ได้ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานรอบต่ำมาก มีแรงบิดน้อย จนไม่สามารถเอาชนะแรงเบรกและกลไกเกียร์ได้รถจึงไม่เคลื่อนไหวไปข้างหน้า
หลายคนที่จบทางด้านช้างยนต์ชอบรื้อรถ จะทราบดีว่าในชุด Torque converter นี้ มีชุดคลัทช์อยู่ด้วยในตัวเพื่อถ่ายทอดแรง คล้ายในรถเกียร์ธรรมดา
ในจังหวะรถติด ถ้าเราเหยียบเบรก แรงดันน้ำมันใน torque Converter ยังทำงานแต่ไม่มีแรงมากพอจะทำให้ระบบส่วนที่เชื่อมต่อชุดเกียร์ทำงาน แม้ว่าจะคงในตำแหน่ง D รถจึงไม่เคลื่อนที่
กลับกัน กรณีคุณเปลี่ยนจาก D มา N ระบบจะทำการปรับการทำงานของชุดเกียร์ให้ Torque Converter ที่มีการทำงาน 2 ด้าน หมุนอย่างอิสระ ไม่ส่งกำลังไปหากันแม้ว่าจะเร่งเครื่องยนต์รอบสูง มันไม่ล็อคกการทำงานของชุด Stator ภายใน ทำให้รถไม่เคลื่อนไปข้างหน้าแม้เร่งรอบเครื่องยนต์
อย่างไรก็ดี , เมื่อเราเปลี่ยนจาก N ไป D ระบบจะสั่งให้ระบบส่งกำลังตามเดิม รถจะมีอาการกระตุกเล็กๆ พอสังเกตได้มาจากการเตรียมขับและคลัทช์ทานพร้อมส่งกำลัง
ในต่างประเทศมีการถกเถียงว่า สรุป ค้าง D เข้า N แบบไหนดีกว่ากัน ถ้าสรุปตามความเข้าใจผู้ใช้จากกระดานสนทนาชั้นนในต่างประเทศ จะแนะนำให้เข้า D เนื่องจากการติดไฟแดงในต่างประเทศ เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1 นาที แล้วเคลื่อนตัวต่อ นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันรถไหล อันมาจากการลืมเบรกหรือ เผอเรอ เมื่อเข้า N
บ้านเราสภาวะรถติดสาหัส ต่างกันมาก การเข้า D เหยียบเบรกนานๆ อาจทำให้เมื่อยขา ได้ สำหรับรถยุคใหม่ ที่มีระบบเบรกมือไฟฟ้า จะมีฟังชั่น Brake Hold มาด้วย ช่วยให้ความสบายในการขับขี่มากขึ้น มันทำหน้าที่เบรกค้างแทนเราอัตโนมัติ ไม่ต้องเปลี่ยนไป N ก็ได้
แต่ถ้าให้พูด การปลดไป N มีข้อดีกว่าตรงที่ไม่ต้องพะวงกับการเหยียบเบรก แต่การทำบ่อยๆ หลายครั้งติดต่อกัน ก็ทำให้ ชุดโปรแกรมเกียร ที่เราใช้สับ (Shifter) ตลอดจนคลัทช์สึกหรอได้มากกว่า การเหยียบเบรกค้างไว้ที่ D เช่นเดียวกัน แต่กลับกันการฝืนแรงเครื่องยนต์พร้อมเดินหน้าตลอดเวลาเป็นเวลานาน ก็สร้างแรงเครียดให้ชิ้นส่วนใน Torque Converter รวมถึงยังสิ้นเปลืองน้ำมัน เนื่องจากเครื่องยนต์จะจ่ายน้ำมันมากกว่า ในจังหวะเดินเบา
เรื่องการสร้างแรงเครียดนี้และความประหยัดนี้ ชัดเจนจากการแนะนำเทคโนโลยีใหม่ของบริษัทรถยนต์บางรายอย่างนิสสัน แนะนำระบบ Neutral idle control เข้ามาติดตั้งในรถยนต์นิสสันทุกรุ่น
นิสสันกล่าวว่า ในระหว่างที่เราเหยียบเบรกในเกียร์ D เครื่องยนต์ถูกสั่งให้ทำงานเพื่อพร้อมเดินทางเสมอ ด้วยเหตุนี้การจ่ายน้ำมันจึงสูงกว่ารอบเดินเบาปกติทั่วไป ระบบ Neutral idle control จึงออกแบบมาเพื่อปลดคลัทช์ และปรับเครื่องยนต์ให้จ่ายน้ำมันน้อยลง ด้วย
ดังนั้นเมื่อมามองความจริง คือ เมือเข้า D เครื่องยนต์พร้อมทำงาน รอบเครื่องยนต์จะสูงกว่ารอบเดินเบาปกติเสมอ การค้าง D ไว้ สามารถทำได้ในช่วงสั้นๆ 1-2 นาที แต่ถ้าคุณโชคร้ายเจอวันรถติดหนักนิ่งไม่ขยับตั้งแต่ 5 นาที ขึ้นไป เข้า N เหยียบเบรก จะลด แรงตึงเครียด ในระบบเกียร์ดีกว่า
อย่างไรก็ดี คุณจะเห็นว่า ผมไม่แนะนำให้ใส่เกียร์ P เลย เมื่อหยุดรถปกติ ไม่ใช่ในกรณีที่คุณจอดรถ เพื่อลงไปทำธุระ
ประการแรก เมื่อเข้า P คุณต้องผ่าน R และ N แม้ว่ามันจะไม่ได้สร้างผลเสียใดๆ นัก แต่การผ่าน R จะทำให้สัญญาณไฟถอยติด สร้างความงงให้เพื่อนร่วมทาง นอกจากนี้การเข้าเป็นไปได้ว่า คุณอาจเข้าเกียร์ผิดได้ ในจังหวะรีบๆ เช่น จะไป D เข้า N เป็นต้น
ข้อต่อมา เกียร์ P จะทำการล็อคเกียร์จากภายใน อุปกรณ์ล็อคพิเศษจากภายใน ช่วยให้เกียร์ไม่เขยื้น มันช่วยการทำงานของระบบเบรกมือได้อีกทาง ลองคิดว่าในกรณีโชคร้าย รถคุณเกิดโดนชนท้าย การเข้า P จะสร้างผลเสียกว่าการเข้า N หรือ D รวมถึงหากต้องเคลื่อนรถในบางสถานการณ์คับขัน จะใช้เวลานานกว่า
ดังนั้นสำหรับใครที่เข้าเกียร์ P บ่อยครั้ง สมควรจะปรับพฤติกรรมการขับขี่ แล้วเปลี่ยนเป็นเหยียบค้าง D หรือ เข้า N จะดีกว่า
ไม่ว่า จะค้าง D เข้า N อันนี้ก็คงแล้วแต่ความถนัดในการขับขี่ แต่ที่แน่ๆ การใส่เกียร์ P ไม่ควรทำในระหว่างรถติดหรือเบรกหยุดชั่วคราว ที่ต้องมีการขยับรถบ้างเป็นบางจังหวะ ไม่ใช่หยุดจอด แม้นว่ารถติดในกรุงเทพ จะเหมือนจอดตายแน่นิ่งขึ้นทุกวัน