ในช่วงหลายปีทีผ่านมา ต้องยอมรับว่า เทรนด์ การพัฒนาลดขนาดเครื่องยนต์เติมระบบเทอร์โบเข้ามา หรือ Engine Downsizing กลายเป็นเทรนด์การพัฒนาเครื่องยนต์ ในตลอด ทศวรรษ ที่ผ่านมา แต่เทรด์ นี้กำลังสิ้นสุดลง และ เปลี่ยนสู่ยุคเครื่องยนต์ไฮบริดในยุคนี้

สาเหตุการเปลี่ยนแปลง สู่เครื่องยนต์ไฮบริดนั้น มีด้วยกันหลายประการ แต่ประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุด หนีไม่พ้น ความเข้มงวด เรื่องการลดการปล่อยไอเสียรถยนต์ ที่มีการบังคับใช้ในหลายประเทศ นั่นรวมถึงในประเทศไทย เองด้วย ที่ออกกฏบังคับใช้การจัดเก็บภาษี ตามการปล่อยไอเสียของรถยนต์ใหม่

ขณะ ที่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป เอง มีแนวโน้มในการบังคับใช้มาตรฐานไอเสียระดับสูง Euro 7 ซึ่งมีการวิเคราะห์กันว่า จะเป็นจุดสำคัญ ที่ทำให้เครื่องยนต์สันดาปธรรมดา ทั่วไป จะต้องจอดสนิทแน่ หลังจากตลอด 6 ระดับที่ผ่านมา เครื่องยนต์ แค่เพียงถูกวัดให้ลดการปล่อยไอเสียลงจากเดิม ในระหว่างการทดสอบ ในแลป

แต่ด้วยระยะหลัง มีประเด้น เรื่องการโกง มาตรฐานไอเสียเกิดขึ้น ในหลายบริษัทรถยนต์ชั้นนำ ทำให้ผู้คุมกฏ จะเล่นบทโหด โดยเฉพาะการปล่อย มาตรฐานการทดสอบใหม่ ที่เรียกว่า WLTC ทำให้ ค่าไอเสียทั้งในแลป และการขับบขี่จริง จะถูกนำมาคำนวน เพื่อสรุป การปล่อยไอเสียรถคันนั้นๆ

ประการสำคัญต่อมา, เครื่องยนต์ที่ถูกลดขนาด แล้วเติมเทอร์โบชาร์จ เข้ามา แม้จะลดในแง่ของขนาดกระบอกสูบ ให้ไอเสียน้อยลงได้ หากข้อเท็จจริงก็ชัดเจน ว่า เมื่อผู้ขับขี่ มีการเร่งเครื่อง ใช้ความเร็วในหลายจังหวะ เช่นการเร่งแซง , หรือ การออกตัว เครื่องยนต์ก็ยังจะต้องปล่อยไอเสียมากอยู่ดี

ประกอบกับ ธรรมชาติของเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ ที่จะต้องฉีดน้ำมันให้หนา ในระหว่างการเพิ่มกำลังขับจากเทอร์โบชาร์จ หรือ บูสต์ ทำให้ในระหว่างจุดดังกล่าวจะมีการกินน้ำมัน และปล่อยไอเสียมากเป็นพิเศษ

หากนำ มาเทียบกับ เครื่องยนต์ไฮบริด ที่มีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ช่วยในการขับเคลื่อน ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าจะกินไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ ซึ่งสามารถชาร์จากการเบรก หรือ ชะลอความเร็ว เป็นลักษณะของพลังงานหมุนเวียน ดีกว่าเครื่องยนต์เทอร์โบ

ขณะที่การเสริมกำลังจากมอเตอร์เอง ก็ให้แรงบิดที่ดี กว่าการทำเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ แม้เพียงการขับด้วยมอเตอร์เล็กๆ ก็เพียงพอ ต่อการทำกำลังเพียงพอต่อการใช้งาน

จุดหลักสำคัญ คือ การตอบสนอง ด้วยแรงบิดเฉียบพลัน หรือ Instant Torque สามารถกดใช้ได้ทุกเมื่อ และไม่มีการรอรอบ แบบเครื่องยนต์เทอร์โบ

แถมด้วยการออกแบบเครื่องยนต์ไฮบริดส่วนใหญ่ จะไม่เน้นการใช้ชุดเกียร์หลายอัตราทด บางยี่ห้อใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนตรงด้วยซ้ำ ขณะที่เครื่องยนต์ทำหน้าที่อื่นๆ เช่นในกรณี ของระบบ Nissan e-Power ช่วยให้รถมีการตอบสนองดี กว่า รถสันดาปติดเทอร์โบสายประหยัด ที่เราหลายคนคุ้นเคย

ท้ายสุด เกม เครื่องยนต์สันดาปบล็อกเล็ก จบลง จากข้อเท็จจริง เรื่องความทนทานของชิ้นส่วน เกี่ยวเนื่อง อย่างเทอร์โบชาร์จ ที่มีแนวโน้มจะเสื่อมสภาพ จากอายุการใช้งาน เร็วกว่า ชุดขับมอเตอร์ไฟฟ้า เนื่องจาก ต้องรับความร้อนจากเครื่องยนต์ ตลอดเวลา ยิ่ง ลูกค้ามือใหม่บางคน ขับแบบตะบี้ตะบัน เครื่องยนต์มากๆ โอกาส พัง ก็สูงขึ้น

ระบบไฮบริด ติดเพียงความกังวล ของลูกค้า ต่อตัวแบตเตอร์รี่ ที่เป็นที่ทราบกันดีว่า ชุดแบตเตอร์รี่ จะเสื่อมสภาพตามอายุใช้งาน ทว่าปัจจุบัน บริษัทรถยนต์ส่วนใหญ่ พยายาม ตัดปัญหาในเรื่องนี้ด้วย การรับประกันคุณภาพแบตเตอร์รี่ ในระยะยาว บางยี่ห้อให้ยาวถึง 8 ปี หรือ สิ้นอายุการใช้งานรถยนต์ ในแต่ละเจน ทำให้ลูกค้าเบาใจมากขึ้น

จนปัจจุบัน คนเริ่มคุ้นเคยกับระบบไฮบริด และไม่ได้มองว่า เป็นเรื่องยุ่งยากน่าปวดหัว กังวล กับแบตเตอร์รี่อีกต่อไป จนหลายคนพร้อมหันมาใช้รถไฮบริดมากขึ้น

ทำให้ เทรนด์ เครื่องยนต์สันดาป ลดขนาด แล้วเติมระบบเทอร์โบชาร์จ กลายเป็นเทคโนโลยี ที่กำลังจะตกยุคในอีกไม่นานในอนาคต

ภาพสะท้อนหนึ่ง คือในกรณี รถยนต์ฮอนด้า จะเห็นว่าทางบริษัท ยกเทคโนโลยีไฮบริด ทั้งหมด สูงกว่าเครื่องยนต์สันดาป เทอร์โบชาร์จ จนทาง รถยนต์อย่าง Honda Civic มีการปรับรุ่นท๊อป ไปใช้เครื่องยนต์ไฮบริด อย่างรวดเร็ว ,​เรื่องทำนองเดียวกัน เกิดในรถยนต์หรู อย่าง เมอร์เซเดส ที่มีรุ่น ไฮบริดเสียบปลั้ก วางเป็นไฮเอนด์ ในรถแต่ละรุ่น

ท่าทีของค่ายรถยนต์หลายเจ้า ต่างวางไปในทางเดียวกัน คือ พยายามนำเสนอ ระบบขับเคลื่อนไฮบริดมากขึ้น และ ลดรุ่น รถยนต์สันดาปลง แต่ก็มีบางเจ้า อย่างเช่น ซูบารุ ที่วาง รถยนต์ที่มาพร้อมเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ อยู่ในระดับที่สูงกว่า ระบบ Mild Hybrid ที่เคยทำออกมานำเสนอลูกค้า

หาก ถ้าเทียบกับ Full Hybrid เครื่องยนต์บล็อกเล็กเทอร์โบ ก็ยากที่จะสู้ ในทุกด้าน ไม่ว่า จะทั้ง สมรรถนะ ,​ความประหยัด ไปจนถึงการบำรุงรักษา ในระยะยาว

จนในวันหน้า หลายคนอาจจะถวิลหา รถยนต์เครื่องเทอร์โบเหล่านี้ ที่สามารถปลุกปล้ำ แรงม้า ออกมา ได้มากกว่าที่คุณคิด

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่