กำลังเป็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัด จนสื่อชั้นนำบางสื่อนำออกมาเป็นประเด็นข่าวที่น่าสนใจ หลังในโลกออนไลน์บนกระดานสนทนาเว็บไซต์  Pantip.com   พูดถึงกรณีรถยนต์อเนกประสงค์ชั้นนำมีไฟหน้าส่องสว่างจนสูงเท่ากระจกมองหลัง ก่อให้เกิดการสะท้อนเข้าห้องโดยสารจนส่งให้ผู้ขับขี่ร่วมทางคันหน้าแสบตาจนสามารถนำไปสู่อุบัติเหตุ

ไฟหน้าที่สูงเกินไปก่อให้เกิดกระแสต่อต้านทั้งให้บริษัทรถยนต์ผู้ผลิตรถรุ่นต่างๆ ออกมาปรับแก้ไข รับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ไปจนถึงบางมุมของกระทู้เดียวกันจุดประกายยุพลังมวลชนให้ทำลายไฟหน้ารถยนต์อเนกประสงค์ต่างๆ รุ่นที่เป็นปัญหา ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดเรื่องบานปลายไม่รู้จบจากปัญหาเล็กๆ

 

เพราะรถสูงไฟหน้าจึงสูง

ในบรรดารายชื่อที่ถูกรวบรวมไว้ในกระทู้ดังกล่าว รถยนต์อเนกประสงค์   Toyota Fortuner, Ford Everest,  Mitsubishi  Pajero Sport , Isuzu  Mu X   ไปยันรถยุโรปอย่าง  BMW X3  และ   Mercedes Benz  250 ML ก็มีติดโผเข้ามาเป็นที่พูดถึงเรื่องไฟหน้าสูง

เป็นการชี้ชัดว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับรถยนต์อเนกประสงค์รุ่นใหม่เสียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ 4 ใน 6 รายชื่อ จะเห็นว่าเป็นรถยนต์อเนกประสงค์จากกระบะ ซึ่งมีความสูงมากกว่ารถอเนกประสงคืที่มาจากเก็ง เนื่องจากความต้องการตอบสนองการใช้งานอันสมบุกสมบัน ขึ้นเขาลงห้วยได้สบาย จนระดับความสูงของไฟหน้ารถ แทบจะอยู่กึ่งกลางของรถยนต์เก๋งขนาดเล็ก และถ้ารถคันนี้ถูกเจ้าของแต่งซิ่งโหลดเตี้ย ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะทำให้ไฟหน้าส่องเข้าห้องโดยสารได้ง่าย

อีกประการรถยนต์อเนกประสงค์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะใช้ไฟซีนอน  หรือ  HID   เป็นมาตรฐานจากโรงงาน แม้ว่าจะมีการติดตั้งโคมโปรเจคเตอร์มาให้แล้ว แต่ว่าการส่องกระจายแสงไปข้างหน้าที่กว้างกว่า  ทำให้เมื่อรถจอดติดท้ายรถคันหน้า แสงที่กว้างจะกระทบเข้ากระจกมองข้างรถ หากไม่จอดใกล้ สร้างความรำคาญให้เพื่อนร่วมถนน

และยิ่งหากเขยิบรถนี้ ลำแสงที่กระจายกว้างขึ้นของไฟ   HID   ก็จะยิ่งสะท้อนแสบตาหนักขึ้นไปอีก  แทนที่จะกลายเป็นดีกลับยิ่งสร้างความหงุดหงิดให้เพื่อนร่วมทาง

 

งัดกฎหมายมาคุย ตกลงอย่างไร

เมื่อพฤติกรรมบนถนนส่องเค้าผิดกฎหมาย ก็เลยมีการหยิบยกประเด็นเรื่องกฎหมายไฟหน้าขึ้นมาพูดคุยกัน ว่า ตกลงรถเหล่านนี้มีความสุงไฟหน้าเกิดตามที่กฎหมายกำหนด หรืออาจจะเป็นสาเหตุอื่น ที่ทำให้ไฟหน้าแยงตาชาวบ้านเขาไปทั่ว

ตามกฎหมายการจราจรทางบก พ.ศ 2522 ระบุในมตราที่ 11 ชัดว่า ในเวลามีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน  รถ  หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร   ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท  ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง 

เมื่อมาดูในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพรบ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดลักษณะเพิ่มเติมของไฟหน้ารถยนต์ และยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ตามกฎหมายไทย โคมไฟหน้ารถ แบ่งอออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ โคมไฟพุ่งไกล ,โคมไฟพุ่งต่ำ และ โคมไฟเล็ก

โดยโคมไฟพุ่งต่ำ กำหนดให้ มีความสูงจากพื้นถึงกึ่งกลาง อย่างน้อย  0.60 เมตร และสูงไม่เกินกว่า 1.35 เมตร การส่องสว่างใช้สีขาว หรือสีส้ม มีกำลังไฟไม่เกิน 50 วัตต์ ส่องระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร และต้องมีศูนย์รวมแสงห่างออกไป 020 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร

ส่วนโคมไฟพุ่งไกล กำหนดความสุงและการส่องสว่างแบบเดียวกับโคมไฟต่ำทุกประการ แต่กำหนดให้ส่องสว่างไม่น่อบกว่า 100 เมตร และไม่กำหนดให้มีศูนย์รวมแสงของชุดไฟ

และท้ายสุด โคมไฟเล็ก ไม่กำหนดความสูงของไฟ แต่ระบุตำแหน่งจากก้านข้างรถล้ำเข้ามาได้ไม่เกิน  0.40 เมตร  ใช้ไฟแสงขาวหรือแสงเหลืองมีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 10 วัตต์ และต้องมีแสงสว่างสามารถมองเห็นได้จากระยะไม่น้อยกว่า 150  เมตร ซึ่งปัจจุบันโคมไฟประเภทนี้ คือ “โคมไฟตัดหมอก”ในรถยนต์ที่พวกเราใช้

ข้อกำหนดทางกฎหมายที่ค่อนข้างชัดเจน ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องปฎิบัติตาม และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากอาจจะขัดต่อกฎหมาย  ทำให้รถยนต์อเนกประสงค์ถึงจะมีความสูง ก็ต้องมีการติดตั้งไฟหน้าในระดับสูงสุดไม่เกิน 1.35 เมตร  ซึ่งเป็นระดับตามกฎหมายกำหนด หากวัดโดยใช้สายตาการส่องสว่างจะอยู่ยังจุดกึ่งกลางรถยนต์นั่งขนาดเล็กพอดี (ไม่นับรถที่มีการปรับแต่งเพิ่มเติม เช่นแต่งซิ่งโหลดเตี้ย)

จึงคลายข้อกังวลในเรื่องการที่ผู้ผลิตไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่  ออกไป

 

“ไฟซีนอน” อีกครั้งของจำเลยสังคม

ถ้าตำแหน่งไฟหน้าไม่ใช่ปัญหา แล้วอะไรคือปัญหาของไฟหน้ารถอเนกประสงค์ที่ส่องสว่างอย่างกับมนุษย์ต่างดาวเตรียมจะมาจับตัวคุณ

ประเด้นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในวงการพูดคุยเรื่องไฟหน้ารถอเนกประสงค์สว่างจ้าเกินไป คือชุดไฟซีนอน ซึ่งเป็นจำเลยเดิมของสังคมมานานว่า เป็นไฟหน้าที่มีการส่องสว่างมากเกินไป แม้กำลังไฟจะไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด

แต่หากมองคุณสมบัติลักษณะการส่องสว่างที่ใช้การเกิดการสปอรืคไฟในหลอกด จนมีความร้อนละลายสสารที่อยู่ในหลอด เกิดเปล่งสีเปล่งแสง ไฟหน้าแบบซีนอนถือว่ามีความสว่างมากกว่าหลอดไฟธรรมดา ถึง 100-300 เท่า เลยทีเดียว

 

การนำมาใช้งานต้องใส่ไว้ในโคมไฟบังคับทิศทางหรือที่เรียกว่า  “โคมโปรเจคเตอร์” ซึ่งรถรุ่นใหม่ที่หันมาใช้ไฟแบบ   HID   ก็ทำโคมไฟแบบนี้มาให้เรียบร้อยแล้ว หากด้วยการกระจายแสงกว้างมากกว่าไฟฮาโลเจน ทำให้ชุดไฟหน้า   HID   สามารถ กระจายแสงออกทางด้านข้างได้ด้วย และด้วยมิติตัวรถของอเนกประสงค์วันนี้มีความกว้างมากขึ้น  ว่ารถเก๋งขนาดเล็ก ทำให้ไฟหน้าอยู่ในตำแหน่งส่องสะท้อนไปยังกระจกมองข้างพอดี จนอาจจะสะท้อนรบกวนเพื่อนร่วมทางได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

ออพชั่นดีๆ แก้ปัญหาได้ ก็มีแต่ไม่ใช่

แม้ว่าความสูง ความกว้างของรถ และไฟหน้าซีนอนจะเป้นหลักฐานมากพอที่ทำให้ไฟหน้ารถอเนกประสงค์ตกเป็นจำเลยสังคมว่า มีไฟหน้าส่องสว่างมากเกินไปจนเกิดกระแสวิพากษ์วิขารณ์หนาหูไม่เว้นแต่ละวันบนกระดานสนทนาของเว้บไซต์ชื่อดัง

แต่หนทางออกแก้ไขยังพอมีอยู่บ้าง ปัจจุบันรถยนต์จะติดอออพชั่นบางอย่างมาให้ แต่ผู้ใช้อาจจะไม่เคยใส่ใจ เพียงคิดว่ารถขับได้ไฟสว่างส่องแล้วชัดเจนก้น่าจะพอแล้ว ทั้งที่ความจริงแล้วมีรายละเอียดยิบย่อยที่จำเป็นต้องศึกษา และมันอยู่ในคู่มือประจำรถ แต่ก็ถูกวางใส่เก๊ะหน้ารถไว้ไม่เคยเปิดอ่านสักครั้ง

ออพชั่นหนึ่งที่พอจะผ่อนสถานการณ์นี้ได้ คือ กระจกมองหลังตัดแสง ซึ่งเป็นมาตรฐานในรถยนต์ยุคใหม่ มีมาตั้งแต่รถอีโค่คาร์ แต่อาจจะต้องปรับด้วยตนเอง ในยามค่ำคืน เมื่อ กดปุ้มใต้กระจกแล้ว กระจกจะทำการปรับองศาลง ลดเงาสะท้อนของไฟหน้าจากรถข้างหลังที่ส่องผ่านกระจกตอนหลัง ช่วยให้แสงเข้าสู่ห้องโดยสารน้อยลง

แต่ก็มีหลายคนอ้างว่าแม้จะปรับกระจกก็ไม่ช่วยอะไร หรือถึงปรับกระจกมองหลังแล้ว กระจกมองข้างก็ยังสะท้อนอยู่ดี และอาจจะไม่ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างถาวร

อีกออพชั่นหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ คือ ระบบปรับระดับไฟหน้า ซึ่งปัจจุบันมีมาให้เป็นมาตรฐานในรถยนต์อเนกประสงค์ รถบางรุ่นระบุว่าติดตั้งระบบปรับประดับไฟหน้าอัตโนมัติมาให้ เช่นใน   Ford  Everest   และ   Toyota Fortuner  (ตั้งแต่รุ่น 2.4 G ขึ้นไป) แต่ระบบนี้จะตรวจสอบการเชิดหน้าของรถ ในกรณีที่มีผู้โดยสารหรือสัมภาระในรถจำนวนมาก รถจะปรับระดับไฟหน้าให้กดต่ำลงเพื่อไม่รบกวนสายตาคนอื่น หากระบบตรวจไม่พบน้ำหนักกดทับ ไฟหน้าจะอยู่ในระดับเดิมและไม่สามารถปรับลงได้โดยผู้ขับขี่

ในรถยนต์อเนกประสงค์บางรุ่นสามารถปรับระดับไฟหน้าสูง-ต่ำด้วยตัวเอง แต่ผู้ใช้หลายคนก็ไม่เคยปรับเมื่อขับในเมือง  หรือบ้างอาจไม่สนใจไม่รู้ว่าออพชั่น ดังกล่าวใช้งานอย่างไง ทั้งที่ตั้งอยู่ตรงหน้า ส่งผลให้เกิดปัญหาในการใช้งานและรบกวนสายตาผู้อื่นทั้งที่ปรับได้

Headlight-know (5)

กรณีไฟหน้ารถอเนกประสงค์รบกวนสายตาผู้ใช้ถนน คงจะยังมีต่อไป แต่มันไม่ได้ขัดต่อกฎหมายอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพียงแต่อาจจะเกิดจากทางผู้ใช้งานไม่เข้าใจการใช้งานรถของตัวเอง รวมถึงบริษัทผู้ผลิตหวังดี อัพออพชั่นล้ำสมัยมาให้ จนทำให้ควบคุมไฟหน้าไม่ได้ จนผู้ใช้บางคนต้องยอมตั้งไฟหน้าเองเพื่อลดแรงกดดันทางสังคม

เรื่องแบบนี้จะยังคงถูกพูดถึงต่อไป และในตอนนี้วงสังคมออนไลน์ มีการพยายามในการจัดการในรูปแบบศาลเตี้ย และเรียกร้องให้ผู้ผลิตเข้ามาร่วมด้วยช่วยแก้ปัญหาในสังคมถนน ซึ่งวันนี้ยังไม่มีบริษัทไหนตอบรับออกมาแก้ไข จนปัญหานี้อาจจะบานปลายเป็นเรื่องใหญ่ก็ได้

ที่มาภาพ   Pantip.com

 

ชอบกดไลค์ใช่กดแชร์ ขอบคุณทุกกำลังใจสำหรับพวกเรา   ridebuster.com 



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่