Home » วิจัย เจ.ดี. พาวเวอร์ ชี้ สไตล์และการออกแบบภายในตัวรถ เป็นหัวใจสำคัญรถใหม่
บทความ สกู๊ปเด็ด

วิจัย เจ.ดี. พาวเวอร์ ชี้ สไตล์และการออกแบบภายในตัวรถ เป็นหัวใจสำคัญรถใหม่

ผลการศึกษาวิจัยสมรรถนะ, ระบบปฏิบัติการ และการออกแบบรูปลักษณ์ของรถยนต์ในประเทศไทย ประจำปี 2560 โดยเจ.ดี.พาวเวอร์ (J.D. Power 2017 Thailand Automotive Performance, Execution and Layout (APEAL) Study,SM) เปิดเผยในวันนี้ว่า ภายในตัวรถถือเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญสูงสุดที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความน่าดึงดูดใจของรถยนต์

ความสำคัญของการออกแบบภายในตัวรถและความสะดวกสบายต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของเจ้าของรถยนต์ใหม่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2559 ในทุกกลุ่มประเภทรถยนต์ องค์ประกอบภายในตัวรถ  — เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้รถยนต์มีความน่าดึงดูดใจ — เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดจากทั้งหมด  10 องค์ประกอบในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ การประเมินองค์ประกอบภายในตัวรถเป็นการประเมินรายละเอียดการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผงหน้าปัด, คอนโซล และแสงไฟภายในห้องโดยสาร; รวมถึงการประเมินด้านความสะดวกสบายต่างๆ เช่น ความเงียบภายในห้องโดยสาร, กลิ่นภายในห้องโดยสาร; และส่วนประกอบต่างๆ ภายในห้องโดยสารที่ให้สัมผัสที่นุ่มนวล เช่น ที่พักแขน และแผงข้างประตู 

ศิรส สาตราภัย ผู้จัดการ เจ.ดี. พาวเวอร์ กล่าวเปิดเผยว่า  “ผู้ซื้อรถยนต์ใหม่ต้องใช้เวลาอยู่ในรถของตนนานขึ้น เนื่องด้วยเวลาที่ใช้ในการเดินทางที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อการออกแบบภายในตัวรถ โดยเฉพาะด้านความสะดวกสบายจึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

 “ตัวอย่างเช่น ความเงียบภายในห้องโดยสารถือเป็นคุณลักษณะที่เจ้าของรถยนต์ให้ความสำคัญสูงสุด เนื่องจากเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของรถยนต์ที่เจ้าของรถยนต์ให้คะแนนความพึงพอใจต่ำสุดในทุกกลุ่มประเภทรถยนต์หรืออีกนัยหนึ่งก็คือลูกค้ามีความคาดหวังต่อคุณลักษณะดังกล่าวในระดับสูง นอกจากนี้ เจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลยังรายงานถึงความไม่สะดวกสบายของที่พักแขนในขณะขับขี่ ค่ายรถยนต์ที่สามารถตอบสนองข้อเรียกร้องเหล่านี้ของลูกค้าได้ ย่อมมีโอกาสเห็นความพึงพอใจที่เพิ่มสูงขึ้น”

คะแนนเฉลี่ยโดยรวมของ APEAL อยู่ที่ 908 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 1,000 คะแนน) ในปี 2560 เพิ่มขึ้นจาก 901 คะแนน ในปี 2559 โดยคะแนนเพิ่มขึ้นในทุกประเภทรถยนต์ ยกเว้นรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบปีต่อปี ความพึงพอใจยังเพิ่มสูงขึ้นในทุกองค์ประกอบของรถยนต์ โดยเฉพาะที่นั่ง (+11 คะแนน) และสมรรถนะในการขับขี่ (+10 คะแนน)

จากการศึกษายังพบอีกว่าลูกค้าที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพรถยนต์น้อยกว่าที่คาดไว้จะรู้สึกว่ารถยนต์มีความน่าดึงดูดใจ (919 คะแนน) มากที่สุด และมากกว่าผู้ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพรถยนต์เท่ากับหรือมากกว่าที่คาดไว้ (897 และ 885 คะแนน ตามลำดับ)

 

โดยนอกจากนี้ ในระหว่างการสำรวจยังพบว่า

รูปแบบภายนอกยังคงเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อของผู้ขับขี่: เกือบ 1 ใน 4 ของลูกค้า (24%) กล่าวว่า รูปแบบภายนอกเป็นเหตุผลหลักในการเลือกซื้อรถยนต์คันใหม่ ตามมาด้วยสมรรถนะของรถยนต์ (19%), ประสบการณ์ก่อนหน้าที่มีกับรถยนต์ยี่ห้อนี้ (10%) และความมีประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง (10%)

เครื่องเสียง, ความบันเทิง และระบบนำทาง ยังต้องปรับปรุง: คุณลักษณะต่างๆ ของเครื่องเสียงและระบบนำทางอยู่ในกลุ่มที่ได้คะแนนความพึงพอใจต่ำสุด โดยเฉพาะเรื่องความสามารถของระบบนำทางในการให้ข้อมูลของเส้นทางที่ต้องการ และความง่ายในการใช้งาน รวมถึงคุณภาพของเสียงเบสและความชัดเจนของเสียงเวลาที่ปรับเป็นเสียงดัง

ความสนุกในการขับขี่ช่วยเพิ่มความพึงพอใจ: กลุ่มลูกค้าที่มีความพึงพอใจอย่างมาก (โดยให้คะแนนความพึงพอใจ 10 คะแนนเต็มจากระดับคะแนน 110 คะแนน) ต่อความน่าดึงดูดใจของรถยนต์โดยรวม 51% ของลูกค้ากลุ่มนี้กล่าวว่า รู้สึกสนุกกับการขับขี่รถยนต์ใหม่คันนี้ เทียบกับลูกค้าที่พอใจ (ให้คะแนน 8 ถึง 9 คะแนน) กลุ่มนี้มีเพียง 24% เท่านั้น ที่กล่าวว่ารู้สึกสนุกกับการขับขี่รถยนต์ใหม่คันนี้ นอกจากนี้ มีเพียง 11% ของลูกค้าที่ผิดหวังหรือเฉยๆ (ให้คะแนน 17 คะแนน) ที่บอกว่ารถขับสนุก

อย่างไรก็ดี จากการวิจัย พบว่า   Toyota  เป็นบริษัทรถยนต์ที่ครองคะแนน  Apeal สูงสุด  4 รุ่น ได้แก่  วีออส (900 คะแนน) คว้ารางวัลในกลุ่มประเภทรถยนต์ขนาดกลางระดับต้น; ฟอร์จูนเนอร์ (927) ในกลุ่มประเภทรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดใหญ่; ไฮลักซ์ รีโว่ พรีรันเนอร์ สมาร์ท แค๊ป (914) ในกลุ่มประเภทรถกระบะตอนขยาย; และไฮลักซ์ รีโว่ พรีรันเนอร์ ดี-แค๊ป (923) ในกลุ่มประเภทรถกระบะ 4 ประตู

ซูซูกิ คว้ารางวัลในกลุ่มประเภทรถยนต์ขนาดเล็ก ได้แก่ เซียส (897) ฮอนด้าคว้ารางวัลในกลุ่มประเภทรถยนต์ขนาดกลาง ได้แก่ ซีวิค (926) มาสด้าคว้ารางวัลในกลุ่มประเภทรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก ได้แก่ ซีเอ็กซ์3 (915)

ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยสมรรถนะ, ระบบปฏิบัติการ และการออกแบบรูปลักษณ์ของรถยนต์ (APEAL) ในประเทศไทย ประจำปี 2560 ได้จากการประเมินคำตอบของเจ้าของรถใหม่จำนวน 4,866 รายที่ซื้อรถในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนกรกฎาคม 2560 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล, รถกระบะ และรถยนต์อเนกประสงค์จำนวนทั้ง 76 รุ่น จากทั้งหมด 12 ยี่ห้อ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน 2560 โดยใช้ คำตอบของเจ้าของรถยนต์ในประเทศไทยเป็นมาตรวัดถึงสิ่งที่ทำให้เจ้าของรถมีความ

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.