ย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว รถยนต์นั่งขนาดเล็ก กลายเป็นสิ่งหอมหวานใหม่ของวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ หลังภาครัฐ​ดัน รถเล็ก เป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ สู้การแข่งขันยานยนต์โลก ที่กำลังคึกคัก

โครกงารรถยนต์ อีโค่คาร์ เริ่มตั้งไข่ มาตั้งแต่ราวๆ ปี 2008 และ เริ่มโครงการอย่างเป็นทางการในปี 2010 หลังจาก นิสสัน เข้าทำตลาดในโครงการนี้ แนะนำ รถยนต์นั่ง Nissan March ขายในไทย เป็นที่แรกในโลก และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมายาวนาน

MARCH

อีโค่คาร์ คนไม่น้อย เข้าใจผิดว่า หมายถึง รถยนต์ราคาถูก ด้วยเป้าหมาย การสร้างรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ที่ปลอดภัย และ ทุกคนเป็นเจ้าของได้ แต่ที่จริงความตั้งใจของภาครัฐบาลในเวลานั้น คือ ต้องการสร้างยานยนต์ที่ลดการปล่อยไอเสีย เพื่อมาทดแทน หรือ เป็นทางเลือก ต่อรถกลุ่มดั้งเดิม “ซิตี้คาร์”

รถที่คนไทยคุ้นเคยกับ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ขนาดเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ที่ทำตลาดมาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 90 และ ได้รับ ความนิยม ในปี 2000 เป็นต้นมา

ส่วนสำคัญ ของรถยนต์อีโค่คาร์ คือ การวางสูตรผสม ระหว่าง ความปลอดภัย และ ความประหยัด แถมท้าย มาด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อม

จุดเด่น อยู่ที่การพยายาม ทำให้รถนั่งขนาดเล็กธรรมดา สามารถมอบอัตราประหยัดได้ อย่างน้อย 20 ก.ม./ลิตร และ ปล่อยไอเสียไม่เกิน 120 กรัม ต่อ กิโลเมตร ในโครงการระยะแรก ตลอดจน ตัวรถยังต้องมีความปลอดภัย ตามมาตรฐานที่กำหนด ด้วย

ในระยะแรก ทางผู้ผลิตหลายราย ยังใส่จุดขาย ด้วยการวางราคารถ ไม่เกิน 4 แสนบาท ดึงดูดใจ คนอยากมีรถ ในรุ่นเริ่มต้นทั้งหลาย จน ทำให้ คนไทยจำนวนมากว้าว กับราคาตั้งต้น รถในเมืองไทย ไม่เคยถูกขนาดนี้มาก่อน จนไม่ว่าใครก็สามารถหาซื้อได้

ดาวรุ่ง หลังน้ำท่วม

โครงการอีโค่คาร์ มาเป็นดาวรุ่ง ในช่วงหลังน้ำท่วม เนื่องจาก ทางภาครัฐ ออกนโยบาย กระตุ้นเศรษฐกิจครั้งสำคัญ​ด้วยโครงการ “รถคันแรก”

โครงการ “รถคันแรก” เป็นโครงการ ที่ออกมา เพื่อมอบสิทธิให้ประชาขน ที่ยังไม่เคยมีรถเป็นของตัวเอง สามารถรับส่วนลด จากการซื้อรถ ได้สูงสุดถึง 1 แสนบาท โดยวางไปยัง กลุ่มรถยนต์อีโค่คาร์,​ซิตี้คาร์และกระบะบางรุ่น บางแบบ

Honda -Brio-Amaze004

แต่ อีโค่คาร์ได้เปรียบกว่า เนื่องจากจะได้รับ สิทธิทางภาษีเต็มที่ และ มีราคาค่อนข้างถูก รวมถึง มีรุ่นรถให้เลือกมากมายหลากหลาย ตามความต้องการ

จนยอดการซื้อรถอีโค่คาร์สูงขึ้น ตามลำดับ และกลายเป็นรถกลุ่มใหม่ ที่คนไทย เลือกซื้อหา จากเดิม ที่เคยมองไปยัง รถซิตี้คาร์เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ซึ่งมีราคาสูงราวๆ 6 -7 แสนบาท ในขณะที่ อีโค่คาร์ มีราคาเริ่มต้นไม่ถึง 4 แสนบาท และ จบที่ 5 แสนบาทปลายๆ เท่านั้น ในรุ่นท๊อป

เน้นที่เครื่องยนต์ ..ไม่ใช่ขนาด จึงเริ่มมีปัญหา

ในช่วงก่อนอีโค่คาร์ จะเปิดตัวโครงการ ออกมา มีรายงานว่า ทางภาครัฐ มองโครงการนี้ ในรูปแบบ เดียวกับ Kei Car ของ ญี่ปุ่น โดยปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ การเป็นรถยนต์ราคาถูก ให้ประชาชน มีโอกาสจับจอง เป็นเจ้าของ

แต่สิ่งที่โครงการ อีโค่คาร์ ต่างจาก โครงการต้นแบบในญี่ปุ่น คือ ทางภาครัฐบ้านเรา ไม่ได้ จำกัดขนาดตัวรถ อย่างจริงจัง มีเพียงการจำกัดขนาดเครื่องยนต์ อัตราประหยัด และ การปล่อยไอเสีย

ไม่ได้จำกัดขนาด ตัวถังรถ ว่าต้องมี ความกว้าง ,​ความยาว , ความสูง เท่าไร อย่างที่ควรจะเป็น

ตอนแรก มีรายงานว่า โครงการนี้ จะมีความยาวตัวรถเพียง 3.6 เมตร เท่านั้น ซึ่งทำให้รถกลุ่มนี่จะเป็นกลุ่มที่เรียกว่า Subcompact – A แตกต่างจากรถซิตี้คาร์เดิมโดยสิ้นเชิง

แต่พอเอาเข้าจริง เสียงจากผู้ผลิต ทำให้ ภาครัฐ เปลี่ยนใจปล่อยจอย เรื่องขนาดตัวรถ ทำให้ รถที่ออกมาในโครงการนี้ มีความหลากหลายแตกต่างกัน ไป

แต่เราจะเห็นได้ว่า มีรถบางรุ่น ออกมาในขนาด 3.6 เมตร เช่น Honda Brio , Suzuki Celerio เป็นต้น

การไม่จำกัด เรื่องขนาดตัวรถ ทำให้ หลายค่ายเริ่มเดินเกม รถใหญ่ ตีตั๋วเด็กเข้ามาขาย โดย นำรถที่มีบอดี้ใหญ่ แต่ใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กมาวางขาย อุปสรรคเดียว ก็คือ ต้องทำให้รถ มีอัตราประหยัด 20 ก.ม./ลิตร และ ปล่อยไอเสีย ตามข้อกำหนด ภายใต้เงื่อนไขการทดสอบ เท่านั้นเอง

แต่ ตัวถังใหญ่ แม้จะมองแล้วดีกับผู้บริโภค ทางกลับกัน เรื่องสมรรถนะในการขับขี่ก็กลายเป็นหอกข้างแคร่ รถใหญ่เครื่องเล็ก มันก็จะอืดเป็นธรรมดา

ในแง่ผู้ผลิตเอง ก็ทำให้กลุ่มคลาสรถเกิดการตีกัน โดยระยะหลังอีโค่คาร์บางรุ่นมีขนาดโตขึ้น ยืนในระดับซิตี้คาร์ จนลูกค้าเกิดความสับสน ในการซื้อหา เนื่องจากบางคนไม่ได้คิดถึงเรื่องเครื่องยนต์มากมายนัก

ระยะ 2 บ่ายหน้า สู่ซิตี้คาร์

หลังจากดำเนินโครงการ ช่วงแรกผ่านพ้นไป ก็มีโครงการระยะทาง 2 ออกมาอีกครั้ง โดยในระยะที่ 2 ก็ยังมีหลาายค่ายให้ความสนใจในการทำรถยนต์นั่งขนาดเล็กต่อ

แม้ว่า จะมีความเข้มข้น เรื่องของการปล่อยไอเสีย และมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ก็ตาม

แต่การกลับมาหนนี้ของโครงการอีโค่คาร์ ผู้ผลิตหลายเจ้า ทำการบ้านมาเต็มที่ โดยตัดสินใจปรับจาก รถยนต์นั่งขนาดเล็กดั้งเดิม ไปสู่ กลุ่มรถซิตี้คาร์ดังเดิม

Mazda 2

เริ่มจาก มาสด้า ที่ออก มาสด้า 2 โดยอาศัย สิทธิ ตามโครงการอีโค่คาร์ ระยะที่ 2 ก่อนใครเพื่อน เริ่มส่งสัญญาณ ทางค่ายญี่ปุ่นเดินเกมมาแนวนี้

จากนั้น ก็เป็นคิว ของ Nissan Almera, Honda City ที่ออกมาในระยะหลัง ด้วยเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร เทอร์โบ ที่มีประสิทธิภาพการขับขี่กว่ายุคก่อนมาก

ทว่า ด้วยการยัดเทคโนโลยี และขนาดตัวถังรถที่มีความใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ทำให้ราคาจำหน่ายปรับมาอยู่ที่ 5 แสนกว่าบาทกลางๆ เทียบเท่ากับ รถซิตี้คาร์ เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ในอดีต ที่เคยเป็นมา

จนอีโค่คาร์ ไม่ได้ราคาถูก ให้ทุกคนจับต้องได้ง่าย อีกต่อไป

หมดเวลา อีโค่คาร์ ถึงเวลาอีโค่ไฮบริด

ภาพของอีโค่คาร์ที่เปลี่ยนไป ทำให้ในวันนี้ ภาพของรถเล็กน่ารัก ราคาไม่แพงแสนประหยัด ใครก็จับต้องได้ ไม่เป็นที่นิยม อีกต่อไป

อันที่จริง ทุกอย่างเปลี่ยนไป จากการปรับโครงสร้างภาษีให้เปลี่ยนแปลง ด้วย ภาษีสรรพสามิตร จัดเก็บตามการปล่อยไอเสีย หรือ ภาษี CO 2

ทำให้ ความสำคัญของการอุดหนุนภาษีจากโครงการพิเศษ ส่งเสริมโดยภาครัฐเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนเดิม

ตลอดจนความต้องการ รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นและ ความต้องการที่จะลดการปล่อยไอเสียให้มากที่สุด ทำให้ปัจจุบัน เราเริ่มเห็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กไฮบริดออกวางจำหน่าย บ้าง

อันที่จริง ภาครัฐ เคยมีความต้อวการ สร้างโครงการระยที่ 3 ด้วยการมุ่งสู่การร้างฐานการผลิตสำคัญ รถยนต์ไฮบริด ในวันนี้ แม้ว่าจะไม่ได้มาในรูปแบบ โครงการพิเศษแบบในอดีต

แต่การสร้างฐานให้สอดรับกับความต้องการของตลาดโลก ทำให้รถเล็กไฮบริดเกิดขึ้นจริง ภายใต้สูตรใหม่ในตลาดประเทศไทย

กว่า 1 0ปี โครงการรถยนต์อีโค่คาร์ ท้ายที่สุด งานเลี้ยงก็ต้องมีวันเลิกลา เมื่อประเทศไทย ขับเคลื่อนสู่ ความต้องการของเราที่อยากจะเป็นฐานในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและ ไฮบริด … นั่นทำให้ รถอีโค่คาร์ในอดีต ต้องเริ่มอำลา และมันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เมื่อถึงเวลาของการเปลี่ยนถ่ายสู่ยุคใหม่

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่