Kia AD

Home » คุมความเร็วบนทางด่วน … 80 ก.ม./ช.ม. เหมาะสมหรือยัง
testdrive-Honda-Mobilio017

Kia AD

Suzuki AD

Blog Buster บทความ

คุมความเร็วบนทางด่วน … 80 ก.ม./ช.ม. เหมาะสมหรือยัง

อยู่ดีๆ ก็กลายเป็นกระเด็นให้กร่นด่า กันทั้งเมือง หลังเพจ สวพ. 91 ออกมาขี้แจง ประหนึ่งเสมือนว่า ทางด่วนฝากมาถึงคนใช้รถ จะจำกัดความเร็วบนทางด่วนเข้มงวดมากขึ้น ให้ขับไม่เกิน 80 ก.ม./ช.ม.ในเมือง และเมื่อเดินทางนอกเมืองให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 110 ก.ม./ช.ม.

การออกมาประกาศดังกล่าวเพียงไม่กี่ชั่วโมง ถ้อยคำแถลงอย่างสุภาพโดยไม่สนใจสภาพความเป็นจริงของการจราจรบนทางด่วน ตามมาด้วยถ้อยคำกร่นด่าจากภาคประชาชน สะท้อนถึงความไม่เหมาะสมต่อการออกกฎบังคับใช้ในครั้งรี้ ที่ผ่านมาทางด่วนเคยพยายามบังคับใช้กฎดังกล่าวมานับครั้งไม่ถ้วน เพื่อให้การจราจรเป็นระเบียบเรียบร้อยและปลอดภัยต่อการใช้ทาง  ซึ่งปัญหาความเร็วส่วนหนึ่งบนทางด่วนที่ต่ำมากเท่ากับถนนธรรมดา เนื่องจากไม่มีการออกข้อบังคับการใช้ความเร็วบนทางพิเศษเหมือนกับในเส้นทาง อย่าง มอเตอร์เวย์ หรือ ถนนกาญจนาภิเษก แต่ยึดตามพรบ. การจราจรทางบก เป็นสำคัญ

ภาพความจริงที่ทำให้คนกร่นด่าทางด่วนเกิดจากการแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุดในหลายด้าน โดยเฉพาะภาพที่คนกรุงเทพมหานครชินตา เมื่อขึ้นทางด่วนแล้วรถติด จะกลับตัวก็ไม่ได้ เพราะทางด่วนในเขตเมืองวันนี้ราคาค่าตัวขึ้นครั้งแรก อย่างน้อยก็ 50 บาท สำหรับการวิ่งทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 เรายังไม่นับส่วนต่อขยายบางจุด ที่มีค่าใช้จ่ายไม่เหมาะสมอย่างมาก

testdrive-Honda-Mobilio018

อาทิ ส่วนต่อขยายจุตจักรไปถนนกาญจนาที่มีค่าผ่านทางตลอดเส้นทาง 50 บาท หรือจะเป็นค่าผ่านทางช่วงรามอินทราอาจณรงค์ ที่มีค่าใช้จ่ายในการผ่านทางในระยะใกล้เคียงกัน

นอกจากนี้ ทุกเช้าและเย็นวันทำงานของทุกวัน การจราจรบนทางด่วนเป็นอัมพาต จนแทบสาธยายได้ว่า เสียเงินขึ้นมาจอดรถลอยฟ้าชมวิวทิวทัศนกรุงเทพฯ และไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทำให้ ทางด่วนในวันนี้ไม่เคยเป็นทางด่วน  ดั่งภาพในอดีตที่พอจะทำเวลาทำความเร็วได้บ้าง

ทำให้เมื่อทางด่วนออกมาประกาศแสดงท่าทีแข็งกร้าว ในการบังคับใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด ในเขตเมือง 80 ก.ม./ช.ม. และ 110 ก.ม./ช.ม. นอกเขตเมือง สร้างความไม่พอใจต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่ต่างคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า มาตรการดังกล่าวของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ไม่เหมาะสม และรังจะสร้างแต่ความรำคาญและเหนื่อยใจให้กับผู้ใช้ทาง

ในบางเส้นทางและบางจุดรถติด ทำให้ไม่สามารถใช้ความเร็วได้ 

เนื่องจากการเสียค่าผ่านทางขึ้นมาใช้บริการทางด่วน ก็ด้วยต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางมากกว่าการใช้ทาปกติทั่วไป การบังคับใช้ความเร็วเดียวกับบนถนนทั่วไปที่ 80 ก.ม./ช.ม. ถือว่าไม่ได้อำนวยความสะดวกในการขับขี่หรือลดระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง แม้ว่าทางด่วนจะเป็นเส้นทางที่ตัดขึ้นพิเศษ และมีจุดขึ้นลงที่สะดวกกว่าการผ่าการจราจรติดขัดในเมือง หากถ้าทำความเร็วไม่ได้ ก็แทบไม่ได้สะดวกต่างกันในการใช้งาน

ปัญหาที่เรื้อรังในการไม่แก้ไขปัญหา หรือแก้ปัญหาไม่ถูกจุดของทางด่วน ดูจะเป็นอีกประเด็นที่สร้างความไม่พอใจ เมื่อมีการประกาศใช้การเข้มงวดเรื่องความเร็ว อาทิ การส่งเจ้าหน้าที่มาบนทางเพื่อหวังจะอำนวยความสะดวกในการจราจรยามเช้ายามเย็น จนบางครั้งแทนที่การจราจรจะคล่องกลายเป็นติดขัดต่อเนื่อง จากการด้อยความสามารถของการดูเหมาะสมในการการจราจร เช่น การกั้นกรวยบีบเส้นทางโดยไม่จำเป็น , การกักกั้นชั่วคราว เพื่อให้รถทางที่เห็นสมควรวิ่ง  ตลอดจนในบางครั้งยามวิกาลหรือวันหยุด อาทิ ด่านประชาชื่นและด่านบางนา จะมีการตรวจสกัดและดักจับการกระทำผิดกฎหมายจราจร

บางครั้งทางด่วนก็รถติด เนื่องจากเจ้าหน้าที่กักรถโดยไม่จำเป็น

ตลอดจนในบางจุดชำระเงินใหญ่ๆ อาทิ ด่านประชาชื่น , ด่านพระราม 9 , ด่านบางนา และอีกหลายแห่ง การทำงานของเจ้าหน้าที่เก็บเงินก็เชื่องช้า จนทำให้รถติดยามเป็นกิโลเมตร เสียเวลาในการเดินทาง ถึงจะมี   Easypass   มาช่วยอำนวยความสะดวก ก็พบว่า ระบบยังมีความบกพร่องอยู่มาก เช่น ไม่มีการแจ้งเตือนเงินคงเหลือเมื่อไม่ใช่เป็นเวลานานๆ การเติมเงินขั้นต่ำที่ถือว่ายังสูงมาก ขั้นต่ำ 500 บาท และที่สำคัญไม่รับบัตรเครดิต ทำให้ทางด่วนนอกจากจะไม่ด่วนแล้ว ต้องยอมรับความจริงว่า ทางด่วนเมืองไทยเรายังไม่สะดวกในการใช้งานด้วย

ดังนั้นเมื่อย้อนกลับมาถึงความเร็ว 80 ก.ม/ช.ม.  บนทางด่วน หากจะบังคับใช้กันจริงๆ ก็นับว่าจะไม่เหมาะสม เนื่องจากบางเส้นทางบางจุดมีการจราจรติดขัด และน่าจะดีกว่าถ้าผู้ใช้ทางมีโอกาสทำความเร็วมากกว่าเส้นทางปกติ เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไปในการเดินทาง จากเหตุผลทางด้านการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ทั้งในการชดเชยเวลาที่เสียไปจากการต่อแถวรอคิวเก็บเงิน ไปจนถึง การกักรถอย่างไม่มีระเบียบแบบแผนของเจ้าหน้าที่การจราจร และยังมีความพยายามดักจับในทางเมื่อจ่ายเงิน  ไปจนถึงการจราจรติดขัดบนทางด่วน

ทั้งหมดสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ไม่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับทางด่วนในต่างประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ทางด่วนจะไม่มีการจราจรติดขัดในเสน้ทางเลย แม้แต่ทางด่วนในเส้นทางเมืองมหานครโตเกียวก็ตาม จะมีเพียงการจราจรชะลอตัว แต่ไม่ติดขัดหยุดนิ่งในบ้านเราที่ประสบกันบ่อยครั้ง

แนวทางการจำกัดความเร็วบนทางด่วน เป็นมาตรการความปลอดภัยที่ดีงาม แต่ทั้งหมดคนที่คิดมาตรการนี้ ควรจะศึกษาความเป็นจริงก่อนว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ที่คุณจะให้คนจำนวนมากขับที่ความเร็ว 80 ก.ม./ช.ม. ทั้งที่เขาเสียเงินซื้อความสะดวกมากกว่าการใช้ทางปกติ

เราว่า คุณควรดูว่าความเป็นจริง เป็นเช่นไร ลองให้ลูกน้อง หรือตัวคุณเองมาลองใช้ทางดูทุกวันเวลา แล้วจะรู้ว่าทำไม คนถึงขับบนทางด่วนด้วยความเร็ว

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.