ทันทีที่ X ของ อีลอน มัสก์ บอกว่า ทาง Tesla ใจดี ยกสถาปัตย์ระบบไฟฟ้า 48 โวล์ต ให้ค่ายรถยนต์รายอื่นใช้ สาวก- ติ่งเทลสล่า ต่างซูฮก อีลอน ว่า เป็นพ่อพระวงการยานยนต์ จนได้รับคำชื่นชมในชั่วข้ามคืน

แต่ความดีงามของเทสล่า ครั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่า เป็นความตั้งใจ ของ อีลอน ที่ต้องการให้ ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ โดยเฉพาะ รถยนต์ไฟฟ้ารุดหน้าไปอีกขั้น้ ก้าวไปอีกระดับ อันเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย แม้แต่เมสล่าเอง

ทว่า ด้วยความที่ติ่งชอบขิงชางบ้านชาวช่อง อยู่เป้นทุนเดิม เราก็เลย เห็นโพสทางโซเชี่ยลมากมาย สรรเสริญ อีลอน จนถึงเวลา ที่เราต้องขุด ประวัติศาสตร์มาให้ฟัง ว่ าการเอื้อประโยชน์ของผู้ผลิตรถยนต์แบบนี้ เทสล่า ไม่ใช่เจ้าแรก และ เจ้าเดียว

มาสด้าโรตารี่

จริงๆ แล้ว ใต้เบื้องลึกของฟรี อาจมีพันธสัญญา บางอย่าง นั่นคล้ายกับ ค่ายมาสด้า ที่ได้ สิทธิบัตร เครื่องยนต์โรตารี่มาครอบครอง ในอดีตก็ได้

ต้องบอกก่อนว่า มาสด้า ไม่ใช่คนคิดค้นเครื่องยนต์โรตารี่ อย่างที่หลายคนมักเข้าใจผิด

อันที่จริง มาสด้า ได้สิทธิบัตร อันชอบธรรม เครื่องยนต์โรตารี่ จากการชนะการร่วมแก้ปัญหาทางวิศวกรรม เครื่องยนต์โรตารี่ กับการลงข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาเครื่องยนต์สันดาป แบบไม่ใช้ลูกสูบ โดยเครื่องยนต์นี้มีต้นไอเดียมาจาก NSU ค่ายรถยนต์จากทางเยอรมัน

แต่ NSU มีปัญหาว่า เครื่องยนต์โรตารี่พังบ่อย เนื่องจากชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ที่เรียกว่า Apex Seal ทำให้เครื่องยนต์ไม่ทน

ด้วยความต้องการ อะไรที่เหนือกว่าที่คู่แข่งมี มาสด้า เลยต้องการ know how เครื่องยนต์ตัวนี้ จึงลงนามเข้าไปร่วมแก้ปัญหา กับทาง NSU และ มาสด้าก็ทำสำเร็จ หลังจากส่ง วิศวกร มากถึง 47 คนไป เยอรมัน และการปัญหาสำเร็จ

mazda-50-years-rotary-engine-37

ทำให้มาสด้า ได้สิทธิบัตรเครื่องยนต์ Wankel Rotary ตามข้อตกลง กับทาง NSU

ภายหลัง NSU เลิกผลิต เครื่องยนต์ตัวนี้ มาสด้า จึงเป็นค่ายรถยนต์รายเดียว ที่พัฒนา เครื่องโรตารี่อยู่ และยังใช้มาจนยุคนี้

Volvo เบลท์ 3 จุด

ช่วงเวล่ไล่เรี่ยกับมาสด้า วอลโว่ ได้สร้างประวัติศาสตร์ในการให้สิทธิบัตร ฟรีๆ กับ บริษัทรถยนต์ทั่วโลก สิ่งนั้นคือ เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ที่เราใช้กันในรถวันนี้ นั่นเอง

ในอดีต ผู้ผลิตรถยนต์จะให้เข็มขัดนิรภัย 2 จุดเท่านั้น ซึ่งจะรัดช่วง สะโพกเท่านั้น แท้ว่าจะช่วยตรึงผู้ขับขี่ และ ผู้โดยสารไว้กับเบาะได้

แต่ช่วงบนของร่างกาย ก็ยังอาจจะกระแทกกับพวงมาลัย และ ได้รับบาดเจ็บอยู่ดี

วอลโว่ ด้วยความที่แบรนด์ต้องการสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง เป็นทุนเดิมตามปรัชญาของแบรนด์ ในเวลานั้น วิศวกร ชื่อ นิล บอห์ลิน ได้ คิดค้น เข็มขัดนิรภัย 3 จุด สำเร็จ

แต่ วอลโว่ ก็ไม่คิดว่า เรื่องนี้ควรเป็นพวกเขาเพียงรายเดียว ที่ให้ความสำคัญทางด้านความปลอดภัย ท่านประธานวอลโว่ในเวลานั้น จึงตัดสินใจ ให้สิทธิบัตร แก่ผู้ผลิตทุกค่ายที่สนใจ แต่มีเงื่อนไขว่า ห้ามนำไปขายต่อหรือ เคลมว่าเป็นของตนเอง ซึ่งทุกค่ายก็ตกลงใจที่จะนำเข็มขัดนิรภัยแบบนี้มาใช้

Toyota เผยความลับ ไฮโดรเจน ไฮบริด และไฟฟ้า

ในปี 2015 ใครจะคิดว่ าโตโยต้า มีความตั้งใจมากในการผลักดัน โลกไปสู่รถยนต์ไฮโดรเจน ทางบริษัท ตัดสินใจ จะเปิดให้ผู้ที่สนใจพัฒนารถยนต์ทั้งหลาย สามารถเข้าถึงสิทธิบัตรของ Toyota กว่า 5,680 รายการ ของระบบ Fuel Cell ที่ทางโตโยต้าพัฒนามาตลอดหลายปี เพื่อให้โลก ได้เข้าใจ และ เตรียมตัวก้าวสู่ยุคต่อไป

การประกาศดังกล่าวมีขึ้นในงาน CES ในปี 2015 ที่ลาสเวกัส โดยการใช้สิทธิบัตร อยู่ภายใต้เงื่อนไข Royalty Free ซึ่งตามข้อมูล ที่มีการเผยในเวลาต่อมา สิทธิบัตรนั้นครอบคลุมทุกอย่างของระบบไฮโดรเจน ทั้ง ตัว Fuel Cell Stack , ตัว ถังเก็บ และ วิธีการบรรจุ รวมถึง สิทธิบัตร ที่โตโยต้า กำลังจะยื่นจดในเวลานั้นด้วย

และในปี 2019 ทางโตโยต้า ได้ปล่อย ข้อมูลชุดที่ 2 ของระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าของบริษัท ที่มีมากกว่า 24,000 รายการ ในการพัฒนารถยนต์ไฮบริดตลอด 20 ปีทีผ่านมา

สาเหตุที่ปล่อยออกมา ก็มาจากโครงการ ที่ทางโตโยต้า ตั้งใจว่า จะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น ภายใต้โครการ Toyota Environmental Challenge 2050 โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยไอเสีย และกระบวนการผลิตรถยนต์

จากทั้ง 3 เคส จะเห็นว่า เทสล่า ไม่ใช่เจ้าแรก และเจ้าเดียว ที่เคย ให้ สิทธิบัตร ข้อมูล ฟรีๆกับคู่แข่ง แต่ที่น่าสังเกต คือทุกครั้ง ที่มีการให้ สิทธิบัตรฟรีๆ จะมีเรื่องของการผลักดันมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรม จากทางผูให้ เพื่อ ผู้รับจะได้นำมาช่วยขบคิด และผลักดัน มาตรฐาน

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่