ทุกวันนี้เราหลายคนต่างขับใช้งานรถและใช้ถนนกันเป้นประจำ แต่หลายครั้งการขับขี่ที่ทำประจำจนได้ชื่อว่าขับรถเป็น อาจจะยังไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ว่าคุณจะจบจากโรงเรียนขับรถที่ไหนแห่งใด บางครั้งบางสิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอน ก็ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนอาจจะกลายเป็นอันตรายอย่างไม่น่าเชื่อ

 

ความเชื่อที่ 1 – เปิดไฟฉุกเฉินเมื่อข้ามแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร เพื่อแสดงความประสงค์ตรงไป

ความจริงที่ถูกต้อง – ไฟฉุกเฉินเป็นไฟสัญญาณที่ทำงานโดยใช้การกระพริบของไฟเลี้ยวข้างพร้อมกัน อาจจะทำให้ผู้ขับขี่ท่านอื่นเกิดความสับสนใจในการให้ไฟสัญญาณได้ เช่น คุณจะตรง เปิดไฟผ่าหมาก เหมือนจะเลี้ยวซ้าย , ทำให้สุดท้ายเกิดอุบัติเหตุได้

วิธ๊ใช้งานไฟฉุกเฉินที่ถูกต้อง คือใช้งานเมื่อจอดรถและต้องการแสดงสัญญาณว่าให้ระวัง รวมถึง เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ หรือบกพร่องทางเทคนิค บนถนน ทำให้ไม่สามารถไปต่อได้

ความเชื่อที่ 2 จอดรถหันหน้าออกดีที่สุด

ความจริงที่ถูกต้อง – การจอดรถหันหน้าออกกลายเป็นเรื่องที่นิยมกระทำกันมากในยามจอดรถตามห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะคนที่เดินทางคนเดียว การหันหน้ารถออกช่วยให้ปลอดภัย ป้องกันโจรที่อาจจะมาดักจี้ปล้นคุณได้ แต่ในบางครั้งการจอดหันหน้ารถออก อาจจะไม่เหมาะกับที่จอดบางจุด เช่นที่จอดที่อยู่ตรงทางขึ้น-ลง เนื่องจากที่จอดตรงจุดนี้ จะเป็นที่จอดที่ต้องใช้มุมเลี้ยวเยอะมาก และไม่อำนวยในการจอดรถแบบหันหน้าออก บางทีเจอที่จอดแบบนี้ไม่ต้องเสียเวลาเขยื้อนรถทิ่มหน้าออก แต่ให้เสียบหัวไปเลยจะดีกว่า มันง่ายกว่า และก็ไม่ใช่ไม่ปลอดภัย เพราะเป็นจุดที่คนพลุกพล่าน ไม่ต้องกังวล

 

ความเชื่อที่ 3 – เข้าเกียร์อัตโนมัติตำแหน่ง   P   เมื่อติดไฟแดง

ความจริงที่ถูกต้อง – ในการใช้งานเกียร์อัตโนมัติ หรือเกียร์ ออโต้ ตำแหน่งเกียร์   P   หรือ  Park   มีไว้ใช้เมื่อคุณจอดรถโดยสนิท และคิดจะไม่ขยับรถอีกเป็นระยะเวลานาน  การเข้า P   เมื่อติดไฟแดง ทราบมาว่า มาจากดรงเรียนสอนขับรถอิสระบางแห่งที่เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของผู้ฝึกสอน 

ทั้งที่ความจริงการเข้าเกียร์ P ในกรณีที่รถติดไฟแดงนั้น นอกจากจะทำให้ใช้เวลาในการเลือกตำแหน่งเกียร์แล้ว หากเกิดเหตุสุดวิสัย เช่นรถเกิดโดนชนท้าย ระบบส่งกำลังจะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง เนื่องจาก P   จะมีการล็อกเฟืองขับเคลื่อนในเกียร์ไม่ทำงาน ทำให้เมื่อได้รับการขับเคลื่อนโดยมิได้ตั้งใจอย่างรุนแรงเกียร์จะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งผิดกับการเข้า   D  เหยียบเบรก  หรือ ผลักไปที่ตำแหน่ง   N   รถแทบจะไม่ได้รับความเสียหายเลย หากเกิดเหตุการชนท้าย

suzuki Swift RX II

ความเชื่อที่ 4 เครื่องยนต์ขนาดใหญ่กินน้ำมันจุกว่าเสมอ

ความจริง – ในแง่การใช้งาน เครื่องยนต์ขนาดเล็กได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันมีกระแสลดขนาดเครื่องยนต์ และเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่แล้ว ในแต่ละรอบในการจุดระเบิดจะใช้น้ำมันน้อยกว่า รวมถึงตัวหัวฉีดน้ำมันก็มีขนาดเล็กกว่า จึงไม่น่าแปลกใจเลยครับ ที่เครื่องยนต์เหล่านี้มีความประหยัด  

แต่ในบางกรณีรถยนต์เครื่องใหญ่ก้มีศักยภาพในความประหยัดมากกว่า โดยเฉพาะการใช้งานเดินทางไกล ใช้ความเร็วต่อเนื่อง ใช้งานบรรทุกผู้โดยสาร หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักมากบ่อยครั้ง

ด้วยส่วนหนึ่งจากกำลังแรงบิดเครื่องยนต์ที่มีมากกว่า ทำให้สามารถทำงานได้ในรอบต่ำกว่า หากใช้เครื่องยนต์ขับขี่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกรณีที่คุณบรรทุกคน และสิ่งของเดินทางไกลประจำ แต่กลับกัน หากคุณขับขี่ในเมือง เจอสภาพการจราจรติดขัดบ่อยครั้ง เครื่องยนต์ขนาดเล็กจะตอบโจทยืในเรื่องนี้ได้ดีกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย

review-daiso-washnwax (9)

ความเชื่อที่ 5 วอร์มเครื่องก่อนเดินทางช่วยประหยัดน้ำมัน

ความจริง – เคยได้ยินมานานกันใช่ไหมครับ กับคำว่า “วอร์มเครื่องยนต์” อันที่จริงสิ่งที่หลายคนไม่ทรายมาก่อน คือเครื่องยนต์ที่เราใช้งานในปัจจุบัน มีอุณหภูมิทำงานอยู่ในช่วงระหว่าง 85-92 องศาเซลเซียส โดยช่วงอุณหภูมิที่ว่านี้ถูกกำหนดโดยน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งนำพาความร้อนจากห้องเผาไหม้ออกมา

จุดเริ่มต้นของความคิดว่าวอร์มเครื่อง มาจากทางด้านการวิสวกรรมและมอเตอร์สปอร์ต ซึ่งจะต้องมีการติดเครื่องยนตืทิ้งไว้ก่อนการแข่งขัน หรือเบิ้ลเครื่องเพื่อให้เกิดความร้อนที่เหมาะสมก่อนการลงแข่งขัน สำหรับรถบ้าน เราไม่มีความจำเป็นต้องทำแบบนั้น เพรา การติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้หรือเบิ้ลเครื่องอยู่กับที่ทำให้มีการสิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุ และการวอร์มเครื่องยนต์ที่ดีที่สุดในแบบหนึ่งคือให้เครื่องยนต์ทำงาน ซึ่งเวลาคุณขับออกจากบ้านหรือปากซอย จะมีการทำงานในรอบต่ำอยู่แล้ว มันเป็นการวอร์มเครื่องยนต์ไปในตัว  
ส่วนเรื่องประหยัดน้ำมันเข้ามาเกี่ยวข้องกับการวอร์มเครื่อง เนื่องจากเมื่อเครื่องยนต์ทำงานในอุณหภูมิที่ไม่ถูกต้อง จะมีการสั่งจ่ายน้ำมันเข้าสู่ห้องเผาไหม้มากกว่า เพื่อให้เกิดระดับความร้อนในการทำงานที่ถูกต้อง นั่นเอง

 

ความเชื่อที่ 6 1000 กิโลเมตรแรกของรถใหม่ ไม่ควรใช้เร่งเครื่องแรง

ความจริง – รถยนต์ใหม่ มักถูกเตือนว่าให้ขับ 1,000 กิโลเมตรแรก ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรใช้เครื่องยนต์แรง หรือเร่งใช้งานรอบสูง ในความเป็นจริงแล้ว มีส่วนที่ถูกต้องในเรื่องนี้ เนื่องจากเมื่อเครื่องยนต์ถูกประกอบและติดตั้งในรถยนต์ การทำงานของเครื่องยนต์อาจะยังไม่เข้าที่เข้าทางดี ซึ่งมันจะเป็นผลดีกว่าในการใช้งานเครื่องยนต์ระยะยาว
รถบางแบบเช่นรถสปอร์ต จะมีคำแนะนำ ห้ามซิ่ง ใช้รอบเครื่องยนต์แรงช่วง 1000 กิโลเมตรแรก ในสมุดคู่มือจากผู้ผลิต

ที่สำคัญ นอกจากเครื่องยนต์แล้ว ชิ้นส่วนอื่นๆ อย่างเช่นเบรก หรือ ช่วงล่าง บุชอย่างต่างๆ ของรถใหม่ ก็จำเป็นต้องมีการปรับให้เข้ากับชิ้นส่วนอื่นๆ ก่อนด้วย คำแนะนำผู้ผลิตจึงไม่ให้คุณขับรถใช้อัตราเร่งแรง ในช่วง 1000 กิโลเมตรแรก

 

ความเชื่อที่ 7 ใช้แตรน้อย เพื่อให้ดูมีมารยาทในการขับขี่

ความจริง – คนไทยเกลียดการบีบแตรเข้าไส้ เนื่องจากเรามักจะรู้สึกว่าถูกด่า หรือตำหนิจากเพ่อร่วมทาง ทั้งที่บางครั้งเราอาจจะเป็นตัวปัญหาก็ได้  การใช้แตรให้น้อยเป็นสิ่งที่ดรงงเรียนสอนขับรถบางแห่ง และผู้ใหญ่บางคนบอกเสมอในการขับรถ เพื่อลดการกระทบกระทั่งในการขับขี่

หากความจริงแล้ว แตรเป็นสัญญาณที่ดีไว้เตือนเพื่อนร่วมทาง เมื่อเขากระทำความผิด การใช้สัญญาณเสียผ่านแตร ทำให้ผู้ขับขี่รายอื่นตระหนักมากขึ้น ก่อนจะนำไปสู่อุบัติเหตุ

โดยตามกฎหมายไทยไม่ได้ระบุห้ามคุณใช้แตร แต่ห้ามบีบแตรยาวๆ ดังนั้น วิธีใช้แตร คือ กดบีบเว้นช่วง และสมควรจะใช้แตรเมื่อเห็นเหตุที่อาจจะเป็นอันตรายต่อคุณ อย่าใช้เมื่อจวนตัว

 

ความเชื่อที่ 8 ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานถ้าไม่คาดเข็มขัด

ความจริง – มีความเป็นไปได้ 50/50 ที่เรื่องนี้จะเป็นจริงในรถยนต์บางผู้ผลิต เนื่องการใช้งานถุงลมนิรภัยให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอยู่ในจุดที่ผู้ขับขี่ได้รับการซับแรงกระแทกจากถุงลมถูกจุด ไม่เยือง ซ้ายหรือขวา ซึ่งอาจจะทำให้ถุงลมไม่สามารถสนับสนุนความช่วยเหลือได้เต็มที่

ด้วยเหตุดังกล่าวทางผู้ผลิตรถยนต์จึงวางแนวคิดในการเตือนผู้ขับขี่คาดเข็มขัดนิรภัย และจะดังต่อเนื่องจนกว่าคุณจะคาดเข็มขัดจนครบ ซึ่งในแง่ความจริงแล้วถึงลมนิรภัยทำงานคนละระบบกับตัวเตือนคาดเข็มขัด

แต่หากคุณไม่คาดเข็มขัดแล้วถุงลมไม่ทำงาน อาจจะมาจากแรงชนกระทกยังไม่ถึงระดับที่ถุงลมนิรภัยจะต้องเข้ามาช่วยเหลือ

 

ความเชื่อที่ 9 วางมือบนคันเกียร์ธรรมดา เพื่อพร้อมเปลี่ยนเกียร์

ความจริง – ในการขับรถให้ปลอดภัย คุณควรวางมือไว้บังคับทิศทางรถหรือบนพวงมาลัยให้มากที่สุด จริงอยู่ที่การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ควรทำอย่างรวดเร็วและการวางมือพร้อมไว้บนเกีบร์ช่วยในการตอบสนองได้ แต่มันไม่จำเป็นเท่าการบังคับทิศทางพวงมาลัยและการวางมือบนคันเกียร์ธรรมดาบ่อยครั้งทำให้น้ำหนักกดลงบนด้ามเกียร์ อาจจะทำให้ลูกปืนในชุดด้ามเกียร์ได้รับความเสียหายได้เมื่อผ่านระยะไปนานๆ  

ชอบกดไลค์ใช่กดแชร์ ขอบคุณทุกกำลังใจสำหรับพวกเรา   ridebuster.com 



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่