การมีรถกระบะขับเคลื่อนสี่ล้อไว้เพื่อการตอบโจทย์การเดินทางสมบุกสมบัน เชื่อว่าเป็นสิ่งที่หลายคนมองไว้เป็นโจทย์ในการมีรถคันที่ 2 หรือ คันที่ 3 ในบ้าน หลายครั้งหลายหนการซื้อรถยนต์ก็มักจะถูกตั้งคำถามในแง่ของความคุ้มค่าในการใช้งาน จนบางครั้งสามารถนำไปสู่ความเข้าใจผิดในแง่การขับขี่

ในบรรดากระบะและรถอเนกประสงค์ที่มาพร้อมระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบปรับเลือกเองได้หรือที่เราเรียกว่า   Part Time 4 Wheel Drive   ยังมีความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับการใช้งาน

ปัจจุบันนอกจากการใช้เพื่อการเดินทางด้วยความเร็วในเส้นทางที่อาจะมีโอกาสเกิดการลื่นไถลได้ง่าย อย่างเช่นทางลุกรัง ถนนที่โรยด้วยหินตามชนบท มีคนกลุ่มหนึ่งเข้าใจผิดว่า พวกเขาควรใส่ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อขับบนถนนปกติ ในระหว่างฝนตก เนื่องจากชุดเกียร์ขับสี่ จะทำให้รถมีแรงยึดเกาะถนนมากกว่า และปัจจุบันรถสมัยใหม่หลายรุ่นมาพร้อมระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา   (All wheel Drive)  จึงยิ่งสนับสนุนแนวคิด การใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อระหว่าฝนตก ว่ามันน่าจะช่วยให้ขับขี่ได้ปลอดภัยยิ่งขึ้น

ข้อเท็จจริงในการใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ 4 Hi  ขับขี่ในระหว่างฝนตก หลายคน ชอบขับฝ่าฝนด้วย 4 Hi นับว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งในการเดินทาง และน้อยคนจะเข้าใจการวิศวกรรมระบบขับเคลื่อนสี่ล้ออย่างแท้จริง

แม้ว่ามองภายนอกระบบขับเคลื่อนสี่ล้อทุกประเภทที่มีในตลาดวันนี้จะมีความคิดคล้ายกัน ด้วยการหมุนล้อทั้งสี่ เมื่อใช้ฟังชั่นจับเคลื่อนสี่ล้อ แต่ก็คงไม่มีใครบอกคุณว่าคุณสมบัติระบบในแง่ของเชิงกลไก และการทำงานบางส่วนกลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าเราอาจจะเรียกว่า ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อเหมือนกัน

ในรถกระบะและรถอเนกประสงค์ที่มีพื้นฐานจากกระบะ ด้วยการออกแบบระบบขับเคลื่อนสี่ล้อมาใช้งานในพื้นที่สมบุกสมบัน ทางวิศวกรบริษัทรถยนต์ จึงออกแบบการส่งกำลังของระบบ   Part Time 4 WD  ส่วนใหญ่ให้ส่งกำลังระหว่างด้านหน้าและด้านหลัง 50/50 ตลอดเวลา

การออกแบบระบบในลักษณะดังกล่าว ก็เพื่อให้รถสามารถใช้กำลังในแต่ละล้อได้เท่ากัน ช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมในยามเดินทางบนเส้นทางที่อาจจะเกิดการลื่นไถล ทว่าหากนำมาใช้บนทางถนนปกติที่มีการเสียดทานเกาะถนนดี อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากการแบ่งกำลังที่เท่ากัน จะก่อให้เกิดอาการเลี้ยวยาก จนอาจเป็นต้นตอของอุบัติเหตุ

สาเหตุที่ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อของรถกระบะ ก่อนให้เกิดอาการเลี้ยวยากก็มาจากการแบ่งกำลังที่เท่ากันในแต่ละล้อตลอดเวลา  ตามปกติการเลี้ยวรถเข้าโค้งล้อรถที่อยู่ด้านในโค้งจะมีความเร็วมากกว่าล้อด้านนอก ในระหว่างการเข้าโค้ง เนื่องจากล้อทางด้านในโค้งนั้นจะเดินทางด้วยระยะทางที่สั้นกว่าล้อด้านนอก และช่วยให้คุณสามารถผ่านโค้งได้อย่างรวดเร็ว

เหตุการณ์เดียวกันนี้ถูกใช้ในทั้งชุดเพลาล้อหน้าและล้อหลัง ในรถยนต์ทุกรุ่น แต่เมื่อมาพูดถึงระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบ  Part Time 4WD  การกระจายกำลังระหว่าง 4 ล้อที่เท่ากันตลอดเวลาไม่มีการแปรผัน ทำให้ความเร็วล้อด้านในและด้านนอก มีอัตรากำลังแรงบิดเท่ากัน เมื่อประกอบกับถนนปกติไม่มีการลื่นไถล จึงก่อให้เกิดอาการเลี้ยวยากหากผู้ขับขี่ใช้ระบบ  4 Hi ในการเดินทางบนถนน แม้ว่าจะเป็นช่วยฝนตกถนนลื่นก็ตามที

เกียร์ 4 Hi เหมาะกับการใช้ขับลุยทางสมบุกสมบัน ในความเร็วสูง การนำมาใช้ ขับฝ่าฝน จะทำให้เกิดอันตราย

การใส่ตำแหน่ง 4  Hi   ของรถกระบะ สมควรใช้ในเสน้ทางที่อาจมีการลื่นไถลได้ง่ายเท่านั้น

ตลอดจนการใส่ 4 Hi  ขับขี่ก็ยังมีข้อเสียเปรียบอีกประการ จากน้ำหนักพวงมาลัยที่เพิ่มมากขึ้นในระหว่างการขับขี่ เนื่องจากชุดบังคับเลี้ยวจำเป็นต้องรับภาระจากแรงบิดของล้อที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการขับเคลื่อนสี่ล้อ ผิดกับรถปกติที่มีการเซทระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา จะถูกเซทน้ำหนักพวงมาลัยที่เหมาะสมในการเดินทางมากกว่า 

ดังนั้น สรุปว่าทำไมไม่ควร ขับฝ่าฝนด้วย 4 Hi

  • อัตราส่งกำลังหน้า-หลัง เท่ากัน ทำให้ รถเลี้ยวยาก 
  • ด้วยเหตุผลข้อ1 ทำให้ วงเลี้ยวกว้าง จนบางครั้งจะไม่สามารถเลี้ยวในโค้งที่มีความแคบได้ .. ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 
  • พวงมาลัยหนัก ทำให้ควบคุมรถได้ยากกว่าการขับ 2 ล้อปกติ 
  • ในกรณีลื่นน้ำ (Hydroplane)  รถจะมีอาการหมุนได้ง่ายกว่ าเนื่องจากทุกล้อ ปั่นเท่ากันหมด ไม่มีการแปรผัน หน้า-หลัง

(อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีรถบางรุ่นสามารถทำให้ใช้ 4H  ในการขับกลางฝนได้ นั่นคือ  มิตซูบิชิ เป็นกระบะยี่ห้อเดียวที่มีความสามารถดังกล่าว)

Mitsubishi Triton 2019

การใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อในตำแหน่ง 4 Hi   ขับขี่ยามฝนตก ถือว่าเป็นความเข้าใจผิดที่มีมานาน จากความต้องการใช้งานรถให้คุ้มค่า และด้วยการพูดต่อการสืบเนื่องกันมาในหมู่ผู้ใช้รถว่า มันน่าจะสามารถตบอสนองได้ตามความคิดของพวกเขา ทั้งที่ความจริงแล้วพฤติกรรมดังกล่าวอันตรายอย่างยิ่งและอาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้จากข้อจำกัดของระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบนี้

 

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง

 

ช่วยเป็นกำลังใจให้ทีมงาน   ridebuster.com  เพียงถูกใจจากท่านเราจะสรรหาสาระดีๆมานำเสนอต่อไป

 

 



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่