Kia AD

Home » Isuzu Max Force 2.2 Ddi สัมผัสครั้งแรก สมรรถนะใหม่ เปลี่ยนไปแค่ไหน

Kia AD

Suzuki AD

Bust First Drive รีวิว

Isuzu Max Force 2.2 Ddi สัมผัสครั้งแรก สมรรถนะใหม่ เปลี่ยนไปแค่ไหน

ตั้งแต่ อีซูซ หงายไพ่ส่งท้ายปีด้วย เครื่องยนต์ใหม่ เตรียมเปิดตัวออกมาในนาม Isuzu Max Force สาวกค่าย อีซูซุ และคนจำนวนมกาต่างตั้งตารอการเปิดตัวขุมพลังใหม่ ล่าสุด ที่ตกเป็นข่าวมานาน

ถ้านับตั้งแต่ อีซูซุ เปิดตัวเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก 1.9 มาแทน เครื่องยนต์ดีเซล 2.5 เดิม นั่นก็เป้นเวลามานานกว่า 9 ปี เต็ม เริ่มแนะนำในอีซูซุ ดีแม็กซ์ แล้วเติมลงในรถยนต์ MU-X ในภายหลัง

เครื่องยนต์ 1.9 กลายเป็นความสำเร็จในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในฐานะเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในตลาด แต่ยังคงคุณภาพคับแก้วด้วยกำลังขับเทียบเท่าเครื่องยนต์ 2.5 ลิตรในอดีต ทว่าหลายปีผ่านมา เครื่องยนต์ใหม่ๆ ถูก พัฒนาออกมาตอบตลาดมากมาย ตั้งแต่ เพื่อเจ้าตลาดด่วยกันไปจนมวยรอง ทำให้ อีซูซุ น่าจะเห็นสมควร ว่าถึงเวลาแล้ว ที่จะต้อง เปิดศึกกระชับคืนพื้นที่กับเขาบ้าง

การวิศวกรรม

เครื่องยนตรุ่นใหม่ Isuzu Max Force 2.2 Ddi บางคนได้ยินปุ๊ป ก็พากันหัวเราะ ว่า นี่เอาเครื่องอดีตอย่าง Isuzu KB มารีโนเวทหรือเปล่า บ้างเห็นรหัส ก็พูดเอาสนุกว่า มันคือเครื่องยนต์ 1.9 ที่โตขึ้นหรือเปล่า

ทั้งที่ เครื่องยนต์ตัวนี้ อีซูซุ พูดอย่างเต็มปากอย่างภาคภูมิใจว่า มันเกิดจากการพัฒนาใหม่ โดยมีเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

จุดเริ่มต้น ก็มาจากการสำรวจตลาด พบว่าลูกค้าจำนวนหนึ่ง มองว่าเครื่องยนต์ 1.9 ลิตร แม้ว่าจะดี เรื่องการประหยัดน้ำมัน ทว่า เรื่องกำลังขับที่ค่อนข้างน้อยไปของมัน ทำให้เวลาต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง 1.9 กับ 3.0 เป็นโจทย์สุดหิน

จนบางครั้ง ก็ยอมไปเป็นสาวกค่ายอื่น ซึ่งมีเครื่องยนต์บล็อกกลาง ขณะที่ อีซูซุ ดันเป็นผู้ผลิตที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็ก หรือไม่ก็ต้องเลือก เครื่อง 3,000 ซีซี ไปเลย

ด้วยเหตุนี้ ทีมงานวิศวกรรม ของอีซูซุ จึงวางหมาก พัฒนาเครื่องยนต์รุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์เรื่องนี้ โดยเฉพาะ

เนื้อแท้ของเครื่องยนต์รุ่นนี้ แม้รหัส ของมัน จะเป็น RZ4F-TC ฟังดูเหมือน ทายาทของ 1.9 ที่มีรหัส RZ4E-TC ทว่า อีซูซุ มีการออกแบบชิ้นส่วนหลักๆ ใหม่ ทั้งหมด ในหลัก 5 C ทั้งหมด เป็นชิ้นส่วนสำคัญ ประกอบด้วย

  • Cylinder Block
  • Cylinder Head
  • Cylinder Piston
  • Conecting Rod
  • CrankShaft

หรือ พูดให้ถูกต้อง เครื่องยนต์ท่อนตรง Short Block ทั้งหมด ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่

เมื่อเจาะไปในรายละเอียเท่าที่อีซูซุ ยอมเปิดเผย จะพบว่า ในส่วนของลูกสูบ มีการอัพเกรด สำคัญ 2 อย่าง คือ

1. ลูกสูบ ถูกปรับใหม่ มาเป็นหัวเผาไหม้แบบ High Swirl บางคนอาจจะมองแล้วรู้สึกว่า มันใกล้เคียงกับหัวลูกสูบของ มาสด้า Sky Activ D 2.2 ของ มาสด้า
2. ตัวลูกสูบ ถูกพัฒนาให้มีแรงเสียดทานต่ำ ทำให้ตอบสนองได้ดีขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้ ถ้ามาดูถึง ช่วงชัก และ ขนาดลูกสูบ ของเครื่องยนต์ เปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ 1.9 เดิม มันมีการพัมนาทั้ง 2 ด้าน

ลูกสูบ มีขนาดโตขึ้น เป็น 83 มม.​ช่วงชัก เพิ่มเป็น 100 มม.​เปรียบเทียบกับ เครื่องยนต์ดีเซล 1.9 ลิตร เดิม ขนาด ลูกสูบเพียง 80 มม.​ช่วงชักเพียง 94.4 มม. เท่านั้น

เครื่องยนต์ 2.2 ลิตร เครื่องยนต์ 1.9
ขนาดลูกสูบ (มม.)8380
ช่วงชัก (มม.)10094.4

นอกจากนี้ ตัวเสื้อสูบ ยังพัฒนาให้มีความแข็งแกร่งพิเศษ กว่าเครื่องยนต์รุ่นเดิม Extreme Strenght

จากชิ้นส่วนไส้ในเครื่องยนต์หลักๆ ทางอีซูซุ หันมาพัฒนาส่วนเกี่ยวเนื่อง เริ่มจากแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงถูกเพิ่มเป็น 250 เมกะปาสคาล

ทางด้านระบบน้ำมันหล่อลื่นภายในเครื่องยนต์ออกแบบให้มีแรงดันสูงขึ้น เพื่อการนำพาความร้อนและหล่อลื่นขิ้นส่วนดีขึ้นกว่าเดิม

ทีเด็ดสำคัญ อยู่ที่ระบบอัดอากาศ เทอร์โบชาร์จเจอร์ใหม่ แนะนำระบบ E-VGS ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย คือระบบเทอร์โบแปรผัน ควบคุมกลไกด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่รับคำสั่งจากกล่องประมวลผลกลาง แล้วสั่งการให้คลีบในโข่งเทอร์โบทำองศาตามที่เหมาะสม เพื่อรีดอากาศรวดเร็วมากขึ้น

ตัวเทอร์โบ จากที่สำรวจพบว่า ยังคงใช้ของ IHI Turbo รหัส V33Z ส่วนกำลังแรงดันเทอร์โบสูงสุด ของเครื่องยนต์ยังไม่เป็นที่เปิดเผยจากทางอีซูซุ ในเวลานี้

นอกจากเครื่องยนต์ ในส่วนของระบบส่งกำลัง หรือชุดเกียร์ มีการปรับปรุงใหม่ ทั้งเกียร์ธรรมดา และ เกียร์อัตโนมัติ

ในรุ่นเกียร์ธรรมดา ทางอีซูซุ ปรับอัตราทดเกียร์ใหม่ ผิดกับเดิม อีซูซุ ใช้เกียรืเครื่อง 1.9 เป็นอัตราทดเดียวกับเครพื่องยนต์ 3.0 ลิตร

ที่น่าสนใจกว่า คือในรุ่นเกียร์อัตโนมัติ ทางอีซูซุ นำเสนอเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด เข้ามาตอบตลาด ทำให้บริษัท ขึ้นมาครองตำแหน่งเกียร์มากที่สุดในอันดับ 2 เป็นรองจากฟอร์ด และเหนือกว่า นิสสัน ที่ทำตลาด เกียร์อัตโนมัติ 7 สปีด มานานนับสิบปี

ทดลองขับ

ในการทดลองขับครั้งนี้ ทางอีซูซุ เชื้อเชิญเรามาถึงสนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต บุรีรัมย์ เพื่อทดสอบสมรรถนะ นับเป็นครั้งแีกในประวัติศาสตร์ ที่ทางอีซูซุ กล้าให้นักข่าว พิสูจน์สมรรถนะในสนามแข่งรถ แถมยังให้เราขับอย่างอิสระ ถึง 3 รอบสนามเต็ม

รถรุ่นที่เราได้ขับ มี 2 รุ่นได้แก่ Isuzu D-Max Hilander และ Isuzu MU-X RS

จากการสอบถาม ทางอีซูซุ ว่า มีการปรับเปลี่ยนระบบกันสะเทือนหรือไม่ เมื่อเทียบกับรุ่นเดิมที่เปิดตัวมาก่อนหน้า ทางอีซูซุ ให้ข้อมูล ว่า ไม่ได้มีการปรับปรุงสิ่งใดเพิ่มเติม เนื่องจาก เครื่องยนต์และชุดเกียร์ใหม่ มีขนาดใกล้เคียงเดิม เพิ่มขึ้นเพียง 10 กก. เท่านั้น

ขึ้นคันแรก เริ่มต้น ด้วยรถอเนกประสงค์ Isuzu MU-X RS 2.2

ผมยอมรับตรงไปตรงมาว่า ไม่เคยลอง 1.9 เดิมๆ รุ่นน้องที่ขับ 1.9 เคยเอามาฝากจอดที่บ้านก็ทรงเรียกแขก แถมโมเต็มประดาเสียอีก

แต่เมื่อไม่นานมานี้ เพิ่งจะลองเอา Isuzu MU-X RS 3.0 ขับเคลื่อนสี่ล้อ มาขับ ผลสรุป ตอนนั้น รถขับดี คล่องตัวขึ้นจากพวงมาลัยไฟฟ้า แต่เมื่อเราคุยถึงสมดุลรถ จะพบว่า หน้ามันค่อนข้างหนัก เวลาขับทางโค้งแล้ว รู้สึกได้เลยว่ามีแอบคุมยาก ไปหน่อย

กลับมาว่าที่เครื่องยนต์ Isuzu Max Force 2.2 Ddi เครื่องยนต์ตัวนี้มาพร้อมพลังขับสูงสุด 163 แรงม้า สูงสุด ที่ 3,600 รอบต่อนาที , แรงบิดสูงสุด 400 นิวตันเมตร ที่ 1,600-2,400 รอบต่อนาที

ถ้าเปรียยบเทียบกับ เครื่องยนต์ดีเซล 1.9 ลิตร มันจะมีกำลังเพิ่มขึ้น 13 แรงม้า แรงบิดสูงสุด เพิ่มขึ้น 50 นิวตันเมตร รอบแรงบิดสูงสุดมาเร็วขึ้น 200 รอบต่อนาที แต่ช่วงกว้างเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ออกตัวเดินเบา เข้าสนาม สัมผัสแรก กล้าพูดเลยว่า ในจังหวะปล่อยเบรก แทบไม่ต้องแตะคันเร่ง นั่นไม่มใช่เรื่องแปลก เนื่องจากทางอีซูซุ เซทเกียร์ออโต้ใหม่ อัตราทดเกียร์ 1-2 เรียกว่า จัดจ้านใช้ได้ น่าจะดี สำหรับสายขับๆเบรกๆ ใช้งานในเมืองบ่อยๆ ได้อานิสงค์จากเรื่องนี้

พอเข้าสนามได้เวลาจัดเต็ม ผมกดคันเร่งลง เครื่องยนต์ตอบสนองแทบจะในทันที เครื่องยนต์เร่งรอบ และตัดในจังหวะช่วงใกล้แรงม้าสูงสุด มอบความสนุกสนานในการขับขี่

ถ้าเทียบกับเครื่องยนต์ 3.0 ที่เคยขับ ความรู้สึกมันจะเชื่อช้ากว่าเพียงเล็กน้อย , อันที่จริง ก่อนลองขับ ผมได้ทราบข้อมูลมาว่า พละกำลังที่เครื่องยนต์ 2.2 ลิตร ทำได้ในวันนี้มีความใกล้เคียงกับ เครื่องยนต์ 3.0 ลิตร ในอดีต ช่วงราวๆ ปี 2006

แต่ตอนนี้ที่อยู่หลังพวงมาลัย สัมผัสได้เลย ว่า เครื่องยนต์ค่อนข้าง จะตอบสนองดี ในหลายจังหวะ เช่น เวลาเราจะเร่งแซง พอกดคันเร่ง ชุดเกียร์ผสานกับเครื่องยนต์ มอบอัตราเร่งทันควัน และไม่รู้สึกว่า มันดึงมากจนเกินงาน

เครื่องยนต์เองก็ถูกเซท ทำงาน ให้อยู่ในช่วงจังหวะมีกำลังงาน พอดี เหยียบไปจึงเจอพลังขับต่อเนื่องตลอดเวลา

ความรู้สึกนี้ เห็นชัด อย่างในจังหวะเร่งออกจากโค้ง หรือ เวลาเติมคันเร่ง ในระหว่างโค้ง กำลัง ถือว่ามีมาอย่างต่อเนื่อง จัดสรรให้ใช้งาน

ถ้าพูดกันเจาะลึกไปอีก ก็ต้องยกความดีความชอบส่วนหนึ่งให้กับเกียร์ 8 สปีดเขาด้วย ชุดเกียร์นี้ ถูกเซทให้ทดชิดในอัตราทด 4-7 ทำให้ เวลารอบเครื่องถูกทดเกียร์มันจะไม่ตกมาก จนหลุด ช่วงพละกำลังงาน

เครื่องยนต์จึงทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่เพียงเท่านี้ ความต่อเนื่องของเกียร์จัดว่าทำออกมาได้ค่อนข้างดีพอสมควร ชุดเกียร์ไม่มีอาการกระตุกมาก โดยเฉพาะยามเดินทาง อาจจะมีบ้างในจังหวะ ช่วงออกตัวต้นๆ แต่พอลอยตัว กลายเป็นขับสบายเฉย

ลงมาจาก Isuzu MU-X พอทราบความรู้สึกในเบื้องต้น เราก็มากระโดดขึ้น ตัวกระบะทันที

ออกตัวเข้าสนาม จากประสบการที่เคยขับ กระบะ Hilander 1.9 เครื่องยนต์ 2.2 ตัวใหม่ ดูกระฉับกระเฉงกว่าอย่างชัดเจน ตั้งแต่ออกตัว

อันที่จริงในความรู้สึกส่วนตัว พละกำลังขับของรถดีกว่ารุ่น 1.9 ในทุกช่วงความเร็ว และเห็นเด่นชัดในช่วง 80-140 ก.ม./ช.ม.

ในระยะทาง 1 ก.ม. ถ้าลอยๆมาช่วง ความเร็ว 50-60 ก.ม./ช.ม.​ สามารถ เร่งไปได้ถึง 155 ก.ม./ช.ม.

การไต่ความเร็วช่วงใช้เดินทาง 80-120 ทำได้ค่อนข้างเร็วอยู่พอสมควร เท่าที่มีโอกาสลองจับวัดอัตราเร่ง ด้วยเครื่งมือ V Box ช่วงทางตรงในสนามช้าง พบว่า จังหวะ 80-120 จะใช้เวลา ประมาณ 8.7 วินาที และช่วง 50-100 ก.ม./ช.ม. ในช่วง ทางตรงหน้าสแตนด์ จะใช้เวลา ราวๆ 8.8 วินาที

อาจไม่ใช่ตัวเลขที่เร็วมากมาย แต่ก็ไม่ใช่ตัวเลข ที่จะรู้สึกว่า อืดเป็นเรือเกลือ แบบ 1.9 แน่ๆ แล้วถ้าเทียบกับ 3.0 มันอาจช้ากว่าเล็กน้อย

ในความรู้สึกส่วนตัว มันเป็นเครื่องที่จัดจ้านในช่วงต้องใช้งาน ซึ่งความจริงมันไหลเร็วยาวๆในความเร็วถึง 140 หลังจากนั้นจะเริ่มเอื่อยลงนิดๆ อาจประกอบ จาก 2 เหตุผล คือ ตัวเครื่องยนต์เอง และทรงรถที่มีขนาดใหญ่อาจให้ความรู้สคึกต้านลมสักหน่อย

สมดุลที่ดีกว่า

แต่เพื่อนๆครับ จุดที่ผมชอบมากใน Isuzu Max Force 2.2 Ddi เชื่อไหมครับว่า มันคือ สมดลุของตัวรถ

สมดุลตัวรถอาจไม่ใช่สิ่งที่คนใช้กระบะพูดถึงกันสักเท่าไร แต่ถ้าคุณชอบแต่งรถ เคยผ่านมือรถซิ่ง สมดุลตัวรถ จะเป็นสิ่งที่หลายคน มักจะพูดเสมอ

ด้วยการพัฒนาเครื่องยนต์ใหม่ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงชุดเกียร์ที่มีอัตราทดมากขึ้น สิ่งที่ตามมา เป็นเงาตามตัวคือน้ำหนัก

แต่เชื่อไหมครับ ในขณะที่เราจินตนาการกันไปว่า มันต้องหนักมากขึ่นหลายสิบกิโลกรัม ทว่าความจริง เครื่องยนต์และเกียร์ชุดใหม่กับหนักกว่าเดิมราวๆ 10 กก. เท่านั้นเอง

นั่นทำให้ความรู้สึกเวลาเข้าโค้ง ค่อนข้างใกล้เคียงกับ รุ่นเครื่อง 1.9 ทว่าด้วยกำลังขับมากกว่า และการตอบสนองดีกว่า ทำให้ในเวลานี้ที่ผมอยู่ในสนาม รู้สึกได้ทันที ว่ามันเป็นรถขับสนุก และไม่เครียดเท่าไรนัก ถ้าเปรียบเทียบกับ เครื่องยนต์ 3.0 หากต้องผ่านเส้นทางแสนโหด อุดมด้วยทางโค้ง

อาการนี้ พบได้ทั้งในกระบะ และ อเนกประสงค์ นั่นเท่ากับ เครื่องยนต์ใหม่ ทำให้การกระจายน้ำหนักดีขึ้น ตามไปด้วยไม่ได้ มีผล แค่พลังขับเท่านั้น

สรุป Isuzu Max Force 2.2 Ddi พลังขับทันใจ ตอบสนองดีกว่าเดิม

หลังจากลงจากรถทืั้ง 2 คัน ผมมานั่งพินิจประสบการณ์ขับขี่ในวันนี้ ต้องยอมรับว่า เครื่องยนต์ใหม่ Isuzu Max Force 2.2 Ddi ทำออกมาตรงความต้องการของผู้ใช้ ทั้งออกตัวเร็วขึ้น เครื่องยนต์ตอบสนองดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงความเร็วเดินทาง 80-140 ก.ม./ช.ม.​

ไม่เพียงเท่านี้ เครื่องยนต์ใหม่ ที่แรงขึ้น ยังมอบน้ำหนักและการกระจายน้ำหนัก มีสมดุลที่ดีขึ้นกว่ารุ่นเดิม เห็นชัด โดยเฉพาะในจังหวะเข้าโค้ง หรือ ช่วงทางโค้งต่อเนื่อง

ทำให้รถมีบุกคลิกเปลี่ยนไป คล่องตัว กระฉับกระเฉง จากเดิมที่มีความรู้สึกค่อนข้างอืดและเฉื่อยชา จนต้องไปปรับจูนกันอยู่เสมอๆ

ถ้าจะถามว่า เครื่องยนต์ 2.2 คุ้มไหม ที่จะซื้อ ต้องตอบว่าคุ้ม ยิ่งใครลังเล ระหว่างกับเครื่องยนต์ 1.9 ตัว 2.2 ใหม่ ดีกว่าอยู่พอสมควร ทั้งพลัง ความนุ่มนวล และสามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าคุณจะเป็นสายบรรทุกหรือไม่ พลังขับเดิมๆ ก็เรียกว่าเหลือเฟือ พอสมควรเลยครับ

เรื่องและขับทดสอบ โดย ณัฐพิพัฒน์ วรโชติโกศล
ข้อมูลวิศวกรรมเครื่องยนต์ ได้รับความอนุเคราะห์ จาก Isuzu

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.