พูดถึงรถกระบะ เชื่อว่าหลายคนที่อยากได้รถที่มีสมรรถนะที่สุดของที่สุด ซื้อแล้ว “เจ็บแจ่จบ” คงจะไม่มีใครไม่รู้จัก Ford Ranger Raptor อย่างแน่นอน
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา Ford Ranger Raptor กลายเป็นรถในฝันของหลายคน ด้วยการแนะนำสมรรนถะในการลุยสุดขั้วในแบบที่ทุกคนอยากได้ออกมา และยังคงนำเสนอที่สุดสมรรถนะทางด้านการขับขี่ในเวลาเดียวกัน โดยในปีนี้ Ford เปิดตัว รุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร ออกมาวางจำหน่ายอีกครั้ง และวันนี้ เราจะมาพิสูจน์เบื้องต้นกัน ในความแตกต่างของรถทั้งสองรุ่น
การพิสูจน์ครั้งนี้ เราไม่ได้ไปบุกป่าที่ไหน แต่เป็นการมาลองขับจริงในงาน “Ford Ranger Raptor Unbeatable Experience” ที่จำลอง สภาพการณ์ออฟโรดสุดโหด มาให้เราได้ลองขับกันอย่างถึงกึ๋น
ตัวสนามแบ่งออกเป็น 9 ด่าน ให้เราได้ลองกันอย่างเต็มคราบ สาเหตุสำคัญ วิศวกรบอกว่า ลูกค้าส่วนมากไม่รู้ศักยภาพที่แท้จริงของรถ และ หลายครั้งโดนร้านแต่งรถตกเข้าให้ ทั้งที่แรพเตอร์ ก็เป็นรถที่ทำมาจบครบอยู่แล้วในระดับหนึ่ง เป็นที่มาที่ไป ของกิจกรรมนี้
ตัวรถที่ให้เราขับ มีทั้ง 2 รุ่น คือ รุ่น เครื่องยนต์เบนซิน ที่ทำออกมาเอาใจสาวกสาายแรง ขายมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และ รุ่นใหม่ เอาใจสายเดินทาง กับสไตล์เดิมของ แรพเตอร์ เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร เทอร์โบคู่ เน้นความมั่นใจในการเดินทาง และ ใช้น้ำมันได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
ในรอบแรก เราลองขับเจ้าเครื่องยนต์เบนซิน V6 3.0 ลิตร ที่หลายคนอยากได้ เรื่องสเป็ครถ คงไม่ต้องกล่าวกันแล้ว ทุกคนรู้ดีกว่า นี่คือกระบะที่แรงที่สุดในตลาด แต่ในทางออฟโรด มันก็ยังสามารถรีดแรงบิดได้ถึง 583 นิวตันเมตร เลยทีเดียว
ช่วงออกตัวไปสเตชั่น เราได้เห็นว่า รถมี Walking Speed หรือ ความเร็วช่วงไหลๆค่อนข้างเยอะ แม้ว่ามันจะเป็นเครื่องยนต์เบนซิน ก็มีความสามารถในเรื่องนี้ไม่น้อย หรือไม่ได้ย่อหย่อนไปกว่าเครื่องยนต์ดีเซล อาจจะด้วยความเป็นเครื่องยนต์บล็อกใหญ่ ทำให้การตอบสนองค่อนข้างดี แม้จะใส่ยางใหญ่พร้อมลุย ก็ไม่ได้เป็นปัญหา
มาด่านแรก เป็นเนินสูงชัน ปกติแล้ว มันก็ดูจะเป็นไต่เนิน แล้วโชว์ว่า เฮ้!!! เห็นเปล่า รถเราพลังช้างศาล อะไรแบบนั้น แต่เอาจริงๆ แล้วเจ้าแรพเตอร์ ไม่ได้มีดี แค่เรื่องความแรงเท่านั้น มันยังจัดหนัก อัดแน่นเรื่องเทคโนโลยีมาให้ลูกค้าได้สัมผัสด้วย
หนึ่งในลูกเล่นเรื่องลุย คือ เรื่องของ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติเวลาลุย หรือ Trail Control ระบบนี้ให้คุณจินตนาการว่าเหมือนคุณใช้ Criuse Control ในความเร็วต่ำ สามารถล็อความเร็วที่ต้องการ เพื่อให้รถเคลื่อนไปข้างหน้าได้ โดยที่คุณไม่ต้องเติมคันเร่ง กำหนดได้ตั้งแต่ความเร็ว 1 กม./ชม. เป็นฟังชั่นที่รถรุ่นอื่นเอง ก็ยังไม่มีมาให้มาก่อน
อันที่จริงผมเคยลองระบบนี้ตอนไป “ทริปซาปา” ต้องพูดตามตรงว่า ค่อนข้างมีประโยชน์พอสมควร มันช่วยอำนวยให้เราไม่ต้องพะวงกับการเดินคันเร่ง เมื่อล็อกความเร็วปล่อยเบรก รถเดินเครื่องเอง ที่เหลือเรามองเส้นทางและวาดพวงมาลัย ให้เลี้ยวไปตามทางที่อยากไปเท่านั้น ก็เพียงพอ ช่วยลดความเครียด เวลาต้องไปลุยปุกป่าฝ่าดงในหนทางที่ยากมากๆ
อย่างเช่น การขึ้นลงเนินชันเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะเนินชันนี้มีการบิดตัวเล็กๆ และ มีองศาชัน
ระบบนี้ก็ฉลาดพอ ไม่เพียงเร่งเองเท่านั้น ยังทำการเบรกเอง ให้รถเป็นไปตามความเร็วที่เราตั้งไว้ ซึ่งดีมากๆ
และเนื่องจากเนินชัน ในความจริง ถ้าคุณไปลุยคนเดียว หรือแม้แต่ มีแฟนไปด้วย ก็คงไม่อยาก ส่งแฟนไปยืนเสี่ยงตาย แถวหน้าผา ในขณะที่คุณกำลังไต่เนิน กล้อง 360 องศา ใน Ford Ranger Raptor ก็มีมาให้พร้อมกับระบบบอกเส้นทาง หรือ Guide Line ในระหว่างการพักพววงมาลัย ช่วยให้คุณลุยง่ายผ่านสบาย ๆ
ยิ่งมาเจอ ด่านที่สอง ,สะพานซุง , ตรงนี้กล้อง 360 องศา ช่วยได้มาก ในการผ่านอุปสรรค ยิ่งในสถานการณ์จริง ใครบุกป่าลุยเดี่ยว ด้วยตัวรถที่มีขนาดใหญ่กว่าชาวบ้าน โดยเฉพาะ Track หรือ ความกว้างระหว่างล้อซ้าย-ขวา การผ่านสะพานแบบนี้ ต้องอาศัยการสังเกตที่ดี
ซึ่งถ้าไม่เปิดกระจกมองเอง ,ก็ใช้คนข้างๆไปช่วยมอง หรือไม่ จุดนี้ถ้าเราใช้กล้องในการวางล้อก็จะง่าย สบายและสะดวกพอสมควร ในการผ่านอุปสรรค ไม่ต้องวิ่งขึ้นวิ่งลงรถให้เสียเวลา
ด่านที่สาม เป็นด่านเนินสลับ แต่!! เนิน สลับธรรมดาๆ มันง่ายไป วิศวกรเขาว่างั้น ก็เลยทำมาเป็นเนินสลัยทางชัน แต่ก็มีเนินสลับปกติให้ลองด้วยนะ
เนินสลับทางชัน เป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างหาได้ยากพอสมควรในความจริง เนื่องจากทางเนินในเส้นทางธรรมชาติก็หินอยู่แล้ว จึงมักมีการเกลี่ยทางให้มันดี แต่ถ้ามันไม่ได้ทำให้ดี ก็พูดตามตรงว่าด้วยกำลังขับ ของ Ford Ranger Raptor V6 สามารถผ่านไปได้ง่ายๆ
ที่น่าสนใจ คือในช่วงการลงในแต่ละหลุมนั้น ตัวรถไม่มีเสียงครูด หรือ กระแทกให้กวนใจ ไม่ว่าจะบันไดข้าง หรือระบบช่วงล่างต่างๆ สามารถผ่านไปได้สบายๆ ไร้ความกังวลใจ
ในที่สุดด่านสำคัญก็มาถึง หลังจากผ่านไปหลายปี เราก็พึ่งได้มีโอกาส “บิน” กับ Ford Ranger Raptor อีกครั้ง เราไม่รอช้าใส่โหมด Baja สำหรับพร้อมซิ่งทางลุย ระบบใส่โหมดขับสี่มาให้เพื่อความมั่นใจมากขึ้น
พอออกตัว รถไม่มีอาการเป๋ ให้หวั่นใจ และเมื่อถึงเนิน เราก็เหินฟ้า และ ลงอย่างมั่นใจ ทุกครั้ง ไม่มีให้รู้สึกว่า เสียวหรือจะเป็นอันตรายใดๆ ในตลอด 3 เนิน
แต่ความใหญ่ยักษ์ของรถ ก็ยังมุ่งให้ความมั่นใจ ด้วยการควบคุมง่าย Ford Ranger ทุกรุ่น มาพร้อมระบบพวงมาลัยไฟฟ้า ทำให้ยามต้องบังคับควบคุมทิศทาง สามารถทำได้ง่ายและมั่นใจสุดๆ ตลอดจนในทางลุยแบบนี้ รถจะพยายามควบคุม และ เซฟตัวเอง จากการลื่นไถล รวมถึง การเกิดเหตุพลิกคว่ำ
ระบบจะคอยดูแลเรา แม้ว่าเราจะขับห่ามๆ สนุกสนาน ระหว่างการขับขี่ก็ยังมาดมั่นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะยามสาดโค้งสิ่งที่ชัดที่สุดคือ รถมีการโคลงตัวน้อยมาก ต้องขอบคุณช่วงล่าง Fox ที่ทำให้รถมีความมั่นคงมาก คนขับสนุก คนนั่งมั่นใจ
ส่วนด่านรองสุดท้าย ทางฟอร์ด ต้องการแสดงศักยภาพช่วงล่างจึง สร้างถนนแบบไม่เรียบให้เรา ลองวิ่งรูดในความเร็วต่ำ และ ขับลองในความเร็วสูง
ต้องยอมรับว่า ช่วงล่าง Fox 2.5 Live Valve ตอบสนองทางลุยดี นั่งสบายไม่มีสั่นเครือ โดยเฉพาะ ในความเร็วสูง โช้กที่สามารถปรับตัวอย่างอิสระ ยิ่งเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น จนทางขุรขระก็ผ่านไปได้แบบปุยเมฆ
ลองตัวดีเซล
หลังจากขับตัวเบนซิน เชื่อว่าหลายคนคงอยากจะทราบแล้วว่า ตัวดีเซล มันแตกต่างจากตัวเบนซินมากแค่ไหนกัน จริงๆ เจ้าตัวดีเซล นอกจากเครื่องยนต์แล้วก็ยังมีข้าวของหลายอย่างที่หายไป เช่นท่อคู, โช๊ค Fox คนละรุ่น ไม่มีดิฟล็อคหน้า ส่วนในห้องโดยสาร เครื่องเสียงพรีเมี่ยมถูกดอยหายไป
รวมๆมันคือ Raptor ในแบบเดิม ที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ ในรุ่นที่แล้ว ซึ่งข้อดีคือการเป็นเครื่องยนต์ดีเซล พร้อมใช้งานนั่นเอง
พอมาลองลุย ในสเตชั่นแรกๆ เราไม่รู้สึกถึงความแตกต่างเท่าไร เพราะฟังชั่นยังมีเหมือนกับตัวเบนซิน จุดต่างเดียวที่รู้สึกได้ คือ ตอนขึ้นเนินชัน พอจะรู้สึกได้ว่า เครื่องยนต์ มีกำลังแรงบิดน้อยกว่า ทำให้ Walking Speed ขึ้นเนินชัน สู้ไม่ได้ ต้องเติมคันเร่งสักหน่อยในยามที่คุณไม่ใช้ Trail Control
อีกประการ ด้วยความเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เสียงเครื่องเวลาเร่ง ก็จะดังกว่า นั่นไม่ใช่เรื่องแปลกเท่าไรนัก
พอมาสเตชั่น เนินสลับ ด้วยกำลังเครื่องน้อยกว่าและแรงบิดน้อยกว่า จึงให้เราเล่นเนินสลับทางราบ แต่ถ้าถามว่าทางสลับบนเนินทำได้ไหม ก็ตอบว่าได้ แต่ต้องใช้คันเร่งเยอะ กว่าตัวเบนซิน ทำให้มันจึงยากกว่าสักหน่อย
ในช่วบลองของความเร็วทางลุย อย่างด่าน โดดเนิน ด้วยกำลังเครื่องที่ยกมาจาก ตัว Wildtrak มันจึงไม่ได้เร็วอะไรมากมายนัก เหยียบออกตัวช่วงแรก จะรู้สึกว่ามันไม่เร็วแรงนัก ด้วยล้อและยางที่มีขนาดใหญ่ และกำลังน้อยกว่า แต่ถ้าเทียบกับ รถที่มีน้ำหนักขนาดนี้ บึกบึนขนาดนี้ ก็จัดว่าเร็วอยู่ในระดีบที่น่าพอใจ
จังหวะกระโดดเนิน ด้วยการจำกัดที่ความเร็ว 50 กม./ชม. ส่วนตัวรู้สึกว่า เครื่องยนต์ดีเซล แอบมีน้ำหนักมากกว่าสักหน่อย จังหวะหัวตก ดูเร็วกว่าเบนซินสักนิด
พอจังหวะ เล่นโค้งทางลุย ด้วยกำลังแรงบิดดีในรอบต่ำ แต่แรงบิดน้อยกว่า ทำให้เวลาออกลีลา จะรู้สึกถึงความไม่สุด ของเจ้าดีเซลสายลุย
แถมด้วยช่วงล่าง Fox ที่ไม่มีระบบ Live Valve ทำให้ ความรู้สึกจะค่อนข้างสะเทือนกว่า เวลาขับในทางขุรขระ แต่ถ้าคุณเทียบกับทั่วไปแล้ว มันก็ถือว่ากระเทือนน้อยแล้วนะ สำหรับรถกระบะที่มีแชสซีแบบนี้ แต่ถ้าเทียบแล้ว เบนซินดีกว่า
ดังนั้นในภาพรวม Ford Ranger Raptor Diesel อาจต้องกล่าวว่า สมรรถนะของมันนั้นด้อยกว่าจริงๆ แต่ทั้งหมดทั้งปวงนั้น ก็เพื่อให้มีความเป็นรถพร้อมใช้งาน ได้เป็นประจำ ไม่ใช่รถที่จอดอยู่ในโรงรถที่บ้าน แล้วออกมาขับแค่วันสุดสัปดาห์เท่านั้น
แต่ถ้าถามผม จะซื้อทั้งที ก็ควรจะเจ็บแต่จบ เลือกก็ไปให้สุดที่ตัวเบนซิน น่าจะดีกว่า โดยเฉพาะนี่คือความเป็นกระบะมะกัน ที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร มันคือ ความเป็นที่สุด ที่จะว่าไป ก็ใช่จะไกลเกินเอื้อม สำหรับ คนชนชั้นกลาง ที่พอจะเป็นเจ้าของได้