Kia AD

Home » เปิดคัมภีร์ “ระบบกันสะเทือน” … พึ่งพาประจำ แล้วมันทำงานกันอย่างไร

Kia AD

Suzuki AD

Bust Technic

เปิดคัมภีร์ “ระบบกันสะเทือน” … พึ่งพาประจำ แล้วมันทำงานกันอย่างไร

ในบรรดาชิ้นส่วนที่สำคัญในรถยนต์ที่เราใช้งสานกันประจำ คนจำนวนน้อยมากจะนึกถึงระบบกันสะเทือนภายในรถยนต์ของรถยนต์ (suspension) หรือที่ภาษาชาวบ้านอย่างเราเรียกพวกมันว่า “ระบบช่วงล่าง”  ชิ้นส่วนต่างๆมากมาย ที่เกิดจากมันสมองทีมวิศวกร มีหน้าที่ใจความหลักสำคัญในการทำให้คุณเกาะติดกับพื้นถนนทุกครั้งที่ขับขี่ รถไม่เหินหาว หรือขับแล้วไม่มั่นใจ จนเตรียมลงข้างทาง ลดการสะท้านจากสภาพถนนสู่ตัวรถ และแม้พวกมันจะสำคัญอย่างยิ่งในการใช้งาน หากก็ยังมีน้อยคนนักใส่ใจและใคร่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับพวกมัน

พูดถึงช่วงล่าง เราหลายคน อาจจะรู้จักชิ้นส่วนเพียงไม่กี่ชิ้น ทั้งที่ความซับซ้อนของระบบช่วงล่างไม่ได้ย่อหย่อนไปกว่าระบบอื่น ๆ ภายในรถที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเครื่องยนต์ , เกียร์   มันมีชิ้นส่วนมากมาน การออกแบบช่วงล่างมากมายหลายแบบ ที่ให้การตอบสนองแตกต่างกันออกไป

หน้าที่หลักของช่วงล่าง ? ??

คือการลดและแปลงแรงกระทำต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่างการขับขี่ ให้เป็นแรงรถกระทำกับพื้นถนนเพื่อทำให้ยางทั้ง 4 เส้นของคุณยังเกาะติดถนนให้มากที่สุด และมีสัมผัสต่อพื้นถนนให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้คุณหลุดโค้ง หรือกระดอนออกจากถนนไปลงข้างทาง

นอกจากหน้าที่เกาะถนนมากที่สุดแล้ว ระบบช่วงล่างยังมีหน้าที่ ซับแรงกระแทกจากิวถนนเข้าสู่ตัวโครงสร้างหลักของรถ เพื่อให้เกิดการสะท้านน้อยที่สุด หรือไม่สะท้ายเลยถ้าเป็นไปได้ ช่วยให้คุรขับขี่อย่างสบายไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับรถที่ไม่มีระบบช่วงล่างติดตั้งมาเลย อาทิเช่นรถโกคาร์ท เป็นต้น ถ้าคุณมีโอกาสขับรถคาร์ท จะพบว่า รถจะสั่นสะเทือนทุกสิ่งจากถนนเข้าหาคุณ และมันขับไม่สบายเลย

Suspension with Dynamic Ride Control (DRC)

ในปัจจุบันระบบช่วงล่างมีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีระบบต่างมากมายหลายแบบ และมีบางแบบที่เราได้ยินบ่อยมาก หากความจริงแล้วแนวทางการเซทอัพระบบกันสะเทือนจากอดีต จวบจนปัจจุบัน มี 3 แนวทางสำคัญ 

1.ช่วงล่างแบบตายตัว (Dependent Suspension)   ระบบช่วงล่างดั้งเดิมตั้งแต่พระเจ้าเหาทั่งมีอยู่บ้างในรถสมัยใหม่ในวันนี้ ระบบช่วงล่างแบบนี้อาศัยน้ำหนักจากชุดช่วงล่างเอง ในการทำให้ล้อเกาะถนนอยู่ตลอดเวลา โดยมากจะออกแบบมาให้ตอบสนองกับระบบเพลาแข็ง (axle) โดยมีชิ้นส่วนที่ยึดติดกับชุดเพลาแล้วเกาะติดกับตัวถังรถ เพื่อซับแรงกระแทกหรือกระทำที่เกิดขึ้น

ข้อดีของชุดเพลาดังกล่าวคือ ระบบช่วงล่างแบบนี้ไม่ต้องมีการตั้งค่ามุมองศามากมาย ชิ้นส่วนในการบำรุงรักษาน้อย และสามารถสร้างมุมและแรงกระทสมมาตรตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำหนักกดทับเพื่อให้ช่วงล่างทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (แต่ถ้ามีแรงกดก็จะทำงานดีขึ้น)

ระบบช่วงล่างตายตัว ที่ยังเห็นได้ในทุกวันนี้ ก็คงไม่พ้นบรรดาช่วงล่างรถกระบะที่มาพร้อมเพลาและชุดแหนบ ซึ่งยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ด้วยความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกได้ดี และไม่ยุ่งยากในการดูแลรักษาจึงยังเป็นที่นิยมไม่เสื่อมคลาย

2018-honda-civic-nurburgring-record-9

2.ช่วงล่างอิสระ  (Independent Suspension) เป็นระบบช่วงล่างที่ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตรถยนต์นิยมใช้ที่สุด เนื่องจากมีความสามารถในการตอบสนองการขับขี่ดีกว่าในทุกด้านเมื่อใช้งาน และยังสร้างความนุ่มนวลในการขับขี่อีกด้วย

แนวทางระบบช่วงล่างอิสระ โดยมากอาศัยการติดตั้งชุดโช๊คและจุดยึดของช่วงล่าง เข้ากับตัวถังอย่างน้อย 2 ชุด (แม็คเฟอร์สันสตรัท) บางระบบอาจจะยึดเข้ากับตัวถังมากกว่านี้ (มัลติลิงค์) หรือบ้างอาจยึด 2 จุด แต่ใช้การเพิ่มแขนออกมาออกมาจากตัวแชสซีแล้วใช้โช๊คอัพพร้อมสปริงยึดกับตัวแขนอีกที (ปีกนกอิสระ 2 ชั้น)

แม้ว่าแนวทางของระบบช่วงล่างอิสระจะมีมากมายหลายอย่างตามแต่ทางผู้ผลิตจะนำมาติดตั้ง แต่มันมีข้อดีสำคัญตรงที่สามารถทำให้ล้อทั้ง 4 ทำงาน อิสระจากกัน โดยอาศัยโช๊คอัพของตัวเองในการรับแรงกระแทกจากพื้นถนน ทำให้ในกรณีล้อใดล้อหนึ่งซับแรงกระแทกจากถนนเข้าสู่ตัวรถ อีก 3 ล้อที่เหลือจะยังเกาะถนนได้ มันช่วยให้ขับมั่นใจ และแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่ามาก แต่คุณก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาแสนแพงในระยะยาว

3.ช่วงล่างกึ่งอิสระ   (Semi Dependent Suspension)  ระบบช่วงล่างแบบนี้เป็นแนวคิดใหม่ผสมผสานความคิดเดิมให้มีความสามารถในการใช้งานที่ลงตัว ช่วงล่างกึ่งอิสระ มีการใช้คานแข็งด้านล่างคล้ายกับในช่วงล่างตายตัว แต่ไม่ได้เป็นชุดเพลาอย่างดั้งเดิม หากทานที่ด้วยตัวซับเฟรม ที่ออกแบบให้ล้ออยู่อิสระทางด้านปลาย แล้วติดตั้งโช๊คอัพไว้ควบคุมล้อ ที่ส่วนปลายแขนของซับเฟรม หรือ บางทีอาจจะเรียกว่า   Trailing Arm

สิ่งที่เหมือนกับช่วงล่างตายตัว คือ ค่ามุมต่างๆจะถูกเซทอัพไว้ให้คงที่ในการใช้งาน มีเพียงช่วงอาร์มเท่านั้นที่สามารถเคลื่อนที่ในแนวตั้งได้

ข้อดีคือมันต้นทุนถูก และมีลักษณะระบบที่เล็กติดตั้งง่าย จึงได้รับความนิยมมากในรถยนต์นั่งขนาดเล็ก พวกอีโค่คาร์ เก๋ง 1500 ไปจนถึงคอมแพ็คคาร์บางรุ่น (ทอร์ชั่น ทวิสต์ บีม / ทอร์ชั่นบีม) แต่ด้วยการให้ตัวที่จำกัด ทำให้ช่วงล่างแบบนี้อาจจะยังตอบการขับขี่ไม่ดีเท่าพวกช่วงล่างอิสระทั้งหลาย

The new BMW X4 xDrive M40d

ชิ้นส่วนในช่วงล่าง

มาถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนน่าจะเข้าใจระบบช่วงล่างมากขึ้น ในระดับหนึ่ง แต่ระบบช่วงล่างจะทำงานได้ ปกติแล้ว จะมี ชิ้นส่วนสำคัญ 3-4 อย่าง ทั้งหมดทำงานต่อเนื่อง ทุกครั้งทุกครั้งที่คุณใช้ชีวิตบนถนน

1.โช๊คอัพ ( Shock absorber)  เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักเจ้าหมอนี่อย่าง ทุกครั้งที่บอกว่าช่วงล่างไม่ดี คุณจะบอกเสมอว่า กำเงินไปเปลี่ยนโช๊คเถอะ ..

โช๊คอัพ มีหน้าที่จำกัดการขึ้นลงกระดอนของสปริง หรือในทางวิศวกรรมอาจเรียกว่า   Damping  มันช่วยให้ลดคุณไม่กระดอนต่อเนื่องไปเหมือนไม่มีวันว่าจะสิ้นสุด เมื่อรถเกิดการกระแทก โช๊คจึงจับเอาพลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนไหว เปลี่ยนมาเป็นพลังงานความร้อน

 

ตัวโช๊คอัพโดยส่วนใหญ่จะทำงานโดยอาศัยการกดทับและแรงดันน้ำมันในโช๊ค เมื่อมันเกิดการขึ้นลงแกนโช๊คและตัวโช๊คซึ่งโดยมากจะต่อกับตัวถังและส่วนหนึ่งของช่วงล่างจะเกิดแรงกระทำในระหว่างการทำงาน  จะดันน้ำมันในกระบอกตามจังหวะการทำงาน เพื่อลดแรงที่เกิดขึ้นจากกระแทกจากพื้นถนน และจำกัดการกระดอนของสปริงไปพร้อมกัน

 

2.สปริง สปริงถูกใช้ในช่วงล่างเพื่อซับแรงกระแทกจากถนนที่เข้าสู่โครงสร้างรถ โดยสปริงจะเด้งมากน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักของตัวรถ และการตอบสนองของชิ้นส่วนช่วงล่างแต่ละระบบที่มีความแตกต่างกันออกไป ตลอดจนขนาดของขดสปริง หรือลวดที่มาทำสปริง ในปัจจุบัน สปริง ยังมีใช้ เพียง 4 แบบ   ได้แก่

                2.1 Coil Spring   สปริงแบบนี้คล้ายกับที่เราเห็นคุ้นตามในอุปกรณ์ต่างๆ อาทิด้ามปากกา สปริงเหล่านี้ถูกติดตั้งไว้กับโช๊คอัพ เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของล้อ 

                2.2แหนบสปริง คงจะคุ้นเคยในรถกระบะ มันไม่ใช่สปริงแบบที่เราเห็น แต่ใช้ออกแบบแผ่นเหล็กที่ความยืดหยุ่นต่างกันแล้วจับพวกมันมัดรวมกันจนกลายเป็นสปริงที่สามารถควบคุมแรงกระแทกได้

                2.3 ทอร์ชั่นบาร์ เป็นการใช้ชิ้นส่วนสามารถหมุนได้เชื่อมต่อในระบบช่วงล่าง ซึ่งให้ผลแบบเดียวกับคอยย์ สปริง ข้อดีคือ เจ้าชิ้นส่วนนี้สามารถปรับความแข็งได้ เพียงการขายตั้งเอาตามต้อวการ แต่ปัจจุบันหาได้น้อยมากแล้ว เนื่องจากระบบสปริงดีกว่า และถูกลงมาก เมื่อเทียบกับยุคก่อน

                2.4 ถุงลม คุณอาจสงสัยว่าช่วงล่างถุงลมมันทำงานอย่างไร มันง่ายมากพวกเขาวิศวกรรมโดยอาศัยแรงดันอากาศเข้ามาควบคุมการซับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น มันตอบสนองดีกว่า เนื่องจากสามารถปรับได้หลายรูปแบบตามต้องการ ไม่ว่าจะแข็ง-อ่อน สูงหรือเตี้ยโหลดติดพื้น ทำได้หมดไร้ปัญหา อย่างเดียวที่ทำให้มันยังไม่ได้รับความนิยม คือราคาแพงมาก จนมีเพียงในบรรดารถหรูชั้นนำเท่านั้น

The XC90 is available with an electronically controlled air suspension.

3.เหล็กกันโคลง ปัจจุบันการวิศวกรรมช่วงล่างพยายามลดแรงกระทำที่เกิดจากการโคลงตัวของรถ (Body Roll) เพื่อทำให้รถมีการเอนตัวในระหว่างเข้าโค้งน้อยที่สุด หลักการของกันโคลงส่วนใหญ่ มีความเหมือนกัน คือถ่ายทอดแรงที่เกิดจากหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่ง เพื่อให้เกิดสมดุลของช่วงล่าง

พูดแบบนี้บางคนอาจคิดว่ามันคือการทำให้ช่วงล่างตายตัวเพิ่มขึ้น ถูกหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ แต่ถ่ายแรงเพื่อไปให้ระบบกันสะเทือนอีกด้านร่วมด้วยช่วยกันทำงาน ก็เท่านั้นเอง

อย่างไรก็ดี พัฒนาการของระบบกันสะเทือนจะดีมากแค่ไหนไม่ใช่เพียงระบบเ่านั้น แต่อย่างที่คุณเห็น พวกมันต้อพึ่งพาโครงสร้างหลักตัวรถ หรือ  Body Chassis   ในการทำงาน ซึ่งหากโครงสร้างมีความแข็งแรงมาก ระบบช่วงล่างก็จะมีศักยภาพมากตามไปด้วย 

รูปแบบช่วงล่าง (ในปัจจุบัน)

เอาล่ะ … มาถึงประเด้นที่ทำให้ผมต้องมาเขียนบทความนี้เล่าเรื่องช่วงล่างเสียยืดยาว มาจากเจ้าโอปอพันม้า ที่ถามสารพันปัญหาช่วงล่างโดยเฉพาะ คำถามที่ชวนน่าคิดว่า ช่วงล่างปัจจุบันมีกี่แบบ และ มันต่างกันอย่างไรบ้าง

ช่วงล่างทางด้านหน้า

แม็คเฟอร์สันสตรัท

คุณจะแปลกใจถ้ารู้ว่าระบบช่วงล่างรถยนต์ที่เราใช้ในวันนี้พัฒนามาตั้งแต่ปี 1947 ระบบแม็คเฟอร์สันสตรัท พัฒนาโดย เอริค แม็คเฟอร์สัน เขายื่นจดสิทธิบัตรระบบนี้เพื่อใช้ในรถยนต์   Chevrolet Cadet   ซึ่งนับเป็นรถรุ่นแรกใช้ระบบนี้

ระบบแม็คเฟอร์สันสตรัท เรียบง่ายมีประสิทธิภาพมาก โดยใช้การติดตั้งหัวโช๊คไว้กับตัวถังทางด้านบน และด้านล่างต่อกับชุดคอม้าที่ติดตั้งดุมล้อ ซึ่งจะเชื่อมโยงโดยชุดลูกหมากอีกที

ข้อดีคือเรียบง่าย และเป็นช่วงล่างอิสระ แต่ข้อเสียคือแรงกระแทกสะท้ายเข้าตัวรถมากกว่าช่วงล่างอิสะอื่นๆ

ประเภทรถที่พบบ่อย – รถอเนกประสงค์ ,รถเก๋ง

ระบบช่วงล่างทางด้านหน้าแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท

ปีกนกอิสระ 2 ชั้น   (Double Wish Bone)

ระบบช่วงล่างแบบอิสระที่ได้รับความนิยมติดตั้งในรถยนต์หลายรุ่น เนื่องจากความสามารถในการซับแรงกระแทกดีกว่าแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท  เนื่องจากสามารถซับแรงกระแทกดีกว่า และตอบสนองในการเข้าโค้งดีกว่า ระบบปีนกอิสระ 2 ชั้น มีความซับซ้อนกว่ามาก มันใช้การติดตั้งโช๊คเข้ากับคอม้า และตัวถัง แต่มีตัวคอม้าจะมีแขนอารม์อิสระยึดกับตัวถังอีกชุดหนึ่ง สามารถลดแรงที่เกิดจากการกระแทกไปยังโช๊คและสปริงได้ พอสมควร และปัจจุบันบางบริษัทนำระบบแบบนี้ไปเซททางด้านหลังด้วย 

ประเภทรถที่พบบ่อย คือ รถหรู , รถกระบะ และรถอเนกประสงค์  (เนื่องจากให้ความสามารถในการลุยได้)

ข้อเสียคือ การซ่อมบำรุงค่อนข้างแพงพอสมควร

ช่วงล่างปีกนกอิสระ 2 ชั้น ของ   Ford Ranger Raptor

ช่วงล่างทางด้านหลัง

มัลติลิงค์

ระบบช่วงล่างแบบมัลติลิงค์เป็นระบบที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถให้การตอบสนองต่อการขับขี่ได้ดร แนวทางของมัลติลิงค์คือการใช้แขนหรืออาร์มในการควบคุมแรงที่กระทำกับล้อ  โดบมีสปริงและหรือโช๊คควบคุมแรงกระแทกที่อาจจะทำเข้ากับตัวรถอีกที บ้างอาจจะติดตั้งภายในชุดช่วงล่าง แล้วแต่ตามแต่ละยี่ห้อ  และเป็นอีกระบบช่วงล่างที่ซ่อมแซงยาก

ประเภทรถที่พบบ่อย – รถเก๋ง ,รถหรู , รถอเนกประสงค์

Multi-link rear quattro suspension

 

ทอร์ชั่น บีม

เป็นระบบช่วงล่างกึ่งอิสระ โดยออกแบบให้มีคานกลางที่ยึดเข้ากับโครงสร้างตัวถัง เชื่อมระหว่างล้อซ้ายและขวา ซึ่งวางไปไว้ที่ปลายคานดังกล่าว ตัวคานมีสปริงและโช๊คออกแบบให้แยกอิสระระหว่งกัน โดยสปริงจะยึดเข้ากับตัวถังด้านล่าง และโช๊คอัพ จะยึดเข้ากับตัวถังทางด้านบน

ประเภทรถที่พบบ่อย – อีโค่คาร์ , คอมแพ็คาร์ , เก๋งเล็ก

 

แหนบ

ระบบแหนบเป็นการใช้เหล็กหลายแผ่นซ้อนที่มีความยืดหยุ่นต่างกันมาแทนที่สปริง โดยจะจัดวางตามแนวขวางหรือแนวยาว เพื่อซับแรงกระแทกจากถนนและควบคุมด้วย โช๊คอัพด้วยอีกที ข้อดีของระบบแหนบ คือมันสามารถรองรับการบรรทุก และการใช้งานสมบุกสมบันได้ดีกว่า ระบบอื่น และไม่ต้องตรวจเช็คการทำงานของช่วงล่างมากนัก

ประเภทรถที่พบบ่อย – รถกระบะ

ระบบช่วงล่างแบบแหนบวางขวางใน   Volvo  XC90 

ถามตอบเรื่องระบบช่วงล่าง

 

ช่วงล่างมีอายุการใช้งานนานเท่าไร

ปกติแล้วการบำรุงรักษาช่วงล่างแตกต่างกันไปตามเส้นทาง ภาวการณ์ขับขี่ และลักษณะการใช้งานของรถคันนั้น ถ้าคุรใช้งานสมบุกสมบัน ช่วงล่างก็จะไปเร็ว โดยมากส่วนที่จะได้รับความเสียหายโดยตรง คือ โช๊คอัพ ลูกหมาก และบุชยาง โดยเฉพาะบุชยาง มักถูกละเลยจะผู้ใช้เนื่องจะไม่ทราบมาก่อนว่าต้องมีการดูแล

ทำไมรถแข่งถึงชอบเซทโช๊คให้ติดแข็ง

การเซทช่วงล่างให้แข็งหรือนิ่มขึ้นอยู่กับภาวการณ์ใช้งาน และความเร็วที่ใช้ หลายคนเข้าใจผิดว่ารถแข่งถูกเซทช่วงล่างให้แข็งเปิดพิเศษจนกระด้าง เพื่อทำให้เกาะถนนทั้งที่เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว สาเหตุที่โช๊ครถแข่งแข็งมากจาก 2 ปัจจัย คือ

1.รถแข่งวิ่งบนทางเรียบ (ในสนาม) ซึ่งมีผิวเส้นทางดีมากจนมีการสะท้านของช่วงล่างน้อยมาก จึงใช้สปริงที่ค่อนข้างแข็ง เพื่อให้รถเกาะถนนดี แต่สปริงที่แข็งไปอาจจะทหบางคนขับรถแล้วรู้สึกร่อน และในบางจุดที่มีการกระแทกแรง เช่นคอสะพานต่างระดับ รถอาจเหิรฟ้าได้

2.รถแข่งวิ่งด้วยความเร็วสูง ในทุกพื้นที่ที่คุณขับรถมีร่องรอยบนถนนเล็กๆ น้อยๆ มากมาย เป็นแรงสั่นสะเทือนที่โช๊คและสปริง จะทำงานตลอดเวลา และยิ่งใช้ความเร็วสูงการกระแทกต่างๆ เหล่านี้มีมากขึ้นและเพิ่มมากขึ้นตลอดการแข่งขัน

สำหรับรถแข่งสิ่งที่ต้องการน้อยที่สุดคือความไม่มั่นใจในการขับขี่ ช่วงล่างจึงถูกเซทให้มีความแข็งเพื่อให้รถไม่เกิดอาการสะท้านสะท้อนแรงกระแทกในระหว่างที่ขับด้วยความเร็วสูง ลักษณะบุคลิกช่วงล่างรถแข่งจึงออกมาแข็งมาก และที่สำคัญรถแข่งแท้จริงบางการแข่งขัน ใช้ระบบช่วงล่างคนละแบบกับรถบ้าน

จะรู้ได้อย่างไรว่าช่วงล่างเสื่อมสภาพ

ช่วงล่างเสื่อมสภาพ สามารถรู้ได้ ถ้าคุณขับรถบ่อยๆ และเป็นคนรักรถ จะพบว่าอาการเข้าโค้ง อาการซับแรงกระแทกรถ ทั้งหมดเปลี่ยนไป  เมื่อมันมีบางอย่างผิดปกติ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้ลองตรวจสอบสภาพช่วงล่างตัวเองในเบื้องต้น ด้วยการตรวจลูกยาง , ร่องรอยการซึมของโช๊ค (ในกรณีรถใหม่สามารถขอเคลมได้ ตามการรับประกันคุณภาพสินค้า)

ช่วงล่างอิสระ 4 ล้อ ดีกว่าอย่างไร

ช่วงล่างอิสระ 4 ล้อ ดีกว่าในแง่การขับขี่ โดยเฉพาะเส้นทางที่เป็นถนนทางโค้งต่อเนื่อง เนื่องจากโค้งมีลักษณะมุมเลี้ยวต่างกัน ทำให้การเสียดทานของยางและให้ตัวของช่วงล่างต่างกันตามไปด้วย ในจังหวะที่เราหักเลี้ยว ถ้าช่วงล่างเรา เป็นแบบอิสระ 4 ล้อพวกมันจะทำงาน แปรผันไปตามแต่ละล้อ ที่เจอสถานการณ์ไม่เท่ากัน และทำให้ยางทั้ง 4 เส้นติดหนึบกับพื้นถนนมากกว่า

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ ไม่ธรรมดาเลยใช่ไหม ระบบช่วงล่างในรถของเรา พวกมันทำงานตลอดเวลาตอบความปลอดภัยให้คุร แต่หลายคนกับใส่ใจน้อยมาก และวันนี้รู้แล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพช่วงล่างก่อนการเดินทางนะครับ 

 

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com



 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.