ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เชื่อว่ากระแสสังคมที่กดดันเจ้าของ “หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง” ยี่ห้อหนึ่งออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อรถยนต์ลูกค้าที่เกิดปัญหาหลังจากการใช้งานผลิตภัณฑ์ ดูจะได้รับความสนใจจากคนรักรถในสังคมอย่างมาก แม้การต่อสู้จะออกมาอย่าดุเดือดเลือดพล่ายด้วยถ้อยแถลง และวาทะกรรมเด็ดๆ ต่างๆ มากมาย
หากคำถามที่หลายคนอยากทราบ คงไม่พ้นว่า หัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ยังมีอีกหลายยี่ห้อนั้น ใช้ได้จริง ช่วยประหยัดเครื่องแรงแบบที่โฆษณา หรือว่ามันกลับเป็นสูตรน้ำมันอันตรายและไม่มีใคร หรือแม้แต่หน่วยงานภาครัฐคิดจะเข้ามาควบคุมในเรื่องนี้
“หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง” เป็นสารที่นิยมมมากในหมู่คนรักรถหน้าใหม่ หรือคนรุ่นเก่าที่เข้าใจว่าน้ำมันเครื่องยนต์ที่เราใช้กับเครื่องยนต์เพื่อการหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการทำงานของเครื่องยนต์ และด้วยความเข้าใจบางอย่าง ทำให้พวกเขามองหาสารต่างๆ ไปปกป้องเครื่องยนต์ในรถที่เขารัก โดยหวังพึ่งสารปรุงแต่งต่างๆ ที่มีอยู่เกลื่อนตลาด
ที่มาที่ไปของหัวเชื้อน้ำมันเครื่องมีมานานหลาย 10 ปี โดยเริ่มจากทางฝั่งเมืองหนาว ซึ่งต้องการสารพิเศษบางอย่างผสมกับน้ำมันเครื่องเพื่อทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้แม้ในสภาวะอุณหภูมิต่ำมากๆ โดยเฉพาะในฤดูหนาว
ความเชื่อนี้แผ่ขยายมายังเมืองไทยตั้งแต่รุ่นปู่จวบจนรุ่นพ่อของพวกเรา เนื่องในอดีตน้ำมันเครื่องส่วนใหญ่ไม่มีการใส่สารปรุงแต่งนอกจากการหล่อลื่น จนในระยะหลังทางบริษัทน้ำมันหลายแห่ง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ถูกบังคับให้ใส่สารปรุงแต่งในน้ำมันเครื่องเพื่อทำให้น้ำมันมีประสิทธิภาพในการใช้งานแม้ในฤดูหนาว
จากจุดเริ่มต้นการผสมสารประกอบอื่นในน้ำมันเครื่อง ทำให้หัวเชื้อน้ำมันเครื่องในปัจจุบันไม่มีความจำเป็นต้องใช้เลยก็ว่าได้ แต่สำหรับคนรักรถบางกลุ่ม พวกเขาเชื่อคำโฆษณาอย่างสุดใจว่าเครื่องยนต์จะมีกำลังมากขึ้น และประหยัดน้ำมันมากขึ้น ทั้งที่ไม่น่ามีความเป็นไปได้ บางคนหลงเชื่อจากการดูการสาธิตของพ่อค้าหน้าร้านที่นำเหล็กมาถ่วงเสียดสีให้ดู แล้วเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์รถ จนก่อให้เกิดความเชื่อสนิทใจว่า ใส่หัวเชื้อน้ำมันเครื่องจะดีกับเครื่องยนต์
เปิดโปงหัวนำมันเครื่อง ที่แท้พาราฟิน
จากกรณีที่กำลังเป็นประเด็นสังคม ทำให้ อาจารย์ อ๊อด ศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีจากม.เกษตรฯ ได้ถูกขอให้เข้ามาตรวจสอบ “หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง” โดยนอกจากยี่ห้อดังที่ตกเป็นข่าวแล้ว ทางอาจารย์อ๊อดยังระบุว่า มีการสุ่มตัวอย่างจากห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง สีเขียวอ่อน มาอีก 2 ยี่ห้อ
ก่อนมาผ่านตรวจสอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิค nuclear magnetic resonance NMR (นิวเคลียร์เมกเนติกเรโซแนนซ์) และ infrared spectroscopy IR
ผลปรากฎว่า พบว่า ทั้ง 3 ยี่ห้อ ต่างใช้ส่วนผสมเดียวกัน คือ สารประเภทพาราฟิน ที่เรียกว่า “CHLORINATED PARAFFINS” ซึ่งจัดเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับน้ำมันพืช
สาร CHLORINATED PARAFFINS เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กเพื่อการขึ้นรูปหรือตัดเหล็ก รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และขึ้นรูปด้วย คุณสมบัติของสาร CHLORINATED PARAFFINS จะประกอบด้วยสารพาราฟินและคอลีนในเนื้อน้ำมัน สามารถทนความร้อนได้เพียง 200-500 องศาเซลเซียส แล้วแต่ส่วนผสมที่ทางผู้ผลิตนำออกมาขายหรือสั่งให้ผสม
เครื่องพังได้ไงสงสัยไหม..
ตามการทำงานของเครื่องยนต์ทั่วไป อุณหภูมิในห้องเผาไหม้จะมีค่าความร้อนจากการจุดระเบิดที่ 232 องศาเซลเซียส ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลมีอุณหภูมิทำงานอยู่ที่ราวๆ 500-600 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับอัตรากำลังอัดเครื่องยนต์
การใส่สาร CHLORINATED PARAFFINS เข้าไปผสมกับน้ำมันเครื่อง แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสกับความร้อนจากการจุดระเบิดโดยตรงแต่น้ำมันบางส่วนที่ถูกวาดขึ้นไปเพื่อหล่อลื่นชุดสูบจะได้รับความร้อนส่วนหนึ่งกลับมาลงมาสู่อ่างน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องมีค่าความร้อนสูง ก่อนไปผ่านกระบวนการลดความร้อน จนอยู่ในช่วงอุณหภูมิใช้งาน 90-110 องศาเซลเซียส (ในรถยนต์) และอาจจะมีค่าความร้อนสูงกว่านี้ถ้าขับขี่อย่างรุนแรง เช่นขับรถด้วยความเร็วอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา หรือใช้รถเพื่อการแข่งขัน อาจจะทำให้ความร้อนสูงถึง 140 องศา หรือมากกว่านั้น หากเป็นรถที่ปรับแต่งเครื่องยนต์มาเพื่อการแข่งขันความเร็วโดยเฉพาะ
ด้วยการเป็นสารหล่อลื่นที่ใช้ในอุตสาหกรรมตัดเหล็ก หรือบ้างอาจจะรู้จักในนาม Cutting Oil ทำให้พ่อค้าหัวใสบางคนนำเอาสารชนิดนี้มาบรรจุขวดขายแล้วสร้างกระแสจนกลาย “หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง” ที่ไม่ได้มีการพิสูจน์ความสามารถในการใช้งานและลักษณะทางเคมีใดๆ
ในช่วงแ
รกหลังเติมสาร CHLORINATED PARAFFINS ร่วมกับน้ำมันเครื่อง ผู้ใช้จะรู้สึกได้ถึงการตอบสนองที่ดีของเครื่องยนต์ รถอาจจะมีอาการลื่นกว่าปกติ แต่เมื่อ CHLORINATED PARAFFINS ได้รับความร้อนบ่อยๆ จะเกิดปฏิกิริยาเสื่อมสภาพระเหยเป็นเขม่า เกาะติดตามชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์เป็นคราบยางไหม้
เมื่อพาราฟินระเหยไปแล้วอะตอมของคลอรีนก็จะแตกตัวไปรวมกับอะตอมไฮโดรคาร์บอน เกิดเป็นกรดไฮโดรคลอลิก หรือที่หลายคนอาจจะเรียกว่า “กรดเกลือ” ซึ่งสามารถทำลายชิ้นส่วนขนาดเล็กในเครื่องยนต์ อาทิชาร์ฟข้อเหวี่ยง ซึ่งแช่อยู่ในอ่างน้ำมันเครื่องตลอดเวลา
รักรถต้องเข้าใจ น้ำมันเครื่องก็เพียงพอ
มาถึงตรงนี้ ผมไม่ได้กล่าวว่า “หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง” ทุกยี่ห้อจะเป็นสารเคมีประเภทพาราฟินทั้งหมด แต่อย่างน้อยจากผลทดสอบ 3 ยี่ห้อ ทั้งที่มีขายในห้างและยี่ห้อดังต่างชี้ว่าแบบนั้น แล้วคุณจะยังกล้าเสี่ยงซื้อหัวเชื้อน้ำมันเครื่องยนต์เหล่านี้หรือไม่
สำหรับใครที่กำลังคิดว่าแล้วเราจะมีวิธีการดูแลเครื่องยนต์ให้พร้อมใช้งานอย่างไร บกเลยว่ามันไม่ยาก เพียงคุณดูแลจัดการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาไม่ขาดเกิน รวมถึงเลือกใช้น้ำมันเครื่องยนต์ดีๆ มีค่าความหนืดถูกต้องตามเครื่องยนต์ต้องการ มันเพียงพอแล้วสำหรับการดูแลเครื่องยนต์ในรถของคุณ ที่เหลือเพียงดูแลการสึกหรอจากการใช้งาน รับรองว่ารถยนต์ที่เราใช้จะยืนยาวไปนานแสนนาน
จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่มีหน่วยงานรัฐบาลไหน ออกมาช่วยเหลือประชาขน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากหัวเชื้อน้ำมันเครื่องกำมะลอยี่ห้อดัง ที่มีสารพาราฟิน แต่ด้วยการพิสูจน์แล้วทางวิทยาศาสตร์ในวันนี้ ถ้าคุณคิดว่าเครื่องยนต์ต้องการอะไรมากกว่าน้ำมันเครื่องแล้วล่ะก็คุณกำลังคิดผิด
ชอบกดไลค์ใช่กดแชร์ ขอบคุณทุกกำลังใจสำหรับพวกเรา ridebuster.com