รถกระบะ เป็นรถยนต์ยอดนิยมของคนไทยมาช้านาน เราอยู่กับรถแบบนี้มายาวนาน พวกมันส่วนใหญ่มาพร้อม เครื่องยนต์ดีเซล จนกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งรถกลุ่มนี้ คุณเคยถามไหมว่า ทำไมกระบะในวันนี้ทั้งหมดจึงเป็นเครื่องยนต์ดีเซล
ย้อนไปในยุคเริ่มแรกของ รถกระบะ ผู้ผลิตส่วนใหญ่นำเสนอกระบะเครื่องยนต์เบนซินออกมาตอบโจทย์ลูกค้า และมีเพียงน้อยนิดเท่านั้น นำเสนอเครื่องยนต์ดีเซลให้แก่ลูกค้า
ด้วยกำลังเครื่องยนต์เบนซินที่มีกำลังไม่มากไปกว่ารถเก๋ง รวมถึงแรงบิดที่ได้จากเครื่องยนต์ก็น้อยพอๆกัน และยังมาในช่วงรอยกลาง ตั้งแต่ 3,000-4,000 รอบต่อนาที ทำให้ลูกค้ามองว่ามันไม่เหมาะกับการใช้งานเท่าไร โดยเฉพาะเมื่อต้องนำไปใช้งานเพื่อการบรรทุก
ด้วยความต้องการขอลูกค้าในยุคแรกซื้อกระบะไปเพื่อใช้งานในการบรรทุก ทำให้ผู้ผลิตบางรายเริ่มแนะนำเครื่องยนต์ดีเซลเข้าสู่ตลาด เริ่มจากแบรนด์ชั้นนำ อย่าง อีซูซุและโตโยต้า ก่อนที่อีกหลายแบรนด์ อย่าง มิตซูบิชิ และ นิสสัน จะตามมาในทันควัน
ช่วงแรกกระบะเบนซินยังมีจำหน่ายเคียงข้างกับกระบะเครื่องยนต์ดีเซลอยู่บ้าง แต่ด้วยความสามรถของเครื่องยนต์ดีเซลมากกว่า
ประกอบกับเครื่องยนต์มีกำลังขับมากกว่า ทำให้เริ่มได้รับความนิยมจากลูกค้า โดยเฉพาะในยุคเริ่มต้นกระบะ ทั้งหมดแนะนำพร้อมระบบส่งกำลังเกียร์ธรรมดา เครื่องยนต์ดีเซล จึงตอบการขับขี่ดีกว่า มันออกตัวง่าย ด้วยแรงบิดสูงในรอบต่ำ ในทางเดียวกันบริษัทผู้ผลิตบางรายเริ่มชูจุดเด่นในเรื่องความประหยัดน้ำมันเข้ามาเป็นจุดขาย ในแง่ทางธุรกิจถือว่าตอบโจทย์การค้าขาย และต้นทุนการขนส่ง หากต้องนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์
เมื่อย้อนกลับไปถึงราคาขายของตัวรถไม่ได้แตกต่างมากมาย ยิ่งผสมกับเรื่องความทนทานของเครื่องยนต์ดีเซล การดูแลรักษาง่าย รวมถึงด้วยกฎหมาย ภาษีประจำปีที่เข้มงวด และรถที่มีขนาดเกินกว่า 1800 ซีซี ต้องเสียอัตราภาษีรายปีค่อนข้างสูง หากใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นก็ต้องเสียภาษีรายปีเยอะ ซึ่งหากจะพัฒนาเครื่องยนต์เบนซินให้มีกำลังเทียบเท่าอาจจะต้องมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่คงไม่สนใจ
ในที่สุดบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่ จัดสินใจทำรถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว จากอดีตที่มีทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์เบนซิน แล้วแต่ว่าลูกค้าจะเลือกอะไร
ในระยะหลังเครื่องเบนซินถูกทิ้งห่างด้วย ความต้องการของลูกค้าต่อเครื่องยนต์ดีเซล ทให้ผู้ผลิตพัฒนาพวกมันอย่างต่อเนื่อง ทั้งการติดตั้งระบบหัวฉีดตรงหรือ Direct injection ใส่ระบบอัดอากาศ หรือ เทอร์โบชาร์จเจอร์เข้ามา
ภายหลังแนะนำระบบหัวฉีดแรงดันสูง หรือที่คนไทย รู้จักในระบบ Common Rail เพิ่มเข้ามา ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ดีเซล มีทั้งพละกำลังและแรงบิดเพิ่มขึ้น ประกอบกับตัวรถมีขนาดใหญ่ขึ้น ยิ่งทำให้เครื่องดีเซลกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำรถกลุ่มนี้ไปโดยปริยาย เพราะตรงใจลูกค้า
แม้ว่า เครื่องยนต์ดีเซล จะกลายเป็นมิตรแท้รถกระบะ แต่ก็มีความพยายามจะนำเครื่องยนต์เบนซินกลับมาแนะนกับลูกค้าอยู่บ้าง ถ้ายังจำได้ เมื่อ 5-6 ปี ที่แล้ว สมัยน้ำมันแพงลิบลิ่ว บริษัทผู้ผลิตหลายรายเริ่มหันมาแนะนำเครื่องยนต์เบนซินในกระบะอีกครั้ง ยกตัวอย่างนิสสัน เอาเครื่องยนต์ 2.5 ลิตร 173 แรงม้า มาติดตั้งใน Nissan Navara ขายช่วงสั้นๆ ได้รับความนิยมพอสมควร เนื่องจากผู้ใช้ สามารถนำไปติดตั้งแก๊สได้ แต่ก็เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในช่วงวิกฤติ ก่อนจะจากลาไปอีกครั้ง
การนำเครืองเบนซินกลับมาอีกครั้งในยุคใหม่ ชี้ให้เห็นว่า แม้เครื่องยนต์จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่คนไทยยังชอบกำลังแรงบิดจากเครื่องยนต์ดีเซล รวมถึงรอบแรงบิดที่ช่วง 3,000 รอบต่อนาทีขึ้นไป ทำให้เวลาขับต้องเร่งรอบเครื่องมาก จึงทำให้คนส่วนใหญ่มองว่ามันน่าจะกินน้ำมันกว่าการใช้เครื่องยนต์ดีเซล ที่มีแรงบิดสูงในรอบต่ำ
เครื่องยนต์ดีเซลกับ รถกระบะ เป็นของที่อยู่คู่กันจนนึกไม่ออกว่า ถ้าดราขับกระบะเบนซินเครื่องใหญ่แล้วจะเป็นอย่างไร แต่ถึงแบบนั้นเครื่องยนต์ดีเซลก็มีข้อด้อยสำคัญ คือมันปล่อยมลภาวะสร้าง PM2.5 มากกว่า ถ้าหากเราไม่ใส่ใจละเลยการบำบัดไอเสียก่อนปล่อนออกมาสู่ภายนอก ก็จะพ่นฝุ่นและสารก่อมะเร็งมาผสมปนในอากาศ