เชื่อเลยว่าในการใช้รถยนต์หลายคนคงจะเคยมีเหตุให้ลืมเสียสนิทว่าจะต้องต่อทะเบียนชำระค่าภาษีประจำปี มันเป็นเรื่องที่คนจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาอยู่บ่อยครั้ง และไม่ค่อยมีใครใคร่จะเล่าให้ฟัง 

การขาดต่อภาษีประจำปี เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ และแม้ว่าการขาดต่อภาษีนั้น จะมีอำนาจปรับตามกฎหมาย ผิดกฏและมีค่าปรับรุนแรงอยู่แล้ว หากคนจำนวนไม่น้อยก็ไม่ค่อยทราบว่าจะจัดการกับปัญหาของตัวเองอย่าง และวันนี้เราจะพาคุณไปต่อทะเบียนรถที่ขาดต่อภาษีกัน 

 

1.ต่อทะเบียนได้เมื่อไร 
บางทีทางที่ดีกว่าการขาดต่อภาษีประจำปีเลย คือ การต่อภาษีเมื่อถึงเวลา ตามปกติแล้วจะสามารถต่อได้ก่อนในระยะไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันหมดอายุ และสามารถแจ้งต่อได้เลยเมื่อมีความประสงค์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว 

 

2.เมื่อขาดต่อ

การขาดต่อทะเบียน โดยมาจากจะแนกเป็น 2 กรณี คือ 1 กรณีที่ทะเบียนยังไม่ถูกยกเลิด และ 2 กรณีที่ทะเบียนที่ใช้นั้นถูกยกเลิกไปแล้ว 

ต่อภาษีประจำปี

2.1 กรณีทะเบียนไม่ถูกยกเลิก 

ในกรณีทะเบียนที่ใช้ไม่ถูกยกเลิก เป็นกรณีที่คุณขาดต่อทะเบียนประจำปีรวมกันไม่เกิน  3 ปี นับตั้งแต่การต่อทะเบียนครั้งสุดท้าย หรือแจ้งจอดไว้ แล้วมาต่ออายุภายใน 3 ปี นับตั้งแต่การแจ้งจอดต่อกรมการขนส่งทางบก 

ในกรณีที่คุณล่าช้าในการต่อทะเบียนชำระภาษีประจำปี จะมีเบี้ยปรับจากทางหน่วยงาน คิด ร้อยละ 1 ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระ 
ยกตัวอย่างเช่น รถมอเตอร์ไซค์ ชำระค่าภาษีรายปี เป็นรายคัน คันละ 100 บาท หากขาดต่อ 3 เดือน เมื่อคุณไปต่อ ก็เท่ากับ ต้องเสีย 103 บาท  ส่วนรถยนต์ ก็คิดตามภาษีที่ชำระ เช่น  เครื่องยนต์ 1,200 ซีซี อย่างอีโค่คาร์ เจอเบี้ยปรับเดือนละ 12 บาท  แล้วคุณด้วยจำนวนเดือนที่คุณล่าช้าในการชำระไป 

ยิ่งคุณต่อทะเบียนช้า ก็ยิ่งจ่ายมาก  ดังนั้นสูตรคำนวนค่าปรับล่าช้าภาษีรถยนต์ เท่ากับ  ค่าภาษีประจำปีX1% =? X  จำนวนเดือน  
โดยจำนวนนี้ยังไม่รวม ค่าตรวจสภาพ และค่าพรบ.

2.2 กรณีถูกยกเลิกทะเบียน 

ในกรณีที่รถถูกยกเลิกทะเบียน จะเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ต่อทะเบียนเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 3 ปี การจะทราบว่ารถถูกยกเลิกทะเบียนหรือไม่ สามารถตรวจสอบจากป้ายภาษี เทียบกับปีปัจจุบัน บางครั้งกรมการขนส่งจะส่งจดหมายมาเตือน หรือแย่ที่สุดคือแจ้งว่าทะเบียนถูกยกเลิกไปแล้ว 
เมื่อทะเบียนถูกยกเลิก ป้ายทะเบียนที่ใช้ จะถือว่าสิ้นสุดทันที และคุณจำเป็นจะต้อง ดำเนินการจดทะเบียนรถคันนั้นลงระบบทะเบียนใหม่ 

*ด้วยการยกเลิกทะเบียนเก่า ทำให้คุณจะเสียค่าภาษีคงค้างเดิมเพียง 3 ปีเท่านั้น ไม่ว่าจะขาดต่อนานเท่าไร ก็จะเสีย 3 ปี เท่านั้น 

โดยในการจดทะเบียนใหม่ เนื่องจากค้างภาษีค้างชำระจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าแบบแรกดังนี้ 

1.ค่าภาษีเดิมที่ค้างชำระ (3ปี) บวกเบี้ยปรับ ตามที่กล่าวไป ร้อยละ 1 
2.ค่าคำขอจดทะเบียนรถใหม่ 
3.ค่าตรวจสภาพ
4.ค่าพรบ. 

ยกตัวอย่าง กรณีรถจักรยานยนต์ขาดต่อทะเบียน นานเกิน  3 ปี คุฯ จะมีค่าใช้จ่ายดังนี้ 
1.ภาษีที่ค้างชำละเท่ากับ 327 บาท (ถ้าต่อเดือนแรกหลังจาก3ปี) มาจาก ค่าภาษีปีละ 100 บาท คณอัตราภาษีร้อยละ 1 เป็นเวลา 3 ปี 1 เดือน เท่ากับ ค่าปรับ 27 เดือน หรือ 27 บาท 
2.ค่าคำขอจดทะเบียน 340 บาท (เป็นค่าคำขอ และค่าดำเนินการ) 
3.ค่าตรวจสภาพ 50 บาท (ที่ขนส่ง)
4.พรบ. ตามแต่ซีซีรถ 

ส่วนในกรณีรถยนต์ขาดต่อทะเบียนจะแพงกว่านี้มาก เนื่องจากการคำนวนภาษีจากขนาดของเครื่องยนต์ ของรถยนต์ ที่ไม่เหมือนมอเตอร์ไซค์ 
อย่างไรก็ดีแม้ว่าการขาดต่อทะเบียนรถยนต์จะไม่ใช่เรื่องยากและคุณสามารถดำเนินการเองได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าการเสียเวลาไปกรมการจนส่งในพื้นที่เอง อาจจะต้องใช้เวลานาน และการเสียเวลานานๆ ในการทำธุรกรรมไม่ใช่เรื่องดีเลย  ซึ่งหากคิดเป็นค่าใช้จ่ายก็คงต้องกล่าวว่าได้ไม่คุ้มเสีย  
การต่อภาษีรถยนต์ค้างชำระไม่ใช่เรื่องยาก และคุณสามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้ สำคัญคือรถที่คุณจะนำไปต่อภาษีต้องพร้อมในสภาพใช้การได้ และพร้อมให้กรมการขนส่งตรวจสอบสภาพครับ 

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่