กลายเป็นกระแสฮือฮาขึ้นมาทั้น หลังจากทาง  MG   เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าในราคา 1.19 ล้านบาท สร้างกระแสให้คนตื่นตัวว่าวันนี้รถยนต์ไฟฟ้าอาจไม่อยู่ไกลอีกต่อไปแล้ว ในราคาเดียวกันนี้เราอาจจะสามารถซื้อรถได้หลายรุ่น หนึ่งในนั้นที่มีความประหยัดรักษ์โลกไม่ต่างกัน ก็ไม่พ้น   Toyota  C-HR

ความเหมือนที่แตกต่างอาจจไม่น่าโคจรมาเจอกัน แต่ในที่สุดต้องยอมรับว่า ด้วยราคาที่ใกล้เคียงกันอาจทำให้กลุ่มลูกค้ารถทั้ง 2 รุ่นเป็นกลุ่มเดียวกัน พวกเขาน่าจะเป็นที่ใช้รถขับไปทำงานทุกวัน ใช้ชีวิตในเมืองและต้องการรถที่ประหยัดตอบโจทย์ในการขับขี่ ว่าแต่เมื่อรถไฮบริด เจอรถยนต์ไฟฟ้า ใครจะน่าใช้กว่ากัน

 

Toyota  C-HR HV Hi   ครบเครื่องในแบบรถไฮบริด

เปิดตัวมาขายมาได้เกือบ2 ปี กับ เจ้ารถยนต์อเนกประสงค์   Toyota C-HR   มพาร้อมเครื่องยนต์ไฮบริดแหวกตลาดตอบลูกค้าที่มองหารถพกความประหยัดและความปลอดภัยมามากมาย

Toyota C-HR HV Hi

การเข้ามาทำตลาดรถรุ่นนี้เรียกว่าเป็นปฐมบทการพลิกโฉมของ  Toyota   มากมาย  ทั้งในแง่การออกแบบตัวรถยุคใหม่มุ่งเน้นสไตล์สปอร์ตทันสมัย เห็นแล้วหันหลับมองอีกที นี่โตโยต้าแน่นะ รวมถึงโครงสร้างใหม่  Toyota TNGA   เปลี่ยนบุคคลิกการขับขี่รถยนต์ยี่ห้อนี้ไปตลอดกาล

ตัวเครื่องยนต์พก ขุมพลังเดียวกับ   Toyota  Prius  ต้นกำลัง 1.8 ลิตร ระบบ   Atkinson Cycle  พร้อมมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังขับรวม 120 แรงม้า (122 PS) ให้แรงบิดรวม 305 นิวตันเมตร รองรับพลังงานทางเลือก  E20  เน้นประหยัดในการขับขี่จนตอนทดสอบครั้งแรก ขับไปบุรีรัมย์ สามารถทำอัตราประหยัด ช่วงเดินทางใช้ความเร็วต่อเนื่อง 100-110 ก.ม.ได้ถึง 23 ก.ม./ลิตร (ด้วยน้ำมันแก๊สโซฮอล 95)

Toyota C-HR HV Hi

ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายการเดินทาง จะได้เท่ากับ  23 /27.45 = ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 0.83 บาทต่อกิโลเมตร  (*ราคาขายน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ในปัจจุบัน ณ วันที่เขียนบทความ)

ทางด้านออพชั่นการใช้งานรองรับที่นั่ง 5 ที่นั่ง แต่มักจะโดนติเรื่องที่นั่งตอนหลังแคบ จากการออกแบบที่ทำให้รถดูทึบเมื่อเข้าไปโดยสาร

ตลอดจนยังมีออพชั่นเรื่องความปลอดภัยครบเครื่อง   Toyota  Safety Sense P ช่วยให้อุ่นใจในการขับขี่ หลายรายการ ทั้ง

  • ระบบเปิดไฟสูงอัตโนมัติ
  • ระบบเตือนความเหนื่อยล้าระหว่างขับขี่
  • ระบบเตือนและหน่วงพวงมาลัย เมื่ออกนอกเลน
  • ระบบเตือนมุมอับสายตา
  • ระบบเตือนขณะถอดออกจากช่องจอด
  • ระบบเพิ่มความปลอดภัยก่อนการชน

 

MG ZS EV    สู่ภาพใหม่รถยนต์อนาคต

ตั้งแต่เปิดตัวออกมาขาย ต้องยอมรับว่า   MG ZS   กลายเป็นรถที่ทำให้   MG  เข้ามาอยู่ในใจคนไทย เป็นตัวชูโรงสำคัญแทนรถยนต์   MG 3   ที่เคยถูกตบตีเรื่องเกียร์แปลกประหลาด  ทว่ากับรถอเนกประสงค์เล็กคันนี้สอดเข้ามาในตลาดเข้าด้านเข้าเข็ม คู่แข่งกำลังเหนื่อยอ่อนพอดี

MG ZS EV   เพิ่งจะเปิดตัวไปหมาดๆ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา ด้วยภาพลักษณ์ใหม่ แห่งการเป็นรถยนต์พลังงานสะอาดรักษ์ดลก ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า จัดการโยนทิ้งเครื่องยนต์เดิมออกไป พกมอเตอร์ไฟฟ้า และแบตเตอร์รี่ลิเธียมไออนขนาด 44.5 กิโลวัตต์ สามารถเดินทางได้ไกล 337 ก.ม. ต่อการใช้ชาร์จ

MG ZS EV

เรื่องการตบแต่งภายในเสรอมความทันสมัยตามสไตล์รถยนต์ยุคใหม่ อาทิซันรูฟขนาดใหญ่ วัสดุหุ้มเบาะที่ดีขึ้น ,เรือนไมล์ และปุ่มควบคุมเกียร์ใหม่หมด

ความปลอดภัยครบเครื่องหลายรายการ ยาวเป็นหางว่าว สุดจัดในอเนกประสงค์ วันนี้  ได้แก่

  • ระบบเปิด-ปิดไฟสูงอัตโนมัติ IHC (Intelligent High-Beam Control)
  • ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน ACC (Adaptive Cruise Control)
  • ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติเมื่อความเร็วต่ำ TJA (Traffic Jam Assist)
  • ระบบช่วยเตือนเมื่อเสี่ยงต่อการชนรถยนต์คันหน้าขณะขับขี่ FCW (Forward Collision Warning)
  • ระบบช่วยเตือนเมื่อรถออกนอกเลน LDW (Lane Departure Warning)
  • ระบบช่วยควบคุมรถเมื่อรถออกนอกเลน LDP (Lane Departure Prevention)
  • ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน LKA (Lane Keep Assist)
  • ระบบช่วยเตือนเมื่อต้องการเปลี่ยนเลน LCA (Lane Change Assist)
  • ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา BSD (Blind Spot Detection)
  • ระบบเตือนขณะถอยหลัง RCTA (Rear Cross Traffic Alert)

 

เทียบความสามารถในการใช้งาน

หลายคนอ่านบทความนี้อาจจะรู้สึกว่า เราไม่ควรนำรถยนต์ไฟฟ้า มาเทียบกับรถยนต์ไอบริด ด้วยความแตกต่างคนละชั้น แต่ข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ คือ คนซื้อรถหรือสนใจ รถทั้งสองรุ่นต่างมีความคิดคล้ายกัน และกลับกลายเป็นกลุ่มเดียวกัน อย่างน่าเชื่อ

ประเด็นแรกที่เราต้องเปรียบเทียบให้เห็นคือความสามารถในการใช้งานของตัวรถ   Toyota  C-HR HV Hi   ยังต้องเติมน้ำมันใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้า ยังต้องเติมน้ำมัน ถังน้ำมันเจ้าไฮบริดคันนี้ถูกย่อเหลือเพียง 43 ลิตรเท่านั้น

Toyota C-HR HV Hi

ถ้าเติมเต็มถัง ด้วยน้ำมันแก๊สโซฮอล จะมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น  43*24.44 = 1,050.92 บาท  ตามข้อมูลของ   Eco Sticker  มีอัตราประหยัดน้ำมัน  24.4 ก.ม./ลิตร เท่ากับ 1 ถัง จะขับได้ไกล  1,049.2 กิโลเมตร ค่าใช้จ่าย 1.00 บาท ต่อกิโลเมตร  

 

ทางด้านรถยนต์ไฟฟ้า   MG ZS EV  ขนาดแบตเตอร์รี่ 44.5 กิโลวัตต์ ต่อชั่วโมง จากการทดสอบของภาครัฐบาล ระบุว่า การขับเคลื่อน 1 กิโลเมตรใช้ไฟฟ้า  169 วัตต์ต่อชั่วโมง เท่ากับถ้าใช้ขับเคลื่อนจริงตามข้อมูลนี้จะมีระยะทางเพียง 44,500/169 = 263 กิโลเมตร เท่านั้น (คำนวณจากข้อมูล  Eco Sticker) 

MG ZS EV

หากนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายต่อระยะทางขับเคลื่อน ก่อนอื่นต้องหาค่าชาร์จไฟแบตเตอร์รี่ 100%  ขนาดแบตเตอร์รี่ คือ 44.5  Kwh   (*1หน่วยไฟฟ้า = 1  กิโลวัตต์)  คูณด้วยค่าหน่วยไฟฟ้า 3.93 บาท ต่อ หน่วย เท่ากับ 174.88 บาท ต่อการชาร์จ

ดังนั้นค่าใช้จ่ายการขับเคลื่อน MG ZS EV   จะเท่ากับ 174.88/263 = 0.66 บาท  หรือ ถูกกว่ารถไฮบริดประมาณ 0.44 สตางค์ 

อย่างไรก็ดี เมื่อมองความเป็นจริงในการใช้งาน จะเห็นได้ว่า  MG ZS EV  มีข้อจำกัดสำคัญในเรื่องระยะทางการขับขี่ ไม่ว่าจะตามที่เปิดเผยจากทาง   MG   ระยะทางต่อการชาร์จ 337 ก.ม. หรือจากการคำนวณจากอัตราประหยัดของภาครัฐบาลที่เปิดเผยต่อสาธารณ แล้วเราได้ตัวเลขเพียง 263 กิโลเมตร เท่านั้น  

 

รถไฮบริด-รถยนต์ไฟฟ้า คันไหนคุ้มค่ากว่า!!

พอมาเปรียบเทียบแบบนี้ เชื่อว่าหลายคนเริ่มอยากจะครอบครองรถยนต์ไฟฟ้าบ้างไม่มากก็น้อย คำถามอาจจะวนเวียนในใจว่า เทียบแล้วใครคุ้มค่ากว่ากัน

เพื่ออธิบายเรื่องนี้ให้ประจักษ์ชัดแจ้ง เราต้องว่ากันไป เป็นเรื่องๆ เพื่อจะได้เข้าใจพร้อมกัน ว่าสรุปแล้วรถยนต์ไฮบริดกับรถยนต์ไฟฟ้า ดีต่างกันอย่างไร และอะไรเหมาะกับคุณมากที่สุด

1.การใช้พลังงาน

คันหนึ่งใช้น้ำมัน อีกคันใช้ไฟฟ้า เห็นค่าใช้จ่ายไฟฟ้าถูกกว่าก็อย่างเพิ่งวางใจ เราจะมาเทียบให้ชัดเจน ว่าคันไหนประหยัดกว่ากันในระยะยาว 

ถ้าเทียบจากอัตราประหยัด รถไฮบริด น้ำมัน 1 ลิตร วิ่งได้ 24.4 ก.ม./ลิตร กับไฟฟ้า 1กิโลวัตต์ (1 หน่วยไฟฟ้า) จากข้อมูลการทดสอบภาครัฐ จะวิ่งได้ 5.9 ก.ม./กิโลวัตต์เท่านั้น

ถ้าสมมุติให้วิ่งที่ระยะทางเท่ากัน  1 แสน กิโลเมตร จะเสียค่าพลังงานเท่าไร ??

Toyota C-HR Hybrid  น้ำมัน 1 ถัง วิ่งได้ 1,049.2 กิโลเมตร ในระยะทางตามโจทย์ จะต้องน้ำมัน 100,000 /1,049.2 = 95.31 ถัง หรือคิดเป็นค่าใช้จ่าย 95.31*1,050.92 = 100,163  บาท

ส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ชาร์จ 1 ครั้ง วิ่งได้  263 กิโลเมตร จากการทดสอบของภาครัฐ (Ecosticker) ระยะทางเดียวจะต้องชาร์จทั้งสิ้น 100,000/263 = 380.22  ครั้ง  หรือ ในระยะทางเดียวกัน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 66,492 บาท  

ส่วนต่างค่าพลังงาน  100,163-66,492 = 33,671  บาท

MG ZS EV

2.ค่าบำรุงรักษา

งานนี้ไม่พูดถึงแบตเตอร์รี่ เราจะพูดถึงแค่ปัจจัยในระยะทางใช้งาน ถ้าเทียบกันในระยะทาง 1 แสน กิโลเมตร  เท่ากัน

เจ้า   MG ZS EV   ตอบโจทย์ ด้วยค่าบำรุงรักษาเพียง  8,545 บาท ตลอดระยะทาง 1 แสนกิโลเมตร

กลับกัน   Toyota  C-HR   ไฮบริด ถ้าคำนวณ ตามกำหนดการบำรุงรักษาของทางโตโยต้า จะมีค่าบำรุงรักษา ทั้งสิ้น 20,840 บาท ตลอดระยะทาง 1 แสน กิโลเมตร (ตามรายงานบำรุงรักษาของทางโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย )

เท่ากับรถยนต์ไฟฟ้า มีค่าบำรุงรักษาถูกกว่า 41 %  ของรถยนต์ ไฮบริด

 

3.การใช้งานจริง

รถยนต์ไฟฟ้ามีข้อเสียเปรียบที่สำคัญ คือ ระยะทางที่จำกัด อันที่จริ งจ้อจำกัดนี้ก้มีในรถที่ใช้เครื่องยนต์ทั่วไป แต่เรารู้สึกว่าไม่เป็นปัญหา เนื่องจากปั้มน้ำมันมีทั่วประเทศ จะเติมที่ไหนก็ได้ที่ต้องการ แต่รถยนต์ไฟฟ้า ยังไม่มีจุดชาร์จเยอะขนาดนั้น

การใช้งานในเมือง

ถ้าคุณเน้นใช้งานรถยนต์ในเมืองหลวง อย่างกรุงเทพมหานคร เราเปรียบเทียบรถทั้งสอง รุ่นให้เห็นภาพ

ถ้าขับที่ระยะทางในแต่ละวัน 100 กิโลเมตร

รถยนต์ไฮบริด   Toyota  C-HR  ที่มีอัตราประหยัด  24.4 กิโลเมตร ต่อลิตร จะกินน้ำมันวันละ 100/24.4 = 4.09 ลิตร หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายจริง 99.95 บาท

MG ZS EV

รถยนต์ไฟฟ้า   MG ZS EV  มีอัตราประหยัด 5.9 กิโลเมตร / กิโลวัตต์ (มาจาก 1,000 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง /169 วัตต์ต่อโมง ตามข้อมูลอัตราประหยัด)  ใช้พลังงานทั้งสิ้น 100/5.9 =16.94  กิโลวัตต์ ในแต่ละวัน หรือมีค่าใช้จ่ายจริง 66.61 บาท

แถมปัจจุบันในเมืองรถยนต์ไฟฟ้ายังมีจุดชาร์จตามที่สาธารณะ หลายที่รองรับการใช้งานได้อย่างพอเพียงครอบคลุม โดยเฉพาะบริการของ   EA Anywhere   จึงสามารถสรุปได้ว่า รถยนต์ไฟฟ้าขับใช้งานในเมืองน่าจะดีกว่า

 

การใช้งานเดินทางต่างจังหวัด

ในการเดินทางต่างจังหวัด รถยนต์ไฟฟ้าจะมีข้อเสียเปรียบสำคัญ คือ จุดชาร์จไฟฟ้า ยังไม่ครอบคลุมทั่วไป ประเทศ แม้ว่าจะมีตามหัวเมืองใหญ่ ก็ตาม

ส่วนรถยนต์ไฮบริดเติมน้ำมันขับได้ทั่วไปตามต้องการ แถมจะเห็นได้ว่า ระยะทางที่จำกัดของรถยนต์ไฟฟ้า 263 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ จากการคำนวณด้วยอัตราประหยัดจริง หรือ หากเป็นไปตามระยะทางที่เปิดเผย 337 กิโลเมตร ถือว่ายังน้อยอยู่ในการใช้งานเพื่อเดินทางในระยะไกล

Toyota C-HR HV Hi

กลับกัน   Toyota C-HR Hybrid   น้ำมัน 1 ถัง อาจมีระยะทางสูงสุดถึง 1,000 กิโลเมตร (ตามอัตราประหยัด  Ecosticker)  จึงทำให้ในความเป็นจริงของการใช้รถเดินทาง รถไฮบริดน่าจะเหมาะกว่า และไม่ต้องแวะจอดชาร์จบ่อยเสียเวลา แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า จะสามารถขับเดินทางไกลก็ตามที

4.เปรียบเทียบสมรรถนะ

สมรรถนะในการความประหยัดน่าจะพอเห็นภาพ แล้วเรื่องความสามารถในการขับขี่ อาจจะยังกังขาอยู่พอสมควรหรือไม่   

จากข้อมูลการเปิดเผยของ  MG  ชี้ว่า   MG ZS EV   มีอัตราเร่ง 0-100 ก.ม/ช,ม. ในเวลา 8.2 วินาที เทียบเท่ารถ   MG GS   เครื่องยนต์ 2.0 ลิตรเทอร์โบขับเคลื่อน 2 ล้อ  

ส่วน   Toyota  C-HR 1.8 HV Hi   นั้น จากการทดสอบของทีมงาน   Ridebuster  นั่ง 2 คน เปิดแอรปกติ ในเกียร์  D   ไม่ใช้โหมดสปอร์ตได้ 11.99  วินาที

คุณจะเห็นว่า อัตราเร่งรถยนต์ไฟฟ้าดีกว่ามาก เนื่องจากมอเตอร์ไฟฟ้าแรงบิดสูงในต่ำและต่อเนื่องในระยะยาว

แต่ถ้าพูดถึงเรื่องความเร็วสูงสุด   Toyota  C-HR   จะตอบโจทย์ดีกว่าด้วยความเร็วสูงสุด 182 ก.ม./ช.ม. ส่วน   MG ZS EV  เชื่อว่าจะต่ำกว่านี้ เนื่องจากข้อจำกัดของมอเตอร์ไฟฟ้า

 

สรุป  Toyota C-HR HV Hi  VS. MG ZS EV   ซื้อคุ้นไหนคุ้ม

การเขียนเปรียบเทียบรถครั้งนี้ นับว่า มีความยากมาก เนื่องจากรถทั้งคู่มีความแตกต่างทางด้านการใช้พลังงานต่างกันโดยสิ้นเชิง เราจึงต้องสะท้อนข้อดี ของรถแต่ละคันออกมา และได้เวลาที่เราบอกคุณแล้วว่า ใครเจ๋งกว่ากัน

Toyota C-HR Hybrid   เหมาะกับคนที่ยังต้องใช้งานรถยนต์ไปทุกที่เดินทางไกลบ่อยแบบไม่มีแบบแผน ความประหยัดเครื่องยนต์ไฮบริดจากโตโยต้าไม่เป็นสองรองใครในตลาด ความโดดเด่นของระบบไฮบริดคือ การใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนรถในเมือง และช่วยเร่งแซงนอกเมือง ลดภาระการทำงานเครื่องยนต์

มันประหยัดพอสมควร และไม่ต้องปรับพฤติกรรมการใช้รถ สามารถขับได้เหมือนรถปกติทั่วไป ไม่ต้องกังวลใจเรื่องจุดชาร์จไฟฟ้าเหมือนรถไฮบริด

MG ZS EV   รถยนต์พลังงานท้าทายตลาดในราคาที่เขยิบนิดเดียวได้ลองของใหม่ ต้องยอมรับว่า รถยนต์ไฟฟ้ามีข้อจำกัดสำคัญ คือ เรื่องระยะทางต่อการชาร์จ และเฉกเช่นรถยนต์ เมื่อเดินทางไกลจะใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าปกติ ระยะทางจึงอาจจะลดลงไปอย่างรวดเร็ว

ถ้าคุณใช้งานในเมืองเดินทางใกล้ๆ มันเหมาะมาก แถมการตอบสนองมอเตอร์ไฟฟ้าดีกว่าเครื่องยนต์ในหลายด้าน แถมจุดชาร์จวันนี้ครอบคลุมมากพอสมควรแล้ว กลับกันมันอาจยังไม่เหมาะกับการใช้เดินทางไกลมากนัก อาจต้องแวะชาร์จบ่อยกว่าคุณใช้รถยนต์น้ำมัน และการชาร์จให้ได้80%  ของแบตเตอร์รี่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที หรือไม่ คุณต้องวางแผนการเดินทางให้ดี แต่เรายังไม่แนะนำให้ขับทางไกลนะ

ไม่ว่าคุณตั้งใจจะซื้อรถยนต์สายรักษ์โลกคันไหน วันนี้คุณได้ตัดสินใจดีแล้วที่จะเลือกเทคโนโลยีใหม่ลดการปล่อยมลภาวะจากรถที่เราใช้ เพียงแต่ถ้าคิดมองรถยนต์ไฟฟ้า ก็สมควรศึกษาและเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ จนกว่ามันจะพร้อมกว่านี้ในวันหน้า

 

 

 

 



 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่