Toyota C-HR  รับคะแนน5 ดาว จากการทดสอบการชนรถใหม่ในอาเซียน หรืออาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP) ตามหลักเกณฑ์การประเมินแบบใหม่สำหรับปี พ.ศ. 2560 – 2563 

     Toyota C-HR ได้รับการพัฒนาจากแนวคิดที่ท้าทายในการผลิตยนตรกรรมให้ดียิ่งกว่าของโตโยต้า (Ever-better Cars) มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ “ยานพาหนะ” ที่มอบความอุ่นใจในทุกการเดินทาง ผ่านการบูรณาการความปลอดภัยอย่างครบถ้วน  โดย Toyota C-HR รุ่น  1.8   Mid (เครื่องยนต์เบนซิน)  ได้รับประเมินการทดสอบการชนดังกล่าว 
แนวทางการทดสอบการชนใหม่ ของ   Asean Ncap   ที่มีการประกาศแนวทางตั้งแต่ปี 2017-2020 ระบุให้แบ่งคะแนนการทดสอบการชน เป็น 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 
1.คะแนนการปกป้องผู้โดยสารผู้ใหญ่ โดยดูการปกป้องผู้โดยสารผู้ใหญ่จากการทดสอบการชน มีค่า 50 คะแนน  ทำคะแนนได้  49.72 คะแนน    

2.คะแนนการปกป้องผู้โดยสารเด็ก   โดยดูจากการทดสอบการชนเช่นกัน มีค่า  25 คะแนน ทำได้ 20.86 คะแนน 

3.คะแนนเทคโนโลยีช่วยในการขับขี่  มีค่า 25 คะแนน  ทำได้ 20.73 คะแนน 

Toyota C-HR

รถยนต์   Toyota  C-HR Hybrid  HV Hi 

ทำให้ Toyota C-HR เป็นรถยนต์ซับคอมแพคเอสยูวีรุ่นแรกและรุ่นเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับรางวัล การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว จากการทดสอบการชนรถใหม่ในอาเซียน หรืออาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP) ภายใต้ การประเมินผลแบบใหม่สำหรับปี พ.ศ. 2560 – 2563 

ทั้งนี้  Toyota C-HR   มาพร้อม ระบบความปลอดภัยต่างๆ ภายในรถมากมาย ได้แก่ 

      ถุงลมนิรภัย 7 ตำแหน่ง (ถุงลมนิรภัยคู่หน้า ถุงลมนิรภัยด้านข้าง ม่านถุงลม และถุงลมนิรภัยตำแหน่งหัวเข่าด้านคนขับ) 
      เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าพร้อมระบบกลไกดึงกลับและผ่อนแรงดึงอัตโนมัติ สำหรับคนขับ และผู้โดยสาร (Retractor Pre-tensioner & Load Limiter for Driver and Passenger)
      ระบบป้องกันล้อล็อก (Anti-lock Braking System – ABS)
      ระบบควบคุมการทรงตัว (Electronic Stability Control – ESC)
      ระบบแจ้งเตือนให้คาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้โดยสารด้านหน้า (Seatbelt reminder for front passenger) 
      ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตาที่กระจกมองข้าง (Blind Spot Monitor – BSM)
      ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Autonomous Emergency Braking – AEB)
      ระบบเตือนเมื่อออกนอกเลน (Lane Departure Warning System) 
      ระบบความปลอดภัยก่อนการชน (Forward Collision Warning System)
      ระบบควบคุมรถให้อยู่ในช่องทางเดินรถ (Lane Keep Assist)

     ยิ่งไปกว่านั้น Toyota C-HR ในรุ่น Hybrid Hi ที่จำหน่ายในประเทศไทย ยังติดตั้งระบบควบคุมและปรับลดความเร็วอัตโนมัติ (Dynamic Radar Cruise Control) และระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ (Automatic High Beams) เพื่อเพิ่มความมั่นใจอีกขั้นให้กับผู้ขับขี่ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานความปลอดภัยใหม่ระดับโลกของรถโตโยต้า (Toyota Safety Sense) 

Toyota C-HR

     สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินผลแบบใหม่สำหรับปี พ.ศ. 2560 – 2563 ของอาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP) นั้นประกอบด้วยการทดสอบการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ (Adult Occupant Protection – AOP), การทดสอบการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นเด็ก (Child Occupant Protection – COP) และระบบความปลอดภัย (Safety Assist) ซึ่งในการประเมินจะทำการทดสอบการชนด้านหน้าแบบเยื้องศูนย์ (Frontal Offset Impact Test), การทดสอบการชนด้านข้าง (Side Impact Test) และการทดสอบการติดตั้งระบบยึดเหนี่ยวเด็กภายในรถ (Child Restraint System – CRS) อีกทั้งยังมีการประเมินองค์ประกอบด้านความปลอดภัยอื่นๆ ของรถอีกด้วย

     ทั้งนี้ บริษัทฯ จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาความปลอดภัยเป็นหนึ่งในความสำคัญสูงสุด เพื่อตอบสนองทุกความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าอย่างเหนือความคาดหมาย

 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่