กระแสการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในเขตเมือง หรือที่ๆ มีประชากรหนาแน่น ทำให้ หลายคนเริ่มกลับมาตระหนัก ถึงการมีรถยนต์ส่วนตัวเป็นของตัวเองกันอีกครั้ง
รถยนต์ส่วนตัวอาจจะเป็นทางที่ดีที่สุดในการลด ละ เลี่ยง การเดินทางโดยรถสาธารณะ แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หากมันก็ดีต่อใจ ต่อสุขภาพ บางคนที่มีความรู้อาจจะใช้การมองหารถมือสอง ทว่ารถมือสองก็ยังมีบางประเด็นท่ำทให้น่าหวั่นใจในการใช้งาน เช่น สภาพรถ, การต้องดูแลรักษา รวมถึง ค่าผ่อน ที่มีภาษีบวกเข้ามา ไม่เหมือนกับรถใหม่ แถมโปรโมชั่นก็ไม่มีอะไรมากมายนัก รถใหม่ราคาถูกจึงเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากมองหา และนั่นอาจจะทำให้ ตลาดรถยนต์นั่งอีโค่คาร์ขนาดเล็ก Sub Compact A Segment อาจจะมีโอกาส แจ้งเกิดได้ในงวดนี้
อะไรคือ sub Compact A Segment ย้อนกลับตั้งแต่โครงการอีโค่คาร์ตั้งไข่ในช่วงยุคแรก ราวๆ ปี พ.ศ. 2547-2548 รัฐบาลพิจารณา จะส่งเสริมรถยนต์ประพยัดพลังงาน มีความปลอดภัย และที่สำคัญมีขนาดเพียงพอต่อการใช้งาน เดิมทีรัฐบาลตั้งใจว่าจะวางขนาดตัวรถไม่เกิน 3.6 เมตร เนื่องจากต้องการให้มีขนาดเล็กแค่เพียงพอต่อการใช้งาน เป็นรถเริ่มต้นที่คนไทยทุกคนพอจะมีสิทธิเป็นเจ้าของได้ และขนาดที่ใหญ่กว่า Kei Car ใน ญี่ปุ่น เพียง 20 เซนติเมตร หรือ 200 มม. ในทางวิศวกรรม จัดว่ามันอยู่ใน A segment subcompact Car
อันที่จริงแนวทางดังกล่าวก็มาจากรถยนต์ Kei Car จากทางญี่ปุ่น ที่มีการกำหนดขนาดเครื่องยนต์และมิติตัวรถที่ชัดเจน ทว่าแนวทางดังกล่าวถูกวิพากษ์จากผู้ผลิต ถึงข้อกำหนดที่ไม่ชัดเจน เช่น มีเพียงความยาว กลับไม่มีความกว้างความสูง ทำให้ข้อกำหนดดังกล่าวท้ายที่สุดถูกถอดออกไป เหลือเพียงอัตราประหยัดน้ำมัน จนเริ่มเป็นเกม รถใหญ่ ตีตั๋วเด็ก เกิดขึ้น
หากก็มีบริษัทรถยนต์บางกลุ่มทำรถกลุ่มนี้ออกมา ขาย ค่ายแรก คือ Honda แนะนำ Honda Brio ตรงตามขนาดที่ภาครัฐกำหนด ด้วยความยาว 3.6 เมตร (รุ่น 5 ประตู) ส่วนอีกบริษัท ที่ไม่มีใครคิดว่าจะทำออกมาขายเช่นกัน คือ Suzuki แนะนำ Suzuki Celerio ออกมาขาย ตามหลัง พี่ชาย Suzuki Swift
รถทั้ง 2 รุ่น อาจจะเป็น Subcompact car A จัดหมวด เวลาพูดกันคุยเรื่องรถบนโต๊ะอาหาร ว่า รถอีโค่คาร์ ปัจจุบัน อีโค่คาร์ มีขนาดโตขึ้น จนกินมาถึงระดับซิตี้คาร์เครื่อง 1.5 ลิตร ในอดีต ราคามีสูงสุด โผล่ไปเกือบ 8 แสนบาทก็มีให้เห็น
แต่เมื่อกลับมามอง ณ จุดเริ่มต้น โดยเฉพาะในวันนี้ที่คุณอาจจะต้องมีรถสักคันขับไปทำงาน เลี่ยงการเดินทางโดยรถสาธารณะ นั่นทำให้ รถกลุ่มนี้กลับมาได้รับความนิยม โดยปริยาย
ปัจจัยหนึ่ง คือเรื่องราคาที่เหมาะสม ตรงกับสภาพความเป็นจริง ราคาผ่อนไม่แพง ราคาดูแลก็แสนถูก นั่นทำให้รถกลุ่มนี้เริ่มเข้ามาติดตาลูกค้าที่จำเป็นต้องมีรถ
ในกรณีความสำเร็จนี้ สะท้อนตลาดอาจจะต้องการรถยนต์นั่งขนาดเล็กราคาไม่แพงจริงๆ มาจาก Suzuki ในปีที่ผ่านมาซูซูกิ มอเตอร์ มีการปรับราคา Suzuki Celerio ใหม่ จนราคารุ่นท๊อป มีราคาเริ่มเพียง 437,000 บาท นั่นไม่ใช่จำนวนเงินที่มากมาย ซื้อรถใหม่ ได้ในราคารถมือสอง ไม่ต้องกังวลเรืองสภาพตัวรถ และยังมีการรับประกัน ตลอดจนบริการหลังการขาย
จากข้อมูล ที่ ซูซูกิเปิดเผย ให้กับ Ridebuster.com ความนิยมรถรุ่นนี้มาจากประเด็นเรื่องโควิด 19 ระบาด ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบถึงการเงินของลูกค้า บางคนตกงาน บางคนต้องปรับชีวิคและภาระค่าใช้จ่าย มีรถที่ใช้งานอย่างเหมาะสม ไม่ซื้อรถเกินตัว หรือ มีพฤติกรรม “เผื่อ” แบบในอดีต อีกต่อไป
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม กรรมการบริหารด้านการขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ปัจจัยความไม่แน่นนอน จากภาวะทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ทำให้พฤติกรรมการซื้อรถยนต์ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คนเริ่มซื้อรถเท่าที่ใช้งานไม่เผื่อ
สำหรับปีที่ผ่านมา รถที่ผลักดันให้เราประสบความสำเร็จในตลาด รุ่นสำคัญรุ่นหนึ่ง คือ Suzuki Celerio มียอดขายรวมถึง 4,351 คัน จาก เดิมทีในปี 2019 มียอดขาย เพียง 1,474 คัน หรือ มีการเติบโตของรถกลุ่มนี้ถึง 195% แม้ว่าเมื่อมองตัวเลข จำนวนการขายกับ Suzuki Swift จะไม่สามารถสู้ได้ เนื่องจาก Swift มียอดขายสูงถึงปีละ 10,000 คัน แต่ก็ถือว่ามีการเติบโตคนเริ่มสนใจมากขึ้น
เมื่อมามองช่วงราคาที่ Suzuki Celerio วางไว้ ก็ต้องยอมรับว่า ตัวรถมีราคาต่ำมากเพียง 328,000 บาท ในรุ่นเกียร์ธรรมดา และ 408,000 บาท สำหรับ รุ่นเริ่มต้นเกียร์ออโต้ CVT เทียบกับช่วงราคาในตลาดถือว่ามีราคาต่ำมาก และรถที่เป็นคู่แข่งโดยตรงก้มีราคาสูงกว่าถึง 495,000 บาท ซึ่งถ้าสังเกตให้ดี จะพบว่า รถกลุ่มนี้ จะมีช่วงราคารุ่นเกียร์ออโต้ อยู่ไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นราคาที่คนรุ่นใหม่ เพิ่งเริม่ทำงาน พอจะหาซื้อได้
ที่สำคัญ ในแง่การบำรุงรักษาตัวรถ ก็มีค่าใช้จ่าย ทั้งค่าประกันภัย , ค่าภาษี รวมถึงอุปกรณ์สิ้นเปลืองอาทิ เช่นยางที่มีขนาดเล็กกว่า และเครื่องยนต์ขนาดเล็ก หากต้องซ่อมบำรุงก็ไม่ได้แพงเท่าไรนักด้วย
อย่างไรก็ดี Sub Compact A มีประเด็นที่ลูกค้าชาวไทยกังวล จนเป็นเหตุให้ในอดีตไม่รับความนิยม ยกตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่าปกติ อย่าง Celerio ใช้เครื่อง 3 สูบ 1.0 ลิตร ไม่มีเทอร์โบ ให้กำลัง 68 แรงม้า คนจำนวนมากจะกังวลต่อการเร่งแซง และการขึ้นเขา รวมถึงความกังวลในการเข้าโค้งในยามต้องเดินทาง แต่อย่าลืมว่า รถแบบนี้มาพร้อมน้ำหนักตัวเบากว่า และ รถเล็กแบบนี้ หากต้องใช้เดินทางข้ามจังหวัดหลายชั่วโมง คงไม่เหมาะสมนัก (แต่ใช้เดินทางได้ ถ้าต้องการ)
นอกจากนี้ ความเล็กของตัวรถ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยกังวลเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ ซึ่งเคสนี้เคยถูกชูเป็นประเด็นในตอนที่รถอีกรุ่นออกมา พร้อมประตูหลังเป็นกระจกเต็มบาน แต่หลายปีผ่านมา ก็พิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นปัญหาในการใช้งาน หากด้วยจิตวิทยาก็ทำให้หลายคนกลัวรถนั่งขนาดเล็กแบบนี้ไปพอสมควร
ท้ายสุดด้วยการเป็นรถราคาถูก งานออกแบบตัวรถ ไม่ว่าจะทั้ง Suzuki หรือ Honda ที่ทำออกมาขาย ยังไม่ดีเท่าไรนัก จึงยังไม่อาจจับใจลูกค้าให้สนใจได้ แต่ถ้าวันหน้า คิดว่าจะมีรุ่นต่อไป งานออกแบบที่ลงตัวอย่าง Nissan March หรือจับเอาสไตลื Kei Car ทรงกล่อง มาประยุกต์ อาจจะทำให้มันน่าสนใจก็ได้
จากทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นปัจจัย ทำให้ตลาดกลุ่มนี้ไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ทั้งที่เคยมีความพยายามมานานจากในอดีต ทั้ง Daihatsu Mira อดีตรถเล็กเครื่อง 1.0 ลิตร ที่เคยได้รับความนิยม มาจนถึง Suzuki Celerio เอง รวมถึง ฮอนด้า ที่เคยลองขาย Honda Brio ทำราคามาในช่วงที่ลูกค้าสามารถจับจองได้ และเคมีรายงานอนวโน้ม ค่าย ไดฮัทสุจะกลับมาขายในไทยอีกครั้ง ในรถกลุ่มนี้
การเปลี่ยนไปต่อทัศนคติการซื้อรถยนต์ของคนไทยในช่วงยุคโควิด 19 ระบาด อาจจะทำให้ รถยนต์นั่ง A Segment เนื้อแท้ของอีโค่คาร์กลับมาแจ้งเกิดอีกครั้ง รถเล็กราคา 4 แสนบาท ในขนาดที่เหมาะสมต่อการใช้งานในเมือง ซึ่งคุณคงไม่ได้เดินทางไป 3-4 คนบ่อยนัก ต้องการรถที่ประหยัดน้ำมันคล่องตัว
รถกลุ่มนี้ คือคำตอบที่ถูกต้อง และรอวันกลับมาแจ้งเกิด กับลูกค้าชาวไทยอีกครั้ง เพียงแต่ใครจะมัดใจลูกค้าชาวไทย คงต้องจับตากันต่อไป