ภาครัฐ​เคาะ เตรียม เปลี่ยนไปใช้มาตรฐานไอเสีย ยูโร 5 ในปี พ.ศ. 2567 แทนที่มาตรฐานเดิม หวัง แก้ปัญหา PM 2.5

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) หรือบอร์ด สมอ. ประจำเดือนสิงหาคม 2565 กล่าว เปิดเผยว่า ทางที่ประชุม มีมติให้ รถยนต์ นั่งขนาดเล็ก​,​รถกระบะ , รถบัส และ รถบรรทุก จะต้องผ่านมาตรฐานไอเสียยูโร 5 ภายใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567

โดยการ กำหนด มาตรฐานดังกล่าว เพื่อช่วยลด การปล่อยสารอันตราย ออกจากเครื่องยนต์ของรถยนต์ อาทิ สาร คารืบอนมอนนอกไซด์,​ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และปริมาณสารมลพิษอนุภาคหรือฝุ่นจากเครื่องยนต์ โดยมีระบบวินิจฉัยอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษ ซึ่งเป็นระบบที่จะแจ้งผู้ขับขี่ในกรณีที่อุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษทำงานผิดปกติ รวมทั้งมีข้อกำหนดเรื่องความทนทานของอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ที่ผ่านการใช้งานไประยะเวลาหนึ่งแล้ว ยังคงสามารถควบคุมมลพิษตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานได้ 

ทั้งนี้ สำหรับมาตรฐานไอเสีย ระดับ ยูโร 5 จะต้อง มีการติดตั้ง อุปกรณ์ เพิ่มเติม ได้ แก่ ตัวกรองเขม่าดีเซล หรือ Diesel Particle Filter ในเครื่องยนต์ดีเซล

ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน จะต้องพัฒนาให้กระบวนการเผาไหม้สะอาดขึ้น อาทิ ติดตั้ง ระบบฉีดตรง หรือ Direct injection

นอกจากนี้ การทำให้ ไอเสียที่ปล่อย จากรถ อยู่ในมาตรฐาน ยูโร 5 ได้ จะต้องใช้น้ำมัน จากโรงกลั่น ที่ออกแบบมาให้เหมาะสม กับเครื่องยนต์ด้วย

ทั้งนี้ ปัจจุับน ประเทศไทย ใช้มาตรฐาน ยูโร 4 ในรถยนต์ใหม่หลายรุ่น และ ในรถยนต์ทีเ่ข้าร่วมโครงการ อีโค่คาร์ ระยะท่ี 2 ถูก บังคับให้ปล่อยไอเสียต่ำ อย่างไร ก็ดี ทางภาครัฐ ได้ใช้แนวทางแกมบังคัยด้วยการวาง ภาษีสรรพสามิต จัดเก้บ ตามการปล่อยมลพิษ จากปลายท่อ ทำให้ แบรนด์รถยนต์จำนวน เริ่มให้ความสำคัญ จะเห็นได้จากรถยนต์ไฮบริด ที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน

อย่างไร ก็ดี ภาครัฐ ยังไม่มีแนวทางจัดการ กับรถใหม่ที่ถูกดัดแปลงโดยเจ้าของ ให้ก่อมลพิษ ภายหลัง ออกจากโชว์รูม เช่นกระบะแต่งซิ่ง ซึ่งเป็น หนึ่งในปัญหา มลพิษ ที่พบเห็นได้ตามท้องถนน

ข้อมูลจาก สวพ 91

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่