ตั้งแต่มีกระแสข่าวเรื่องการจำกัดความเร็วในบางพื้นที่ด้วยความเร็วสูงสุด 60 ก.ม./ช.ม. ก็กลายเป็นประเด็นทางสังคมที่ทำให้ประชาชนหลายคนตระหนัก และวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลว่า กำลังคิดอะไร กับการปรับปรุงแก้ไข การจราจรของเมืองไทยให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยไม่ถามไถ่ประชาชนสักคำ

หากแต่ในแง่ของความต้องการให้ถนนเมืองไทย ลดความอันตรายลง และเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น รัฐบาลยังสามารถที่จะทำบางเรื่องได้ และอาจจะได้ดีกว่า การตั้งป้ายตรวจจับความเร็ว ปรับความเร็วตามกฎหมายกำหนดใหม่ อย่างที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน

รถยนต์นับเป็นปัจจัยสำคัญในการจราจรบนถนน แต่รถยนต์ที่ขายในประเทศไทย ก็มีมากมายหลายประเภท ตั้งแต่รถยนต์นั่งขนาดเล็กน้ำหนักเบาอีโค่คาร์ ไปจนถึงรถยนต์สุดหรูสมรรถนะสูง ซึงสามารภใช้ความเร็วและยังให้ความมั่นใจในการขับขี่ได้ แต่ปัจจุบัน ในประเทศไทย ยังไม่มีการตระหนักในเรื่องการจำกัดความเร็วสูงสุดของรถที่ออกจากโรงงานผู้ผลิต ว่าควรจะมีความเร็วเท่าไร ที่จะเหมาะสมของรถแต่ละประเภท

Speed Limiter  เป็นอุปกรณ์ที่ทางผู้ผลิตรถยนต์หลายรายทั่งจากญี่ปุ่น ,ยุโรป และอเมริกา คิดค้นขึ้นเพื่อจำกัดความเร็วสูงสุดของรถไม่ให้เกินขีดความสามารถสมรรนถะ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่  และคุณภาพการขับขี่ของรถรุ่นนั้นๆ

thai-speeding-law (2)

เจ้าอุปกรณ์ที่ติดตั้งแยก หรือบ้างโปรแกรมร่วมกับการทำงานของหน่วยประมวลผลเครื่องยนต์นี้จะคอยเฝ้าตรวจสอบความเร็วที่ผู้ขับขี่ใช้ และบังคับไม่ให้มันเกินความเร็วที่ทางทีมวิศวกรตั้งค่าเอาไว้ ส่งผลให้ไม่ว่ารถจะมีความสามารถมากเพียงใด ก็ไม่สามารถขับเกินความเร็วตามที่กำหนด ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตาม

ในประเทศที่เจริญแล้ว เช่นในยุโรป หรือญี่ปุ่น ภาครัฐบาลจะบังคับติดตั้งอุปกรณ์   Speed Limiter   ในรถยนต์ทุกรุ่นที่วางจำหน่ายในประเทศ เช่น ในญี่ปุ่น จะบังคับความเร็วสูงสุดในรถยนต์ทุกรุ่นไม่เกิน 180 ก.ม./ช.ม. ทำให้รถยนต์ที่ผลิตในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะรถสปอร์ตสมรรถนะสูงแค่ไหน หากเป็นรุ่นที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่น จะขับได้ไม่เกินความเร็ว 180 ก.ม./ช.ม.

ในขณะที่รถยนต์จากประเทศยุโรปส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะมีสมรรถนะสูงมากเพียงใด หากทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่า 250 ก.ม./ช.ม มันก้จะถูกจำกัดไว้เพียง 250 ก.ม./ช.ม. เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ และลดอุบัติเหตุที่ร้ายแรง กรณีเกิดอุบัติเหตุ

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันผู้ผลิตหลายรายเลือกที่จะติดตั้ง ตัวดักความเร็วสูงสุดมาให้จากโรงงาน  อาทิ  Chevrolet   ล็อกความเร็วรถยนต์กระบะและอเนกประสงค์ของพวกเขาไม่ให้ทำความเร็วเกิน 185 ก.ม./ช.ม. ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย เนื่องจากรถมีความสูง การขับเร็วเกินไป อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่า

Nissan-note-review-ridebuster (6)

นอกจากนี้ผู้ผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กหลายราย ต่างพยายามติดตั้ง   Speed Limiter   มาให้ เนื่องจากกังวลทางด้านความปลอดภัย หากผู้ใช้ขับรถชนด้วยความเร็ว อาจจะทำให้บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตได้ เนื่องจากขนาดรถยนต์ที่เล็ก ทำให้ช่วงรับแรงกระแทกของรถมีช่วงสั้นกว่ารถยนต์ทั่วไป และแม้ว่าจะมีการทดสอบและรับการทดสอบกันชนเป้นมาตรฐานอย่างดี แต่ถ้าขับด้วยความเร็วสูงมากก็ยังอาจจะทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งบ้านเรายังขาดความตระหนักในเรื่องดังกล่าว  มีเพียง   Honda  เท่านั้น ที่ล็อกความเร็วรถยนต์อีโค่คาร์ของพวกเขา   Honda  Brio -Brio Amaze  ที่ความเร็ว 145 ก.ม./ช.ม. ขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นไม่มีการล็อกความเร็วดังกล่าว และภาครัฐบาลก็ไม่ได้ออกกฎบังคับผู้ผลิตว่า ต้องล็อกความเร็วในรถยนต์นั่งขนาดเล็ก

ทั้งที่ความจริงอย่างที่กล่าวรถยนต์นั่งขนาดเล็ก อาจจะคล่องตัวและประหยัด แต่ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้ความเร็วสูงมากในการขับขี่ หากขับด้วยความเร็วสูงมากแล้วเกิดอุบัติเหตุ อาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตแก่ผู้ใช้ เนื่องจากโครงสร้างตัวรถไม่ได้ออกแบบมาให้มีระยะซับแรงกระแทกมากนัก

การล็อกความเร็วสูงสุด อาจจะฟังดูแปลก เนื่องจากเมืองไทยเราไม่เคยนำมาใช้มาก่อนหน้านี้ ทั้งที่บางครั้งก็มีซ่อนอยู่ในรถยนต์หลายรุ่นด้วยกัน ทว่าการล็อกความเร็วนั้น ก็สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ได้ โดยเฉพาะการลดการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง จากการใช้ความเร็วสูง

ชอบกดไลค์ใช่กดแชร์ ขอบคุณทุกกำลังใจสำหรับพวกเรา   ridebuster.com 

 



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่