“ความทะเยอทะยาน” พูดคำนี้ หลายคนมักจะนึก แง่มุมลบๆ เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา หลายคนมักจะมองเรื่องนี้เป็นเชิงลบเสียมากกว่าเชิงบวก ทั้งที่ มันนำด้วยความมีเป้าหมาย ความพยายาม และความมุ่งมั่น จนบางครั้งผมก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนญี่ปุ่นชอบสร้างความท้าทายให้ตัวเองเสมอหรือเปล่า
ในบรรดาแบรนด์รถยนต์สุดหรู โดยส่วนใหญ่คนจะซื้อรถจากเยอรมัน ในเหล่าแบรนด์ 3 ทหารเสือ ได้แก่ Mercedes Benz, BMW และ Audi จัดอยู่ในรถคนรวยต้องมีครอบครอง ก็มีบ้างที่บางคนอาจจะมองรถสวีเดนอย่าง Volvo หากนั่นก็ไม่ทำให้ Lexus ย่อท้อแม้จะเป้นไม้ประดับมายาวนาน ก็มีลูกค้าขาประจำ ที่เบื่อบรรดารถเยอรมัน หนมาคบหาเนืองๆ
การก้าวมาของ Lexus ในอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับพรีเมี่ยม จากโตโยต้า ถือเป็นเกมที่ทำให้คนทั่วโลกจับตา กว่า 38 ปีที่อยู่ในตลาด นับตั้งแต่เริ่มแนะนำ Lexus LS400 ออกสู่ท้องตลาด เอาเข้าจริงแบรนด์พรีเมี่ยมญี่ปุ่น กลับได้รับความนิยมในรถอเนกประสงค์ Lexus RX อีกรุ่นที่ดูเป็นเรือธง ก็ไม่พ้น Lexus IS คอมแพ็คคาร์ตัวหรู ที่ขายต่อมาแล้ว 3 เจนเนอร์เรชั่น
2021 Lexus IS โฉมใหม่ เผยตัวเมื่อปีที่แล้ว ภายใต้ความตั้งใจของเล็กซัส ในการพัฒนารถ Compact Sedan ให้มีความสปอร์ตมากขึ้นกว่าเดิม เล็กซัส มุ่งเน้นการให้ความสปอร์ตผสมความหรูหรา เรื่องราวของรถคันนี้เป็นที่น่าสนใจไม่น้อย เมื่อการสร้างรถหนึ่งคัน แค่ทีมวิศวกร ชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์ที่ดีไม่พอ ด้วยปรัชญา ให้ถนนสร้างรถ … ที่ฟังแล้ว หลายคนคงขยิกหัว ปรัชญา บ้าอะไรกัน
ก่อนอื่นเลย ให้เข้าใจตรงกัน Lexus IS 300h โฉมปี 2021 ไม่ใช่รถโฉมใหม่ อย่างที่มีบางคนเข้าใจมันอย่างผิดๆ ที่จริงแล้ว มันเป็นการปรับปรุงการวิศวกรรมใหม่ แทบจะเรียกว่า “ใหม่หมดจด” คนไทยเราค่อนข้างคุ้นเคย กับสิ่งที่เรา เรียกว่า Big Minorchange
Lexus กับ Toyota เป็นบริษัท แม่ลูกกัน อย่างที่คุณรู้ โตโยต้าแนะนำเสนอแพลทฟอร์มใหม่ TNGA ไปเมื่อ ปี 2015 และในบรรดาโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นก็มีของ Lexus รวมอยู่ด้วย TNGA-L มันออกแบบรองรับสำหรับรถเก๋งระดับ Full Size ปัจจุบันใช้ในรถ Lexus LC และ Lexus LS ถ้าเล็กซัสจะใช้โครงสร้างนี้ ก็ได้ เพียงแค่ นั่นจะทำให้ Lexus IS ใหญ่มโหราฬ และไม่ใช่ compact Car
ครั้นจะเอาโครงสร้าง TNGA C มาใช้ ความจริงก็น่าจะพอทำได้ ติดเพียงแต่ Lexus IS เป็นรถยนต์เครืองวางหน้าขับเคลื่อนล้อหลัง จุดเริ่มต้นรถคันนี้ จึงเป็นงานหิน เมื่อทีมวิศวกรต้องรื้อรถใหม่ทั้งคัน ปรับปรุง Lexus N Platform เดิม ขนานใหญ่
////
Lexus IS เรียกว่า เป็นรถเรือธงสำคัญในฐานะรถขายดีของบริษัท ไม่เพียงแค่นั้นแรงกดดัน ยังมาจาก บอสใหญ่ นายอากิโอะ โตโยดะ ประธาน โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอร์เรชั่น ที่เป็นแฟนตัวยงรถรุ่นนี้ด้วย
อากิโอะ เคย เผยในหนังสือ Art of Lexus เกี่ยวกับ Lexus IS ว่า มันเป็นรถที่ทำให้เขาเข้าถึงความรู้สึกในการขับขี่ จนชื่นชอบการขับรถ มันเหมือนการตกหลุมรักใครสักคนทันทีที่ได้นั่งหลังพวงมาลัย
สิ่งที่ Lexus ยังตามหลังคู่แข่งชาวเยอรมัน เป็นที่รู้กันในเรื่องการขับขี่ ทำไมรถเยอรมันถึงขับดี ขับสนุก นิ่งในความเร็วสูง เคยสงสัยไหมครับ
คำตอบนี้ แทบจะเรียกว่าง่ายมาก ไม่ใช่เพียงคนเยอรมัน จะระห่ำขับรถเร็ว พวกเขายังมีถนนที่พร้อมสำหรับความท้าทาย ทั้ง Auto Bahn ทางหลวงระหว่างเมือง จะมีบางช่วง ให้ผู้ขับขี่ได้งัดเอาสมรรถนะรถที่มีออกมาขับตามใจชอบ รถไปได้เร็วสุดเท่าไรก็ไปได้ตามใจไม่ว่ากัน
ในทางเดียวกัน คนที่ชื่นชอบการขับขี่ไม่มีใครไม่รู้จัก สนามแห่งตำนานแข่งรถที่เรียกว่า “Nurburgring” ใน เมือง นอร์ทไชรเฟอร์ สนามแห่งนี้ขึ้นชื่อความยากในการขับขี่ เป็นสนามปราบเซียนตัวจริง ตลอด 20 กิโลเมตร รอบสนาม มีโค้งมากมาย ทุกรูปแบบที่คุณนึกออก มันเป็นที่หมายปลายทางของคนชอบขับรถ กับบริษัทรถยนต์ มันคือที่หมายปลายทางในการทดสอบรถถึงขีดสุด จนมีการแข่งทำความเร็วต่อรอบอยู่เสมอๆ
ใครจะคิดเลยว่า การสร้างรถ มีอะไรมากกว่า แค่ การนำชิ้นส่วนมาประกอบกับยัดเครื่องแรง ออกไปทดสอบ เอาผลมาวัดในคอมพิวเตอร์ ออกไปทดสอบ และเมื่อคิดว่าดีที่สุดแล้ว ก็ปล่อยมันออกไปให้ทีมการตลาดวางจำหน่าย สร้างยอดขายทำกำไรเข้าบริษัท
ถ้ามันมีวิธีในการสร้างรถที่ดีกว่านี้ล่ะ? ถ้าแทนที่เราจะสร้างรถไปขับบนถนน แต่กลับกัน เราสร้างถนนให้ช่วยขัดเกลารถที่เราสร้าง …. ความคิดแบบนี้ ถ้าไม่ใช่คนในหน่วยงานที่คลั่งไคล้ การขับขี่อย่าง Lexus คงไม่คิดแบบนี้
ปี 2019 ก่อนช่วงการโควิดระบาด เดือน เมษายน โตโยต้า มอเตอร์ ประกาศ ความสำเร็จในการสร้างสนามทดสอบแห่งใหม่ ที่เรียกว่า Shimoyama ที่นี่คือสนามทดสอบ ที่มีความยาวต่อรอบ 5.3 กิโลเมตร (ยาวกว่าสนามช้างบ้านเราเสียอีก) โดดเด่นด้วยการจำลอง สนาม นูร์เบิร์กริง มาไว้ชานเมืองไอจิ มีความต่างระดับกันสูงสุด 75 เมตร ตลอดรอบสนาม ที่สำคัญ โตโยต้าเลือกจะทำให้สนามกลมกลืนกับภูมิประเทศ ใช้พวกมันให้เป็นประโยชน์ ในการพัฒนารถยนต์
การทำเช่นนี้ไม่ต่างอะไรจาก ยกสวนสนุกของวิศวกรและคนบ้าความเร็วมาไว้หลังบ้าน …และความบ้านี้ ก็เป็นผลเสียด้วย
///
หมุนเวลาเดินหน้ามาช่วง ปลายปีที่แล้ว เล็กซัส ประเทศไทย ตัดสินใจอย่างรวดเร็วในการนำ Lexus IS เข้ามาเปิดตัวในไทย หลังจากทางญี่ปุ่นเปิดตัวรถรุ่นนี้ไปเมื่อเดือนมิถุนายน หรือเพียง 4 เดือน เท่านั้น
Lexus IS เป็นรถที่หลายคนรู้จัก ในฐานะสปอร์ตซีดานสุดหรู แตกต่างจากค่ายเยอรมันอย่างสิ้นเชิง ในการเปิดตัวมีการขับทดสอบด้วยสั้นๆ แต่คิวยาวมาก ผมคิดว่าคงจะได้ชายตามองรถคันนี้ ในฐานะฝันของชนชั้นกลาง เหมือนคนทั่วไป
ตอนเห็นรถครั้งแรก ยอมรับว่า รถสวยงามดูสง่ามาก ที่จริง ที่ผ่านมา เล็กซัส ออกแบบรถอย่างยอดเยี่ยมเสมอ ด้วยความตั้งใจจับลูกค้าที่ชืนชอบงานดีไซน์หลงการออกแบบตัวรถ เอาเป็นขับไปไหนแล้วหล่อ เป็นโอเค ไม่จำเป็นต้อง เบนซ์ บีเอ็มดับบลิวก็ได้
คนกลุ่มนี้ ถือเป็น กลุ่มคนที่คร่ำวอร์ดรถหรู ไม่เกี่ยงยี่ห้อ แค่ของมันดูดี ทันสมัย บางคนอยากได้รถที่ขับทนมือทนเท้าผสม ไม่ใช่ต้องเปลี่ยนทุก 5 ปี เอาเงินไปลงทุนทำอย่างอื่นดีกว่า กลุ่มคนเหล่านี้ เป็นลูกค้าเล็กซัส ที่ก่อร่างสร้างแบรนด์ในประเทศไทย ในรุ่นใหม่นี้ ทางเล็กซัสได้พัฒนางานออกแบบให้ก้าวไปอีกขั้น
นาย เคนิชิ ฮิราอิ ในฐานะ หัวหน้า นักออกแบบของ เล็กซัส เล่าให้ฟังว่า ทีมออกแบบมีเป้าหมายในการสร้างเส้นสายที่มีความดุดันสะกดสายตา ตั้งแต่แรกเห็น ที่จริงเราจะทำงานเพียงหน่วยงานเดียวก็ทำได้
แต่ทีมออกแบบอยากให้ทีมงานทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วม จึงเชื้อเชิญเอา ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์ ,ฝ่ายวิศวกรรมและ ฝ่ายเทคโนโลยี เข้ามาช่วยระดมมันสมอง ส่วนพวกเขาก็พุ่งเป้าทำรถออกมาให้เป็น Sport Sedan Coupe รถดูสปอร์ต เตี้ยและกว้าง ให้สัดส่วนที่ดูดีกว่าเดิม
2021 Lexus IS ใหม่ เริ่มด้วยสัดส่วนที่มีความยาวตลอดคัน 4,710 มม. (+30 มม.) กว้าง 1,840 มม. (+30มม.) ความสูง 1,435 มม.(+5 มม.) ให้ระยะฐานล้อ 2,800 มม. ไม่เปลี่ยนแปลงจากรุ่นเดิม
การปรับตัวรถมีมิติที่ทั้งใหญ่กว้างและสูงขึ้น ทีมออกแบบได้ใช้ข้อได้เปรียบนี้ในการจัดวางองค์ประกอบของตัวรถ เริ่มตั้งแต่การวางไฟหน้าให้อยู่ต่ำลง ทำให้รถรู้สึกเตี้ยลงในสายตาของเราทั้งที่ ความสูงหลังคาเพิ่มขึ้น
ไฟหน้าเพิ่มความปราดเปรียว เล็กเรียวดูสปอร์ตกว่าเดิม ด้วยไฟหน้าแบบใหม่ ในรุ่น Lexus IS300 F-sport ให้ไฟแบบ 3 eyes Bi -Beam มาพร้อมไฟหน้า Bi-LED และไฟ Day Time Running Light ในโคม เดียวกัน
กระจังหน้า spindle Grill ถูกพัฒนาให้เป็น 3 มิติ ไม่แหลมเหมือนเดิม ที่จริงออกแนว มันดูกลมกลมเหมือนรถสปอร์ตที่จะมีการรวมศูนย์ไว้ด้านหน้าแบบลูกรักบี้ เพื่อการแหวกลมตามหลักอากาศพลศาสตร์
ในLexus IS300h F-sport ดูเผินๆ ก็คงจะเหมือนกัน มันแตกต่างตรงที่ ช่องอากาศทางด้านล่าง 2 ช่อง ช่วยรีดอากาศเข้าไปในห้องเครื่อง
ถ้าเดินเข้ามาใกล้ๆ แล้วดูบนฝากระโปรงหน้าจะพบว่าคมสันจากกระจังและไฟหน้า ถูกต่อยาวขึ้นมาจากฝากระโปรงไปยังเสา A ตรงกลางฝากระโปรงออกแบบมาให้ราบเรียบ ให้อากาศไหลผ่านอย่างดีที่สุด ไปยังกระจกบังลมหน้าและหลังคา
ช่วงด้านข้าง ซุ้มล้ออกแบบให้มีความป่องและโค้งมล ให้อากาศหมุนเวียนผ่านไปได้โดยง่าย ช่วงซุ้มล้อ เสริมตรา F- Sport เข้ามาให้ บ่งความพิเศษและแตกต่าง กระจกมองข้าง ถูกย้ายมาไว้ข้างประตู ลดมุมอับสายตาก้านกระจกยืนออกไปชัดเจน และออกแบบให้โค้งมล เพื่อลดการต้านลมระหว่างการขับขี่
ประตูหน้าออกแบบให้มีความยาวกว่าประตูหลังเล็กน้อย ตั้งแต่ช่วงกลางประตูหลัง เป็นต้นไป มีเส้นสายที่ลากจากด้านล่างขึ้นไปยังซุ้มล้อ ทุกครั้งที่เห็น รู้สึกถึงความทรงพลังในรถรุ่นนี้ พอสมควร
ขณะที่บนหลังคา แนวทางการออกแบบเป็น ซีดานคูเป้ เริ่มลาดเท ตั้งแต่ช่วงปลายเสาบี มาจนถึงเสาซี ขอบเสาซี ช่วยบังฝากระโปรงท้ายเอาไว้ สะท้อนภาพความรู้สึกสปอร์ต คงเหลือเพียงช่วยท้ายเท่านั้นที่จะยังเห็นขอบฝากระโปรงท้ายอยู่บ้าง บนหลังคา มีคลีบฉลาม ด้านหน้าให้หลังคามูนรูฟ เฉพาะรุ่น F-Sport
ล้ออัลลอยขนาด 19 นิ้ว ถูกติดตั้งเข้ามา ในรุ่น F- sport ให้แม็กลายแตกต่าง และใช้แม็กหน้ากว้างต่างกันด้วย ทางด้านหน้า จะใช้ยางขนาด 235/40/R19 ทางด้านหน้า ด้านหลัง ให้ยาง 265/35 R19 หน้าที่เกาะถนนเป็นของยาง Bridgestone Potenza S001L ยาง Run flat พร้อมสำหรับการซิ่งและยามฉุกเฉินยางรั่วก็สามารถขับต่อไปได้ ถึง 80 กิโลเมตร เลยทีเดียว
ก้าวมาทางด้านหลัง จะเห็นชัดว่า ซุ้มล้อหลังถูกทำให้ดูยื่นออกมา ราวกับรถถูกยืดตัวถัง Wide Body ทีมออกแบบท้าทายด้วย ไฟท้าย LED L Shape ออกแบบเป็นสไตล์ Cross Tail light เชื่อมไฟ จากซ้ายไปขวา ในความรู้สึกส่วนตัว ผมว่า มันดูเป็นไฟที่ลงตัวที่สุด นับตั้งแต่เคยเห็นไฟแบบนี้ ไม่ออกแนวแว้นซ์ มาในแนวทางดูดีเรียบหรู ฝากระโปรงท้าย ออกแบบให้ เรียบง่ายมี ขนาดบานไม่ใหญ่และช่วงต่อออกมาค่อนข้างสั้นแบบรถสปอร์ตคูเป้ ตัวประตูท้ายไม่มีลูกเล่นอะไรเลย เป็นฝ้าท้าไฟฟ้า กันชนท้ายใส่ทรง L Shape ช่วยให้มันดูมีความลงตัวน่าใช้งาน
รุ่น F-sport จะเสริม 3 สิ่งเพิ่มเข้ามา ได้แก่ ท่อไอเสียคู่ ,ชายกันล่างสีดำ พร้อมดิฟฟิวเซอร์ บนฝากระโปรงท้ายมีสปอร์ยเลอร์ตูดเป็ดสีดำ ช่วยให้ความดูดีมากขึ้น
รวมๆ มันเป็น ซีดานที่ผมรู้สึกว่างามสง่า สวยที่สุด เท่าที่เคยเห็นมา มันดูไม่สูงวัยเกินไป ดูเหมาะกับคนทุกวัย ตั้งแต่คนวัย 30 กลางๆ ไปจนถึงคนวัย 40 -50 ก็น่าจะยังชอบ ดูเท่ห์ลงตัว ตามสไตล์เล็กซัส
///
รับกุญแจ มา สัมผัส ประตูเปิดต้อนรับทันที การเปิดประตู Lexus IS 300h F-sport สะดวกง่ายมาก ประตูหน้าเปิดได้ค่อนข้างกว้าง ขอแนะนำว่า เวลาเปิดจะต้องระวังสักหน่อย เวลาจอดรถเข้าซอง อาจกระแทกคันข้างๆได้
ฮิราอิ ซัง บอกว่า ทีมออกแบบใส่ใจในการทำงานออกแบบภายในค่อนข้างมาก พยายามหาสีภายในที่ถูกใจ มานำเสนอลูกค้า หนึ่งในนั้นคือสีแดงฉาน Flare red เหมือนในรถทดสอบของเรา สีนี้เป็นสีภายในใหม่ เอาใจคนชอบความฉูดฉาด ให้ความรู้สึกสปอร์ตทันทีตั้งแต่แรกสัมผัส
แม้ว่าส่วนตัว จะชอบสีภายในฉูดฉาด แต่เอาเข้าจริง สีนี้ก็ดูจะสดไปนิด ผู้ใหญ่หลายคนเปิดมาน่าจะมีผงะ นอกจากสีนี้ก็มีภายในสีดำ เน้นความเรียบหรูตามสไตล์ คนไทยชอบ แต่ถ้าไม่เลือก F- sport ก็จะมีสีน้ำตาลกาแฟ ให้เลือกด้วย
รุ่น F- sport ทาง Lexus ได้วางภายในให้ความพิเศษบางอย่างมาให้ เริ่มจากเบาะนั่งปรับไฟฟ้าคู่หน้า มาพร้อมการบันทึกท่านั่ง 3 ตำแหน่ง ตัวเบาะขึ้นรูปด้วยโฟม ช่วยให้นั่งสบายโอบกระชับ ตลอดการเดินทาง
เรือนไมล์พิเศษ F-sport Meter ผ่านหน้าจอขนาด 8 นิ้ว ตัววงตรงกลางบอก ความสามารถในการขับบี่ เช่นรอบเครื่องและความเร็ว สามารถขยายให้มีจอข้างได้เพียงกดปุ่มที่พวงมาลัย บอกค่าได้มากขึ้นตามต้องการ หรือ หากต้องการโฟกัสการขับขี่ สามารถกดเลื่อนปิดจอทางด้านข้างได้ด้วย
พวงมาลัย Lexus เผยว่ารุ่นนี้ พิเศษ ให้ความสปอร์ต บอกตามตรง กลับรู้สึกว่ามันไม่สปอร์ตเท่าที่ควร ทรงพวงมาลัย ดูเหมือนตัวปกติ แค่มีตราคำว่า F-Sport มาให้ ดูเท่ห์กว่า
เรื่องการตบแต่งก็มีมาเพิ่ม เช่น ชายบันได , และผิวสัมผัสในการตบแต่ง satin Chrome และหัวเกียร์ใหม่ รวมถึง มูนรูฟเฉพาะรุ่น ถ้าพร้อมที่จะจ่ายเพิ่ม เป็นค่าตัว F Sport
หย่อนตัวลงนั่งบนเบาะ IS 300h สักพัก รู้สึกว่าท่านั่งค่อนข้างสบาย เป็นหนึ่งในเบาะนั่งที่สบายที่สุดตั้งแต่สัมผัสมา ตัวเบาะ แตกต่างจากรถหรูรุ่นอื่น ที่มักชอบทำออกมาค่อนข้างแข็ง เบาะโฟมที่เราพูดถึงไปเมื่อครู่ ถ้ากดด้วยมือ จะรู้สึกนิ่มหนึบๆคล้าย มาร์ชเมโล่ พอเราเอาตัวลงไปนั่ง ช่วงแรก ตัวจะจม จนสักพัก เบาะปรับตัวก็จะมีความแข็งนิด คล้ายๆ ที่นอน Memory foam ประมาณนั้น
พอเราขับไปบนถนน รู้สึกเบาค่อนข้างซับแรงจากถนนดี และโอบกระชับตัวดี ในยามใช้ความเร็ว มุดซิ่งซ้ายขวา หรือเข้าโค้งแรงๆ โดยคุณ อาจไม่ต้องการ เบาะนั่งแบบ Bucket Seat
เบาะนั่งคู่หน้า ให้โปรแกรมบันทึกมา 3 ท่า เข้าใจว่า สำหรับคุณสลับใช้ในครอบครัว อีกหนึ่ง สำหรับคนขับรถเผื่อให้เขาใช้งานด้วย พอเวลาเราดับรถ ระบบจะทำการเลื่อนเบาะและเลื่อนพวงมาลัยให้ด้วย เพื่อช่วยให้คุณลงจากรถได้ง่ายขึ้น เป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ตลอดเวลาที่ผมใช้เวลากับรถคันนี้
ไม่เพียงแค่นี้ ตัวเบาะยังมีระบบพัดระบายอากาศ และฟังชั่นอุ่นร้อน ไว้ใช้ในหน้าหนาว มาให้ด้วย ส่วนตัวผมชอบการระบายความร้อนที่เบาะ เพราะเมืองไทยเราจอดรถตากแดดบ่อยๆ รวมถึง เวลาขับทางไกล จะรู้สึกสบายหลังไม่เปียก สามารถปรับได้ 3 ระดับ ตามต้องการ
ทางด้านการโดยสารตอนหลัง ประตูบ้านหลัง ออกแบบมามีขนาดเล็กกว่าบ้านหน้า การเข้าออกแอบยากนิดหน่อย ต้องเข้ารถแบบสไตล์ เหยียบก้มย่อ พอเข้ามานั่งแล้ว วัสดุการหุ้มเบาะ และซัพพอร์ท เหมือนตอนหน้าทุกระเบียบนิ้ว มีที่เท้าแขนมาให้ ตัวพนักพิงสามารถปรับพับได้ในอัตรา 60/40 ถ้าต้องการ มีช่องแอร์มาให้ แต่รวมๆ ลูกเล้นไม่ได้มีอะไรหวือหวานัก ถ้าเอาไปเทียบกับ บรรดารถยุโรปในคลาสเดียวกัน
พื้นที่การนั่งก็ใช่ว่าจะเยอะแยะอะไร มันดีพอที่ผู้ใหญ่จะนั่งโดยสารได้ ท่านั่ง ออกแนวชันเข่านิดหน่อย อยู่ในเกณฑ์รับได้ไม่ลำบากอะไรมาก ถ้าคนตัวใหญ่นั่งไกลๆ อาจจะรู้สึกไม่สบายเท่าไร
กลับมาดู ลูกเล่นทางด้านหน้า จะว่าไป Lexus IS 300h F Sport ไม่ได้หวือหวาดูล้ำยุคมาก เล็กซัส ดูเหมือนจะรู้ว่ากลุ่มลูกค้าอาจจะเป็นชายแก่วัน 40 ไม่คร่ำวอดในเรื่องเทคโนโลยีนัก ตรงกลางคอนโซลหน้า มาพร้อมหน้าจอขนาด 10.3 นิ้ว ใช้ให้ความบันเทิงเป็นแผนที่นำทางในตัว ชุดจอ ควบคุมได้ด้วยการสัมผัส หรือการใช้ Track pad ที่อยู่บนคอนโซลกลาง
ความเห็นส่วนตัว รู้สึกว่า Track Pad ออกแนวใช้งานยากเวลาขับขี่ การใช้งานเหมาะแก่การจอดหยุดนิ่ง แล้วป้อนข้อมูล หรือ เลือกก่อนออกเดินทางมากกว่า
ระบบปรับอากาศ แยกอิสระ ซ้าย-ขวา ยังคงใช้ระบบปุ่มกด หลายคนอาจจะมองว่าโบราณคร่ำครึ แต่ในแง่การใช้งานง่ายและสะดวก ไม่ต้องมานั่งงมหา ฟังชั่น สิ่งที่คุณไม่เห็นแล้วในวันนี้ แต่รถคันนี้ ยังมีให้เห็น หนีไม่พ้น ช่องใส่ CD เหตุคนญี่ปุ่นบางกลุ่มยังนิยมฟังเพลง จาก CD เหมือนในวันวาน
ช่วงคอนโซลกลาง ให้เกียร์ขั้นบันได ผมแอบแปลกใจที่โหมดการขับขี่ ถูกย้ายไปไว้ทางฝั่งซ้ายใกล้คนนั่ง ห่างไกลจากมือขับไปเสียหน่อย ในความรู้สึก
///
จุดเด่นของ Lexus IS จากรุ่นสู่รุ่น ทางเล็กซัส มุ่งเน้นการขับขี่เป็นสำคัญ Lexus IS มีต้นตระกูลมาก Toyota Altezza รถสปอร์ตซีดาน ทรงบ้านๆ ที่เพิ่มความเร้าใจในการขับขี่มาอย่างถึงใจ
ในรุ่นแรก Lexus IS ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร เป็นเครื่องยนต์ 3S-GE ภายหลัง มีการเพิ่มเครื่องยนต์ รหัส 2 JZ-GE รุ่นต่อมา ที่ขายในปี 2008 เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ V6 ทั้งไลน์อัพเพิ่มความน่านใจ ด้วยสมรรถนะและซุ่มเสียง ยังคงจุดเด่น การเป็นรถขับง่าย ขับสนุก เน้นการควบคุม และครั้งนี้ก็เช่นกัน
อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า ทางเล็กซัส ตัดสินใจจะพัฒนารถรุ่นนี้ในแบบ Big Revise เพื่อลดเวลาและ ให้ความสามารถในการขับขี่มากขึ้น
ทีมพัฒนา ตัดสินใจว่าโครงสร้างเดิมยังพอถูลู่ถูกังได้อีกอย่างน้อย 2-3 ปี แต่เพื่อสุดยอดการขับขี่ ทีมวิศวกร จึงเพิ่มความแข็งแกร่งให้ ช่วงเสา C รวมถึงแชสซีทางด้านหน้าที่ในช่วงห้องเครื่อง นอกจากนี้ ยังเพิ่มจุดเชื่อมตัวถังมากถึง 55 จุด ที่ช่วงประตูข้าง เปลี่ยนการเชื่อม มาใช้ระบบ Laser Screw ช่วงหลังคา ให้ความเรียบแน่นมากขึ้น ที่เหลือ เป็นเรื่องของการใช้กาวประกอบตัวถังคุณภาพสูง และลดน้ำหนักประตูรวมถึงฝากระโปรงท้าย
ระบบกันสะเทือนใหม่อัพเดทใหม่ แม้ว่าจะใช้ระบบช่วงล่าง double Wish Bone ทางด้านหน้า ด้านหลัง Multi Link ตามรายงานจาก Motor Trend ชี้ว่า ทาง Lexus ได้ปรับปรุงชิ้นส่วนช่วงล่างจำนวนมาก เพื่อให้รถตอบสนองในการขับขี่ดีขึ้นกว่าเดิม เริ่มจากโช๊คอัพที่มาพร้อมระบบ Swing Valve ในโช๊คจะมีวาล์วที่ควบคุมแรงดันน้ำมัน ช่วยให้การตอบสนองในการขับขี่ จากโช๊คปรับค่าตามความเร็วในการยืดยุบเพื่อให้รถตอบสนองในการขับขี่ได้ดีขึ้น
ในรุ่น F-sport ที่เราขับขี่ รถมาพร้อมระบบ Adaptive Variable Suspension (AVS) ซึ่งในต่างประเทศ ลูกค้าต้องซื้อเพิ่มใน Dynamic Handling Package ระบบนี้จะทำงาน โดยการปรับโช๊คอัพแบบตามการใช้งานจริงในระหว่างที่เราขับขี่ เพื่อให้ช่วงล่างมีความนุ่มนวลตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะอยู่ในเส้นทางชนบทห่างไกล ที่ถนนไม่สู้ดีนัก หรือขับบนทางเรียบ จะเข้าโค้งแรงๆ เหวี่ยงตัวไปมา ตามการจราจร มันจะปรับค่าการซับแรงกระแทก โดยดูโหมด และวิธี การขับขี่ของเรา แบบ Real Time
นอกจากโช๊คอัพ ทีมพัฒนายังโฟกัสที่การลด Unsprung Weight ไปมากถึง 17% เช่น เปลี่ยนลูกหมากมาใช้อลูมิเนี่ยม กันโคลงรถ ทำจากวัสดุใหม่ทีมีความสามารถดีและน้ำหนักเบาลงกว่าเดิม ทีมงานเล่นใหญ่ไปยังน๊อตล้อ งวดนี้เปลี่ยนเป็นแบบ น๊อตตัวผู้ยิงเข้าดุมล้อแทนการยิงบล็อกตัวเมียเข้าไปกด เหมือนรถทั่วไป
ส่วนทางด้านเครื่องยนต์ Lexus IS 300h F- Sport ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยเครื่องยนต์เบนซินไฮบริด 4 สูบแถวเรียงขนาด 2.5 ลิตร พร้อมระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ส่งกำลังด้วยแบตเตอร์รี่ ลิเธียมเมทัล ไฮดราย ถือว่าค่อนข้างจะโบราณมาก ทั้งที่เป็นระดับพรีเมี่ยม
เครื่องยนต์มีกำลังขับสูงสุด 178 แรงม้า สูงสุดที่ 6,000 รอบต่อนาที ทำแรงบิดสูงสุด 221 นิวตันเมตร ที่ 4,200-5,400 รอบต่อนาที ความพิเศษของเครืองยนต์ตัวนี้ อยู่ที่ระบบจ่ายน้ำมัน D4S มีหัวฉีด ทั้งแบบ Port Injection และ Direct Injection สามารถใช้งานร่วมกันเพื่อทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพในการขับขี่สูงสุด
มันจับคู่มาพร้อมระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ให้กำลัง 141 แรงม้า ทำแรงบิดสูงสุด 300 นิวตันเมตร ระบบมีกำลังขับรวมไม่เยอะมาก เพียง 220 แรงม้าเท่านั้น นั่นถือว่าไม่มากนัก ในแง่สมรรถนะรถสำหรับผู้บริหาร ที่ควรจะพร้อมตอบสนองเรื่องซิ่งมากกว่านี้ ยิ่งปัจุจบัน ค่ายเยอรมันให้เครื่องยนต์สมรรถนะสูง เร่งทีหลังติดเบาะแทบทุกคัน
//
ย้อนไปราวๆ ปี 2013 ผมเคยมีโอกาส นำ Lexus IS300h โฉมปัจจุบัน ก่อนการเปลี่ยนแปลง ที่เราเหHนกันในวันนี้มาขับ บทสรุปในเวลานั้น ก็เป็นรถหรูที่ขับได้ มีสมรรถนะพอสมควร แต่การใช้ระบบไฮบริดก็เหมือนหอกข้างแคร่ เนื่องจากมันมีแบตเตอร์รี่เพิ่มเข้ามา และข้อจำกัดของระบบไฮบริดในหลายๆ ด้านทำให้ถ้าเทียยบกับ ค่ายเยอรมัน ที่พัมนาไปเน้นดีเซล ในช่วงเวลาเดียวกัน กลับดูง่ายกว่าในการใช้งาน
จากวันนั้น ถึงวันนี้เกือบ 8 ปีเต็ม เล็กซัส น้องเล็กโฉมใหม่คันนี้โคจรกลับมาเจอกัน ในหน้าตาใหม่ พร้อมกับการเข้าโรงเรียนสอนขับรถสุดเข้มงวด Shimoyama ที่มีอาจารย์ใหญ่อย่าง Yoshiaki Ito ทาคูมิผู้ทดสอบรถ Lexus รวมอยู่ด้วย จนผมอดตื่นเต้นไม่ได้ที่จะเห็นอะไรใหม่ๆในรถคันนี้
ออกเดินทางช่วงแรกในเมือง ข้อดีสำหรับเครื่องยนต์ไฮบริดเล็กซัส คือมันใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่พอสมควร กำลังขับมอเตอร์อย่างเดียว 141 แรงม้า แรงบิด 300 นิวตันเมตร ในยามแบตเตอร์รี่เหลือล้น ช่วงความเร็วต่ำ ตั้งแต่ 0-60 ก.ม./ช.ม. จะใช้การขับด้วยไฟฟ้า บนหน้าปัด จะมีไฟ EV ติดเอาไว้ บอกว่า กำลังขับด้วยไฟฟ้า
รถจะทำงานด้วยโหมดนี้แทบจะตลอดเวลา ยามคุณติดไฟแดง หรือจอดนิ่งอยู่กับที่ เครืองยนต์ก็จะไม่ทำงาน ช่วยประหยัดน้ำมันพอสมควร
ระบบช่วงล่างขับในเมืองออกแนวนุ่มนวล ขับสบาย ถึงการให้ล้อขนาด 19 นิ้ว พร้อมยางแก้มเตี้ย ทำให้ในยางจังหวะ รู้สึกว่ารถค่อนข้างจะมีความกระด้างบ้างในจังหวะตกกระแทก เช่นฝาท่อ ขับบนถนนซีเมนท์เพียวๆ จะรู้สึกว่าช่วงล่างกระด้างมาก เรื่องนี้จะหายเป็นปลิดทิ้ง คุณขับบนถนนลาดยาง ยิ่งลาดยางใหม่ๆ จะรู้สึกว่ารถขับได้นุ่มนวลเรียบเนียนพอสมควร
ที่เป็นเช่นนี้ เข้าใจว่า ส่วนสำคัญมาจากการเซทรถ ให้เหมาะกับถนนในประเทศญี่ปุ่น ใครที่เคยไปญี่ปุ่น น่าจะพอทราบดีว่า ถนนในญี่ปุ่นแทบทุกหนแห่ง เป็นถนนลาดยางอย่างดี ยิ่งกับในมหานคร เช่น โตเกียว , นาโกย่า หรือ โอซาก้า ถนนที่บ้านเขามีความเรียบ ขับใช้งานได้อย่างสะดวกโยธิน ฝาท่อบ้านเขาออกแบบมาเรียบเนียนกับผิดถนน ดังนั้น จังหวะการตกกระแทก จึงไม่ค่อยมีสักเท่าไรนัก
ข้อดี ของการใช้งาน Lexus IS ในเมือง คงเป็นเรื่องความประหยัด ระบบโชว์ศักยภาพในการขับขี่ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าค่อนข้างมาก เพียงแต่เนื่องจากมันไม่ใช่ระบบไฮบริดเสียบปลั้ก เทียบกับแบรนด์ยุดรปแล้ว ระยะทางในการใช้โหมดไฟฟ้าจะน้อยนิด ขับได้เพียง 3-4 กิโลเมตร เท่านั้น ก่อนที่เครื่องยนต์จะติดขั้นมาปั่นไฟฟ้าและช่วยขับในบางจังหวะ
ในทางกลับกัน มันดีตรงที่ไม่ต้องวุ่นวายในการขับขี่ให้มากเรื่อง ต้องมานั่งเสียบปลั้กชาร์จ หรือเที่ยวหาที่ชาร์จ เพื่อให้มันประหยัด สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือแค่ขับ และถ้าจะถามผมว่า Lexus IS300h f-sport คันนี้ ประหยัดเท่าไร ผมได้อัตราประหยัด 19.33 ก.ม./ลิตร จากการขับขี่จริงติดจริง แม้มันจะไม่ติดเท่าไรในวันนี้ยุคโควิด
อย่างที่กล่าวส่วนสำคัญ คือการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ค่อนข้างมาก ตั้งแต่สตาร์ทรถไปจนถึงความเร็ว 60 ก.ม./ช.ม. ซึ่งในญี่ปุ่นการขับขี่ในเมือง ทำได้แค่นี้ ดังนั้น แทบจะเรียกว่า ช่วงในเมืองร้อยละ 80-90 ใช้การขับ EV มากกว่าเครื่องยนต์
//
แม้ต้องยอมรับว่า ยังไงระบบไฮบริดปกติ จะให้ไปสู้ระบบไฮบริดเสียบปลั้ก มันคงจะยากเทคโนโลยีต่างกัน มันก็ทำให้ผมแปลกใจไม่น้อยกับอัตราประหยัด ในรถพิกัด 220 แรงม้า น้ำหนักตัวเปล่า 1.7 ตัน สามารถประหยัดได้เฉียด 20 กิโลเมตรต่อลิตร พอๆ กับรถอีโค่คาร์
ความประหยัดแบบนี้จะยังโอเคอยู่ไหมเมื่อขับนอกเมือง ผมแอบนึกอยู่เหมือนกัน สิ่งที่ผมเรียนรู้จากโตโยต้า มาข้อหนึ่งคือการที่พวกเขาตัดสินใจใช้เครืองยนต์ 2.5 ลิตร สำหรับขุมพลังไฮบริด ก็เพื่อใช้ประโยชน์จากเครื่องยนต์ใหญ่ ใช้รอบในการเดินทางน้อยกว่าเครื่องขนาดเล็ก
ในจังหวะเดินทางไกล เครืองยนต์ Lexus IS 300 h ถือว่าทำงานค่อนข้างต่ำมาก อยู่เพียง พันกลางๆ ไปจนถึง 2,000 รอบต่อนาทีเท่านั้น เมื่อขับด้วยความเร็วปกติ 100-120 ก.ม./ช.ม. เฉกเช่นไฮบริดของโตโยต้า เวลาเร่งแซงจะใช้พลังขับของมอเตอร์ไฟฟ้าเข้าช่วย ทำให้คุณเพิ่มความเร็วได้อย่างรวดเร็ว ตามต้องการ
แถมเทียบกับมอเตอร์ขนาดใหญ่ทำให้เร่งแรงตอบสนองไว กดเป็นพุ่ง เพียงแค่ไม่ใช่อาการหลังติดเบาะแบบเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ อารมณ์ของมัน ทำให้ผม นึกถึงรถอย่าง Subaru BRZ เน้นเร่งเร็ว สุภาพ แม่บ้านไม่บ่น คนนั่งยังรู้สึกสบาย ขณะทีคนขับกำลังสนุกสนานกับความเร็ว
พอขับเร็วพวงมาลัยตอบสนองมีน้ำหนักขึ้นการบังคับเลี้ยวเน้นความเฉียบคมเป็นหลักแม้กับในโหมดปกติ เทียบกับ คอมแพ็คซีดานพรีเมียมรุ่นอื่นๆ รู้สึกว่า เล็กซัสเซทพวงมาลัยมาดีมาก เรียกว่า เหมือนจับเอาพวงมาลัยรถสปอร์ต มาใส่ในรถผู้บริหาร ก็พูดได้
ช่วงล่างยังคงมีความนุ่มนวลในระดับที่น่าพอใจ พอขับใช้ความเร็วหน่อย อาการช่วงล่างจะรู้สึกแข็งขึ้นมาเล็กน้อย ให้ความมั่นใจในการขับขี่ มากขึ้น ยิ่งเร็วช่วงล่าง Adaptive Variable Suspension (AVS) ก็ยิ่งเซทตัวดี เข้าโค้งด้วยความเร็วออกแนวค่อนข้างมั่นใจ
นั่นรวมถึงในจังหวะที่คุณใช้ความเร็วแล้วโยกเปลี่ยนเลน ผมทึ่งกับการให้ตัวของรถมาก มีอาการโคลงตัวน้อยมาก เข้าใจว่ามาจากชุดช่วงล่างพิเศษที่มีเฉพาะในรุ่น F- sport ที่สามารถปรับตัวได้ตามต้องการ ชุดช่วงล่างอัศรรย์ นี้สามารถปรับค่าการเซทตัวความแข็งอ่อน หรือ Damping Force ช่วงล่างได้ มากถึง 30 ระดับ โดยนำข้อมูลโหมดการขับขี่ ความเร็วที่เราใช้ พวงมาลัย และ ข้อมูลแรงเหวี่ยงที่ระบบเก็บจาก G Force Monitor มาประมวลผล เพื่อให้ความมั่นใจในการขับขี่ และให้ความสบายในการโดยสารไปด้วยพร้อมกัน
ขับชิลๆ ไปกินลมไปเรื่อยๆ เครื่องยนต์ 2.5 ลิตร ทำงาน นิ่งๆ ขมีขมัน มอเตอร์ไฟฟ้าช่วยกัน เวลาต้องการอัตราเร่ง ระหว่างทางผมใช้ความเร็ว 100-120 ก.ม./ช.ม. ไปเรื่อย จากระยะทาง 101.4 ก.ม. เติมน้ำมันไป 6.35 ลิตรเท่านั้น ดีอัตราประหยัดออกมาได้ 15.96 ก.ม./ลิตร ถือว่าประหยัดเอาเรื่อง เหมือนกัน
แต่ถ้าเอาอัตราประหยัดนี้ไปเทียบกับไฮบริดเสียบปลั้ก ทั้งหลาย มันไม่ได้แตกต่างมากนัก ชี้ให้เห็นว่าระบบไฮบริดเดิม ก็มีดีพอๆ กับไฮบริดเสียบปลั้ก เมื่อไม่มีระยะทางใช้ไฟฟ้าล้วน นั่นเพราะระบบ PHEV ส่วนใหญ่ จะเป็นระบบไฮบริดธรรมดาเมื่อไฟหมดนั่นเอง แต่คุณต้องแบกน้ำหนักแบตเตอร์รี่อันใหญ่โตของมัน โดยหวังว่าจะมีโอกาสไปชาร์จ ข้างหน้า
จัดเต็มสมรรถนะ …มีดีเข้าโค้ง แต่จะดีกว่าถ้าแรงกว่านี้
ความบ้าระห่ำของโตโยต้า ในการสร้างศูนย์ทดสอบใหม่ ที่เหมือน นูร์เบิร์กริงย่อมๆ นั่นก็เพื่อทำรถออกมาให้มีสมรรถนะในการขับขี่ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างน้อย ก็ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับ ค่ายเยอรมัน ที่ผ่านมา Lexus IS ทำเรื่องนี้ได้ดีมาโดยตลอด และครั้งนี้ก็เช่นกัน
การทดสอบอันเข้มข้นที่ ชิโมยามะ ไม่ต่างอะไรจาก ผ้า รถรุ่นนี้ เข้าโรงเรียนสอนขับซิ่ง ทีมวิศวกรตั้งใจในการเซทช่วงล่างให้รถคันนี้พิเศษยิ่งขึ้นไปอีก นาย นาโอกิ โคบายาชิ ในฐานะหัวหน้า ทีมวิศวกร Lexus กล่าวเมื่อตอนเปิดตัวว่า สิ่งที่เราตั้งใจในการพัฒนารุ่นใหม่ คือทำให้รถกับคนเชื่อมต่อกันมากขึ้นและเป็นไปได้ดังใจ ตามความต้องการ
เป้าหมายของเราทำให้รถขับสบาย และมีการควบคุมในระดับดีเยี่ยม มันจะต้องเป็นรถขับสนุกอย่างที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน
ตลอดการทดสอบช่วงแรกผมไม่ได้บิดปุ่มโหมดการขับขี่ไปไหนเลย ตลอดเวลาใช้โหมด Normal สายตาเห็นว่ารถคันนี้มีโหมด Sport และใน F- Sport ที่เราขับก็มีโหมด Sport+ ด้วย (มีเฉพาะรุ่นนี้) นอกจากนี้ F- Sport ยังแอบซ่อน ความสามารถในการขับขี่สำคัญ เฟืองท้ายหลัง Torsen Limited Slip ให้มาด้วย ช่วยกระจายแรงบิดในระหว่างการเข้าโค้งได้ดีขึ้นด้วย
พอปรับโหมด Sport คุณรู้สึกได้ว่า พวงมาลัยและช่วงล่างทำงานผสานกัน ทุกอย่างดูเป็นไปตามใจคิดมากขึ้น เวลาบังคีบเลี้ยว เช่นในจังหวะมุด เปลี่ยนเลน หรือกระทั่งการเข้าโค้งด้วยความเร็ว ทุกอย่างทำได้ดั่งใจนึกไม่มีติดขัด
โหมด sport + ผมลองเล่นครั้งเดียวช่วงเวลาสั้นๆ อย่างแรก จอเรือนไมล์ จะเปลี่ยนเป็นการจอคล้ายรถแข่ง และ เมื่อเร่งด้วยความเร็ว จอจะแสดงเป็นสีส้ม บอกว่ากำลังใช้เครื่องยนต์รอบสูง
การเซทติ้งพวงมาลัย จะหนักแน่นมีน้ำหนักบังคับแม่นยำมากขึ้น อยากเข้าโค้งแบบไหนไลน์ไหน สั่งได้ แม่นเป็นจับวาง เปลี่ยนพ่อตัวหรูซีดานธรรมดาเป็นรถสปอร์ตพร้อมให้ความสนุกความบันเทิง
มันทำได้ขนาดนี้ ก็เพระาระบบที่อยู่เบื้องหลังจะคอยตรวจตราการทำงาน เครื่องยนต์ ,การเดินคันเร่ง การโคลงตัว การให้พวงมาลัย ไปจนถึงค่าแรงเหวี่ยง สร้างความแม่นยำในการขับขี่มากขึ้น ผมมั่นใจว่า มันน่าจะทำงานร่วมกับช่วงล่าง Adaptive Variable Suspension (AVS) ช่วยให้การเข้าโค้งเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ แถมเจ้า Torsen Limited Slip ก็ช่วยเสริมสร้างสมดุลในการเข้าโค้งกระจายแรงบิด ช่วยด้วย
ยิ่งถเาคุณดูให้ลึกไปอีก จะเห้นว่า ทีมงาน Lexus จับ ผู้ขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้า มาวางไว้กลางรถพอดีเป๊ะ เป็นหลักการเดียวกับรถสปอร์ต ด้านท้าย มีแบตตอร์รี่ไฮบริด อีกอย่างช่วยสร้างความสมดุล
ผมยังจำได้ มีอยู่ครั้งเข้าโค้งแถวบ้าน ต่างระดับแห่งใหม่ย่านปทุมธานี ด้วยความอยากรู้จังลองยัดโค้งนี้เข้าไปที่ความเร็ว 130 ก.ม./ช.ม. มันเป็นโค้งกว่ากว้างๆ แล้วแคบตรงปลายเล็กน้อย Lexus IS 300h F-sport พาผมบินเข้าไปด้วยความเร็วน่าเหลือเชื่อดังกล่าว มันเป็นรถที่เข้าโค้งนี้เร็วที่สุด ตั้งแต่ผมเคยนำรถทดสอบมาเล่น เวลาเข้าโค้งไม่รู้สึกเลยว่านี่คอรถไฮบริด ทั้งๆที่ ถ้าเป็นรถเยอรมัน บางทีจะรู้สึกว่า มีอาการท้ายหนักอยู่บ้าง
ในจังหวะโค้งแคบๆ 360 องศา ม้วนกลับไปถนนอีกด้าน เข้าที่ความเร็ว 90 ก.ม./ช.ม. สบายๆ ไม่ดูน่ากลัว นั่นเท่ากับความเร็วระดับรถสปอร์ต ที่เคยนำมา อย่าง Subaru BRZ ใช้ เพียงแต่มันเปลี่ยนมาอยู่ในร่างซีดาน รูปหล่อ
ความสนุกสนานในการขับขี่ ส่วนหนึ่งที่ต้องยอมรับว่าดีเกินคาด คือ เครื่องยนต์ 2.5 ลิตรไฮบริด ที่พร้อมสำหรับการตอบสนองเวลาเราเดินคันเร่ง จะไม่กระโชกโอกฮาก ไปเรียบๆ สุขุม มาดผู้ดี กระดิกนิ้วเปลี่ยนเกียร์ที่ Paddle Shift ก็ฉับไว สั่งอะไรก็ทำตาม
ความรู้สึกนี้ ผมเคยรู้สึกมาก่อน ในรถสปอร์ต อย่าง Subaru BRZ ที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพการควบคุมและการขับขี่ไม่ได้เน้นเครื่องแรงมากเช่นกัน
ถึงจะต้องยอมรับว่า เจ้า Lexus IS 300h แรงน้อยไปนิด ก็ยังมีอัตราเร่งที่ดีพอสมควร ตามข้อมูลในโบว์ชัวร์ บอกว่า 0-100 ก.ม./ช.ม ได้ 8.5 วินาที
แต่จากการทดสอบอัตราเร่งบนถนนลาดยางจริง ผมพบว่า มันทำได้ เพียง 8.9 วินาที คือดีที่สุด และถ้าเอาโดยเฉลี่ยจริงๆ ก็อยู่ที่ 9.1 วินาทีเท่านั้น ไม่ได้แรงระทึกมากนัก ส่วนอัตราเร่ง 80-120 ก.ม./ช.ม. ทำได้ 5.73 วินาที และ เฉลียทำได้ 5.89 วินาทีเท่านั้น
ยังดีที่อัตราเร่ง 0-160 ก.ม./ช.ม. ค่อนข้างไวเอาเรื่อง จะอยู่ที่ ราวๆ 15.0 วินาที เท่านั้น ค่อนข้างเร็วเอาการ เทียบกับบรรดารถบ้าน
ตาราง แสดงข้อมูล อัตราเร่ง
อัตราเร่ง | ครั้งที่ 1 | ครั้งที่ 2 | ครั้งที่ 3 | เฉลี่ย |
0-100 ก.ม./ช.ม. (วินาที) | 8.97 | 8.97 | 9.36 | 9.1 |
80-120 ก.ม./ช.ม. (วินาที) | 5.73 | 5.73 | 6.2 | 5.89 |
0-160 กม./ช.ม(วินาที) | 15.6 | 14.97 | 14.58 | 15.05 |
ด้วยการทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้ไม่มีอาการดึงหัวชนหมอนหลังติดเบาะ มันเป็นรถเร่งเร็วในแบบที่ผู้ใหญ่ที่บ้านนั่งได้ ไม่รู้สึกกลัว เวลาคุณเผลอกระแทกคันเร่ง
เมื่อมองตัวเลข อัตราเร่งจากการทดสอบ จะเห็นว่ามันก็ไม่ได้หวือหวามากนัก ออกจะเชื่องช้าไปด้วยซ้ำ เมื่อเรากำลังพูดถึงรถราคา 2 ล้านกว่าบาท ยิ่ง F-sport ราคา 3.89 ล้านบาท ถือว่าเป็นรถที่มีราคาเอาเรื่อง และสิ่งที่ลูกค้าสัมผัสได้ ทันที่ที่เซลล์ พาไปวนออกไปทดลองขับ คืออัตราเร่ง ที่ไม่ได้ รู้สึกต่างจาก Toyota Camry Hybrid มากนัก
อัตราเร่งว่าแย่แล้ว ความเร็วสูงสุดรถคันนี้ ก็ไม่ได้มากมายนัก มันทำได้เพียง 195 ก.ม./ชม. ในโหมด Normal เท่านั้น แม้ว่าตามสเป็คจะระบุว่า 200 ก.ม./ช.ม. ก็ตาม ความเร็วปลายขนาดนี้ คุณอาจจะโดนรถบ้านทั่วไปสวนเอาง่ายๆ ตั้งแต่ อัลติส 1.6 G ไปจนถึง โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ หรือ กระทั่ง รถอีโค่คาร์อย่าง Honda City Hatchback 1.0 ลิตรเทอร์โบชาร์จ สามารถตามดูดตูดได้ในช่วงความเร็วสูงและคุณไม่สามารถฉีกหนีไปได้ อย่างสบายๆ
นั่นอาจเพราะ ความเป็นจริงในญี่ปุ่น ไม่มีใครขับรถเร็วมาก ทางด่วนใช้ความเร็วสูงสุดได้ 120 ก.ม./ช.ม. และรถทั่วไปอย่าง K-Car ทำความเร็วได้ 135-140 ก.ม./ช.ม. รถอื่นๆ อาจจะทำความเร็วสูงสุดเพียง 180 ก.ม./ช.ม ดังนั้น 195 ก.ม./ช.ม. ถือว่าเหลือกินเหลือใช้
กลับมาในบ้านเรา ด้วย ด้วยความนิยมสามทหารเสือเยอรมัน รถจากแก๊งนี้ส่วนใหญ่จะมีความเร็วสูงสุด 200 ก.ม./ช.ม. ขึ้นไป จะมีก็วอลโว่ เจ้าเดียวที่ตอนนี้หันมาล็อความเร็ว 180 ก.ม./ช.ม. เพื่อความปลอดภัย ในการขับขี่ ทำให้ Lexus IS 300h F-sport อาจจะไม่ถูกใจคนไทยกระเป๋าหนัก ที่ส่วนใหญ่ บ้าความแรง ชอบความเร็ว
นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย อย่างยิ่ง ผิดกับรูปลักษณ์ ภายนอก ที่ใครดูคงคิดคันนี้ท่าจะแรง ดูทรงน่าจะมีสัก 300-400 แรงม้า
สรุป 2021 Lexus IS 300h F-sport ขับดีแล้ว ขอแรงอีกนิด
การมาของ Lexus IS 300h ใหม่ รวมๆ ถือว่า ยังคงความเป็นรถสปอร์ตซีดาน ไว้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะการขับขี่ ควบคุมที่ทำได้ดี เกินหน้าเกินตา คู่แข่งจากเยอรมัน
ผมกลับรู้สึกว่า สิ่งเดียวที่ขาด คือพละกำลังขับขี่ มันจะเป็นรถที่ขับสนุกกว่านี้ ถ้ามันมีอัตราเร่งดีกว่านี้ และความเร็วปลายมากกว่านี้
ผมเปิดเข้าไปดูในเว็บไซต์ญี่ปุ่น Lexus IS ยังมีรุ่น IS300 ซึ่งใช้เครื่องยนต์ รหัส 8AR-FTS มีกำลังขับ 245 แรงม้า ให้แรงบิด 350 นิวตันเมตร จากเครื่องยนต์ 2.0 ลิตรเทอรโบชาร์จ ที่ดูเหมาะกับบ้านเรา และยังมีรุ่น IS 350 แบบในวีดีโอพรีเซนท์ ใช้เครื่องยนต์ V6 3.5 ลิตร 318 แรงม้า และทำแรงบิด 380 นิวตันเมตร ซึ่งก็น่าจะได้อารมณ์ ใกล้เคียงสมัยก่อน ด้วยซุ้มเสียดุดัน เรียบง่ายแค่เร้าใจ
สาเหตุที่ผมว่า เล็กซัส ประเทศไทย ไม่นำทั้ง 2 รุ่นมาทำตลาด คาดว่า เป็นเรื่องเงื่อนไขทางภาษี อยากทำราคาให้ต่ำ เพราะ Lexus ทุกคัน นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ไม่มีหรอกนะที่มาประกอบในประเทศไทย ถ้าลดภาษีอากรสรรพสามิตได้ ก็ทำราคาได้ถูกลง ยิ่งต้องสู้คู่แข่งยอรมัน ที่ขยัน ทำราคาถูกลง นับวันราคาจับต้องง่ายขึ้น
แต่สงครามรถหรู ที่จริงไม่ใช่เรื่องของราคา มันเป็นความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า เมื่อได้เห็นได้สัมผัส ยิ่งได้ขับ โอกาส เทใจมาแล้ว แค่จะซื้อใจได้ไหมตรงนี้สำคัญมาก
สิ่งลูกค้าสัมผัส แทบจะทันทีที่ได้ลองขับ คือ อัตราเร่ง และการออกแบบภายนอก ภายนอก ลูกค้า Lexus IS ไม่ใช่กลุ่มคนสูงวัยนัก ส่วนใหญ่จะเป็นคนชอบขับรถด้วยซ้ำ
เรื่องการควบคุมช่วงล่าง พอสัมผัสได้อยู่บ้าง ศักยภาพจริงๆ ของมัน คือตอนเข้าโค้งเร็วๆ ซึ่งก็จะพูดว่า คงน้อยคนนักที่จะกล้าเอารถทดสอบ ไปเหวี่ยงโค้งแรงๆ เร็วๆ โดยที่เซลล์สาวนั่งไปด้วย
ดังนั้น สิ่งที่จะโชว์ได้ดี คือ อัตราเร่งจากเครื่องยนต์ที่มีความเร้าใจในตัว มันเหมือนกับหนุ่มหล่อที่ไม่ใช่แค่คารมดี ต้องลีลาเด็ด ด้วยจึงจะมัดใจสาวๆ ในรถยนต์ คือัตราเร่งที่มัดใจลูกค้า คนซื่อรถ 2 ล้านขึ้นไป เชื่อเลยว่า การเติมน้ำมันไม่ใช่ปัญหาสำหรับเขา เขาต้องการรถที่ถึงใจ สนองตอบอารมณ์ ซึ่งอัตราประหยัดเป็นเรื่องรอง
แต่ถ้าถามว่าจะดีไหม ที่คุณมีรถสักคัน ที่หล่อ ประหยัด ขับสนุก ผมตอบว่าดี แต่ถ้าผมควักเงิน ซื้อรถราคา 3 ล้าน ที่ผมอยากได้ คือ ความเร้าใจ ซึ่งรู้อยู่แล้ว มันไม่มีทางไปด้วยกับความประหยัดได้ แต่อย่างให้ซดน่าเกลียดมากเป็นพอ
รวมถึง Lexus มีข้อดีที่สำคัญ ที่เรามองข้ามไปไม่ได้ คือเรื่องของความทนทานตัวรถ เอาเป็นว่าคุณสามารถซิ่งดได้ทุกเทื่อไม่พัง ขนาด ผมขับแช่ยาวๆด้วยความเร็ว ระดับที่มาจาก พันทยา ถึงบางนาใน 1 ชั่วโมง รถยังดูเป็นปกติสุข ไม่มีอาการงอแง ในบรรดารถหรูยุคใหม่ ที่มีอายุอานามมากว่า 10 ปี ผมเห็น เล็กซัสนี่แหละเยอะสุด รวมถึงเรื่องปัญหาตัวรถก็ดูไม่มีอะไรมากมายนัก มันเป็นรถใช้งานง่าย ไม่จุกจิก เทคโนโลยีไม่หวือหวา เน้นความทนทาน ทั้งหมดตรงกับจริตคนไทย จะดีกว่า นี้ถ้ามีศูนย์บริการของตัวเอง ตามหัวเมืองใหญ่ ทำให้ผู้ใช้อุ่นใจ โดยไม่ต้องพึ่งศูนย์ โตโยต้า
ยิ่งกว่านั้น รถทั้งหมด นำเข้าจากโรงงาน ทาฮาร่า ในเมืองไอจิ ที่ประเทศญี่ปุ่นเรื่องคุณภาพการประกอบ ก็มั่นใจได้อย่างแน่นอน
เพียงแต่คุณรับได้ไหมที่มันแรงน้อย และอาจโดนรถบ้านสวน เวลาขับเร็วๆ ถ้ารับได้ ผมว่า นี่คือสปอร์ตซีดานสุดหรู ที่ขับสนุกและประหยัดที่สุดรุ่นหนึ่งเลยครับ
เรื่องและขับทดสอบ โดย ณัฐยศ ชูบรรจง
ขอบคุณ เล็กซัส บางกอก ที่เอื้อเฟื้อ รถทดสอบ มาให้ทีมงาน ridebuster.com ในโอกาสนี้ครับ
ข้อมูลตัวรถจาก Lexus ประเทศไทย และ Lexus Press