ท่ามกลางกระแสข่าวรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำ   Nissan  Leaf  มาแจ้งเกิดดุวยราคา 1.99 ล้านบาท หลายกระแสต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงราคาขายตัวรถที่แพงเอาการ จนไม่น่าคบหาแม้ภาครัฐอาจจะอยากส่งเสริมให้คนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็ตาม

ด้วยข้อเท็จจริงทางด้านการจัดเก็บภาษีและปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบันยังมีราคาขายที่แสนแพงจนทั่วไปไม่สามารถคบหาได้ จนขึ้นหิ้งว่าเป็นของเล่นสำหรับคนรวยเท่านั้น แล้วใครจะเป็นคนปูทางรถยนต์ไฟฟ้าให้แจ้งเกิดในไทย

รถยนต์ไฟฟ้า   Hyundai ioniq

ท่ามกลางการกระแสการแข่งขันตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่เริ่มดุเดือดขึ้นมาทุกขณะ รถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้มีแต่จากบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น แต่ผู้ผลิตชั้นนจากประเทศจีน ถือเป็นอีกหนึ่งทีไม่สามารถมองข้ามได้ เนื่องจากในประเทศจีนมีการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างกว้างขวางจากรัฐบาล ประกอบภายในประเทศสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้เอง ทำให้ท้ายที่สุดแล้วผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน อาจะเป็นคนรันวงการรถยนต์ไฟฟ้าก็ได้

หัวใจหลักสำคัญของเทคโนโลยีใหม่ คือไม่มีใครอยากจ่ายเงินจำนวนมากไปกับคำว่าทดลองใช้ ในสิ่งที่ตัวเองยังไม่เข้าใจดี แต่มีความต้องการอยากเรียนรู้อยากลอง

รถยนต์ไฟฟ้าเองเป็นนวัตกรรมการขับขี่ยุคใหม่ที่ออกตอบสนองต่อโจทย์คนเมืองไม่ได้ขับรถวันละหลายร้อยกิโลเมตร หากยังต้องจ่ายค่าน้ำมันไปกับการเดินทางในเมือง ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่โสภานักกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ประเด็นเรื่องราคาขายทนี่เองที่น่าสนใจว่ารถยนต์จากประเทศจีนจะเป็นผู้ชักธงรบและยึดหัวหาดในตลาดนี้โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์   BYD   ที่เข้ามายึดตลาดนี้ภายใต้เครือ  ชาริส โฮลดิ่ง ปูพรมมาตั้งแต่ช่วงต้นปี ในการแนะนำรถยนต์ไฟฟ้า   BYD E6  ออกสู่ตลาด ในราคา 1.89ล้านบาท มาพร้อมระยะทางต่อการชาร์จ  320 กิโลเมตร

รถยนต์ไฟฟ้า  ฺByd e6

รวมถึงยังมีการแนะนำรถเมล์ไฟฟ้า และผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าให้เป้นที่รู้จักในนาม   Taxi EV   ที่มีการบริการจากสนามบินสุวรรณภูมิไปส่งยังที่ใดก็ได้ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

ตามที่เคยสอบถามข้อมูลจากทาง   BYD   ทางบริษัทมีแผนในการเข้าถึงกลุ่มตลาดโลจิสติกส์ ด้วยการเตรียมนำ   BYD T3   รถยนต์ตู้ไฟฟ้าเชิงพณิชย์เข้ามาจำหน่ายให้กับบริษัทที่มีความสนใจ

แม้ความคิดของทาง   BYD   อาจไม่ใช่การรุกไปยังตลาดส่วนบุคคล อย่างหลายค่ายที่ทำอยู่ปัจจุบัน แต่เน้นไปที่การเข้าถึงกลุ่มขนส่งสาธารณะ และการใช้งานเชิงพาณิชย์ หากก็เป้นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อเทคโนดลยียานยนต์ยุคใหม่ที่ทำให้คนเข้าใจก่อนจะแพร่ไปสู่บุคคลทั่วไปในอนาคต

ในอีกแบรนด์ที่ดูน่าสนใจว่าจะเอาจริงตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์อังกฤษทุนจีน  MG  ซึ่งมีความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ตามที่มีการนำเสนอในตลาดประเทศจีน อาทิ   MG6   ใหม่ที่มีรุ่นไฮบริดเสียบปลั้กเข้ามาตอบตลาด ตลอดจนยังมีการแนะนำรถยนต์อเนกประสงค์   MG  eZS โชว์โฉมรถยนต์ไฟฟ้าเป็นครั้งแรก

MG eZS

โดยรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้มีแผนในการเปิดตัววางขายเร็วๆนี้ ใช้พื้นฐานจากรถยนต์  MG ZS   ที่เรารู้จักกันดี โดยการชาร์จ 1 ครั้งจะสามารถวิ่งได้ไกล 431 กิโลเมตรเลยทีเดียว

ที่สำคัญกว่า 2 แบรนดืชั้นนำ ที่หนึ่งมาเปิดตัวขายแล้วในไทย หนึ่งอาจจะยังรอการตัดสินใจว่า จะมาขายในไทยเมื่อไรนั้น

แต่ในเชิงสำคัญที่ผู้ประกอบการรถยนต์จากประเทศจนอาจจะมาเป็นตัวชูโรงสำคัญในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากสิทธิจากเขตการค้าเสรีไทย-จีนในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ให้สิทธิภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า   (Electric Vehicle)  0%  ซึ่งจะทำให้ในอนาคต ผู้ผลิตรถยนต์จากจีนรายอื่นๆ น่าจะสนใจนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาขายตอบลูกค้ามากขึ้น

และเป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมตลาดรถยนต์ไฟฟ้าต่อจากนี้ ผู้ผลิตจีน น่าจะเป็นตลาดสำคัญของผู้ผลิตจากประเทศจีนมากกว่าผู้ผลิตจากญี่ปุ่น หรือจากประเทศอื่นๆ ที่เราคุ้นเคย

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า อาจไม่ใช่ตลาดใหญ่สำคัญ เมื่อเทียบกับรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรือรถยนต์อเนกประสงค์ที่มีการค้าขายอย่างโจ๋งครึ้ม แต่รถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่คนสนใจ คนอยากลองใช้และพร้อมใช้ถ้าราคาอยู่ในจุดที่เหมาะสม ซึ่งการได้สิทธิทางภาษีเป็นความได้เปรียบ

จนท้ายที่สุดเราอาจพบว่า ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในที่สุดกลายเป็นของบริษัทรถยนต์จากจีน มากกว่าจากผู้ผลิตประเทศอื่นๆ

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่