ในบรรดารถยนต์ที่ขายในท้องตลาดวันนี้ ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปี  2010-2013 บริษัทรถยนต์ชั้นนำจากฝั่งอเมริกา ดูจะเป็นผู้บุกเบิกการสร้างความแตกต่างในตลาดด้วยรถยนต์เก๋งกลุ่มใหม่ ที่มาพร้อมเครื่องยนต์ดีเซล พวกมันมีความทรงพลัง ประหยัด และให้ฟังชั่นในการใช้งานตอบโจทย์ จนคนจำนวนมากต่างชื่นชอบและคบหาเป็นคู่ใจ 

“เก๋งดีเซล” ไม่ใช่เรื่องใหม่ในตลาดบ้าน เรา ดั้งเดิมทีรถเก๋งที่มาพร้อมเครื่องยนต์ดีเซลมีการแนะนำนในรถยนต์ยุโรปมาก่อน หากด้วยราคาแสนแพงของมันทำให้ความนิยมแคบอยู่ในวงจำกัดเท่านั้น และไม่ได้รับความนิยมมากมาย 

วาระเก๋งดีเซลชัดเจนมากขึ้น ในช่วงปี  2008 หลัง ฟอร์ด ประเทศไทย ตัดสินใจแนะนำรถยนต์  Ford  Focus   รุ่นก่อนปัจจุบัน ที่มาพร้อมเครื่องยนต์   TDCi  เข้าสู่ตลาด นับเป็นครั้งแรกที่เมืองไทยมีเก๋งดีเซล ที่ไม่ได้มาจากแบรนด์ยุโรป แถมด้วยราคาจำหน่ายในเวลานั้นถือว่าไม่แพงจนเกินเอื้อม หากก็ยังสูงกว่าเก๋งดีเซลทั่วไป ทำให้ ฟอร์ดโฟกัส ดีเซล ทำยอดขายไม่ดีเท่าที่ควร และทำให้ฟอร์ด ตัดสินใจตัดยกเลิกไป เมื่อเปลี่ยนรถฟอร์ดโฟกัสรุ่นใหม่ในปี  2012 

เก๋งดีเซล

เก๋งดีเซล

เรื่องราวความสำเร็จของฟอร์ด ทำให้เชฟโรเล็ตที่วางแผนทำตลาดรถเก๋งใหม่ในปี  2011 ตัดสินใจ ด้วยการเข้าสู่ตลาดเก๋งดีเซล แนะนำ   Chevrolet Cruze ที่มาพร้อมเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ดีเซล ใส่มาเป็นไลน์อัพสินค้ารุ่นท๊อปของบริษัทในเวลานั้น 

ถึงความนิยมของครูซดีเซล จะประสบชะตาเดียวกับ   Ford Focus TDci   แต่ ด้วยภาวะปัญหาในช่วงต้นของชุดเกียร์อัตโนมัติในเวลานั้น ทำให้คนที่มีกำลังซื้อจำนวนหนึ่งต่างขยับไปเล่นเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งไม่มีปัญหาในการใช้งาน  ทำให้มีรถยนต์จำนวนมากในตลาด แต่ก็ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเก๋งเครืื่องเบนซินที่มีราคาถูกกว่า 

ความต้องการรถเก๋งเครื่องยนต์ดีเซลในไทยมีอย่างต่อเนืื่อง โดยหลังจากฟอร์ดไม่ทำโฟกัส เครื่องดีเซล และ เชฟโรเล็ต ประกาศถอนตัวจากตลาดรถนั่ง รถยนต์เก๋งดีเซลทั้งสองรุ่น ต่างเป็นที่ต้องการในตลาดมือสอง เนื่องจากมีคนรอซื้อหาคบเป็นคู่ใจจากความประหยัด และความทรงพลัง 

เก๋งดีเซล

จนกระทั่งในที่สุดความหวังคนไทยกับเก๋งดีเลกลับมาอีกครั้งหลังมาสด้ามือไว เปิดตัว Mazda 2  เครื่องยนต์ดีเซล ที่ยังวางขายจวบจนปัจจุบัน โดยทางค่ายซูมซูม สายเลือดบูชิโดยึดเอาการสนับสนุนโครงการอีโค่คาร์ที่อยากจะก่อนให้เกิดเก๋งเล็กเครืื่องดีเซลในไทย มาเป็นโจทย์สำคัญ 

การแนะนำ Mazda 2  เครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร กลายเป็นโจทย์ที่ทำให้ทางมาสด้าก้าวขึ้นมาในใจคนใช้ เนื่องจากความสามารถของเครื่องยนต์ดีเซล ประกอบกับขนาดรถที่เล็ก และพกพาความเร้าใจ ประกอบกับปัจจัยราคาจำหน่ายไม่แพงไกลเกินเอื้อม ราคาขาย 6 แสนกว่าบาท ก็พอจะเอื้อมถึงเก๋งดีเซลอยู่บ้าง 

ส่งผลให้ยอดขายอยู่ในเกณฑ์ทำยอดได้มากพอสมควรในระดับที่น่าพอใจ และยังขายได้อย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบัน เป็นเก๋งดีเซล ในราคาที่คนทั่วไปจับต้องได้ แต่ก็มีคำถามตามมาว่า ถ้ามาสด้าไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะส่งผลต่อราคาขายสูงเพียงใด 

ถึงแม้ความกล้ามาสด้า จะทำให้พวกเขาเป็นเก๋งดีเซลรุ่นเดียในตลาดที่คนพอจะมีโอกาสซื้อหา คบใช้งาน แต่ในมุมมองคนไทยจำนวนมากก็อยากมีทางเลือกมากกว่านี้  แต่ก็ดูจะโอกาสลางเลือนเต็มที ด้วยส่วนหนึ่งจากปัญหาการโกงอัตราไอเสียในยุโรป กระทบต่อความเชื่อมันผู้ซื้อเครื่องยนต์ดีเซล 

เก๋งดีเซล

จนทำให้ในแบรนด์รถยนต์จากประเทศยุโรป เริ่มผันตัวสู่รถยนต์เก๋งไฮบริด หรือ ไฮบริดเสียบปลั้ก มากมายตามลำดับ จนอาจจะกล่าวได้ว่า ท้ายที่สุด เราอาจไม่มีโอกาสเห็นเก๋งดีเซลในไทยอีก 

“เก๋งดีเซล” นวัตกรรมความประหยัดและสมรรถนะอันทรงพลัง ยังตราตรึงในใจหลายคน ความต้องการรถที่ขับขี่ได้อย่างเร้าใจ และสะดวกใจเมื่อเจอค่าน้ำมันในการเดินทาง ยังคงเป็นที่ตองการของลูกค้า แต่นอกจากมาสด้า ในวันนี้เรายังไม่เห็นบริษัทอื่นที่อยากจะต้องการเข้ามาทำตลาด จนน่าเสียดายของดีมีคุณค่า ที่กำลังจะหายไป 

 

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่