ถ้าพูดถึงบริษัทรถยนต์ต่างๆมากมายทั่วโลกที่เราต่างชื่นชอบในปัจจุบัน หลายคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่าบริษัทรถยนต์ชั่นนำเหล่านี้หลายรายเกิดขึ้นมาเจริญรุ่งเรืองได้ด้วยภายใต้ควันแห่งสงคราม ถึงแม้วันเวลาอาจจะพ้นผ่านไป และอดีตคืออดีต แต่ความจริงในวันวานก็ยังตราอยู่ในแบรนด์เหล่านี้ และวันนี้เราขอหยิบมาเล่าให้ฟัง 

 

Mitsubishi  Motor  อดีตรถนายทหารจนสร้างชื่อ

ก่อนหน้าที่แบรนด์รถยนต์มิตซูบิชิจะมีวันนี้ พวกเขาเป็นบริษัทต่อเรือและเครื่องบินมาก่อน ก่นทั้งสองบริษัทจะรวมกัน แล้วใช้ชื่อใหม่ว่า   Mitsubishi  Heavy Industry   หรือ   MHI  โดยตอนปี 1937   Mitsubishi   ได้ผลิตรถยนต์สำหรับนายทหารอันเลื่องชื่อ  Mitsubish  PX33   ซีดานสายลุยขับเคลื่อนสี่ล้อ เพื่อใช้ในการทหาร มันเป็นรถที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างมาก และถ้าคุณกำลังคิดว่าเจ้านี่คือโคตรรเหง้าบรรพบุรุษของ   Mitsubishi  Evolution  ใช้คุณคิดถูกแล้ว

 

Subaru  จากเครื่องบินรบสู่รถยนต์

รถยนต์  Subaru  อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับสงครามโดยตรง แต่   Subaru Cooperation  ในปัจจุบัน หรือ   Fuji Heavy Industry   นั้น เป็นทายาทจากเถ้าถ่านของบริษัท นากาจิมะ แอร์คราฟท์  พวกเขาผลิตเครื่องบินสำหรับที่ใช้ในการศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นบริษัทเครื่องบินรบอันดับสองของญี่ปุ่น

ในเวลานั้นบริษัทมีดรงงานทั้งหมด 5 โรงด้วย โดย 2 โรงงานสำคัญ คือ โรงงานที่เมืองโอตะ (Ota)    และ   โรงงานที่สถานี โอชิ คูอิซึมิ ทั้งคู่ถูกระเบิดจากฝ่ายสัมพันธมิตรราบเป็นหน้ากลอง ซึ่งดรางงานทั้งสองของนากาจิมะ แอร์คราฟท์ยังคงอยู่จนปัจจุบัน โดยโรงงานที่โอชิคิซึมิ ตกไปอยู่กับบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า  Sanyo

ส่วนโรงงานใหญ่ที่เมืองโอตะ ในเขตกุนมะ ปัจจุบันใช้ผลิตรถยนต์   Subaru  จัดจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นและส่งออกไปยังตลาดประเทศทั่วโลก

การพลิกผันของ นากาจิมะแอร์คราฟท์ มาสู่ซูบารุเกิดจาก การควบรวมเข้ากับบริษัท  ฟูจิ ซังโงะ จำกัด เนื่องจากสัมพันธมิตรต้องสลายอำนาจสินค้าที่อาจเป็นภัย การควบรวมดังกล่าวส่งให้ ทางฟูจิซังโงะ ผลิต   Fuji Rabbit Scooter  ออกมาขาย ในปี 1950 รัฐบาลออกกฎหมายแบ่งบริษัท ฟูจิซังโงะออกเป็น บริษัทย่อย 12 บริษัท เพื่อป้องกันการกลับมาอีอำนาจ

จาก 12 บริษัทนี้ 5 บริษัท ได้แก่ ฟูจิ  โคเกียว ผู้ผลิตรถสกู๊ตเตอร์ , โอมิยะ ฟูจิเคียวโก ผู้ผลิตเครื่องยนต์ , ฟูจิ จินโชะ ผู้ผลิตรถบัส ,อัทซึโนมิยะ ชาเรียว ผู้ผลิตแชสซีและตัวถัง ควบกับ บริษัทการค้า โตเกียว ฟูจิ ดังโง รวมถึงบริษัทก่อตั้งใหม่ จากการทำงานร่วมกัน ได้กลับมารวมตัวกันทำงาน ในปี 1955 ก่อตั้ง Fuji Heavy Industry   

ภาพโรงงาน นากาจิมะ แอร์คราฟท์ หลังถูกทิ้งระเบิด ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2

นี่คือสาเหตุว่า ทำไมแบรนด์   Subaru   แม้จะตั้งตามชื่อกลุ่มดาวลูกไก่  ที่สมควรจะมี 7 ดวง แต่บนตราสัญลักษณ์รถถึงมีเพียง 6 ดวง เท่านั้น 

 

BMW  อดีตผู้ผลิตครื่องยนต์เครื่องบินรบ

มาทางด้านฝั่งยุโรป  BMW   นับเป็นบริษัที่ขึ้นชื่ออย่างมากถึงการเข้ามามีบทบาทในสงครามทั้ง สงครามโลกครั้งที่ 1 และ สงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขามีชื่อเสียงในฐานะผู้ผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน นี่เป็นสาเหตุที่มาของแบรนด์สัญลักษณ์ตราพัดฟ้าด้วย

เครื่องยนต์เครื่องบิน   BMW  (Bavarian Motor Work) ถูกผลิตป้อนให้กับโรงงานกองทัพ ในเวลานั้นมีการเกณฑ์เชลยชาวต่างชาติมาใช้แรงงานในการผลิต ต้นกำลังขับเคลื่อนของ   BMW  ประสบความสำเร็จหลายรุ่น อาทิ  BMW 132 , BMW 801   เครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยอากาศทรงกลมสำหรับเครื่องบินใบพัด ระยะหลังพวกเขาเริ่มผลิตเครื่องยนต์   Jet   ด้วย พวกเขามาสำเร็จในเครื่อง   BMW 003  jet  ในเครื่องบินทิ้งระเบิด   Me262   การบันทึกว่าเครื่องบินสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันอาจไม่ตื่นเต้นแล้วในสมัยนี้ แต่นั่นก็มากกว่า 50 ปี มาแล้ว

ช่วงปลายสงครามโรงงาน  BMW   ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก จนเสียหาย ส่วนโรงงานที่อยุ่ในเยอรมันตะวันออกก็โดนโซเวียดยึด  ช่วงเวลาเลวร้ายบีบให้บริษัทต้องผลิตเครื่องครัวและจักรยานประทังสถานการณ์ไป  จนในปี 1947 บริษัทได้รับอนุญาตผลิตรถมอเตอร์ไซค์วางจำหน่าย และหลังจากนั้น 5 ปี จึงเริ่มผลิตรถยนต์อีกครั้ง

อ่านต่อหน้า 2 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่